เมื่อปี 2007 เคยมีข่าวว่า บริษัท Monsoon โดนฟ้องข้อหาละเมิด GPL ของซอร์สโค้ด BusyBox เนื่องจากเอา BusyBox ไปใช้ในอุปกรณ์ของตัวเอง แต่ไม่ยอมปล่อยซอร์สโค้ดออกมาตามเงื่อนไขของ GPL (BusyBox คือซอฟต์แวร์ที่รวมคำสั่งและเครื่องมือที่ใช้บ่อยของ UNIX สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว)
หลังจากนั้นก็มีบริษัทโดนฟ้องด้วยข้อหานี้อีกเรื่อยๆ (ทั้ง Cisco และ Verizon โดนกันมาหมดแล้ว) ล่าสุดโดนกัน 14 บริษัทซึ่งมีบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Best Buy, Samsung, JVC โดยอุปกรณ์ที่โดนฟ้องก็มีตั้งแต่ HDTV ของ Samsung หรือเครื่องเล่น Blu-ray ของ Best Buy
เรื่องละเมิด GPL นี่โดนกันมาเยอะแล้ว ทั้ง Linksys WRT54G รุ่นดัง (เว็บไซต์ของ Linksys กรณี GPL) และกรณีของ D-Link ในเยอรมนี ผมเคยคุยกับคนของ Free Software Foundation เขาโฆษณาว่าคดีฟ้องละเมิด GPL ที่ผ่านมา ผู้ฟ้องยังไม่เคยแพ้คดีแม้แต่ครั้งเดียว
สรุปว่าใครที่เอาโค้ดไปใช้ก็อย่าลืมปฏิบัติตามเงื่อนไขของโค้ดด้วยนะครับ
ที่มา - ZDNet
Comments
อย่างนี้ DD-WRT โดนด้วยหรือเปล่าครับนี่?
บล็อกของผม: http://sikachu.com
DD-WRT มันหาโหลดได้อยู่แล้วนี่ครับ?
lewcpe.com, @wasonliw
DD-WRT เป็นผลมาจาก Linksys แพ้คดี GPL นี่ล่ะครับ
รุ่นดังนี่มัน WRT54G ไม่ใช่รึ?
แก้แล้วครับ
แปลกใจตรง HDTV เนี่ยแหละ
ทีวีเดี๋ยวนี้ฟีเจอร์เยอะนะครับ สำหรับการใช้เชื่อมต่อคอมทั้งนั้น
เช่นเล่นเน็ต สั่ง Register product , Upgrade Firmware
ปรับไขค่าสีก็ทำได้ละเอียดเหมือนจอ Monitor ด้วยครับ
และที่สำคัญ มี PNP (PlugNPlay) ด้วย เสียบปุ๊ปเห็น Device ปั๊ป เหมือนจอคอมตัวหนึ่ง แถมสามารถจัดการ Manage จอได้ด้วย (อันนี้ขนาดจอ LCD TV 32 นิ้วตัวเล็กของผมยังมี ^^ )
แต่ทีโดนฟ้องนี่สงสัยว่าน่าจะโดนเกี่ยวกับ Feature ด้าน Network ของ HDTV
อีกหน่อยอาจถามกัน Is your tv rooted?
การฟ้องนี่ ผู้ฟ้องได้ผลประโยชน์เป็นจำนวนเงินรึเปล่าน่ะครับ?
หรือว่าแค่บังคับให้ผู้ผลิตเปิดเผยซอร์สโค้ดเท่านั้น?
จุดประสงค์ คือต้องการให้เปิดซอร์สโค้ด และเป็นตัวอย่างให้บริษัทอื่นๆ ทำตาม
ส่วนจะมีตัวเงินหรือไม่ อันนี้ไมทราบครับ (ค่าเสียเวลามันต้องมีบ้างอ่ะน๊าาา)
:: DigiKin8 ::
ฟ้องแบบนี้เห็นควรด้วยครับ เขาอุตส่าห์ทำมาให้เผยแพร่ได้แล้วดันเอาของเขาไปใช้แล้วไม่เผยแพร่ต่อซะงั้น
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!