Eric Schmidt ซีอีโอของกูเกิลไปให้สัมภาษณ์นักข่าวในประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวว่า "คนที่แคร์เรื่องความเป็นส่วนตัวไม่ควรโพสต์ข้อมูลใดๆ ลงในอินเทอร์เน็ต" โดยขยายความต่อว่าบริษัทในอเมริกาทุกแห่ง ซึ่งรวมถึงกูเกิลด้วย ต้องปฏิบัติตามกฎหมายความมั่นคงของชาติ (Patriot Act) และมีโอกาสโดนรัฐบาลเรียกดูข้อมูลได้เสมอ
คำพูดนี้ทำให้ Asa Dotzler ผู้จัดการฝ่ายชุมชนของ Mozilla ไม่พอใจ โดยเขาเสนอให้ Firefox เปลี่ยนไปใช้ Bing แทน เนื่องจากมีนโยบายด้านความเป็นส่วนตัวที่ดีกว่ากูเกิล
ระยะหลังมานี้ ความสัมพันธ์ของกูเกิลกับ Mozilla แย่ลงมาก หลังจากกูเกิลมีเบราว์เซอร์ของตัวเอง และมีการคาดหมายกันว่า Mozilla อาจไปจับมือกับไมโครซอฟท์แทน พอมีประเด็นทำนองนี้ขึ้นมาเลยเป็นข่าวทันที (แต่เหมือนจะลืมไปว่าไมโครซอฟท์ก็อยู่ใต้ Patriot Act เหมือนกัน)
ที่มา - CNET
Comments
"ความสัมพันธ์ของกูเกิลกับ Mozilla แย่ลงมาก หลังจากกูเกิลมีเบราว์เซอร์ของตัวเอง"
อ่าว... MS ก็มี IE นี่ครับ
MS ไม่เคยมีความสัมพันธ์กับ Mozilla มาก่อนไงครับ
คิดเล่น ๆ ถ้า MS ซื้อ Firefox หรือเป็นผู้สนับสนุนหลักมันจะเป็นยังไง
ต้องเปลี่ยนไป baidu
+1 ให้เลยครับ หาเพลง กับ mv ต่างประเทศ อย่างเทพเลยครับเว็บนี้.
แล้ว Mozilla ยังได้เงินจาก google อยู่ไหมนี่
iPAtS
ตอนนี้ยังได้แต่ในอนาคตก็เสียวๆ อยู่นะ
ผมเห็นด้วยนะ "คนที่แคร์เรื่องความเป็นส่วนตัวไม่ควรโพสต์ข้อมูลใดๆ ลงในอินเทอร์เน็ต"
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนะครับ ขอมองต่างนิดนึง สำหรับผมมันเหมือนกับบอกผมว่า
- คนที่แคร์เรื่องความเป็นส่วนตัว ไม่ควรออกจากบ้าน
- คนที่แคร์เรื่องความเป็นส่วนตัว ไม่ควรมีหน้าต่างกระจกที่บ้าน
- คนที่แคร์เรื่องความเป็นส่วนตัว ไม่ควรออกจากบ้านโดยเปิดเผยใบหน้า ฯลฯ
แล้วทีนี้พวกธุรกรรมต่างๆ บน internet ล่ะครับ มันก็ควรจะเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ใช่เหรอครับ
ที่ว่าๆกันมานี่ เข้าใจความหมายของคำว่าความเป็นส่วนตัวกันมากแค่ไหนหรือถึงระดับไหนกันหรอคับ
งั้น ขอรบกวนอธิบายนิดนึงนะครับว่า ความเป็นส่วนตัวที่ใช้กันใน internet คือยังไงเหรอครับ คือว่า ผมอ่านข่าวแล้วคำพูดมันค่อนข้างน่าตกใจน่ะครับ เลยสงสัยว่า อะไรควรจัดอยู่ในสิ่งที่ต้องได้รับความคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ผมเข้าใจ point ที่ว่า ถ้าจะให้ดี ก็ไม่ควรโพสเรื่องส่วนตัวใน internet ถ้าไม่อยากให้ใครรู้ แต่ผมอาจจะไม่เข้าใจเรื่องความเป็นส่วนตัวใน internet น่ะครับ ว่า scope มันแค่ไหน รบกวนด้วยนะครับ
[ส่วนตัว] คิดว่าปัญหาอยู่ที่ข้อมูลที่ถูกเอาลง Internet น่ะครับ
อย่างผมไปอเมริกาได้เพื่อนมาคน จำได้แค่ชื่อ
5 ปีถัดไปผมแค่คีย์ลง Google ก็ได้ทั้งที่อยู่ เบอร์มือถือ อีเมล์ ทำงานที่ไหน โอ้โหหาได้หมด
หรือบางทีได้แค่เบอร์โทรศัพท์ เราก็หาที่อยู่ได้ เอาไปป้อนลง map ได้อีก
เยอะแยะครับ ผมว่าชาวอเมริกันอยู่ส่วนตัวไม่ค่อยได้แล้วล่ะครับ 555+
เพราะงั้นองค์กรต่างๆก็มีส่วนสำคัญนะครับ อย่าเอาข้อมูลลงเนตมาก เพราะอาจทำให้ข้อมูลลูกค้าสามารถถูกเจาะได้เช่นกัน
จริงๆพวกธุรกรรมการเงินของธนาคารต่างๆบน Internet ก็ไม่แน่ว่าปลอดภัย 100%?
ก็ประมาณนั้นแหละครับมั้งครับ
ตามประเด็นบน Internet ผมเห็นด้วยว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเอาใจใส่คับ โดยเฉพาะ social networking site นี่เป็นตัวที่จะมีข้อมูลส่วนตัวมากที่สุด และก็อยู่ที่ how secure the site is ล่ะมั้งคับ ที่จะปกป้องข้อมูลของเราไว้
ส่วนเรื่องของ search engine ผมว่าแต่ละ query นั้นมักจะเป็น keyword ซะมากกว่าและน้อยที่จะเป็น full information that can lead to a person และ privacy policy โดยมากก็จะเห็นเค้าเขียนเป็น anonymous ตามข้อตกลง แต่ผมคิดว่ามันก็ต้องมี ip address ที่แน่นอนว่าจะโดนตามมาถึง ณ ที่ใช้งานได้
เป็นเรื่องดีที่เราได้รับรู้และระมัดระวังการใช้งานกันมากขึ้นกันไป
ปล. เจ้าตัวบริษัทคงไม่น่ากลัวหรอกคับ ที่น่ากลัวคือ CIA หรือ US gov นี่แหละคับ ตัวดี
ถ้าคุณว่า การออกจากบ้านและติดหน้าต่างกระจกที่บ้าน เหมือนกับอินเตอร์เน็ต ผมก็เห็นด้วยกับคุณ 100% เลยครับ :)
ใช่แล้วครับ
ไม่มีอะไรที่เป็นส่วนตัวทั้งหมดอยู่แล้วครับ และก็ไม่จำเป็นต้องส่วนตัวทั้งหมดตลอดเวลา
สำหรับเรื่องหน้าต่าง ถ้่าต้องการความเป็นส่วนตัว ก็มีม่านให้ใช้ครับ ถ้ากลัวใครจะแอบดูก็ปิดซะ ก็เหมือนกัน ถ้าต้องการความเป็นส่วนตัวก็ SSL (ปิด re-negotiation ด้วยนะ :P ) ก็เหมือนปิดม่านตอนนอน แต่ถ้านั่งกินข้าวก็ไม่เห็นจะต้องปิดม่านไปทำไม ก็ส่ง plaint text กันไป ลด overhead ก็แบบเปิดม่านกินข้าวดูวิว
สำหรับธุรกรรมอันนี้ต้องส่วนตัวแน่ๆ ผมก็ไม่เห็นว่าจะมีไซท์ไหนเอาธุรกรรมลูกค้่่ามาเปิดให้ crawler มาดึงไปได้นะ ถ้ามีก็ไม่มีใครกล้าใข้แน่ๆ
สำหรับความเป็นส่วนตัวเราก็ต้องป้องกันตัวเองด้วยส่วนหนึ่ง ไม่ควรไปไว้ใจ private ทั้งหมด ถ้าอยากส่วนตัวจริงๆ เขียนเมลคุยกันแล้วแนบรูปดีกว่า
search engine แค่มีหน้าที่ crawler กับลบ index ที่เจ้าของต้องการให้ลบ แต่ถ้ามีเจ้าหน้าที่มาขอดู ก็ต้องยอมให้ดูอยู่ดี
+1
แต่ตอนนี่เค้า search ด้วยรูปได้แล้วนะ xD
ไม่จริง ถึงเราไม่ post คนอื่นมันก็ post
ตัวอย่าง เช่น เวปฯมหาลัย มีรายชื่อนักศึกษา หน่วยงานมีรายชื่อบุคลากร
นั้นมันข้อมูลที่ต้องเปิดเผยอยู่แล้่วนี่ครับ แบบนั้นออกจากบ้านไปอ่านที่บอร์ด/ผังบุคลากรก็ได้ข้อมูลนี้อ่ะครับ จริงๆ ผมหมายถึงพวกธุรกรรมทางธุรกิจหรือธนาคารอะไรพวกนี้น่ะครับ ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ ขออภัยที่พิมพ์งงๆ แบบชาวบ้านๆ น่ะครับ
งงครับ
เห็นด้วยเลยครับ ที่ทางองค์กรต่างๆต้องดูแลให้ดี โดยเฉพาะของไทยเราที่ยังไม่สามารถพัฒนารักษามาตรฐานกันได้เท่าไหร่นัก
อย่างลอง search เลขรหัสประจำตัวประชาชน ก็เจอใช่ไหมละคับ น่าขำขันยิ่งนัก
อย่างที่อเมริกานี้ เรื่องพวกนี้จะ secure และ protect by law มากๆล่ะคับ
ซวยหล่ะ seach บัตรประชาชนตัวเองเจอซะแล้ว
เจอเหมือนกันแฮะ..
"นักข่าวฝนประเด็น"
แปลไทย-อังกฤษกลับไปกลับมางงตั้งนาน
ก้มมาดูแป้นคีย์บอร์ดถึงเก็ต
ฝ กะ ใ มันใกล้กัน ฮี่ฮี่
เผอิญผมไม่ได้ใช้เครื่องตัวเองพิมพ์ครับ ขออภัยในความผิดพลาด
Firefox มี search engines เป็นของตัวเองเลยดีที่สุด
แบบนั้นจบเห่สิคับ
อ้าวแล้วไหนจะ Malware Filter ที่ใช้ของ Google ด้วยหล่ะ (= ="
กำลังหัวเสียกับเว็บที่ใช้สคริปได้แต่บน IE อยู่อย่างเดียวพอดี
(พอคลิกไปหน้าต่อไปปุ๊ป IE8 Crash และ Close -- อยากให้ MS โล๊ Code IE แล้วพัฒนาใหม่หมดเลย..)
โละทำใหม่ อาจจะได้ IE ที่ห่วยกว่าเดิม
onedd.net
ทำไมต้องห่วยกว่าเดิมล่ะ - -"
ดู netscape 6 เป็นตัวอย่างน่ะครับ
onedd.net
ผมว่าน่าจะดีกว่าเดิมนะ..
ทุกวันนี้ที่ห่วยอยู่ก็เพราะว่ามันเป็นของเก่าเอามาพัฒนาแล้วพัฒนาอีก บั๊กที่อยู่ดีๆเน่าแล้วก็ปิดไปเองเลยๆกลายเป็นของอมตะนิรันกาลบน IE ทุกเวอร์ชัน
(IE เวอร์ชันแรกก็ไปซื้อของเขามาพัฒนาต่อ ทำนองเดียวกับ Dos ไม่ได้เริ่มเขียน Code เองแต่อย่างใด)
เทคโนโลยีด้าน Intellectual Property ไม่มีอะไรที่เริ่มจากศูนย์อยู่แล้วครับ ทุกอย่างต้องต่อยอดขึ้นมาทั้งสิ้น
คิดง่ายๆ ลองนึกว่าถ้าไมโครซอฟท์บอกว่า Windows รุ่นถัดไป จะทิ้งโค้ดเก่าทั้งหมด นั่งเขียนขึ้นมาใหม่ ละก็ คงรอกันเป็นสิบๆปี บั๊กก็คงกระจายยิ่งกว่านี้อีก (บั๊กเป็นสัดส่วนโดยตรงกับโค้ดที่เขียน โดยเฉพาะโค้ดที่ยังไม่ได้ทดสอบ)
การบอกว่า __<เติมคำในช่องว่าง>_นั้นห่วย นั่นมันง่ายมากที่จะพูดนะครับ แต่มันยากมากที่จะทำอะไรสักอย่างโดยไม่ให้ใครพูดแบบนั้นได้
ท่อนสุดท้ายคมมากครับ
อ่านแล้วอยุดกึกเลย.. ^^
+10
แต่ผมแอบเชียร์ให้เอา Webkit มาพัฒนาต่อนะ... อิอิ
Identity ของใคร ก็ปกป้องกันเอาเอง
firefox 2 ประทับใจขั้นเทพ มา firefox 3 ก็ยังใช้อยู่ แต่เริ่มรับไม่ได้ในความอืดและรับประทาน ram มากกว่าเจ้าอื่นๆ หวังว่า firefox 3.6 จะแก้จุดด้อยตรงนี้ออกไปบ้างก็ดีนะ แอบมอง Eric Schmidt นิดหน่อยหลังๆมาเป็นอะไรครับ แว้ง...กับชาวบ้านเค้าไปทั่ว สงสัยเริ่มเข้าสู่วัยทอง
ผมแนะนำให้เอา 3.6 beta มาใช้เลยครับ
แต่เท่าที่ผมทดสอบดู ผมพบว่า FF ดันกินแรมน้อยที่สุดนะครับ เสียอย่างเดียวคือตื่นสาย
ผมทดสอบเทียบกับ IE และ Chrome พบว่าถ้าเปิดหลายๆ แท็บ FF จะกินแรมเกือบๆ คงที่ ในขณะที่อีกสองตัวกินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถม FF ผมยัด add-ons/plug in เข้าไปตั้งเยอะ ในขณะที่อีกสองตัวไม่ได้ทำอะไร และที่ใช้ทดสอบคือเวอร์ชัน 3.5 เอง (ในขณะที่อีกสองตัวใหม่สุด)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
พึ่งไปเจอข่าวใหม่ฮากว่าเดิมอีก..
"กองทัพฝรั่งเศสเลือก Mozilla เป็นโปรแกรมหลักในการส่งผ่านข้อมูลความลับแทน Outlook จาก Microsoft"
http://www.pantip.com/tech/newscols/news/111209g.shtml
จาก Pantip
ผมจะรอ Microsoft Firefox ในซักตัว ฮาๆ
มีคนบอกว่า
"การส่งข้อมูลบนเน็ตก็เหมือนส่งไปรษณีย์บัตร ใครๆ ก็แอบอ่านได้"
เค้าไม่ได้บอกว่าใครๆ ก็ดูได้นะ แต่บอกว่ารัฐขอดูได้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
เพื่อนเก่า (ผู้หญิง) ผมสมัยประถม Search เบอร์โทรผมเจอจากในเว็บของ true
ที่ผมเคยทำ passtime สมัยเรียน
แล้วดันโทรมาตอนอยู่กับแฟน เจริญ...เกือบตาย
ถ้าจะกลายเป็นพันธมิตรกันจริงๆ IE อาจจะสูญพันธุ์แล้ว MS อาจจะใช้ Firefox เป็น Browser หลักแทนก็ได้นะครับ
ที่ไมโครซอฟท์จะใช้ไฟร์ฟ็อกซ์เนี่ย คงไม่ใช่ "การเข้าฮุบ" หรอกนะ :P (ว่าแต่ เข้าฮุบได้หรือเปล่าหว่า??)