มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ มีไอเดียว่าน่าจะลากสายไฟเบอร์ออปติกไปยัง "สถาบันหลักของชุมชน" ทั่วสหรัฐ ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัยชุมชน โรงพยาบาล ห้องสมุด ฯลฯ ประมาณ 123,000 แห่ง และประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นว่าน่าจะอยู่ราวๆ 5,000-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3 แสนล้านบาท)
ทางมูลนิธิได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนี้ และทำรายงานเสนอไปยัง FCC (กทช. ของสหรัฐ) ซึ่งทาง FCC ก็กำลังอยู่ระหว่างการวางแผนโครงการเมกะโปรเจคต์ National Broadband Plan ที่จะวางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วสหรัฐ โดยเปิดรับไอเดียจากภาคีทุกภาคส่วนของสหรัฐ
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 FCC จะเลือกไอเดียจำนวนหนึ่งและประกาศเป็นแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ ถ้าไอเดียของมูลนิธิเกตส์ผ่านก็คงได้เห็นกันอีกไม่ช้า
ที่มา - Ars Technica
Comments
ขอซัก2% มาเดินให้ประเทศไทยบ้างได้ไหม
+1
WE ARE THE 99%
ไทยเราจะมีใครตั้งมูลนิธิแบบนี้บ้างไหมเนี่ย
Idea ดีมาก
เมืองไทยให้ 3G มันคลอดก่อนเหอะ > * <
ของไทย รมต. ICT คงไม่ให้ทำครับ เดี๋ยว TOT กะ CAT เสียผลประโยชน์ ฮา...
ผมว่างั้นชัวร์
ชื่นชมลุงเกตส์
ไทยเรา ไม่ต้องมีมูลนิธิ ครับ เพราะ รัฐบาลให้งบ "ไทยเข้มแข็ง"
มาเดินสาย Fiber Optic จาก มหาวิทยาลัย ไปสู่โรงเรียน และ กลุ่มอาชีวะแล้วครับ รวมทั้งหมด 3000 แห่ง
แต่โครงการนี้นานหน่อย 2553-2555 รวม 3 ปี
http://www.uni.net.th/UniNet/DocNews/Fiber_09_edit.pdf
ส่วน รร.อื่นๆ อีกนับหมื่น รร. คาดว่าขึ้นกับ รบ.ถัดไป จะเห็นควรว่าเดินเองต่อไป หรือ "เช่า" เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ตอนนี้ ก็เป็น แม่แบบไปก่อน 3,000 สถานศึกษา
ของสหรัฐก็ไม่ใช่เงินของมูลนิธิเกตส์ครับ แค่ไปช่วยศึกษาตัวเลขเฉยๆ ทาง FCC ได้งบจาก Recovery Act ซึ่งก็คืออันที่เป็นต้นแบบของไทยเข้มแข็งนั่นล่ะครับ
อ่านไม่ดีเอง นึกว่า มูลนิธิของบิลให้เงิน
ส่วนของไทยเรา ครผลัดดันเป็นความร่วมมือของ MOE และ Uninet ที่ท้ายที่สุด ไม่ควรแยกกันทำ
MOE น่าจะลงไปพลักดันให้แต่ละ สพฐ.ที่มี Datacenter เป็นคนดูแลประสานงาน network ของโรงเรียนอีกที
จะได้ไม่ต้องมีภาระกับส่วนกลาง เพราะส่วนกลางดูแล้ไม่ไหวแน่ๆ
ขอ MOE อย่างเดียวได้มั๊ย ชอบ :P
กระทรวงโมเอะ
ภาวนาขอให้มันใช้ได้จริงๆ เถอะ
ถ้ามันใช้ได้จริงๆ จะเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นมากๆ
ในเบื้องต้นจะเป็นโรงเรียนที่มีศักยภาพในการดูแลตัวเองได้ อย่างกลุ่มโรงเรียนในฝัน โรงเรียนดีเด่น ครับ
แบบทั้งโรงเรียน มีครู 2 คนนั้น ก็คงไม่ได้ Fiber ในโครงการนี้ครับ
แต่โครงการหน้า ถ้ามีก็ดีครับ แต่อย่างว่า มันใช้งบประมาณเยอะนะครับ ดูจากตัวเลขที่จ่ายแต่ละงวด
ลากสายเสร็จ
ถามว่า ปลายสาย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่มั้ยครับ ? (ฮา)
(อันนี้ ตอบความเห็นข้างบน ที่พูดถึงเมืองไทยนะ)
+100
มันจะเหมือนคอมพิวเตอร์พร้อมโมเด็มพร้อมเชื่อมต่ออินเทอร์เนต แต่โทรศัพท์ยังเข้าไม่ถึง อย่างที่เคยเป็นหรือเปล่า
3000 สถานศึกษาที่ว่าคัดมาแล้วครับ ไม่ใช่โรงเรียนทั่วๆ ไป
โรงเรียนเหล่านี้เป็นโรงเรียนที่พอดูแลระบบเองได้ระดับหนึ่ง ไม่ใช่เสียก็ปล่อยมันไป
อยากจะบอกว่า เป็นการต่อยอดจากโครงการ โรงเรียนในฝันครับ
เทคโนโลยีเมื่อก่อน มันยังไม่ถึง โครงการโรงเรียนในฝัน ทำได้เพียงแค่
1. โทรศัพท์ สอง สาย ทำ load balancing สำหรับ รร ที่ใกล้ชุมสายหน่อย 2. IPStar โรงเรียนที่กันดานมากๆ 3. Leadline รร ในเมือง
เรื่องนี้ มีการพยายามดันกันมาก่อน แต่ติดที่ เทคโนโลยี อย่าง ADSL เพิ่งเข้าต่างจังหวัดไม่กี่ปี
อยากเป็น นายก จริงๆ พับผ่า จะโล๊ะ เรียนฟรี(ไม่จริง) มาทำ ict ไปทุก โรงเรียน
ที่โรงเรียนมีไฟเบอร์วิ่งอยู่ประมาณ 10+ เส้น ยังช้ากว่าเน็ตทรูที่บ้านอีก
นั่นสิ สายพวกนี้มันเร็วขนาดไหน หรือเป็นแค่สายไฟเบอร์ดูโก้ๆแต่ไปจ่ายค่าแบนด์วิดท์เอาเองแล้วโรงเรียนมีงบแค่เส้นละ 56k
ผู้ใช้กี่คนละครับ ?
ถ้ามันสิบกว่าเส้น ผู้ใช้สามพันกว่า จะอืดก็ไม่น่าแปลกนะ ?