The Los Angeles Times มีรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่าแอปเปิลจะเปิดโอกาสให้สำนักพิมพ์ที่จะนำหนังสือมาขายบน iBookstore เลือกได้ว่าจะให้หนังสือของตนติด DRM หรือไม่ ซึ่งเทคโนโลยีที่แอปเปิลใช้มีชื่อว่า FairPlay
เทคโนโลยี DRM ของแอปเปิลจะทำให้สำนักพิมพ์สามารถควบคุมการก็อปปี้หนังสือของตนไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ของผู้ใช้ในปริมาณที่กำหนด แต่แอปเปิลจะยังเปิดโอกาสให้สำนักพิมพ์ที่ไม่ต้องการใช้ระบบ DRM ให้สามารถขายหนังสือบน iBookstore ได้เช่นเดียวกัน
เป็นที่แน่ชัดว่าบางสำนักพิมพ์อย่าง O'Reilly Media คงจะเลือกไม่ใช้ DRM อย่างแน่นอน ด้วยจุดยืนของบริษัทที่เคยออกมาประกาศอย่างชัดเจนว่า DRM เป็นสิ่งที่ทำลายยอดขาย
ปัจจุบันระบบ FairPlay ของแอปเปิลถูกบังคับใช้ใน iTunes Store ในส่วนของภาพยนตร์ รายการทีวี และ App Store ในขณะที่เพลงทั้งหมดบน iTunes Store มีทางเลือกให้ดาวน์โหลดแบบไม่มี DRM ได้ทุกเพลง
ที่มา - AppleInsider
Comments
มันต้องมีไว้ เผื่อเกิดกรณีฟ้องร้อง ศาลจะได้เห็นว่าอย่างน้อยทาง Apple ก็ได้สร้างทางเลือกในการป้องกันการแจกจ่าย โดยอาจละเมิดลิขสิทธิ์ไว้แล้ว ในทางกฏหมายจะเห็นถึงรูปธรรมของเจตนาที่มีน้ำหนักชัดเจนดี ;)
my blog
แฟร์ดีเฮะ ^^
ดูถูกลูกค้าเข้าไป
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ดูถูกลูกค้ายังไงหรอครับ?
ปกติแล้วเวลาคุณซื้อหนังสือ ได้จำกัดไว้ไหมหล่ะครับว่าห้ามเอาไปให้เพื่อนยืมเกินกี่คน? หรือหยิบมาอ่านได้กี่ครั้ง?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
การยืมอ่าน หนังสือมันเล่มเดียวกันนะครับ อย่าลืมสิครับ แต่ถ้าคุณให้เขายืม iPad ไปอ่านได้ก็ไม่มีปัญหา
ส่วนกัน copy มันคือทำให้จำนวนมันเพิ่มขึ้นนะครับ ก็เหมือนกับเอาหนังสือที่ซื้อมาไปถ่ายเอกสารให้คนอื่นนะครับ
แล้วในกรณีนี้เวลาคุณจะให้เพื่อนคุณอ่าน คุณจะให้เพื่อนคุณยืม iPad ไปอ่านไหมหล่ะครับ? พูดหน่ะมันง่าย ในทางปฏิบัติมันยากคุณเองก็รู้ดี
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
copy ไม่น่าจะเหมือนการยืมหนังสือไปอ่าน
ผมว่าเหมือนเอาหนังสือไปถ่ายเอกสารมากกว่านะ
kurtumm
ผมเข้าใจว่าคนอื่นเขาอยากจะบอกคุณว่า คุณไม่สามารถเอาหลักการยืมหนังสือ (จริงๆ) มาเทียบกับพวกไฟล์ดิจิตอลได้หรอกครับ ถ้ายกตัวอย่างแบบนี้ มันก็ยกได้อีกเยอะ เช่น คุณให้เพื่อนคุณยืม CD เพลงไปฟัง แน่นอน กรณีนี้ คุณให้เพื่อนยืมไปได้แค่ 1 คน/ช่วงเวลา แต่ถ้าคุณ แปลงไฟล์เป็น Mp3 หรือไรท์แผ่นเพื่อแจกเพื่อนๆ คุณสามารถให้เพื่อนยืมไปได้ หลายคน/ช่วงเวลา
ดังนั้นมันเลยไงครับสำหรับสินค้า Digital ที่ถูก Copy ได้ง่าย ผู้ผลิตบางกลุ่มเขาก็ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น แต่ก็มีบางกลุ่มที่เขาไม่แคร์เหมือนกัน ลูกค้าซื้อไปแล้วจะเอาไปทำอะไรเป็นเรื่องของคุณ แต่ถ้าทุกคนคิดแต่การละเมิดซะทุกคนล่ะ?
เช่น คุณเป็นนักเรียน ในห้องเรียนมี 30 คน คุณซื้อ BookStore มา 1 เล่ม คุณแชร์ให้เพื่อนทั้ง 30 คน โดยการ Copy คุณคิดว่ามันแฟร์ไหม?
แฟร์ครับ การแชร์ไฟล์ที่จะอ่านโดย iPad มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น 1. จะต้องมี iPad ทุกคน 2. คุณจำเป็นจะต้อง login เข้าไปในระบบโดยใช้ iPad ของเพื่อนคุณทุกคนเพื่อที่จะทำให้เพื่อนคุณอ่านหนังสือเล่มนั้นได้ นี่แปลว่าเป็นเสมือนการยืมใช่ไหมครับ? เพื่อนคุณไม่สามารถนำหนังสือเล่มนั้นๆไปให้คนอื่นอ่านได้อยู่แล้ว
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
แฟร์สำหรับสำนักพิมพ์?
แล้ว format ebook ของ iBook เป็นแบบมาตรฐานหนิครับ แปลว่าไม่ต้องใช้กับ iPad ก็น่าจะได้ ถ้าไม่ติด DRM
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ถ้าอ่านได้โดย iPad อย่างเดียว ก็แฟร์สำหรับสำนักพิมพ์ครับ เพราะถึง practise จะแตกต่างกัน แต่ result นั้นเหมือนกัน คือ ผู้มีสิทธิ์อ่านต้องได้รับสิทธิ์จากผู้ซื้อ และผู้มีสิทธิ์อ่านไม่ใช่เจ้าของจึงไม่สามารถแจกจ่ายต่อไปได้
เพราะฉะนั้นแทนที่จะทำ DRM แบบจำกัดจำนวน ทำ DRM ให้มันอ่านได้แค่ iPad ดีกว่าไหม?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เอ่อ มันต่างยังไงกับทำฟอร์แมตเฉพาะของตัวเองล่ะครับนี่ ?
เหมือนกันแหละครับ - -
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ยืนยันว่าการให้คนอื่นคัดลอกหนังสือของตัวเองไปอ่านพร้อม ๆ กันได้หลายคนแตกต่างจากการยืมหนังสือแน่นอน
นี่ยังไม่นับว่าหนังสือที่ซื้อมาแบบดิจิตอลนั้นราคาถูกกว่าหนังสือจริง ๆ มากมาย
That is the way things are.
ลองดู link ข้างล่างรึยังครับ ถูกกว่ากัน $1-$2 จาก $36 นี่ไม่ได้เรียกว่ามากมายเลยนะครับ และไม่ได้เป็นกับเล่มนี้เล่มเดียวครับ ราคาที่ Amazon เคยดึงไว้ตอนนี้มันหลุดไปไกลแล้ว หนังสือบางเล่มที่เป็น E-Book ถูกกว่ามากหน่อยก็จริง(20%) แต่หลายๆเล่มก็ราคาใกล้เคียงกับหนังสือปกติ บางเล่มยังแพงกว่าหนังสือปกติอีกด้วย
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อ่านได้ทีละ 1 คนในแต่ละจุดของเวลาด้วยหรือเปล่าครับ?
ถ้างานชิ้นนั้นคุณผลิตเพื่อมาขาย จะคิดยังงี้หรือเปล่า
+1
ยังไง e-book ก็แทน หนังสือ 100% ไม่ได้ เรื่องยืมนี้คง "เป็นข้อจำกัด" ของ e-book
:: DigiKin8 ::
ผมเลยมีคำถามอีกครับ ว่าถ้ามันมีข้อจำกัดมากมายขนาดนั้น อีกทั้งไม่ต้องมีค่าพิมพ์ ค่าขนส่ง และเวลาดำเนินการในการพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งๆ ทำไมราคา e-book จึงขายแพงได้ขนาดนั้น?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เท่าที่เห็นปัจจุบัน ebook จะลดราคาไปอยู่ตั้งแต่ 25%-50% หรือกว่านั้น มันก็ไม่น้อยแล้วนะครับ
เช่นเดิม เป็นนโยบายผู้ผลิดหนังสือ ผู้ผลิตเค้าอาจจะมองว่า หนังสือ คือสื่อชนิดหนึ่ง ในการถ่ายถอดความคิด, ประสบการณ์, องค์ความรู้ จากผู้เขียนถึงคนอ่าน ดังนั้นราคาขายของหนังสือ คือราคาของสิ่งเหล่านั้น ส่วน'ความสมเหตุสมผล'ของราคาหนังสือเป็นเรื่องที่วัดกันยากส์มาก มีมุมมองแตกต่างกันอย่างมากระหว่างคนซื้อ กับคนขาย
ค่าโสหุ้ยเหล่านี้ในการจัดจำหน่ายก็ระดับหนึ่ง แต่มันไม่ใช่ทั้งหมดเสียทีเดียวนะครับ ค่าไลเซนส์หนังสือ ค่าตัวคนเขียน ค่าประชาสัมพันธ์ ค่าบริหารจัดการ มันก็ไม่น้อยนะครับ
ถ้าคิดว่างั้น ผมมองอีกปลายหนึ่งนะถ้าจะให้ ราคาหนังสือก็ราคาเดียวกันหมด ไม่ขึ้นว่า เป็นหนังสือท็อปเซลล์ Harry Potter หรือเป็นวรรณกรรมร่วมสมัยอายุร่วมร้อยปี ต้องราคาเดียวกันหมด รึแบบสุดโต่งเลย ไม่งั้นวันหลัง คิดราคาเป็นขีด จ่ายเงินค่าหนังสือตามน้ำหนัก ฮิๆ มันก็ไม่'แฟร์'สำหรับผู้จัดจำหน่าย รึเปล่าครับ
บางเรื่องแค่ปกอ่อนกับปกแข็ง ราคายังต่างกันเยอะมากนะครับ
ได้ข่าวว่า Format ของหนังสือที่ขายบน iBook Store เป็นแบบเดียวกับของค่ายอื่นนี่ครับ (ไม่แน่ใจนะ) แสดงว่าแม้ไม่มี iPad ก็สามารถเอาไปเปิดอ่านกับ E-book Reader อื่นได้ ไม่จำกัดเฉพาะ iPad เท่านั้น กรณีที่คุณเข้าใจ ผมเข้าใจว่าก็เหมือนการ Share App ที่ซื้อมาจาก AppStore คือถ้าจะแชร์ให้เพื่อนต้องไป Auten Login บนเครื่องเพื่อนด้วย แล้วให้เพื่อน Download เอาใหม่
แต่ Ebook มันได้ออกมาเป็น "ไฟล์" เลย เหมือนคุณโหลด "Mp3" มานั่นล่ะ ถ้ามันไม่ติด DRM คุณจะก๊อปให้เพื่อนกี่คนก็ได้ แต่นั่นล่ะ มันต้องอยู่บนพื้นฐานของ Fair use ไงครับ ไม่งั้นมันไม่แฟร์กับผู้สร้างที่ต้องถูกละเมิดสิทธิ์
กรณี ebook ขายแพง?? ผมไม่เข้าใจว่า คำว่า "แพง" ของคุณคือราคาเท่าไหร่ แต่ราคาประมาณ $10 หรือประมาณ 331.696962 บาท มันจะแพงเวอร์อะไรตรงไหนเลยนะครับ หนังสือทั้งเล่ม ขายราคาเท่านี้ นี่มันหนังสือต่างประเทศนะครับที่ขายกัน คุณเคยซื้อพวก Textbook เมืองนอกอ่านไหมล่ะ มันไม่ได้ราคา 199 เหมือนหนังสือไทยซักหน่อย ถ้าอนาคตมีขายหนังสือไทย แล้วมันดันขายแพงกว่าหนังสือเล่มจริงๆ ที่ขายอยู่ตามร้านหนังสือ แบบนั้นน่าด่าหน่อย แต่นี่มันราคาหนังสือเมืองนอก ราคาที่ขายบน Online มันถูกกว่าตามร้านหนังสือจริงอยู่แล้วครับ ไม่งั้นมันจะขายได้หรือ?
กรณีนี้ผมเห็นด้วยนะครับเรื่องที่ถ้ามันเป็นไฟล์ เรื่องนี้คงต้องดูตอนเปิดตัวอีกทีว่ามันอ่านได้เฉพาะ iPad หรือปล่าว ส่วนเรื่อง Textbook มันแพงเพราะคุณภาพกระดาษ/ภาษีนำเข้าครับ อย่าง Harry Potter 7 ที่ Amazon ขายแบบปกอ่อนประมาณ $10 แค่นั้นเอง
หรือลองดูอย่างเล่มนี้ก็ได้ครับ C++ Primer Plus@Amazon
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมค่อนข้างชัวร์ครับว่าเรื่องราคาหนังสือนี่ส่วนกระดาษนี่ถือว่าเป็น Neglectable ได้เลย
http://ireaderreview.com/2009/05/03/book-cost-analysis-cost-of-physical-book-publishing/
@TonsTweetings
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ตามข้อมูลนี้แสดงว่าถ้าจะขาย e-books ตามสูตรนี้
ตอนนี้ราคา E-Books ที่คิดกันคิดแบบไหน แต่คงไม่ใช่อย่างแรกแน่
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ลองสร้างอะไรขึ้นมาซักอย่างแล้วจะเข้าใจ ผู้สร้าง
ตรงนี้ประเด็นน่าจะอยู่ที่การยืมไม่ได้นะครับ หมายความว่าทาง Apple ยังไม่ได้พูดถึงหรือยังไม่ได้ทำฟังก์ชั่นในการยืมหนังสือ ในทีนี้ความหมายในการยืมทาง Digital ก็ไม่น่าจะต่างกับการยืมหนังสือซักเท่าไหร่ ก็คือในขณะที่เรายืมหรือให้ยืมหนังสือ กรรมสิทธิ์ของหนังสือเล่มนั้น ๆ จะตกอยู่กับผู้ถือครองจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงและผู้อื่นไม่สามารถอ่านได้ ( ยกเว้นถือ iPad ไปนั่งอ่านกันเป็นกลุ่ม ) ดังนั้นหากผลลัพธ์ออกมาว่า iPad ไม่มีฟังก์ชั่นในการยืมก็อาจต้องเรียกร้องให้ทาง Apple เขียนฟังก์ชั่นนี้เพิ่มเติมลงไปล่ะครับ ( แน่นอนว่าโอกาสประสบความสำเร็จค่อนข้างน้อย )
ประเด็นเสริมคืออยากให้แยกออกระหว่างคำว่า "ยืม" กับ "แชร์" น่ะครับ
ปล.ผมอ่านเวปนี้อย่างเงียบ ๆ มาหลายปี ไม่รู้ว่าเพราะอะไรความเห็นนี้ทำให้ผมต้อง Login แล้วมาแสดงความเห็นตอบ
การยืมกับการแชร์แบบจำกัด(ที่ต้องให้เจ้าของโหลดให้) แม้ทาง practise จะแตกต่างกัน แต่ result นั้นเหมือนกันครับ คือ ผู้มีสิทธิ์อ่านต้องได้รับสิทธิ์จากผู้ซื้อ และผู้มีสิทธิ์อ่านไม่ใช่เจ้าของจึงไม่สามารถแจกจ่ายต่อไปได้ครับ ซึ่งผมว่าคำว่าไม่สามารถแจกจ่ายต่อไปได้นั้นมันมีนัยสำคัญทางการค้ามากครับ เพราะในที่สุดแล้วการให้ยืมหรือแชร์แบบจำกัด ปริมาณผู้อ่านทั้งหมดที่ไม่ได้เสียเงินซื้อหนังสือของทั้งให้ยืมและแชร์แบบจำกัดนั้นจะมีปริมาณพอๆกันครับ คือคนจะซื้อก็จะซื้อ คนไม่ซื้อก็ขอเพื่อนอ่านและไม่ซื้ออยู่ดี ผมมองตรงนี้ในแง่การค้า-ความได้เปรียบเสียบเปรียบของผู้ผลิตและผู้บริโภคนะครับ
แต่ในแง่การละเมิดลิขสิทธิ์แล้วเห็นด้วยกับคุณครับ ว่าการแชร์แบบไหนก็เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ดี ต่างจากการให้ยืมซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนมือผู้ถือสิทธิ์ในการอ่าน
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
การ "แชร์แบบจำกัด" นั้น โดยวิธีการแล้วอาจฟังดูอะลุ่มอล่วยขึ้นมาอีกนิด แต่โดยรวมแล้วก็ยังเป็นการ "แชร์" อยู่ดีครับ แบ่งภาพง่าย ๆ ดังนี้
แบบแรก
นาย ก. ให้นาย ข. "ยืม" หนังสือผ่านทาง iPad
นาย ก. : ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ( เพราะให้นาย ข. ยืมไปแล้ว )
นาย ข. : สามารถอ่านหนังสือได้ และอาจรวมถึงส่งต่อสิทธิ์นี้ให้นาย ค. ขึ้นอยู่กับสิทธิ์ที่ไดัรับจากนายก.ว่ามีมากแค่ไหน
นาย ค. : ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ( เพราะสิทธิ์อยู่กับนาย ข. ) ทำได้เพียงรอนาย ข. อ่านเสร็จแล้วส่งต่อหรือว่ายืมจากนาย ก. ในภายหลัง
แบบที่สอง
นาย ก. "แชร์" หนังสือให้นาย ข. ผ่านทาง iPad หรือ iBook store
นาย ก. : สามารถอ่านหนังสือได้
นาย ข. : สามารถอ่านหนังสือได้ หรือ "แชร์" ให้ผู้อื่นได้ ตามแต่สิทธิ์ที่นาย ก. ให้มา
นาย ค. : สามารถอ่านหนังสือได้ หรือ "แชร์" ให้ผู้อื่นได้ ตามแต่สิทธิ์ที่นาย ก. หรือนาย ข. ให้มา
จากกรณีนี้ถ้าพูดถึงเรื่องการค้าอาจจะกำหนดให้ราคาระหว่าง "อ่าน" กับ "อ่านและให้ยืม" หรือแม้กระทั่ง "อ่านและแชร์" นั้นแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น
อ่าน : 100 บาทต่อเล่ม
อ่านและให้ยืม : 150 บาทต่อเล่ม
อ่านและแชร์ : 300 บาทต่อเล่ม
กล่าวโดยสรุปคือทาง Apple น่าจะทราบถึงรายละเอียดพวกนี้ดีอยู่แล้ว แต่เลือกที่จะให้บริการโดยวิธีการซื้อแบบเป็นรายคนไป ซึ่งก็เป็นวิธีปกติที่ Apple ใช้มาตั้งแต่แรกอยู่แล้วกับโปรแกรมใน App store เพียงแต่พอ Apple ลงมาจับตลาด E-Book ก็อาจมีกลุ่มลูกค้าที่ไม่พอใจอยู่บ้าง แต่หากจะเรียกร้องอะไรกับทาง Apple นั่นอาจหมายถึงต้องเปลี่ยนวัฒนธรรม Apple?
เข้าใจว่านาย ก. คงไม่แชร์ account App Store ให้นาย ข ไปใช้มั้งครับ เพราะนั่นหมายถึงนาย ข นาย ค สามารถซื้อหนังสือโดยใช้เงินของนาย ก ได้เลยรึเปล่า? ตรงจุดนี้ผมไม่รู้จริงๆครับ
ส่วนที่ผมสื่อในคอมเมนต์นั้นหมายถึง ในที่สุดทุกคนที่นาย ก. ให้ยืมก็ไม่ได้จ่ายเงินอยู่ดี(ในกรณีที่นาย ข ไม่ได้ account นาย ก ไปใช้งาน ซึ่งผมไม่เรียกการแชร์แบบนี้ว่าแบบจำกัดครับ เพราะมันไม่ได้ถูกควบคุมโดยผู้ซื้อ กลายเป็น free share ไปซะมากกว่าไม่ใช่ fair share และโดยส่วนมากจะถูกแบน account ในที่สุด) ซึ่งเป็น result เดียวกับการแชร์แบบจำกัดนั่นเอง ซึ่งผมเห็นด้วยกับคุณในเชิงลิขสิทธิ์ที่ว่าเป็นการถือครองแบบ 1:1 ไม่ใช่แบบ many:1 ครับ
ส่วนข้อความหลังๆที่คุณโพสก็แสดงให้เห็นแล้วว่า Apple ดูถูกลูกค้า รึเปล่าครับ? ยืมไม่ได้ แชร์ไม่ได้
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ไม่ได้แชร์ account ครับ แค่แชร์สิทธิ์ของ app ที่ซื้อมา ( แบ่งเป็นราย app ไป )
ส่วนที่ว่าดูถูกลูกค้าหรือเปล่าถ้ามองในแง่ของปัจเจกชนก็น่าจะพอได้ แต่ส่วนนี้น่าจะมองว่า "ผู้ซื้อทำตามกติกาของผู้ขาย" มากกว่าเพราะทาง Apple เองก็ไม่ได้บังคับให้ใครซื้อผลิตภัณฑ์ของเค้า ผู้ซื้อมากกว่าที่จะต้องเลือกว่าจะบริโภคสิ่งใดให้เหมาะสมและตรงใจกับตัวเองมากที่สุด ถ้าไม่ยึดติดว่าจะต้องซื้อ Brand Apple ก็ยังมี Tablet เจ้าอื่น ( ที่ยัด windows 7 ลงไปทั้งดุ้น ) ให้เลือกซื้อหาอยู่
ผมสงสัยนิด ๆ ว่าประเด็นที่เรากำลังคุยกันอยู่นั้นตรงกับหัวข้อข่าวจริง ๆ หรือเปล่าเพราะการที่มี DRM ไม่ได้หมายความว่า "ยืม" หรือ "แชร์" ไม่ได้ซักหน่อย แค่ควบคุมการก็อปปี้ ( กันจนเกินงาม ) เท่านั้นเอง
ปล.น่าจะรอให้ iPad ออกมาจริง ๆ ก่อนน่าจะชัดเจนถึงวิธีการขายของเขามากกว่านี้ เพราะบางทีอาจมีสิ่งที่ทำให้ต้องร้อง WoW ออกมาก็ได้ ... ตัวผมเองก็ตื่นเต้นกับเจ้า iPad เหมือนกัน แต่พอวันเปิดตัวเท่านั้นแหละก็ ... แค่เนี้ยะ!? คนละอารมณ์กับตอนเปิดตัว iPhone โดยสิ้นเชิง xD
ของเขาทำมาขาย ผ่านการคิด
ระบบนี้คือ แฟร์ สำหรับสำนักพิมพ์ไงครับ
ว่าสำนักพิมพ์อยากจำกัดแบบไหน ถ้าจำกัดมากไปก็ขายไมได้ จำกัดน้อยไปก็ถูกละเมิดลิขสิทธิ์
แฟร์หรือไม่แฟร์กับใครก็ตาม สุดท้ายตัดสินที่ยอดขาย จำนวนผู้ใช้ จำนวนผู้ซื้อ กับจำนวนสำนักหนังสือที่เข้าร่วมด้วยนั่นล่ะครับ
เพราะถ้าใครคิดว่าไม่แฟร์ ก็ไม่มีใครมาบังคับให้ซื้อ/เข้าร่วมอยู่แล้วล่ะ
งานนี้เห็นได้ชัดเลยว่าแอปเปิลกำลังอยู่ในโหมด "อ้อน" คือว่าง่าย ๆ อยากเป็นเจ้าของตลาดนี้อย่างสุดชีวิต เลยปล่อยให้สำนักพิมพ์อยากจะทำอะไรก็ทำไป ส่วนเรื่องอย่างอื่นไว้ว่ากันทีหลัง เมื่อมี Content เยอะกว่าใครเพื่อนแล้วทีนี้เรื่องหาลูกค้าก็ไม่น่าจะยากเท่าไหร่ แต่พอเมื่อลูกค้ามากขึ้น อำนาจการต่อรองก็เริ่มเปลี่ยนไป ตอนแรกยอดขายอยู่ที่จำนวน Content แต่ตอนหลังจะกลายเป็นฐานลูกค้าแทน เมื่อตอนนั้นอำนาจการต่อรองจะตกอยู่ที่แอปเปิล ฮ่า ๆ ไอ้สำนักหนังสือทั้งหลายเอ๋ย ตูมีคนใช้เครื่องตูเท่านี้ พวกเอ็งยังจะกล้าเถียง!?
@TonsTweetings
เห็นด้วยครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ถ้าบังคับใส่ DRM คงโดนด่าอีก
แต่ทำไงดี ไม่อยากให้คนซื้อไปอ่านที่อื่น (ที่มันน่าอ่านกว่าบน iPad ?)
อ่ะๆ ทางเลือกแล้วกัน ใครอยากไม่มีก็ได้
(คอยดูต่อไป...)
:: DigiKin8 ::
อ่านแล้วมีความรู้สึกประหลาดอย่างบอกไม่ถูก
ถ้าไม่พอใจก็ซื้อ เจ้าอื่น จบ