หลังจากสิ้นสุดรอบ Trial Run ไปเมื่อวานนี้ ทางเอไอเอสก็ไม่รอช้าด้วยการประกาศเปิดให้บริการ AIS 4G Advanced กับลูกค้าทั่วไปทั้งหมดโดยทันทีตั้งแต่วันนี้ (11 มกราคม) เป็นต้นไปครับ
โดยพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้นั้นจะประกอบไปด้วย กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม อยุธยา เชียงใหม่ หัวหิน ชะอำ ภูเก็ต ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว นครนายก ปราจีนบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ เลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สงขลา และ สุราษฎร์ธานี และจะขยายเพิ่มหลังจากนี้จนครบทั้งประเทศภายในสิ้นปี 2559 ตามแผนที่ประกาศไว้
เมื่อวานนี้ที่สำนักงานใหญ่ของ dtac ได้มีการเปิดแถลงข่าวโดยคุณ Sigve Brekke ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเครือ Telenor และคุณ Lars-Ake Norling ซีอีโอของดีแทค โดยคุณ Sigve ระบุว่าทาง Telenor ไม่มีแผนที่จะถอนตัวออกจากตลาดไทยและตลาดอื่นๆ ในเอเชีย เพราะภูมิภาคเอเชียถือว่าเป็นภูมิภาคที่สำคัญซึ่งสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม Telenor มาโดยตลอด และยืนยันว่าจะสนับสนุน dtac ในการลงทุนที่มีความจำเป็น
การประมูลคลื่น 900 MHz ได้รับการรับรองผลประมูลอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ล่าสุดมีรายงานจาก พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ประธาน กทค. ที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กสทช. ว่า แจสโมบาย-ทรูมูฟ เอช จะเข้ามาจ่ายค่าใบอนุญาตพร้อมวางแบงค์การันตีภายในอาทิตย์นี้ ซึ่งเมื่อการดำเนินการเรียบร้อย คณะกรรมการ กทค. ก็จะจัดการประชุมเพื่อออกใบอนุญาตภายในสัปดาห์หน้า
เมื่อวานนี้ พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท. โทรคมนาคม เผยกับ The Nation ว่า ขณะนี้ กสท. โทรคมนาคม กำลังเตรียมที่จะทำสัญญาร่วมทุนกับดีแทค ในการนำคลื่น 1800 MHz อีก 20 MHz ออกมาให้บริการ 4G โดยแผนการร่วมทุนที่วางไว้คร่าวๆ น่าจะเหมือนกับสัญญา TrueMove H 3G 850 MHz และ AIS 3G 2100 ของทีโอที
หากการดำเนินการในส่วนสัญญาไม่มีปัญหา กสท. โทรคมนาคม และ ดีแทค จะเริ่มดำเนินการอัปเกรดคลื่นในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า
ที่มา - The Nation
นอกจากดีแทคแล้ว วันนี้เอไอเอสยังได้แถลงแผนการลงทุนเครือข่ายภายหลังการประมูลคลื่น 900 MHz เช่นเดียวกัน ซึ่งของเอไอเอสมีอธิบายทั้งหมดสามประเด็นดังนี้ครับ
เช้าวันนี้ดีแทคออกมาแถลงข่าวถึงแผนการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือหลังจากผ่านการประมูลคลื่นมาแล้วสองรอบแต่ไม่ได้ของทั้งสองรอบ โดยยืนยันชัดเจนว่าดีแทคไม่ได้เสียอะไร และก็ไม่มีหนี้สินเพิ่มขึ้นกับการประมูลคลื่นในครั้งนี้ครับ
เมื่อวานนี้มีข่าวทางโทรทัศน์ชวนลุ้นให้แฟนๆ ดีแทคได้ชื่นใจ เมื่อ กสท โทรคมนาคม ออกมาประกาศว่าจะขยายอายุสัมปทานดีแทคจากเดิมที่จะหมดลงใน พ.ศ. 2561 เป็น พ.ศ. 2568 (เนชันทีวี) เพื่อให้ดีแทคสามารถแข่งขันกับรายอื่นๆ ไปได้อีกระยะหนึ่ง
ในที่ประชุมคณะกรรมการ กทค. เมื่อวานนี้ (21 ธันวาคม) มีการลงมติใหญ่ทั้งหมดสองมติ คือการรับรองผลการประมูลคลื่น 900 MHz ที่จบลงเมื่อคืนวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และเรื่องการเยียวยาผู้ใช้ AIS 2G ที่ขยายระยะเวลาเพิ่มจากวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 0.00 น. ออกไปอีก
ช่วงเช้าวันนี้ ค่าย JAS หรือกลุ่มจัสมิน น้องใหม่ของวงการโทรศัพท์มือถือที่หลายคนจับตามอง ออกมาแถลงข่าวครั้งแรกหลังชนะการประมูล มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
วันนี้ทาง True ออกมาแถลงข่าวครั้งแรกหลังชนะการประมูล 900MHz เมื่อสัปดาห์ก่อน ประเด็นสำคัญมีดังนี้
หลังการประมูลคลื่น 900MHz ได้ข้อยุติ ว่าผู้ชนะคือ JAS และ True (บทวิเคราะห์)
ทางฝั่งผู้แพ้การประมูลทั้ง 2 รายคือ AIS และ dtac ก็ออกมาแสดงท่าทีหลังการประมูล โดยมีเนื้อหาไปในทางเดียวกันว่า จะนำเงินที่เตรียมไว้ประมูลมาพัฒนาโครงข่ายแทน และมั่นใจว่าคลื่นที่มีในปัจจุบันสามารถรองรับความต้องการใช้งานของลูกค้าได้
การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ของ กสทช. ที่กินเวลายาวนานอย่างเหลือเชื่อถึง 4 วันได้จบลงไปแล้วเมื่อเที่ยงคืนที่ผ่านมา พร้อมกับตัวเลขที่ทำสถิติเป็นประวัติการณ์ถึง 151,952 ล้านบาท โดยราคาต่อสล็อตสูงถึงมากกว่า 75,000 ล้านบาท มากมายยิ่งนักเมื่อเทียบกับการประมูล 1800 MHz ที่ยอดรวมสองสล็อตอยู่ที่ 80,778 ล้านบาท พร้อมผู้ชนะที่ว่ากันว่าพลิกโผทุกสำนักคือ Jas และ True
การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ซึ่งไม่มีทีท่าจะจบลงง่ายๆ ซึ่งก็ครบจบวันที่ 3 และเตรียมเข้าสู่วันที่ 4 แล้ว โดยจะเริ่มต้นตอนเช้าด้วยการออกมาใส่บาตรของผู้ประมูล ซึ่งมีการกันพื้นที่ไว้เฉพาะไม่ให้สื่อมวลชนเข้าไปซักถามได้ (เปลี่ยนเป็นนำของไปให้อธิษฐาน แล้วตัวแทนข้างนอกนำไปใส่บาตรให้แทน เพื่อป้องกันข้อครหา)
สำหรับผลการเสนอราคาล่าสุดจบรอบที่ 162 เมื่อเวลา 5:55 น. เป็นดังนี้
ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขียนวิเคราะห์การประมูลคลื่นความถี่ 900MHz โดยมีประเด็นสำคัญว่าผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายจริงจังกับการประมูล ไม่ใช่แค่การดันราคาต้นทุนของคู่แข่ง ด้วยเหตุผลแตกต่างกันไป
การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz จบวันที่สองไปแล้วและยังไม่มีทีท่าจะยุติง่ายๆ โดยผ่านไปรอบล่าสุดคือรอบที่ 108 มีผลการเสนอราคาดังนี้
ราคารวมตอนนี้อยู่ที่ 96,890 ล้านบาท โดยในการเสนอราคารอบที่ 106 นั้น ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาครบทั้ง 4 ราย เป็นการยืนยันว่ายังไม่มีผู้ประมูลรายใดที่ใช้สิทธิ Waiver ครบหมดจนต้องถอนตัว
การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz เข้าสู่วันที่สอง โดยเริ่มตั้งแต่เช้าเวลา 9 นาฬิกา และเพิ่งพักการประมูลไปเมื่อเวลา 21 นาฬิกา โดยรอบล่าสุดคือรอบที่ 90 นั้น มีผลการเสนอราคา ดังนี้
ทำให้ราคารวมตอนนี้พุ่งสูงถึง 85,298 ล้านบาท มากกว่าการประมูลคลื่น 1800 MHz ซึ่งจบที่ 80,778 ล้านบาท โดยมีการประมูล 86 รอบ
ความน่าสนใจเริ่มขึ้นในรอบที่ 84 ซึ่งไม่มีผู้เสนอราคาในสล็อตที่ 1 เป็นครั้งแรก จากที่ผ่านมามีการเสนอราคาต่อเนื่องกันทั้ง 2 สล็อต และราคาของสล็อตที่ 1 ก็ไม่ขยับเลยจนกระทั่งถึงรอบที่ 89 ที่มีผู้เสนอราคาเพิ่มอีกครั้ง
หลังจากที่เพิ่งจะแถลงข่าวไปหมาดๆ ล่าสุดผู้ใช้หน่วยบริการลูกค้าของเอไอเอสในเว็บไซต์พันทิป (callcenter@ais.co.th) ได้เผยว่า ทาง AWN จะเริ่มเปิดทดลองใช้งานเครือข่าย 4G ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม (วันนี้) - 10 มกราคม พ.ศ. 2559 และหลังจากนั้นเอไอเอสจะแจ้งวันเปิดให้บริการอีกครั้ง
โดยพื้นที่ทดลองในช่วงนี้จะประกอบไปด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต นครปฐม (บางส่วน) เพชรบุรี (เฉพาะอำเภอชะอำ) และประจวบคีรีขันธ์ (เฉพาะอำเภอหัวหิน) และจะเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็วนับจากนี้
ถ้าจำกันได้ เมื่อกลางเดือนที่แล้ว สหภาพฯ ทีโอที ยื่นฟ้องกสทช. ต่อศาลปกครอง โดยขอให้ศาลปกครองชี้สิทธิ์ขาดว่าใครมีสิทธิ์ถือครองคลื่นกันแน่ ล่าสุดศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่ร้บฟ้องในคดีนี้เรียบร้อย
เหตุผลของศาลก็เป็นอย่างที่หลายๆ ท่านได้คาดเดากันไว้ คือ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงแค่นิติสัมพันธ์กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เท่านั้น และสหภาพฯ เองก็ไม่ใช่ผู้เสียหายในเรื่องนี้โดยตรง จึงทำให้ไม่มีสิทธิ์ในการยื่นฟ้องร้องในเรื่องนี้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลจึงลงความเห็นในการปัดตกและจำหน่ายคดีนี้ออกไป
วันนี้ (4 ธันวาคม) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวเครือข่าย "AIS 4G Advanced" อย่างเป็นทางการ โดยเป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นหลังจากที่ AWN เข้ามารับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
AWN กล่าวว่าจะเริ่มเปิดทดลองใช้งานเครือข่าย AIS 4G Advanced ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปในบางพื้นที่ โดยลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่จะได้รับข้อความแจ้งให้อัปเกรดมาใช้บริการ ซึ่งลูกค้าสามารถทดลองใช้งานได้ฟรีโดยไม่ไปยุ่งกับแพ็คเกจปัจจุบันที่ตนเองใช้งานอยู่ โดยในส่วนของรายละเอียดทาง AWN จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง
เรียกได้ว่าเป็นประกาศตัดหน้าอีกสองค่ายที่กำลังจะเปิดให้บริการในเร็วๆ นี้ เพราะในวันนี้ดีแทคได้ออกประกาศแจ้งอย่างเป็นทางการว่าบริษัทได้ขยายแบนด์วิธในการให้บริการ 4G บนคลื่น 1800 MHz จากเดิมที่ให้บริการอยู่ 10 MHz เป็น 15 MHz เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมรองรับกระแสลูกค้าที่เตรียมอัพเกรดขึ้นมาใช้งานอีกเป็นจำนวนมาก
หลังจากเป็นประเด็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องกลุ่ม True ยังไม่ยื่นหนังสือค้ำประกันเงินประมูล 1800MHz งวดที่ 2-3 วันนี้ทาง True เข้ามายื่นหนังสือค้ำประกันเงินประมูล ตามที่ออกข่าวไว้ว่าเป็นฤกษ์มงคล 2 ธันวาคม เวลา 13.00 น.
เงินประมูลของกลุ่ม True งวดแรก 20,493.72 ล้านบาท จ่ายให้ กสทช. เรียบร้อยตั้งแต่สัปดาห์ก่อน ส่วนหนังสือค้ำประกันเงินประมูลงวดที่ 2 และ 3 รวมกันมูลค่า 21,288.72 ล้านบาท ยื่นให้ กสทช. ในวันนี้
update: คำชี้แจงจากทางทรู
นอกจากประเด็นเรื่องฤกษ์มงคลแล้ว การออกใบอนุญาตคลื่น 1800MHz ยังมีประเด็นน่าสนใจ เพราะเกี่ยวโยงไปกับการยกเลิกระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้งานตามสัญญาสัมปทาน 2G เดิม ที่หมดอายุไปตั้งแต่ปี 2556
คลื่น 1800MHz ชุดนี้มีผู้ครอบครองเดิม 2 รายคือ True และ AIS (DPC) ซึ่งหลังการประมูล กลุ่มบริษัทเดิมก็ชนะการประมูลทั้งคู่
ระยะเวลาระหว่างการหมดสัญญาสัมปทานจนถึงการออกใบอนุญาตใหม่ อยู่ภายใต้ "การเยียวยาผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบ" ตามประกาศของ กสทช. ซึ่งทั้งสองบริษัทมีความเห็นต่างกันว่าระยะเวลาคุ้มครองจะหมดอายุเมื่อใด (แปลว่าซิมเก่า 2G จะดับ)
update: คำชี้แจงจากทางทรู
การออกใบอนุญาตคลื่น 1800MHz ของค่าย True เกิดอาการสะดุดซะแล้ว หลังจากที่ AIS เข้าไปชำระเงินค่าประมูลคลื่นงวดแรกและรับใบอนุญาตไปแล้ว เมื่อวานนี้ (25 พ.ย.) ฝั่งของบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น ที่เป็นผู้ชนะประมูลอีกรายหนึ่งก็นัดเข้าไปชำระเงินค่าประมูลกับ กสทช. เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม บริษัท ทรู มูฟ เอช ชำระเงินค่าประมูลงวดแรก 20,492.72 ล้านบาท แต่บริษัทกลับไม่ได้จัดส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลงวดที่สองและสามให้กับสำนักงาน กสทช. ด้วย ทำให้ กสทช. ยังไม่สามารถออกใบอนุญาตคลื่น 1800MHz ให้ได้แบบ AIS
เนื่องจาก การประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ที่จะทำการประมูลในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 นี้ และทาง กสทช. ประกาศให้ใช้งานได้ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2558
ทาง TOT3G จึงออกประกาศให้ลูกค้า GSM900 โอนย้ายเบอร์ก่อน 22 ธันวาคม 2558 เพื่อป้องกันการปิดเบอร์นั่นเองครับ