YouTube รายงานถึงการออกแบบชิปบีบอัดวิดีโอด้วยตัวเอง หลังจากกูเกิลพยายามผลักดันการบีบอัดวิดีโอแบบ VP9 มาเป็นเวลานานแต่พบว่าหากใช้ซีพียูบีบอัดแล้ว VP9 ใช้ซีพียูเปลืองกว่า H.264 ถึง 5 เท่าตัว แม้ว่า VP9 ภาพจะดีกว่าและประหยัดแบนวิดท์กว่า H.264 ก็ตาม
ชิปที่ทีม YouTube ออกแบบเป็น system-on-chip เรียกว่า VCU (video coding unit) มีซีพียูในตัวพร้อมหน่วยบีบอัดวิดีโอ 10 ชุดต่อชิป แต่ละหน่วยสามารถบีบอัดวิดีโอที่ความละเอียด 2160p 60fps ได้ตามเวลาจริง ต้องส่งข้อมูลเข้าออกไปยังแรมที่แบนวิดท์ 27-37 GB/s
Mozilla ออก Firefox 28 ทั้งบนพีซีและแอนดรอยด์ ของใหม่ที่สำคัญได้แก่
ตัวเข้ารหัสวิดีโอ VP8 ในโครงการ WebM ของกูเกิลนั้นไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก ทั้งในแง่ประสิทธิภาพที่ด้อยกว่า H.264 และการเปิดตัวโครงการที่ช้ากว่ารอบการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ทำให้หน่วยประมวลผลในตลาดไม่ค่อยมีตัวช่วยถอดรหัส VP8 ที่ระดับฮาร์ดแวร์มากนัก
ข้ามมาถึงยุคของ VP9 กูเกิลเตรียมแก้ตัวเรื่องนี้มาเป็นอย่างดี เรื่องประสิทธิภาพนั้นใกล้เคียงกับ H.265 ส่วนเรื่องฮาร์ดแวร์ กูเกิลเปิดสเปกของตัวถอดรหัส VP9 ให้ใช้กันฟรีๆ และไล่เจรจากับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายให้รองรับ VP9 มาตั้งแต่แรก
YouTube ประกาศว่าที่งาน CES ปีนี้จะเริ่มใช้ตัวเข้ารหัสวิดีโอ VP9 เพื่อสาธิตการส่งวิดีโอไปยังทีวี 4K ประเด็นสำคัญของงานนี้คือผู้ผลิตอย่าง LG และ Sony จะร่วมสาธิตกับกูเกิล แสดงให้เห็นว่ามีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ร่วมด้วยกับการผลักดันมาตรฐาน VP9
ทางฝั่ง YouTube ระบุว่ายังไม่ปิดช่องที่จะรองรับมาตรฐาน H.265 ที่ใช้เข้ารหัสวิดีโอ 4K เหมือนกัน ส่วนฮาร์ดแวร์ที่รองรับ VP9 ในตัวนั้นจะเริ่มวางตลาดในปี 2015 โดยตอนนี้มีผู้ผลิตชิปที่เปิดตัวว่าจะรองรับแล้วได้แก่ ARM, Intel, Broadcom, และ Marvell
ที่มา - GigaOM
หลังจากกูเกิลเปิดตัว codec VP9 ตัวใหม่ที่ดีกว่า VP8 และ Chrome ก็รองรับไปก่อนแล้ว ล่าสุดฝั่ง Firefox ก็เริ่มเปิดใช้งาน VP9 เป็นค่าดีฟอลต์แล้ว และผู้ใช้ทั่วไปจะเริ่มได้ใช้งานใน Firefox 28 Stable
ท่าทีของ Firefox เรื่อง codec ของวิดีโอในช่วงหลังคือรองรับทั้ง H.264 และ WebM/VP8/VP9
ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ จะรองรับ VP9 หรือไม่และเมื่อไรครับ (Opera ที่เปลี่ยนมาใช้เอนจิน Blink น่าจะรองรับตาม Chrome อยู่แล้ว)
ที่มา - Phoronix