ตำนาน Google Voice กับ App Store เรื่องราวเริ่มตั้งแต่แอปเปิลปฏิเสธโปรแกรม Google Voice ไม่ให้เข้า App Store, AT&T: เราไม่ได้แบน Google Voice เป็นหน้าที่ของแอปเปิลต่างหาก ตามมาด้วย FCC ส่งจดหมายเตือนแอปเปิลและ AT&T กรณี Google Voice ซึ่งทั้งสามบริษัทที่เกี่ยวข้องได้ส่งคำตอบให้ FCC และเผยแพร่ต่อสาธารณะ (Blognone เคยลงเฉพาะคำตอบของแอปเปิล) เรื่องก็ดูเงียบๆ ไป
แต่เอาเข้าจริงแล้วยังไม่จบครับ เพราะกูเกิลเพิ่งเผยแพร่คำตอบ "เวอร์ชันจริง" ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
คำตอบเวอร์ชันแรกของกูเกิลเมื่อเดือนสิงหานั้นไม่ใช่เวอร์ชันเต็ม เพราะกูเกิลขอให้ FCC ปิดบังข้อมูลบางส่วน เช่น คำสนทนาทางโทรศัพท์และอีเมลของทั้งสองบริษัท แต่หลังจากมีกระแสกดดันให้ FCC เปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ ผ่านพระราชบัญญัติการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของสหรัฐ (Freedom of Information Act) กูเกิลเลยตัดสินใจเปิดเผยเวอร์ชันเต็ม
สิ่งที่ทำให้เวอร์ชันแรกกับเวอร์ชันเต็มต่างกัน คือคำตอบของกูเกิลต่อคำถามข้อที่ 2 ของ FCC ซึ่งในฉบับแรกถูกตัดออกไป คำถามมีอยู่ว่า
หลังจากโดนแอปเปิลปฏิเสธโปรแกรม Google Voice (รวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เช่น Google Latitude) แอปเปิลให้เหตุผลของการปฏิเสธกับกูเกิลอย่างไร ช่วยเปิดเผยการสนทนาที่เกี่ยวข้อง ระหว่างกูเกิล/แอปเปิล/AT&T ด้วย
คำตอบแบบเต็มๆ มีดังนี้ (ต้นฉบับ PDF)
a. คำอธิบายของแอปเปิลในการปฏิเสธโปรแกรม Google Voice
ตัวแทนของแอปเปิลแจ้งต่อกูเกิลว่า Google Voice ถูกปฏิเสธเพราะมีการทำงานซ้ำกับฟังก์ชันโทรศัพท์ของ iPhone และแอปเปิลไม่ต้องการให้มีโปรแกรมลักษณะนี้ใน App Store
b. คำอธิบายของแอปเปิลในการปฏิเสธโปรแกรม Google Latitude
ตัวแทนของแอปเปิลแจ้งต่อกูเกิลว่า Google Latitude ถูกปฏิเสธเพราะโปรแกรม 1) อาจซ้ำซ้อนกับโปรแกรมแผนที่ของ iPhone 2) ทำให้ผู้ใช้สับสน เพราะโปรแกรมแผนที่ของ iPhone ก็ใช้ Google Maps 3) มีฟีเจอร์มากกว่าโปรแกรมแผนที่ของ iPhone สรุปว่าแอปเปิลไม่ต้องการให้มีโปรแกรมที่ทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกันเช่นเดียวกับกรณีของ Google Voice
c. คำสนทนาระหว่างกูเกิลกับ AT&T ในประเด็นเหล่านี้
ไม่มี
d. คำสนทนาระหว่างกูเกิลกับแอปเปิลในประเด็นเหล่านี้
หลังจาก Google Voice ถูกส่งเข้ากระบวนการของ App Store เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2009 ตัวแทนของกูเกิลและแอปเปิลได้สนทนากันในเรื่องนี้ ระหว่างวันที่ 5-28 กรกฎาคม 2009 ด้วยวิธีการสื่อสารหลายชนิดประกอบกัน ตัวแทนของกูเกิลคือ Alan Eustace (Senior Vice President of Engineering & Research) ส่วนตัวแทนของแอปเปิลคือ Phil Schiller (Senior Vice President of Worldwide Product Marketing) ในการสนทนาทางโทรศัพท์ของบุคคล 2 คนนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2009 ทาง Phil Schiller ได้แจ้งต่อ Alan Eustace ว่าแอปเปิลได้ปฏิเสธโปรแกรม Google Voice ด้วยเหตุผลข้อ a. ข้างต้น
หลังจาก Google Latitude ถูกส่งเข้ากระบวนการของ App Store เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2009 ตัวแทนของกูเกิลและแอปเปิลได้สนทนากันในเรื่องนี้ ระหว่างวันที่ 5 มีนาคม-10 เมษายน 2009 ตัวแทนของทั้งสองฝ่ายคือ Eustace กับ Schiller เช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายพบปะแบบเจอหน้ากันเมื่อวันที่ 10 เมษายน ทาง Phil Schiller เป็นฝ่ายแจ้งต่อ Eustace ว่าแอปเปิลได้ปฏิเสธโปรแกรม Google Latitude ด้วยเหตุผลข้อ b. ข้างต้น
คำตอบของกูเกิลขัดกับคำตอบของแอปเปิล ที่บอกว่า "เรายังไม่ได้ปฏิเสธ ตอนนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษาโปรแกรม" แปลว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโกหก
เว็บไซต์ TechCrunch วิเคราะห์ว่าแอปเปิลปล่อยให้โปรแกรมที่มีฟีเจอร์ซ้ำซ้อนกับ iPhone เข้าไปใน App Store จำนวนมาก แต่ที่ปฏิเสธโปรแกรมจากกูเกิลก็เป็นเพราะไม่อยากให้ผู้ใช้ iPhone ไปผูกพันกับบริการจากค่ายกูเกิลมากนั่นเอง ส่วนเหตุผลที่กูเกิลปิดบังข้อมูลในรอบแรก น่าจะเป็นเพราะอยากไว้หน้าและให้โอกาสแอปเปิลสักรอบหนึ่ง (ซึ่งในภายหลังกูเกิลพบว่าแอปเปิลให้ข้อมูลขัดกับตัวเอง เลยปล่อยข้อมูลเวอร์ชันเต็มออกมา)
ที่มา - Google Public Policy Blog, TechCrunch
Comments
สนุกแฮะเรื่องนี้
ดราม่าๆ
pittaya.com
pittaya.com
จงซับซ้อนยิ่งขึ้น!
ไม่ต้องเดาเลยครับ ผลไม้ขี้ฮกแหงมๆ
รู้ได้ยังไงครับ ว่าใครโกหก
เฮอะๆ ช่วงนี้ Apple มีแต่ข่าวไม่ค่อยดีแฮะ สงสัยท่าน สตี๊พจ๊อบ คงเหนื่อยจนตายนั่นแหละ
"Alan Eustace ได้แจ้งต่อ Phil Schiller ว่าแอปเปิลได้ปฏิเสธโปรแกรม Google Voice ด้วยเหตุผลข้อ a. ข้างต้น"
น่าจะกลับกันปะ
ยังงี้ถูกแล้วครับ สองเหตุการณ์นี้ คนแจ้งเรื่องกลับกัน
Edited รอบ 2: ผมไปอ่านจาก PDF เข้าใจว่า Schiller เป็นฝ่ายแจ้ง ทั้งสองเรื่องนิครับ ? หรือผมจะเข้าใจผิดสองเด้ง
My Otaku Blog
อืม สรุปว่าผมมั่วจริงๆ ด้วยครับ แก้ไขแล้ว
อืม .. จะว่าไปเขาก็มีสิทธิ แต่เหตุผลมันก็แปลกๆ
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
กีดกัน ทางการค้า นี่โทษแรงใช้ได้เลยนา
ผมว่าในแง่กฏหมายมันจะไม่ work เอาน่ะสิครับ เพราะว่า Agreement หลักคือแอปเปิลถือสิทธิทุกสิทธิในการเลือกว่า App ไหนจะเข้า App Store ได้ แล้วถ้าผู้ใช้ซื้อ iPhone / iPod touch ไปก็ถือว่ายอมรับไปแล้วด้วย
มันจะขัดกันอยู่สองอย่างคือ Freedom of Contract กับ Ombudsman งานนี้คงอยู่ล่ะครับ ระหว่างความถูกต้องทางกฏหมายกับปกป้องสิทธิของลูกค้า
@TonsTweetings
เอาซะบ้าง app ดีๆ เข้าไม่ได้หลายตัวเลย
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
Philosophy ของ Apple
You can't make money without doing evil
น่าจะเข้าข่ายกีดกันทางการค้า
google รักษาภาพลักษณ์ Don't be evil ได้ดีจริงๆ
เดี๋ยวหุ่นออกมาวิ่งกันเยอะๆ ราคาถูกๆ อาจไม่ต้องง้อผลไม้ก็ได้ครับ
CMDEVHUB
เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ
คอมเม้นท์ที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับเนื้อหาครับ
คำว่าพระราชบัญญัติ นั้น ใช้กับกฎชั่วคราวซึ่งออกในราชการภายใต้พระเจ้าอยู่หัว หรือกษัตริย์ในประเทศนั้นๆ
สหรัฐอเมริกา ไม่มี พระมหากษัตริย์
Act ผมคิดว่า เราแค่แปลเป็น บัญญัติ หรือ กฎหมาย ก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ
ขอบคุณครับ
ผมเลือกใช้คำนี้ เพราะมันเทียบเท่ากับกฎหมาย "พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540" ที่บ้านเรามีครับ จะได้พอนึกออกกันว่าถ้าเมืองไทยเจอกรณีแบบนี้ ก็น่าจะใช้ พรบ. ลักษณะเดียวกันได้
แต่ไอเดียที่เสนอมาก็น่าสนใจครับ
แต่ผมกลับมองว่า คำว่าพระราชบัญญัติ หมายถึงบัญญัติของพระราชานะครับ บางครั้งอาจจะมองไม่เหมาะสมสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา
The Phantom Thief
+1
act
๑. พระราชบัญญัติ, รัฐบัญญัติ
๒. การกระทำ
จาก - http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php
มองบริบทตอนใช้ด้วยก็ดีครับว่าเป็น act ในประเทศไทยหรือ act ในต่างประเทศ
ไม่ใช่สักแต่ใช้ dictionary นะครับ
แปลความหมายเป็น กับแค่แปลภาษาอังกฤษเป็นไทยได้ มันต่างกันตรงนี้นี่เอง
มันต้องแขวะกันขนาดนั้นเชียว?
แล้วจริงๆ เค้าต้องการสื่อคำว่า รัฐบัญญัติ ที่ใช้กับประเทศที่ไม่มีกษัตริย์
ผมมองตรงข้าม แปลให้คนไทยอ่าน แต่กลับไม่ให้ความสำคัญกับการเทียบระดับกฏหมาย ด้วยระบอบการปกครอง (ทั้งๆ ที่มันเทียบกันได้) แปลมาแล้วสุดท้ายคนต้องไปค้นเอาว่ามันเป็นกฏหมายระดับไหน
ผมว่ามันยิ่งเป็นการแปลอังกฤษเป็นไทยไปใหญ่เลย
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
พระราชบัญญัติในประเทศไทยเป็นกฎหมายบังคับใช้ทั่วไป ที่มีศักดิ์สูงสุด รองจากรัฐธรรมนูญ
เทียบได้กับ Act of Parliament ในประเทศระบบรัฐสภา และ Act of Congress ในข่าวฉบับนี้ ที่เป็นกฎหมายระดับรัฐบาลกลาง
ถ้าเทียบเท่าจริงๆ ก็น่าจะเป็น พระราชกำหนด?
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
รัฐบัญญัติครับ
ในที่นี้ไม่น่าจะหมายถึงรัฐใดรัฐหนึ่งในสหรัฐฯ แต่หมายถึงรัฐบาลเสียมากกว่าครับ(บรรทัดนี้แจงไว้ เดี๋ยวบางคนจะคิดไปไกล)
แต่เนื่องจากไทยไม่มีระบบรัฐ เลยหาที่เท่ากันจริงๆ ไม่ได้??
ประกาศเทศบาลอะไรอย่างนั้นน่าจะเล็กไป
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
กฎหมายฉบับนี้เป็น Act of Congress ครับ ในไทยน่าจะเทียบเคียงได้เท่ากับพระราชบัญญัติ เพราะเป็นกฎหมายระดับสูงของรัฐบาลกลางเหมือนกัน ( ไทยเป็นรัฐเดี่ยว ดังนั้นใหญ่สุดอยู่แล้ว )
ก็น่าจะใช้คำว่า รัฐบัญญัติ ได้ โดยตัดตำว่า พระ และ เปลี่ยนคำว่า ราช ออก
ส่วนที่หาเท่ากันยาก คือกฎหมายระดับมลรัฐครับ ซึ่งในไทยไม่มี
ส่วนพระราชกำหนดนั้น เป็นกฎหมายระดับพอๆกับพระราชบัญญัติ แต่มีศักดิ์ต่ำกว่า เพราะผ่านกฎหมายออกมาด้วยขั้นตอนน้อยกว่า นิยมใช้ในกรณีเร่งด่วน
ดราม่าแล้วสิ หึหึ
Apple ก็ทำ Apps ไปปล่อยบน Android บ้างเลยสิ จะได้หายกัน
ความลับไม่มีในโลกจริงๆ โดยเฉพาะกับ Google เจ้าแห่งข้อมูล
ส่วนใหญ่ที่เห็นแปลและใช้กัน คือ "บทบัญญัติแห่งรัฐ...." ครับ
แสดงว่า "ข้อมูลเวอร์ชันเต็ม" search ไม่เจอใช่ป่ะคับ lol
จะว่าไป ต่อให้ google จะครองโลก แต่ก็ยังทำตัวภาพลักษณ์ดีอยู่เสมอๆ นะ
อยากรู้ว่า apple จะชี้แจงตอบกลับรึเปล่า แต่ไม่น่าจะโกหกเลย ความแตกทีนี่ภาพลักษณ์เสียมากๆ
เชียร์หุ่นเหมือนกัน มาปราบโทรศัพท์ผลไม้แหว่งซะทีเหอะ
Apple ออกมาตอบแ้ล้วครับ
อ้างอิงจาก Engadget
My Otaku Blog
อันนี้ผมมองว่าเป็นสิทธิ์ของ Apple
ในต้นข่าวมีคนให้เหตุผลที่น่าสนใจไว้ครับ ประมาณว่า 'แล้วคุณจะคิดยังไงถ้าซื้อรถมา1คันแล้ว คนขายบังคับว่าคุณต้องใช้น้ำหอมปรับอากาศยี่ห้อนี้เท่านั้นภายในรถ ต้องห้อยเครื่องประดับยี่ห้อนี้เท่านั้นตรงกระจกมองหลัง ฯลฯ'(เข้าใจง่ายๆประมาณนี้) ซึ่งมันไม่make senseครับ คนเราควรจะมีเสรีภาพในสิ่งที่เราซื้อมาไม่ใช่หรือ? แล้วถ้ามีคนจำเป็นต้องใช้Google voiceแต่ซื้อIphoneมาแล้วล่ะ
ปล.อ่านต้นเรื่องแล้วฮามาก มีคนเสนอว่าให้google voiceลงwindows mobile แล้วเราจะได้เห็นโฆษณา'I'm Windows Mobile and I can run google voice'
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
+1 ผมนั่งอ่าน Comment แล้วฮามาก
My Otaku Blog
ถ้าเป็นงั้นจริงก็ต้องเรียกว่า windows mobile ส้มหล่นล่ะ
+1
+1
http://tomazzu.exteen.com
แต่ตอนนี้ที่ซื้อมาก็ไม่ได้คิดว่ามันจะมี Google Voice อะ
ผลประโยชน์ตกที่ผู้ใช้รึป่าว... เลิกใช้ผลไม้แหว่ง 55
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
Drama ชัดๆๆๆๆ
Blog
ยอมรับในการตัดสินใจของศาสดา ครับ
ภาพประกอบที่ Techcrunch ฮาจริงๆ
3b) มีฟีเจอร์มากกว่าโปรแกรมแผนที่ของ iPhone
น่าสนใจนะครับ เนื่องจากจะกลายเป็นว่าถ้าโปรแกรมใดมีฟีเจอร์มากกว่า ซึ่งฟีเจอร์ที่ว่านี้อาจจะไม่ดีเท่าของไอโฟนหรือดีกว่าของไอโฟนมีสิทธิฺโดนปฎิเสธจาก apple ได้
น่ากลัวไม่ใช่น้อยเลยที่เดียว มีฟีเจอร์มากกว่าก็ผิดหรือนี่แล้วจะพัฒนาโปรแกรมกันยังไงละ เนื่องจากต้องดูว่าฟีเจอร์ของเราเทียบกับของ apple ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากันเท่านั้น ห้ามเกินโดยเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นแล้วอาจโดนแบนได้
จะลง drama addict ไหมนะ ฮา...
ดราม่าเอยขอจงซับซ้อนยิ่งขึ้น
รอดูตอนต่อไป เชียร์กูเกิ้ล
ห้ามเจ๋งกว่าเจ้าที่ ไม่งั้นท่านไม่รับapp
ขอให้ ผลไม้ โดนศาลสั่งปรับสะให้เข็ด
ดู ๆ แล้ว ผลไม้ หน้าเลือดกว่า M$ สะอีก
zealots จงเจริญ เอาเลย กัดกันเลย อยากดู
ฮาๆๆๆๆๆ
เพื่อ?
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ความเห็นแนวนี้ถ้าผมพบอีก ผมลบนะครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
นี่คือเหตุผลนึงล่ะ ที่ผมเลือกไม่ซื้อไอโฟน ไม่ชอบนโยบายแบบนี้ ของศาสดาสตีฟจ๊อบ
My BLog and ดี-จ้า