บริษัท BlackBerry เปิดให้ใช้งานระบบปฏิบัติการ QNX ฟรี หากเป็นการใช้งานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทดลองใช้งาน หรือนำไปใช้ในงานอดิเรกส่วนตัว
QNX เป็นระบบปฏิบัติการเรียลไทม์ขนาดเล็ก ที่นิยมใช้ในอุปกรณ์ฝังตัวและรถยนต์ ถูกซื้อกิจการโดย BlackBerry เมื่อปี 2010 เพื่อนำมาใช้เป็นแกนกลางของระบบปฏิบัติการ BlackBerry 10 สำหรับสมาร์ทโฟน ถึงแม้แผนการสมาร์ทโฟนล้มเหลว แต่ฐานลูกค้าของ QNX เดิมยังคงอยู่เรื่อยมา โดยเฉพาะบริษัทถรยนต์ที่ยังมีใช้งานอยู่เรื่อยๆ
กูเกิลเปิดตัว Pigweed SDK ชุดพัฒนาคอมพิวเตอร์ embedded ที่พัฒนาต่อมาจาก Pigweed ที่เป็นไลบรารีสำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิตที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2020 โดยชุด SDK นี้จะมีเครื่องมือครบถ้วน ได้แก่
โดยรวม Pigweed รองรับชิป 32 บิตที่ไม่มี MMLU ที่ผ่านมารองรับ STMicroelectronics STM32L452 และ Nordic nRF52832 สำหรับตอนนี้ก็รองรับชิป RP2350 ที่เพิ่งเปิดตัวเข้ามาเพิ่มเติม
Raspbery Pi เปิดตัวชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 รุ่นต่อจาก RP2040 ที่ออกมาตั้งแต่ปี 2021 โดยชิปแรงกว่าเดิมมากจากคอร์ Cortex-M33 (RP2040 เป็น Cortex-M0+) พร้อมวงจรเร่งความเร็วด้านความปลอดภัยหลายส่วน
อินเทลออกซีพียูเดสก์ท็อป Core 14th Gen Raptor Lake มาใหม่แบบเงียบๆ โดยเป็นรุ่นรหัสห้อยท้าย E ที่ตัดคอร์เล็ก E-Core ออก เหลือแต่เพียงคอร์ประสิทธิภาพสูง P-Core เท่านั้น
อินเทลระบุว่าซีพียูกลุ่ม E เหล่านี้ตั้งใจทำมาเพื่อตลาดอุปกรณ์ฝังตัว (Embedded) และไม่วางขายสำหรับลูกค้าทั่วไป มีทั้งหมด 9 รุ่น รุ่นใหญ่สุด i9-14901KE มี P-Core จำนวน 8 คอร์ TDP 125W ไปจนถึงรุ่นเล็กสุด 6 คอร์ TDP 45W
ในงาน WWDC24 แอปเปิลสาธิตการพัฒนาอุปกรณ์ Matter ด้วย Swift แบบ Embedded Swift บนชิป ESP32 โดยสามารถสร้างอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับ HomeKit ได้โดยง่าย
Embedded Swift เป็น subset ของภาษา Swift เต็มรูปแบบ เพื่อลดรูปให้ไบนารีที่ได้มีขนาดเล็กพอ เช่น ฟีเจอร์ reflection แต่โค้ดที่เขียนด้วย Embedded Swift นั้นจะทำงานด้วย Swift เต็มรูปแบบได้เสมอ โดยแอปเปิลพยายามผลักดันการใช้งานรูปแบบนี้มาระยะหนึ่งแล้ว และเพิ่มตัวอย่างมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ก็ยังเป็นโครงการระดับทดลองอยู่
Matter เป็นมาตรฐานกลางสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ที่น่าจะกลายเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในบ้านในยุคต่อไป
หลายคนอาจเข้าใจว่า AMD ทำเฉพาะซีพียูแบบ x86 แต่จริงๆ แล้ว AMD มีไลเซนส์ซีพียู Arm และทำ SoC สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวขายด้วย ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า Zynq และ Versal
ในอดีต AMD มีเฉพาะชิปตระกูล Zynq สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว แต่ช่วงหลังออกชิปตระกูล Versal สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวที่ต้องการพลังประมวลผลสูงขึ้น ล่าสุด AMD ออกชิป Versal Gen 2 มาทำตลาดแล้ว
AMD Versal Gen 2 ประกอบด้วยซีพียู Arm Cortex-A78E จำนวน 8 ตัว, ชิปประมวลผลเรียลไทม์ Arm Cortex-R52 จำนวน 10 ตัว, จีพียู Mali G78AE และองค์ประกอบอื่นๆ เช่น Video Codec Unit, หน่วยความจำ, I/O, Ethernet
ไมโครซอฟท์เป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการฝังตัว ThreadX จากการซื้อบริษัท Express Logic ในปี 2019 แล้วนำมาให้บริการกับลูกค้าองค์กรภายใต้ชื่อ Azure RTOS (real-time operating system)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศเปิด ThreadX เป็นโอเพนซอร์ส และยกให้มูลนิธิ Eclipse Foundation ดูแลต่อ ภายใต้ชื่อใหม่ว่า Eclipse ThreadX
บริษัท BlackBerry (ซึ่งเลิกทำมือถือไปนานแล้ว) ประกาศแผนเตรียมแยกธุรกิจ IoT ของตัวเองเป็นบริษัทใหม่ แยกขาดจากธุรกิจ Cybersecurity ที่เป็นธุรกิจหลัก
BlackBerry มีธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ IoT จากการซื้อบริษัท QNX ในปี 2010 เพื่อนำมาใช้เป็นแกนของระบบปฏิบัติการ BlackBerry OS 10 แข่งกับสมาร์ทโฟนค่ายอื่นๆ ในตอนนั้น
ถึงแม้แผนการสมาร์ทโฟนของ BlackBerry ไม่สำเร็จจนต้องเลิกทำ แต่ฐานลูกค้า QNX ในสายอุตสาหกรรมฝังตัวและรถยนต์ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน จนกระทั่งล่าสุดคือเตรียมแยกธุรกิจนี้ออกเป็นบริษัทใหม่ และขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์ (แม้ยังไม่ชัดเจนว่าจะใช้ชื่อว่า QNX เหมือนเดิมหรือไม่)
Canonical เปิดตัว Ubuntu 22.04 LTS เวอร์ชัน real-time สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมีการตอบสนองทันที
จุดต่างของ Real-time Ubuntu จาก Ubuntu เวอร์ชันปกติคือเปลี่ยนมาใช้เคอร์เนลลินุกซ์ 5.15 แบบเรียลไทม์ (real-time kernel) ที่ใช้แพตช์ PREEMPT_RT มีค่า latency ต่ำ (เริ่มทดสอบ Beta มาตั้งแต่ปีที่แล้ว) และปรับแต่งมาให้เหมาะกับชิปของ NVIDIA, Intel, MediaTek, AMD-Xilinx ที่ใช้กันแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม (รองรับทั้ง Arm และ x86)
ผู้ที่ต้องการใช้ real-time kernel จำเป็นต้องเสียเงินเป็นสมาชิก Ubuntu Pro หรือซื้อผ่าน App Store ของ Ubuntu ได้เช่นกัน
นอกเหนือจาก Android, ChromeOS, Fuchsia ล่าสุดกูเกิลเปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ (อีกแล้ว) ชื่อ KataOS สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวที่เน้นความปลอดภัยสูง (กูเกิลใช้คำเรียกว่า secure operating system) เพื่อใช้งานประมวลผล machine learning ที่ปลายทาง (ambient ML หรือ AmbiML)
โครงการนี้เป็นผลงานวิจัยของ Google Research เลือกใช้เคอร์เนล seL4 ที่มีอยู่ก่อนแล้ว เป็นโครงการ microkernel แบบยูนิกซ์ที่เน้นความปลอดภัยสูง (อ่านบทความ Wikipedia ประกอบ) จากนั้นกูเกิลเขียนส่วนที่เหลือเกือบทั้งหมดด้วยภาษา Rust ที่อุดช่องโหว่เรื่องความปลอดภัยของหน่วยความจำ
บริษัท Wind River Systems ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการฝังตัว VxWorks และ Wind River Linux มีอันต้องเปลี่ยนเจ้าของอีกแล้ว โดย Aptiv บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่ เข้าซื้อกิจการจากเจ้าของเดิมคือบริษัทลงทุน TPG Capital ในราคา 4.3 พันล้านดอลลาร์
Canonical เปิดตัว Ubuntu Frame ระบบปฏิบัติการแบบคัสตอมสำหรับอุปกรณ์ kiosk จอสัมผัส หรือป้ายโฆษณาดิจิทัล
Ubuntu Frame เป็นการนำแกนของ Ubuntu Core มารวมกับโซลูชันการแสดงผลจอภาพข้ามเครื่องจากระยะไกล (graphic server) รองรับแอพหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ GTK 3/4, Qt 5/6, Flutter, Electron, SDL2 รวมถึง HTML5 และ Java
จุดเด่นของ Ubuntu Frame คือเป็นโซลูชันที่พร้อม จัดการเรื่องการแสดงผลและอินพุตมาให้แล้ว นักพัฒนามีหน้าที่แค่สร้างแอพไปรันเท่านั้น บวกด้วยฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย การจัดการที่เป็นระบบแพ็กเกจ Snap รันอยู่ในคอนเทนเนอร์
BlackBerry รายงานช่องโหว่ระดับร้ายแรงของระบบปฏิบัติการ QNX ที่นิยมใช้ในอุปกรณ์ฝังตัว รถยนต์ เครื่องจักรโรงงาน อุปกรณ์การแพทย์
ช่องโหว่นี้เกี่ยวข้องกับไลบรารีรันไทม์ภาษา C ของ QNX เลยได้ชื่อเรียกว่า BadAlloc มีคะแนนความร้ายแรง CVSS Score ที่ 9.0
BlackBerry ออกแพตช์อุดช่องโหว่นี้ให้แล้ว แต่ความยากของเรื่องนี้คือ ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ใช้ QNX จะต้องนำแพตช์ไปอัพเดตกับอุปกรณ์ของตัวเองอีกทีหนึ่ง ซึ่งต้องใช้เวลาอีกพอสมควร คำแนะนำของ BlackBerry หากไม่สามารถอัพเดตแพตช์ได้ทันทีคือ ให้ปิดพอร์ตและโปรโตคอลที่ไม่เกี่ยวข้องไปก่อน
เป็นธรรมเนียมในทุกครั้งที่ทาง Raspberry Pi Foundation จะต้องออกบอร์ด Compute Module สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานด้านอุตสาหกรรมตามหลังบอร์ด Raspberry Pi รุ่นหลัก ในวันนี้ภายหลังการเปิดตัว Raspberry Pi 4 มากว่า 16 เดือนทาง Raspberry Pi Foundation ได้เปิดตัวบอร์ด Compute Module 4 ในรูปทรงใหม่ที่เล็กลงกว่าเดิมเหลือเพียง 55x40มม. แบ่งเป็น 32 รุ่นย่อยในราคาเริ่มต้นเพียง 25 ดอลลาร์สหรัฐจนถึง 90 ดอลลาร์สหรัฐในรุ่นสูงสุด
อินเทลเปิดตัวซีพียูสำหรับงานสาย IoT โดยมาพร้อมหน้าทุกระดับแบรนด์ ตั้งแต่ Core 11th Gen (Tiger Lake), Atom, Pentium, Celeron โดยใช้รหัสรุ่นห้อยท้ายตัว E ให้เห็นความแตกต่างจากรุ่นปกติ
ซีพียูทั้งสามรุ่นคือ Atom x6000E, Pentium, Celeron มีฟีเจอร์ใหม่ Programmable Services Engine (Intel PSE) มันคือไมโครคอนโทรลเลอร์ ARM Cortex-M7 ที่ช่วยแบ่งโหลดงานบางอย่าง (โดยเฉพาะงานกินพลังงานต่ำ) ออกจากซีพียูเพื่อประหยัดพลังงาน การที่มีหน่วยประมวลผลแยกอีกตัวยังรองรับการรีโมทเข้ามาจัดการ โดยไม่ต้องยุ่งกับซีพียูหลักได้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์หาก OS ที่รันบนซีพียูหลักค้างหรือไม่ตอบสนอง
วันนี้ทาง Raspberry Pi Foundation เปิดตัว Raspberry Pi 4 รุ่นแรม 8GB อย่างเป็นทางการ ในราคา 75 ดอลลาร์สหรัฐ หรือผ่านตัวแทน Cytron ราคา 2,652.40 บาท โดยทีมงานระบุว่าตั้งใจจะมีรุ่นแรม 8GB แต่แรก แต่เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีชิปแรมที่ความจุสูงพอ โดยซีพียู BCM2711 ของ Raspberry Pi 4 นั้นรองรับแรมได้สูงสุด 16GB
นอกจากนั้น ยังเปิดตัว Raspberry Pi OS รุ่น 64 บิตในสถานะเบต้า สำหรับผู้ที่ต้องการรันโปรเซสที่ใช้หน่วยความจำเกิน 4GB
เปิดขายแล้ววันนี้
ที่มา: Raspberry Pi Blog
Arduino เปิดตัว Arduino Pro IDE โปรแกรมสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่รองรับ Arduino IDE แต่ต้องการฟีเจอร์การพัฒนาแบบเดียวกับ IDE ระดับจริงจังอื่นๆ โดยรองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น
ตัว IDE หลักพัฒนาจาก Eclipse Theia, Electron, และ Arduino CLI การปรับเทคโนโลยีเบื้องหลังเช่นนี้ทำให้ Pro IDE สามารถเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ในอนาคต เช่น Debugger ในตัว, ปลั๊กอินขยายความสามารถตัว IDE, และการรองรับภาษาเขียนโปรแกรมอื่นๆ
Sipeed ผู้ผลิตโมดูลสำหรับอุปกรณ์ IoT ออกบอร์ดพัฒนา Longan Nano ที่เป็นชิป RISC-V แบบ 32 บิต รองรับชุดคำสั่ง RV32IMAC
ตัวบอร์ดประกอบด้วยชิป GD32VF103CBT6 แรม 32KB สตอเรจ 128KB พร้อมการเชื่อมต่อ UART 3 ชุด, I2C 2 ชุด, SPI 3 ชุด, CAN 2 ชุด, และ USB มีนาฬิกาจับเวลาจริง RTC ในตัว นอกจากชิปหลัก ยังมีหน้าจอ IPS ขนาด 0.96 นิ้ว ความละเอียด 160x80 พิกเซล, ช่องใส่การ์ด microSD, และพอร์ต USB Type-C
การพัฒนารองรับคอมไพลเลอร์ GCC และตัว IDE ซัพพอร์ต PlatformIO เป็นหลัก
เริ่มขายแล้ววันนี้ ราคา 4.9 ดอลลาร์รวมกล่องอะคริลิคแต่ไม่รวมค่าส่ง
เอเอ็มดีเปิดตัวซีพียูสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น เครื่อง NUC หรือคอมพิวเตอร์ฝังตัวอื่นๆ ใช้ชื่อตระกูล Ryzen Embedded R1000 อัพเดตมาจากตระกูล V1000 ที่ออกไปปีที่แล้ว
คู่แข่งในตลาดนี้คือซีพียูของอินเทลตระกูล U ที่นิยมนำมาผลิตเครื่อง NUC กัน เช่น Core i3-7100U หรือ Pentium 4415U โดยเอเอ็มดีโชว์ว่า R1000 มีประสิทธิภาพดีกว่าในบางชุดทดสอบ เช่น Cinebench และ 3DMark11 ส่วนราคาต่อประสิทธิภาพนั้นดีกว่าถึง 4 เท่าตัว
ตัวซีพียูมีสองรุ่นย่อย มี 2 คอร์ 4 เธรดทั้งคู่ต่างกันที่สัญญาณนาฬิกา ใส่แรม DDR4-3200 ได้ 32GB รองรับหน้าจอ 4K สามจอพร้อมกัน และรองรับการเชื่อมต่อ 10GbE สองช่องสำหรับงานเน็ตเวิร์ค
ไมโครซอฟท์ประกาศซื้อกิจการบริษัท Express Logic เจ้าของระบบปฏิบัติการเรียลไทม์ (RTOS) ชื่อ ThreadX สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวและ IoT โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
ชื่อ Express Logic และ ThreadX อาจไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่โลกเรามีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการตัวนี้ถึง 6.2 พันล้านชิ้น เหตุเพราะมันมีขนาดเล็กมาก (ขนาดเล็กสุดคือ 2,000 ไบต์ ใช้แรม 1K ก็พอเพียง) มันจึงถูกใช้ในไมโครคอนโทรลเลอร์และอุปกรณ์ขนาดเล็กนานาชนิด ตั้งแต่คอนโทรลเลอร์ควบคุมสัญญาณวิทยุใน iPhone ไปจนถึงยาน Deep Impact ของ NASA
ปัจจุบันไมโครซอฟท์มีระบบปฏิบัติการสำหรับ IoT อยู่แล้วสองตัวคือ Windows 10 IoT และลินุกซ์คัสตอมเอง ที่ใช้ในโครงการ Azure Sphere
Denis Selianin นักวิจัยจากบริษัท Embedi รายงานถึงช่องโหว่ของระบบปฎิบัติการ ThreadX ที่เปิดทางให้แฮกเกอร์ที่อยู่บนเครือข่ายเดียวกันสามารถส่งโค้ดไปรันบนชิปเน็ตเวิร์คได้ โดยช่องโหว่นี้สามารถโจมตีได้ทุกครั้งที่อุปกรณ์สแกนหา access point รอบตัว
ความร้ายแรงของช่องโหว่นี้ คือ ผู้ใช้ไม่ต้องกดรับหรือเข้าเว็บใดๆ เพียงแต่เปิด Wi-Fi ทิ้งไว้ กระบวนการสแกนเน็ตเวิร์คจะรันขึ้นมาเองทุกๆ 5 นาที โดยแฮกเกอร์สามารถเจาะระบบได้ไม่ว่าผู้ใช้จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายอยู่ก่อนหรือไม่ หรือเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่จะเข้ารหัสหรือไม่ก็ตาม เมื่อควบคุมชิปเน็ตเวิร์คได้แล้ว การเข้าโจมตีเคอร์เนลของเครื่องเหยื่อก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure Sphere โซลูชันครบวงจรสำหรับ IoT ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เพราะไมโครซอฟท์ทำเองหมดตั้งแต่ออกแบบชิปยันคลาวด์
Azure Sphere ประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
ในปี 2014 โครงการ Raspberry Pi ออกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจิ๋วที่เรียกว่า Compute Module (CM1) ที่สเปกเหมือน Raspberry Pi รุ่นแรก แต่ขนาดเล็กลงเหลือเท่ากับแรม DDR2 ขนาดมาตรฐาน ตัดพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ออกไปทั้งหมด เป้าหมายคือใช้กับงานอุปกรณ์ฝังตัวบางประเภทที่ต้องการใช้งานอุปกรณ์ขนาดเล็กมากๆ
เวลาผ่านไปหลายปี Raspberry Pi ออก Compute Module รุ่นอัพเกรดสเปกใหม่ตาม Raspberry Pi 3 (ข่าวก่อนหน้านี้) โดยใช้ชื่อย่อว่า Compute Module 3 (CM3)
ธุรกิจชิป SoC นั้นปกติแล้วมักเป็นสินค้าขายส่งที่แม้แต่นักพัฒนาโดยทั่วไปก็ไม่รับรู้ว่าราคาชิปบนบอร์ดนั้นมีต้นทุนเท่าไหร่ หรือหลายตัวต่อให้รู้ก็มักประกาศราคาที่ยอดขายพันชุดที่บริษัทพัฒนาขนาดเล็กไม่สามารถลงทุนซื้อได้ ล่าสุด Qualcomm ก็ประกาศขายชิปสองรุ่นพิเศษ Snapdragon 410E/600E สำหรับงาน IoT และคอมพิวเตอร์ฝังตัวแบบอื่นๆ และชิปจะมีขายระยะยาว 10 ปี ซึ่งจำเป็นสำหรับอุปกรณ์ฝังตัวที่มีอายุสินค้ายาวนาน
ทั้งสองรุ่นมีความพิเศษคือขายผ่านบริษัท Arrow Electronics โดยรุ่น 410E มีขายแล้ววันนี้ที่ราคา 10.36 ดอลลาร์เมื่อซื้อ 2000 ชุด และ 17.283 ดอลลาร์เมื่อซื้อชิปเดียว
ชิป Cortex-M แม้จะเป็น ARM แบบ 32 บิตแต่ก็มีฟีเจอร์จำกัด เช่นไม่มีระบบจัดการหน่วยความจำแบบเดียวกับชิป Cortex-A ฟีเจอร์ที่จำกัดทำให้ไม่สามารถติดตั้งลินุกซ์ลงไปได้ ที่ผ่านมามีระบบปฏิบัติการสำหรับ Cortex-M ที่ทำมาเฉพาะ เช่น mbed OS หรือ Zypher แต่ระบบปฏิบัติการเหล่านี้ก็ออกแบบมาแตกต่างจากระบบปฏิบัติการบนเดสก์ทอปมาก ตอนนี้มีโครงการ Frosted OS ที่พยายามอิมพลีเมนต์ POSIX ทำให้ได้ระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์/ลินุกซ์ บนชิปขนาดเล็กเหล่านี้แล้ว