SparkFun ร่วมมือกับกูเกิลเปิดตัวบอร์ด SparkFun Edge บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ประหยัดพลังงานแต่ยังมีพลังประมวลผลพอจะทำงานปัญญาประดิษฐ์ เช่น การจดจำภาพหรือจดจำเสียง โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และใช้พลังงานต่ำเพียงพอที่จะใช้ถ่านกระดุมเท่านั้น
ตัวบอร์ด SparkFun Edge ใช้ชิป Ambiq Micro Apollo3 คอร์เป็น Cortex-M4F 48MHz เร่งเทอร์โบได้ถึง 96MHz แรม 1MB หน่วยความแฟลช 384KB ขณะที่พลังประมวลผลสูงแต่การกินกระแสสูงสุดประมาณ 1mA เท่านั้น โดยรวมสามารถใช้พลังงานจากถ่านกระดุม CR2032 ได้นานหลายวันหรืออาจจะหลายสัปดาห์ ด้านการเชื่อมต่อบนบอร์ดมีไมโครโฟน 2 ตัว, พอร์ตเชื่อมต่อกล้อง, และ accelerometer
Thomas Edison เกิดวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1847 วันนี้ (ตามเวลาสหรัฐฯ) ทาง Sparkfun ก็ถือโอกาสฉลองครบรอบด้วยการเปิดขายบอร์ด Edison ทั้งชุด 13 แบบที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังมีบอร์ด breakout ของอินเทลเองอีกสองแบบคือ บอร์ด Arduino และบอร์ด mini breakout
เฉพาะบอร์ดเสริมทั้ง 13 บอร์ดถ้าไม่ซื้อแบบรวมชุดจะอยู่ที่ 310.35 ดอลลาร์ไม่รวม Edison อีก 49.95 ดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ Edison มีความได้เปรียบบอร์ด Raspberry Pi ที่เป็นพลังประมวลผลสูงกว่า แถมมีแรม 1GB ตอนนี้ Raspberry Pi 2 ออกมา ความได้เปรียบสำคัญคงเป็นเรื่องของขนาดที่ยังเล็กกว่ามากครับ
ที่มา - Sparkfun
บอร์ด Intel Edison เพิ่งเปิดตัวไปไม่กี่วันและทาง SparkFun ก็ประกาศขายบอร์ดเสริมมาหลายรูปแบบ แต่ละแบบมีความน่าสนใจคือมันมีขนาดเท่าๆ กันและซ้อนกันต่อๆ ไปได้เรื่อยๆ เช่นหากต้องต้องการเซ็นเซอร์ทิศทาง, ส่วนควบคุมมอเตอร์, และเชื่อมต่อคอนโซล ก็สามารถซ้อนบอร์ดเข้าไปอีกสามชั้นได้ เมื่อวานนี้ทาง SparkFun ก็แจกพิมพ์เขียวเทมเพลตสำหรับการทำบอร์ดขนาดเดียวกับของ SparkFun ออกมาให้ใช้งานได้ฟรี
เทมเพลตนี้จะระบุขนาดของตัวบอร์ดและจุดเจาะรูน็อตให้พอดีกับบอร์ด Edison และบอร์ดเสริมของ SparkFun ทำให้เราสามารถออกบอร์ดเสริมที่มาซ้อนเข้าไปได้พอดี
ตัวเทมเพลตอัพโหลดเป็นไฟล์ Eagle อยู่ที่ GitHub
อินเทลประกาศขายชุดพัฒนา Edison วันแรกทาง Sparkfun ก็ออกมาประกาศราคาหน้าร้านทันทีครับ โดยบอร์ด Edison เปล่าๆ มีราคา 49.95 ดอลลาร์
บอร์ด Edison รุ่นที่วางขายจริงจะเป็นซีพียู Atom Silvermont สถาปัตยกรรมเดียวกับ Bay Trail มีสองคอร์แต่ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 500 MHz เท่านั้น และรองรับเฉพาะคำสั่งแบบ 32 บิต พร้อมแรมแบบ LPDDR3 ถึง 1 GB มีหน่วยความจำแบบแฟลชในตัว 4 GB พร้อมการเชื่อมต่อไร้สาย Wi-Fi ทั้งย่าน 2.4 GHz และ 5 GHz และ Bluetooth 4.0 ทำให้โมดูลเปล่าๆ ก็สามารถทำงานได้เพียงแค่จ่ายไฟ (ปัญหาคือไม่มีช่องจ่ายไฟหรือ USB เพื่อจ่ายไฟมาให้เลย)
บอร์ดเสริมของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเช่น Arduino หรือ Raspberry Pi มักเพิ่มความสามารถที่มีคนใช้งานกันเยอะๆ เช่น การเชื่อมต่อไร้สาย หรือช่องควบคุมฮาร์ดแวร์บางอย่างเช่นมอเตอร์ แต่บอร์ดล่าสุดที่ออกมาชื่อว่า CryptoCape เป็นบอร์ดที่เพิ่มความสามารถในการเข้ารหัสให้กับบอร์ด BeagleBone Black
ชิปหลักที่ CryptoCape ใช้เสริมความสามารถให้กับ BeagleBone ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น EEPROM ในตัวที่บอร์ดออกแบบไว้ให้เก็บข้อมูลเข้ารหัส, ไมโครคอนโทรลเลอร์บนตัวบอร์ด, และนาฬิกา RTC