กูเกิลยื่นข้อเสนอแผนเยียวยาตามขั้นตอนทางกฎหมาย หลังจากศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสินคดีว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดธุรกิจค้นหาข้อมูล (Search) จริง ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเป็นฝ่ายฟ้องร้อง และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้เสนอแผนเยียวยาเมื่อเดือนที่แล้ว ให้ศาลสั่งกูเกิลแยก Chrome ออกมาเป็นอีกบริษัท รวมทั้งให้กูเกิลเปิดไลเซนส์ข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งสามารถนำไปปรับปรุงบริการได้
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ยื่นเรื่องไปยังศาลอย่างเป็นทางการ ให้มีคำสั่งแยก Chrome ออกจาก Google มาเป็นอีกบริษัท หลังศาลมีคำตัดสินว่า Google มีพฤติกรรมผูกขาด Search
กระทรวงยุติธรรมอ้างอิงคำอธิบายของผู้พิพากษา Amit Mehta ที่ระบุในคำตัดสินว่า เบราเซอร์ Chrome มีส่วนช่วยในการผูกขาด Search ซึ่งนอกจากการแยกบริษัทแล้ว กระทรวงยังเสนอให้ Google เปิดไลเซนส์เรื่องข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งนำไปใช้ปรับปรุงบริการของตัวเอง ไปจนถึงเรื่องความโปร่งใสในการแสดงผลโฆษณาและต้อยอมให้เว็บไซต์ opt-out การนำข้อมูลไปใช้เทรน AI
Workplace Relations Commission (WRC) องค์กรกึ่งตุลาการด้านแรงงานของไอร์แลนด์มีคำสั่งให้ X จ่ายเงินชดเชยให้กับ Gary Rooney อดีตพนักงานของ X กว่า 550,000 ยูโร หรือกว่า 21 ล้านบาท เพราะมองว่าการส่งอีเมลของ Elon Musk เพื่อให้พนักงานว่าจะทำงานในโหมดฮาร์ดคอร์หรือจะลาออกและรับเงินชดเชยเข้าข่ายการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
หลังจาก Elon Musk ซื้อ Twitter ในช่วงปลายปี 2022 เขาร่อนอีเมลหาพนักงานทั้งบริษัทเพื่อแจ้งว่า “พนักงานจะต้องทำงานอย่างดุเดือดยาวนานหลายชั่วโมงภายใต้ความกดดันอย่างสูง” พร้อมยื่นคำขาดให้พนักงานกด ‘ยอมรับ’ ภายใน 24 ชั่วโมง หรือเพิกเฉยอีเมลแล้วโดนเลิกจ้างพร้อมรับเงินชดเชย 3 เดือน
ก่อนหน้านี้กูเกิลถูกฟ้องร้องแบบกลุ่ม ในประเด็น Chrome มีการติดตามข้อมูลผู้ใช้งาน แม้จะเปิดโหมดไม่ระบุตัวตนหรือ Incognito ซึ่งการฟ้องร้องนั้นเรียกค่าเสียหายถึง 5 พันล้านดอลลาร์ ล่าสุดมีรายงานว่ากูเกิลได้ตัดสินใจเจรจาเพื่อยุติคดีนี้แล้ว โดยรายละเอียดข้อตกลงจะนำเสนอต่อศาลเพื่ออนุมัติในเดือนกุมภาพันธ์
ข้อกล่าวหาจากกลุ่มผู้บริโภคระบุว่า แม้ผู้ใช้งานจะเปิดโหมด Incognito ไว้ แต่กูเกิลยังใช้เครื่องมือติดตามข้อมูลผู้ใช้งานได้ เช่น Analytics, แอปอื่น หรือปลั๊กอินในเบราว์เซอร์ โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลนี้กับผู้ใช้งาน ซึ่งตอนนั้นตัวแทนกูเกิลบอกว่าโหมด Incognito จะไม่บันทึกกิจกรรมผู้ใช้งานในอุปกรณ์ แต่เว็บไซต์ก็สามารถเก็บข้อมูลในเซสชันได้
เว็บไซต์ Politico รายงานอ้างอิงคนภายในหลายคนว่า FTC เตรียมจะยื่นฟ้อง Amazon ฐานผูกขาดในหลายธุรกิจ ซึ่งปลายทางอาจนำไปสู่คำสั่งศาลให้ Amazon แยกบริษัทหรือปรับโครงสร้างบริษัททั้งหมด
การสืบสวน Amazon ผูกขาดของ FTC เริ่มมาตั้งแต่ยุครัฐบาลทรัมป์ แต่ตอนนั้นประธาน FTC คนเก่า Joe Simons โฟกัสไปที่บริษัทอย่าง Meta เป็นหลัก แต่ประธานคนล่าสุด Lina Khan ที่เคยเขียนเปเปอร์เรื่องการผูกขาดของ Amazon หันมาโฟกัสที่บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของโลกแทน โดยมีการสืบสวนจากทั้งคนในและคนนอก
หลังจากการพิจารณาคดี ที่ทนายความ Steven Schwartz ใช้หลักฐานและตัวอย่างคดีปลอมจาก ChatGPT ในคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับสายการบิน Avianca ของโคลอมเบีย ล่าสุด ศาลแขวงแมนแฮตตัน สหรัฐอเมริกา มีคำสั่งให้ Steven Schwartz, Peter LoDuca (ผู้รับช่วงต่อคดีจาก Steven) และ สำนักงานกฎหมายต้นสังกัด Levidow, Levidow & Oberman ถูกปรับ 5,000 ดอลลาร์
ผู้พิพากษาให้เหตุผลว่า Steven จงใจให้ข้อมูลเท็จกับศาลโดยการใช้หลักฐานและคดีปลอมจาก AI ขณะที่สำนักงานกฎหมายของฝั่ง Steven โต้แย้งว่าเป็นความผิดโดยบริสุทธิ์ใจ
ผู้พิพากษาสหรัฐมีคำสั่งยับยั้ง (restraining order) ดีลระหว่าง Microsoft กับ Activision Blizzard หลัง FTC ยื่นคำร้อง ทำให้ดีลนี้จะยังไม่สามารถดำเนินการต่อได้ จนกว่าศาลจะมีคำตัดสินจากการยื่นขวางดีลของ FTC เมื่อปลายปีที่แล้ว
การตัดสินใจยื่นศาลออกคำสั่งยับยั้งครั้งนี้ของ FTC เกิดจากการระแวงว่า Microsoft จะรีบปิดดีลหลัง CMA ของอังกฤษไม่อนุมัติ ซึ่งตอนนี้ Microsoft ยื่นอุทธรณ์กรณีนี้อยู่ด้วย
หลังจากที่ ทนาย Steven Schwartz ถูกลงโทษหลังใช้คดีปลอมจาก ChatGPTมาใช้ในชั้นศาล มาคราวนี้ผู้พิพากษา Brantley Starr ในรัฐเท็กซัสได้กำหนดเกณฑ์ใหม่ด้วย "ใบรับรองว่าด้วย Generative AI" ซึ่งระบุว่า ทนายที่ว่าความในศาลของเขาจะต้องยืนยันว่า “ไม่มีการใช้ Generative AI (เช่น ChatGPT, Harvey.AI หรือ Google Bard) เพื่อสร้างสำนวนในเอกสารที่ใช้ในชั้นศาล ซึ่งรวมถึง "การอ้างคำพูด การอ้างอิง การถอดความยืนยัน และการวิเคราะห์ทางกฎหมาย" หรือหากมีก็จะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องโดยสื่อสิ่งพิมพ์หรือฐานข้อมูลทางกฎหมายแบบดั้งเดิมซึ่งจัดทำโดยมนุษย์เท่านั้น”
เราเห็นกรณีการนำเสนอข้อมูลปลอมจาก ChatGPT อยู่บ่อยครั้ง แต่ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกๆ ถึงผลกระทบจากข้อมูลปลอมจาก ChatGPT ในอาชีพการงาน เมื่อ Steven Schwartz ทนายความสหรัฐ ใช้ข้อมูลคดีปลอมและโควทปลอม เป็นข้อมูลในชั้นศาล
Steven Schwartz ว่าความให้ Roberto Mata ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับสายการบิน Avianca ของโคลอมเบีย จากอาการบาดเจ็บบนเครื่องที่เกิดเมื่อปี 2019 โดยทนายใช้ข้อมูลคดีและคำตัดสินจาก ChatGPT ทั้งหมด 6 คดี รวมถึงโควทและข้อมูลอ้างอิงจากการสืบสวนคดีดังกล่าว เป็นคดีอ้างอิงในชั้นศาล ก่อนที่ผู้พิพากษาจะพบว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นของปลอม
IBM ยื่นฟ้อง ปฐมา จันทรักษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ฐานละเมิดสัญญาแล้วไปร่วมงานกับคู่แข่งอย่าง Accenture ในฐานะกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว ซึ่ง IBM ถือว่าเป็นคู่แข่งในธุรกิจให้คำปรึกษา
ปฐมาเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของ IBM ตั้งแต่ปี 2018 ก่อนจะลาออกเมื่อต้นปี 2022 ซึ่งทาง IBM ก็ได้เซ็นสัญญาห้ามเปิดเผยข้อมูลและไม่ไปร่วมงานกับบริษัทคู่แข่งภายในระยะเวลากำหนด ซึ่งก็ได้มอบโบนัสจำนวน 470,000 เหรียญไปพร้อมกับสัญญาดังกล่าว ก่อนที่เธอจะไปร่วมงานกับ Accenture ในอีก 1 เดือนถัดมา
IBM จึงฟ้องร้องเพื่อเรียกคืนเงินโบนัสจำนวนดังกล่าว หลังจากบริษัทพยายามเรียกร้องโบนัสคืนจากเธอไปก่อนหน้านี้ซึ่งเธอปฏิเสธ
Meta ได้ยินยอมจ่ายเงิน 725 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อยุติคดีที่บริษัทถูกฟ้องร้องมาตั้งแต่ปี 2018 จากเหตุข้อมูลผู้ใช้หลุดไปยังบริษัทวิจัยสัญชาติอังกฤษ Cambridge Analytica
คดีนี้เกิดจากการที่กลุ่มผู้ใช้ Facebook ได้ยื่นฟ้องร้องแบบกลุ่มต่อศาลรัฐบาลกลางของเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย หลังจากมีการเปิดเผยว่า Meta ได้ให้ข้อมูลผู้ใช้มากถึง 87 ล้านบัญชีกับ Cambridge Analytica ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยที่ให้บริการพรรคการเมืองทั่วโลกเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนเสียงและความนิยมในแง่มุมต่างๆ
Ruby Johnson หญิงวัย 77 ปีเข้าฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโดว่าตำรวจได้เข้าค้นบ้านของเธอโดยผิดกฎหมายรวมทั้งกักขังอย่างผิดกฎหมายด้วย หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจหาว่ารถบรรทุกที่ถูกขโมยไปอยู่ในบ้านของเธอเพราะตามพิกัดจาก iPhone ที่อยู่บนรถด้วยแอป Find My
Google และ iHeartMedia เจรจาเตรียมจ่ายเงินมูลค่า 9.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับหน่วยงานกำกับดูแลการค้าของสหรัฐอเมริกา (Federal Trade Commission- FTC) และอัยการสูงสุดอีก 7 รัฐ หลังจากที่ถูก FTC พร้อมทั้งอัยการสูงสุดของรัฐทั้งหมด 7 รัฐฟ้องร้องจากการที่ Google ไปจ้างวานให้สถานีวิทยุในเครือบริษัท iHeartMedia อ่านสคริปต์โฆษณาสมาร์ทโฟน Pixel 4 โดยไม่ได้ส่งตัวอย่างสมาร์ทโฟนให้ลองใช้จริงก่อน
คำฟ้องระบุว่า Google ได้จ่ายเงินกว่า 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้สถานีวิทยุ iHeartRadio รวมทั้งจ่ายเงินอีกเกือบ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับสถานีวิทยุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกเพื่อให้โฆษณาสมาร์ทโฟน Pixel 4 ด้วยการอ่านสคริปต์ที่ทางฝั่ง Google เป็นคนเขียนเอง
Ken Paxton อัยการสูงสุดรัฐเท็กซัสยื่นฟ้อง Google กล่าวหาว่าบริษัทละเมิดกฎหมายรัฐโดยการเก็บข้อมูลชีวมิติ (biometric) ซึ่งนับเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวที่ต้องขออนุญาตผู้ใช้แยกจากการขอข้อมูลส่วนบุคคลปกติ
คำฟ้องระบุว่า Google ใช้ฟีเจอร์ใน Google Photos, Google Assistant และผลิตภัณฑ์กลุ่ม Nest เพื่อเก็บข้อมูลใบหน้าและการจดจำเสียงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อย่างครบถ้วน และยังนำข้อมูลไปใช้สำหรับจุดประสงค์ทางการค้า เช่น การพัฒนาอัลกอริธึมของปัญญาประดิษฐ์หรือการขายพื้นที่จัดเก็บข้อมูล
Amazon ถูกยื่นฟ้องแบบกลุ่มในสหราชอาณาจักร ถูกกล่าวหาว่าบริษัทใช้อัลกอริธึม “ลับ” กับฟีเจอร์ Buy Box ที่เป็นการเลือกร้านค้าตั้งต้นให้ผู้ซื้อสามารถกดซื้อได้ทันทีแม้จะมีผู้ขายหลายราย โดยการฟ้องระบุว่าบริษัทใช้อัลกอริธึมเพื่อทำให้สินค้าของ Amazon เองขึ้นมาก่อนสินค้าจากผู้ขายภายนอก (third party) แม้จะขายในราคาถูกกว่าทั้งบนเว็บไซต์และในแอปพลิเคชัน
การยื่นฟ้องดำเนินการโดยสำนักงานกฎหมาย Hausfeld โดยมี Julie Hunter ซึ่งเป็นที่ปรึกษาขององค์กรสิทธิผู้บริโภคเป็นตัวแทนของคนหลายล้านคน ส่วนมูลค่าความเสียหายของคดีนี้ นักเศรษฐศาสตร์ประมาณการไว้ว่าอาจสูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
Splunk ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จัดเก็บ log รายใหญ่ยื่นฟ้อง Cribl ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ยุบรวม log ฐานใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของ Splunk ในการพัฒนาซอฟต์แวร์
ความสัมพันธ์ของทั้งสองบริษัทค่อนข้างซ้อนกันไปมา Clint Sharp ผู้ร่วมก่อตั้ง Cribl นั้นเคยเป็นพนักงานระดับซีเนียร์ของ Splunk ก่อนจะลาออกไปก่อตั้ง Cribl และเมื่อก่อตั้งแล้ว Cribl ก็เป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีอยู่ในโครงการ Technology Alliance Partner (TAP) ของ Splunk ระยะหนึ่ง ก่อนที่ Splunk จะยกเลิกความร่วมมือ
ลูกค้าของ Cribl นั้นอาศัยซอฟต์แวร์ของ Cribl เพื่อกรองเอาข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไปก่อนจะเก็บเข้าระบบ SIEM และช่วงหลัง Cribl ก็เริ่มขยายขอบเขตบริการให้สามารถค้นข้อมูลได้ด้วย
Google เตรียมจ่ายเงิน 85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อยุติคดีที่ถูกอัยการสูงสุดรัฐแอริโซนาฟ้องเหตุแอบเก็บข้อมูลประวัติสถานที่ของผู้ใช้เพื่อการโฆษณา
อัยการรัฐแอริโซนายื่นฟ้อง Google ในช่วงต้นปี 2020 กล่าวหาว่า Google ละเมิดกฎหมาย Consumer Fraud Act โดยเก็บข้อมูลโลเคชันของผู้ใช้แม้แต่หลังจากที่ผู้ใช้ตั้งค่าปิดฟีเจอร์ติดตามประวัติสถานที่ไปแล้วก็ตาม
ทางฝั่ง Google โต้กลับว่ากฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคห้ามไม่ให้เก็บข้อมูลเพื่อการเพิ่มยอดขายหรือการโฆษณา แต่นโยบายการโฆษณาที่อัยการของรัฐอ้างถึงเป็นนโยบายเก่าที่ Google เปลี่ยนแปลงมาหลายปีแล้ว และยืนยันว่าปัจจุบันบริษัทได้ควบคุมและลบประวัติสถานที่ของผู้ใช้โดยอัตโนมัติ รวมทั้งจะเก็บข้อมูลผู้ใช้ให้น้อยที่สุด
ศาลประเทศเคนย่านัดวันไต่สวนคดีระหว่าง Meta และบริษัท Sama ซึ่งเป็นบริษัท outsource ผู้ดูแลและคัดกรองเนื้อหาบน Facebook หลังถูกอดีตพนักงานยื่นฟ้องเรื่องการเอารัดเอาเปรียบและละเมิดสิทธิแรงงาน โดยจะไต่สวนในวันที่ 25 ตุลาคมนี้
Daniel Motaung ชาวเคนย่าที่เป็นอดีตพนักงานของบริษัท Sama ได้ยื่นฟ้องทั้งบริษัทและบริษัท Meta ภายหลังจากที่ออกจากบริษัท
Bloomberg รายงานอ้างอิงคนในว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) กำลังเตรียมยื่นฟ้อง Alphabet กรณี Google มีพฤติกรรมผูกขาดในตลาดโฆษณา หลังสืบพยานและเตรียมคดีมาหลายปี
รอบนี้ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดว่ากระทรวงยุติธรรมจะฟ้อง Alphabet/Google ในแง่มุมไหน ขณะที่การยื่นฟ้องอาจเร็วที่สุดในเดือนหน้า ที่ศาลใดศาลหนึ่งระหว่างศาลในวอชิงตัน ที่มีคดีผูกขาด Search ค้างอยู่ หรือศาลในนิวยอร์ก ที่อัยการสูงสุดของมลรัฐมียื่นคดีผูกขาดโฆษณา Google ไว้อยู่
เมื่อปี 2020 Google เคยถูกฟ้องผูกขาดโฆษณามาแล้วครั้งหนึ่งจากทนายความจาก 10 รัฐ
สมาร์ทโฟนของ Oppo และ OnePlus ถูกศาลเยอรมนีสั่งแบนห้ามขาย หลังมีคดีความเรื่องสิทธิบัตร 5G กับ Nokia
ศาลชั้นต้นของเยอรมนีตัดสินว่า Oppo และ OnePlus ละเมิดสิทธิบัตร 5G ของ Nokia จริง และเมื่อทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเจรจาค่าเสียหายกันได้ (Nokia เรียกค่าเสียหาย 2.5 ยูโรต่อเครื่อง) ทำให้ Oppo และ OnePlus ต้องถูกสั่งแบนห้ามขายมือถือไปก่อน
ตอนนี้ Oppo อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ และหน้าเว็บของ Oppo เยอรมนี ถอดข้อมูลโทรศัพท์ออกทั้งหมดแล้ว ในเมนูหลักเหลือแค่เพียงหน้า About, ColorOS, Support เท่านั้น
Tim Hortons เชนร้านกาแฟรายใหญ่จากแคนาดา ถูกตรวจพบว่าแอพมือถือของแบรนด์แอบเก็บข้อมูลพิกัด (geolocation) ของลูกค้าโดยไม่ได้รับความยินยอมก่อน ในช่วงปี 2019-2020 และถูกหน่วยงานด้านข้อมูลส่วนบุคคลของแคนาดาสอบสวน
เรื่องนี้เป็นผลมาจาก Tim Hortons ใช้ระบบเก็บพิกัดของบริษัท Radar อีกต่อหนึ่ง โดยเก็บพิกัดของผู้ใช้แทบตลอดเวลา (แม้แอพรันอยู่ในแบ็คกราวน์) เพื่อใช้ตรวจเช็คว่าผู้ใช้เดินทางไปกลับจากบ้านและที่ทำงานอย่างไร และซื้อโดนัทจากร้านคู่แข่งรายไหนบ้าง
Elon Musk ยื่นฟ้องกลับ Twitter ในเรื่องการเจรจาซื้อกิจการที่ล่มไป แต่ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของคำฟ้องฝั่ง Elon Musk ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง
ทีมทนายของ Musk ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลรัฐเดลาแวร์เมื่อวานนี้ (29 ก.ค.) โดยไม่เปิดเผยคำฟ้องต่อสาธารณะ ส่วนคดีที่ Twitter ฟ้อง Musk ได้กำหนดวันไต่สวนแล้ว 17 ตุลาคม เป็นระยะเวลานาน 5 วัน
Tesla โดนฟ้องในเยอรมนีเกี่ยวกับปัญหาคุณภาพการประกอบของรถยนต์ โดยในคำร้องระบุว่าพบรอยแตกในโครงสร้างตัวรถ แถม Tesla พยายามจะซ่อนดังกล่าวด้วยการพ่นสีทับ
เว็บไซต์ Blid ของเยอรมนีรายงานว่าลูกค้าที่ซื้อรถ Tesla Model 3 พบรอยแตกบนตัวรถตอนกำลังเปลี่ยนยาง และพบความพยายามปิดรอยดังกล่าวด้วยการทาหรือพ่นสีทับ เจ้าของรถยนต์คันนี้จึงร้องเรียนไปยังศาลท้องถิ่นมิวนิค ซึ่งศาลได้สั่งให้นำผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรอิสระมาตรวจสอบรถ และพบว่ารถคันดังกล่าวมีความเสียหายที่ร้ายแรงมากพอที่จะทำให้ตัวรถไม่ผ่านการตรวจสอบ TÜV ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยของประเทศเยอรมนี
จากกรณี Elon Musk ล้มดีลซื้อ Twitter โดยฝั่ง Twitter ระบุว่าจะฟ้องศาลเพราะมั่นใจว่าทำตามสัญญาซื้อกิจการครบถ้วน
ล่าสุดวันนี้ Elon Musk ออกมาโพสต์ตอบโต้บริษัท Twitter (โดยโพสต์บน Twitter) เป็นมีมภาพตัวเขาเองกำลังหัวเราะเยาะ Twitter ที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลบัญชีบ็อตได้ และจะขอให้ศาลสั่งเขาซื้อบริษัทตามเดิม ซึ่งเขามองว่าการขึ้นศาลจะทำให้ Twitter ต้องเปิดเผยข้อมูลเรื่องบ็อตต่อสาธารณะ
Bandcamp แพลตฟอร์มขายเพลงออนไลน์ที่ Epic Games เพิ่งซื้อกิจการเมื่อเดือนมีนาคม 2022 เปิดฉากยื่นฟ้องกูเกิลในประเด็นเรื่องส่วนแบ่งรายได้ Google Play Store ไม่เป็นธรรมต่อแพลตฟอร์ม
ปีที่แล้ว กูเกิลออกนโยบายบังคับแอพให้ต้องซื้อสินค้าดิจิทัลผ่าน in-app billing (แบบเดียวกับที่แอปเปิลบังคับมานานแล้ว) โดยแอพที่ไม่ปฏิบัติตามจะถูกถอดออกจาก Play Store ในวันที่ 1 มิถุนายน 2022 ซึ่งกรณีของ Bandcamp เข้าข่ายนี้ (ไม่ยอมทำตาม และรอถูกถอด)
สิ่งที่ Epic ทำคือยื่นฟ้องศาลเพื่อขอความคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ Bandcamp ถูกถอดออกจาก Play Store ระหว่างคดี