โครงการ SETI@home ที่เป็นต้นแบบของ distributed computing กระจายให้คนทั่วโลกช่วยกันแชร์พลังจากคอมพิวเตอร์ของตัวเองช่วยประมวลผลข้อมูล โครงการเริ่มมาตั้งแต่ปี 1999 นับเวลาถึงปัจจุบันนานกว่า 20 ปี ล่าสุดประกาศยุติการส่งข้อมูลให้ผู้ใช้ช่วยประมวลผลในวันที่ 31 มีนาคม 2020
หน้าเว็บของโครงการระบุว่า ตอนนี้มีข้อมูลเยอะพอกับความต้องการแล้ว และการจัดการกับข้อมูลที่กระจายให้คนทั่วโลกช่วยกัน กลายเป็นภาระของทีมงาน ที่ควรจะไปโฟกัสที่การวิเคราะห์ข้อมูลมากกว่า
ความนิยมขุดเงินคริปโตทำให้เกมเมอร์ทั่วโลกต้องหัวร้อนกันมานานหลายเดือนหลังจากการ์ดจอขาดตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่ตอนนี้คนอีกกลุ่มที่เดือดร้อนไม่แพ้กันคือนักวิจัยจาก Search for Extraterrestrial Intelligence หรือโครงการ SETI ที่ไม่สามารถซื้อการ์ดจอมาทำวิจัยได้
SETI ต้องการชิปกราฟิกเหล่านี้เพื่อหารูปแบบคลื่นความถี่ ที่ไม่ได้เกิดจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ เพื่อตอบคำถามว่ามนุษยชาติโดดเดียวในอวกาศหรือไม่ กระบวนการนี้ต้องการพลังประมวลผลที่สูงมาก กล้องโทรทรรศน์วิทยุชุดเดียวอาจจะต้องการชิปกราฟิกนับร้อยชุด และตอนนี้ทาง SETI มีโครงการจะอัพเกรดกล้องโทรทรรศน์อีกสองชุด ทำให้ต้องการชิปกราฟิกเพิ่มขึ้นอีกมาก
หลายท่านรู้จักโปรแกรม SETI@home สำหรับค้นหามนุษย์ต่างดาวกันไปแล้ว เพียงเราติดตั้งโปรแกรม SETI@home ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้น โปรแกรมจะนำงานจากศูนย์ข้อมูลของโครงการ SETI มาประมวลผลที่เครื่องของเรา ยิ่งมีผู้คนนำโปรแกรม SETI@home มาใช้งานมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่เราจะค้นพบมนุษย์ต่างดาวก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น
แล็ปท็อปของนักเขียน Melinda Kimberly ถูกขโมยไปตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. และถูกติดตามคืนมาได้ เนื่องจากคุณสามีโปรแกรมเมอร์ James Melin ติดตั้งโปรแกรม SETI@home เอาไว้ โดยอาศัยข้อมูลการติดต่อของโปรแกรมกับเซิร์ฟเวอร์ของโครงการ SETI@home จนกระทั่งได้หมายเลขไอพีมา
"ฉันคิดอยู่แล้วว่า คนเป็น geek นั้นเป็นสามีที่ดีมาก เขาจะคอยสำรองข้อมูลในเครื่องให้อยู่ตลอด และคราวนี้เหมือนเป็นพระเอก 'Mission: Impossible' ที่สืบหาร่องรอยให้ตำรวจนำเครื่องคืนมาได้ ... เขาเป็นอัจฉริยะ — ฮีโร่ของฉัน"
ที่มา - AP via Yahoo! News