Ubuntu ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่สำหรับชาว Blognone (ถ้ารู้สึกแปลก ต้องรีบหามาใช้แล้วครับ ;P)
ที่ผ่านมาเราเคยรีวิว Ubuntu ไปหลายครั้ง ตอนนี้ Ubuntu รุ่นล่าสุด 10.04 LTS "Lucid Lynx" ออกมาแล้ว ก็ได้เวลารีวิวครับ
รีวิว Ubuntu รุ่นก่อนๆ มารวบรวมไว้หน่อยเผื่อจะมีคนสนใจ
ส่วนของ 10.04 Lucid Lynx เราเคยมี พรีวิวรุ่น Beta 1 เช่นกัน
เนื่องจากมันเป็นรีวิว Ubuntu ครั้งที่เท่าไรไม่รู้ ผมจะไม่เขียนถึงกระบวนการดาวน์โหลดและติดตั้งแล้วนะครับ (น่าจะทำกันเป็นหมด ถ้ายังไม่เคยลองปรึกษาเซียนๆ แถว Ubuntuclub ได้)
วิธีที่ง่ายที่สุดคือดาวน์โหลดอิมเมจจาก mirror1.ku.ac.th (หรือถ้าใครมี mirror อื่นก็แจ้งไว้ในคอมเมนต์ได้) เลือกรุ่นที่เป็น ubuntu-10.04-desktop-i386.iso หรือ ubuntu-10.04-desktop-amd64.iso แล้วแต่ชอบ จากนั้นเขียนอิมเมจลง thumbdrive/flashdrive ด้วย UNetbootin แล้วบูต
กระบวนการติดตั้งของ Ubuntu 10.04 ไม่มีอะไรต่างจากเดิม ยกเว้นหน้าจอตอนคัดลอกและติดตั้งไฟล์ทำใหม่ให้สวยขึ้น เปลี่ยนโลโก้ของ Ubuntu เป็นแบบใหม่เท่านั้น (ดูภาพประกอบได้จาก ข่าวของ Ubuntuclub)
ติดตั้งเสร็จแล้วก็รีบูตครับ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างของ Ubuntu 10.04 คือเปลี่ยนโปรแกรมระบบหน้าจอบูต (อีกแล้ว) จากที่เปลี่ยนมาทีหนึ่งใน 9.10 รุ่นก่อนหน้านี้ โปรแกรมของรุ่น 9.10 ใช้ xsplash แต่ใน 10.04 เปลี่ยนมาใช้ Plymouth ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาโดยค่าย Fedora อย่างไรก็ดี ในแง่การใช้งานของผู้ใช้ เราคงไม่รู้สึกเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ใน Ubuntu 9.10 ว่าบูตเร็วกว่ารุ่นก่อนๆ แล้ว ใน 10.04 ยิ่งบูตเร็วขึ้นไปอีก ผมไม่ได้จับเวลาทดสอบจริงจัง แต่กะเอาได้ประมาณ 20 วินาทีกว่าๆ เร็วกว่า Windows 7 ที่ติดตั้งบนเครื่องเดียวกันอย่างชัดเจน
หน้าตาของระบบ Plymouth ตัวใหม่ ดูได้ตามวิดีโอที่มีคนโพสต์ใน YouTube ดีกว่าครับ (อีกเวอร์ชันเป็นการบูตใน VirtualBox เร็วมาก)
การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดของ Ubuntu 10.04 คงไม่มีอะไรโดดเด่นไปกว่าธีมใหม่ (ที่สัญญากันว่าจะออกมาตั้งนานแล้ว แต่เบี้ยวเรื่อยมา)
สังเกตว่าธีมสีจะเปลี่ยนไปเป็นสีออกม่วง-ดำ ซึ่งเป็นชุดสีใหม่ของการรีแบรนด์ Ubuntu (ดูข่าวใน Ubuntuclub ประกอบ) ต่างไปจากธีมสีออกน้ำตาลแบบเดิม ที่โดนวิจารณ์มานาน (ดูภาพใน รีวิว Ubuntu 9.10 ประกอบ)
จุดที่เป็นประเด็นโต้เถียงกันมากที่สุดคือ ตำแหน่งของปุ่มควบคุมหน้าต่าง ที่ย้ายมาอยู่ด้านซ้ายมือ (แบบเดียวกับ Mac OS X) อ่านข่าวเก่าประกอบครับ
ซึ่งเหตุผลของการย้ายปุ่ม ก็เฉลยออกมาแล้วว่า จะเอาพื้นที่ด้านขวาบนของหน้าต่าง ไปให้ Window Indicator นั่นเอง (วิวัฒนาการของ Ubuntu รุ่น 10.10 จะเพิ่ม Window Indicator ที่มุมขวาบนของหน้าต่าง)
ในแง่การใช้งานแล้ว ผมยังติดนิสัยลากเมาส์ไปมุมขวาบ้างในช่วงแรกๆ แต่ใช้ไปไม่นานก็ชินกับแบบใหม่แล้ว
ไอคอนของระบบก็ปรับให้เข้ากับสไตล์ใหม่ จะเห็นว่าไอคอนของโฟลเดอร์ใน Nautilus เปลี่ยนมาใช้โทนม่วง-ส้มแล้ว
ธีมมาตรฐานเปลี่ยนมาใช้ธีม "Ambiance" ขอบหน้าต่างและเมนูเป็นสีดำ ตัว widget ต่างๆ ออกเป็นสีเข้ม ในความเห็นของผมคือ สวย เรียบหรูดูดีในภาพรวม แต่ตรง scrollbar และ progress bar ยังดูไม่ค่อยดีเท่าไร
สำหรับคนที่ไม่ชอบสีดำ Ubuntu 10.04 ยังมีธีมฝาแฝดกันแต่สีอ่อนชื่อ "Radiance" ให้เปลี่ยน แต่ผมว่ามันไม่สวยเท่ากับ Ambiance นะ ดูมันเบลอๆ ตัดขอบไม่ค่อยชัด
การทำธีมสีเข้มไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมี UI หลายจุดที่ออกแบบมาสำหรับธีมสีอ่อน ตัวอย่างเช่น แถบที่อยู่ของ Firefox พอเป็นธีมสีเข้ม Ambiance แล้วน่าเกลียดเชียว
แต่ธีมสีอ่อนอย่าง Radiance ไม่มีปัญหานี้
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของ Ambiance คือโปรแกรม OpenOffice.org จะตัดขอบสีเข้ม น่าเกลียดมากเช่นกันครับ (Radiance ไม่มีปัญหานี้)
ภาพพื้นหลังแบบมาตรฐานดูคล้ายกับของ Mac OS X มาก ใครไม่ชอบก็มีให้เปลี่ยน คุณภาพของภาพสวยกว่า Ubuntu 9.10 มาก แต่เทียบกับ Windows 7 ผมยังให้เป็นรองเล็กน้อย (ภาพประกอบในรีวิว ผมจะพยายามเปลี่ยนหลายๆ แบบให้ดูนะครับ)
ถ้าใครไม่ชอบภาพพื้นหลังที่ติดมากับ Ubuntu ลองดูภาพพื้นหลังแบบอื่นๆ ได้จาก OMG Ubuntu
Panel
ถ้าไม่นับธีมแล้ว อีกจุดที่เกิดความเปลี่ยนแปลงมากใน Ubuntu รุ่นหลังๆ คือบริเวณด้านขวาบนใน Panel ซึ่งเราเดิมเรียกมันว่า notification area (หรือ system tray)
notification area/system tray ถือกำเนิดขึ้นใน Windows 95 โดยมีจุดหมายเพื่อเป็นจุดแสดงการแจ้งเตือน (notification) แก่ผู้ใช้ แต่เนื่องจากว่ามันไม่มีข้อกำหนดและการควบคุมที่ชัดเจน ทำให้มันกลายเป็น "แหล่งพักไอคอน" ไปแทน วินโดวส์พบปัญหานี้ และลินุกซ์ก็พบปัญหานี้เช่นกัน
Windows 7 พยายามแก้ปัญหานี้ด้วย Superbar และลดความสำคัญของ system tray ลง (อ่านรายละเอียดใน รีวิว Windows 7 ตอนที่สอง)
ส่วน Ubuntu พยายามแก้ปัญหานี้โดยเอา notification area แบบเดิมออกไป โดยไอคอนสำคัญๆ เช่น ปรับเสียง แบตเตอรี่ จะยังคงอยู่ที่เดิม แต่เปลี่ยนมาใช้ระบบ "เมนู" (ที่แสดงด้วยไอคอน) แทน เพื่อให้พฤติกรรมการใช้งานเหมือนกันทุกอัน สร้างความสม่ำเสมอ (consistency) แก่ผู้ใช้ แผนการนี้จะเสร็จสิ้นใน Ubuntu 11.04 (Ubuntu 11.04 จะเอา Notification Area ออกไป)
ไอคอนใน Panel แบบใหม่จะใช้สไตล์แบบ monochrome เหมือนกับ Mac OS X ให้ดูเหมือนกันหมด เพียงแต่ธีม Ambiance ใช้สีกลับกันเป็นไอคอนสีขาวบนพื้นเข้ม จะเห็นว่าบางโปรแกรมอย่าง VLC หรือ Shutter ด้านซ้ายสุด ยังไม่ปรับมาใช้ไอคอนแบบใหม่นี้
จากซ้าย: VLC, Shutter, Bluetooth, Tomboy, Keyboard Indicator, NetworkManager, Rhythmbox (ขณะไม่ได้เล่นเพลง สีจะทึมลง), Power Manager, Monitor Preference, Transmission, Sound Preference, Indicator Applet (ขณะมีข้อความใหม่เข้ามา), Clock Applet, MeMenu, Session Menu
Message Indicator
ส่วนวิธีการแจ้งเตือนนั้นจะถูกย้ายมาไว้ในบอลลูนข้อความ ที่จะแสดงขึ้นมาในมุมขวาบน (แต่ไม่บนสุด) ฟีเจอร์นี้ถูกเสนอมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2008 (Ubuntu เสนอระบบแจ้งเตือนแบบใหม่สำหรับ GNOME/KDE) และเริ่มสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ บอลลูนข้อความนี้เราไม่สามารถกดปิดได้ และแสดงเพียงชั่วขณะหนึ่งแล้วหายไป มีไว้ "แจ้งเตือน" เพียงอย่างเดียว แนวคิดของมันคล้ายกับโปรแกรม Growl ของ Mac OS X
ในภาพข้างต้น มีคนทักผมเข้ามาทาง IM ซึ่ง Ubuntu จะแสดงบอลลูนให้เห็น ถ้าผมอยากกดดูต้องคลิกที่ไอคอนจดหมายสีเขียว ซึ่งเป็นการระบุด้วยสีว่ามีข้อความเข้ามาใหม่
เมื่อคลิกที่ไอคอนจดหมายสีเขียว จะเป็นการเปิดเมนู Indicator Applet ขึ้นมาครับ ตามค่า default ของ Ubuntu จะรวม "ข้อความ" มาให้เรา 3 ชนิด ผ่านโปรแกรม 3 ตัว ได้แก่
ในภาพจะเห็นลูกศรชี้อยู่หน้าไอคอน แปลว่าเราเปิดโปรแกรมนี้ค้างไว้ เมื่อกดที่ข้อความแต่ละอันในรายการ จะเป็นการเปิดหน้าต่างของข้อความนั้นๆ ขึ้นมา
นอกจากข้อความ 3 ชนิดข้างต้นแล้ว เรายังสามารถเพิ่มให้เตือนข้อความหรือเหตุการณ์อื่นๆ ได้ด้วย ในภาพจะเห็นว่าผมเพิ่มการแจ้งเตือน Gmail มาเป็นอย่างที่สี่ (ดูวิธีการได้จาก OMG Ubuntu)
ถ้าถามว่าใช้แล้วเป็นอย่างไร ก็ตอบได้ว่า แนวคิดเข้าท่า ครับ กระบวนการแจ้งเตือนแบบใหม่นี้ไม่แย่งสมาธิเรามากเหมือนกับวิธีเดิมๆ (เช่น ไอคอนกระพริบ หรือ รายชื่อโปรแกรมใน taskbar กระพริบ) แถมยังประสานเข้ากับเดสก์ท็อป GNOME ได้ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Ubuntu 10.04 รวมเอาการสื่อสารผ่าน social network ด้วยโปรแกรม Gwibber เข้ามา (จะพูดถึงตัวโปรแกรมในภายหลัง) ทำให้ตอนนี้ถือว่า Ubuntu 10.04 เป็นระบบปฏิบัติการที่รองรับ social network ได้ดีที่สุดในท้องตลาด เหนือกว่า Windows 7 และ Mac OS X ที่ไม่มีฟีเจอร์นี้รวมมาให้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวคิดจะดี แต่มันยังมีปัญหาเรื่อง implementation อยู่บ้าง ปัญหาที่ผมเจอมี 2 อย่าง
สรุปว่าแนวคิดนี้น่าสนใจมาก และอีกไม่นาน usability ในจุดนี้ของ Ubuntu จะหาคนทัดเทียมได้ยาก (ความฝันของ Shuttleworth ที่จะเอาชนะแมคใกล้ความจริง อย่างน้อยในเรื่องนี้)
Me Menu
นอกจากเมนูสำหรับแสดงข้อความใหม่แล้ว ใน Ubuntu 10.04 ยังมีเมนูอีกหนึ่งอันที่แสดงชื่อล็อกอินของเรา พร้อมกับไอคอนแสดงสถานะ online/offline ชื่อของมันคือ Me Menu
หน้าที่หลักของ Me Menu คือเป็นจุดปรับแต่งสถานะของตัวเรา เช่น ภาพแสดงตน (avatar) หรือ สถานะการออนไลน์ในโปรแกรม IM อย่างไรก็ตามมันยังมีกล่องข้อความสำหรับอัพเดตสถานะใน social network ด้วย
ผมพบปัญหาว่า Empathy ยังไม่ยอมเชื่อมกับ Me Menu ดีนัก คือเปลี่ยนภาพแสดงตนใน Me Menu แล้ว Empathy ไม่ยอมเปลี่ยนตาม ต้องไปเปลี่ยนในโปรแกรม Empathy อีกที
เท่าที่ใช้มาสักพัก Me Menu ยังไม่ค่อยมีประโยชน์มากนัก และทางโครงการ Ubuntu รับทราบปัญหานี้ จึงมีแผนจะปรับแต่งมันให้มีประโยชน์มากขึ้น เช่น ไอคอนสำหรับ social network ที่ต้องการโพสต์ หรือ ตัวนับความยาวของข้อความไม่ให้เกิน 140 ตัวอักษร เป็นต้น (ข่าวจาก OMG Ubuntu)
ในเชิงของโปรแกรมที่ติดมาด้วย Ubuntu 10.04 มีความต่างไปจาก 9.10 ไม่มากนัก สิ่งที่เปลี่ยนมีดังนี้
ที่ชัดเจนคือ Gimp ถูกตัดออกไป ด้วยเหตุผลด้านพื้นที่ และเหตุผลว่า F-Spot มีความสามารถแก้ไขภาพพื้นฐานมาด้วย ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันมาก อย่างไรก็ตาม เราสามารถเอา Gimp กลับมาได้ไม่ยากกันอยู่แล้วใช่ไหม
PiTiVi โปรแกรมตัดต่อวิดีโอแบบง่ายๆ ถูกเพิ่มเข้ามาเอาใจผู้ใช้ยุคที่ใครๆ ก็มีกล้อง/มือถือถ่ายวิดีโอได้ ตัวอย่างภาพขอสาธิตด้วยคลิปของคุณ @iMenn แล้วกัน
Gwibber ถูกรวมเข้ามาเป็นโปรแกรมหลักสำหรับงาน social network (ใน Ubuntu ใช้คำว่า "broadcast") มันรองรับ social network ยอดนิยมอย่าง Twitter/Facebook (เห็นว่าจะมี Buzz ในรุ่นถัดไป)
นอกจากนี้ Gwibber 2.30 (นับรุ่นตาม GNOME) ยังมีฟีเจอร์แสดงผลแบบหลายคอลัมน์เหมือนกับโปรแกรม TweetDeck อย่างไรก็ตาม ผมพบว่า Gwibber มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพมาก (โดยเฉพาะโหมดหลายคอลัมน์) และทำให้ประสบการณ์ในการเล่น social network แย่กว่าที่ควรจะเป็นไปมาก
Rhythmbox มีร้านขายเพลงของ Ubuntu One เพิ่มเข้ามาแล้ว เผอิญฟีเจอร์นี้ไม่ได้ลองใช้ครับ
เบราว์เซอร์มาตรฐานคือ Firefox แต่เราสามารถลง Chrome/Chromium ได้ไม่ยากเช่นกันครับ ปัญหาของ Chromium ใน build หลังๆ มีกรณีภาษาไทยเละ และยังมีปัญหากับเว็บที่เป็น HTTPS ในบางครั้ง
ในภาพก่อนหน้านี้ Chromium แสดงปุ่มควบคุมหน้าต่างที่มุมซ้ายบนเหมือนของวินโดวส์ รวมถึงแสดงธีมสีฟ้าขัดกับเดสก์ท็อปส่วนอื่นๆ แต่เราสามารถเปลี่ยนได้ใน Options ทั้งเรื่องปุ่มควบคุมหน้าต่างและสี (แต่ผมชอบ Chrome สีฟ้าปุ่มอยู่ซ้ายมากกว่าอยู่ดีครับ)
Ubuntu Software Center ถูกเพิ่มเข้ามาใน 9.10 เพื่อมาแทนระบบจัดการแพกเกจตัวอื่นๆ ทุกตัว ในรุ่นที่แล้วความสามารถของ Software Center ยังต่ำมาก แต่ในรุ่นนี้มันถูกปรับปรุงขึ้นหลายจุด
ถ้าเปรียบเทียบกับรุ่นก่อน (ภาพประกอบ) Software Center ตัวใหม่มีไอคอนโปรแกรม ภาพหน้าจอ แถบแสดงความคืบหน้าขณะติดตั้ง แถมยังแสดงโปรแกรมแยกตาม repository ได้ด้วย
ฟีเจอร์ในตอนนี้ของ Software Center ถือว่าพอใช้แทน Synaptics ได้แล้ว ในมุมมองของผมคิดว่าตอนนี้ปัญหาของ Ubuntu ไม่ใช่ "วิธีการติดตั้งโปรแกรม" แต่เป็นการเลือกลงโปรแกรมเพิ่มเติมหลังติดตั้งระบบสำเร็จมากกว่า เพราะ Ubuntu รุ่นมาตรฐานยังขาดฟีเจอร์บางประการ ด้วยเหตุผลด้านกฎหมายและการคัดเลือกโปรแกรม
ผมแนะนำว่าในขั้นต่ำ ผู้ใช้ Ubuntu 10.04 ควรเพิ่ม repository ชื่อ Medibuntu เพื่อลง codec และโปรแกรมมัลติมีเดียที่สำคัญ และลง Ubuntu Tweak ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการติดตั้งโปรแกรมนอก repository หลัก
หลังจากติดตั้ง 2 ตัวข้างต้นแล้ว โดยส่วนตัวผมจะลง
ส่วนตัวอื่นๆ ที่แนะนำ คือ Opera, Nautilus Elementary, Pidgin (ถ้าชอบมากกว่า Empathy), Pino (ถ้าชอบมากกว่า Gwibber), Banshee (ถ้าชอบมากกว่า Rhythmbox)
สิ่งหนึ่งที่หายไปจาก Ubuntu 9.10 คือไอคอนก้อนเมฆของโปรแกรม Ubuntu One บริการ cloud sync ของ Canonical ครับ มันมาหลบอยู่ใน Me Menu แต่ก็สามารถเข้าได้จากใน System > Preferences เช่นกัน
ในหน้าจอนี้ เราสามารถปรับแต่งอุปกรณ์ที่ใช้กับ Ubuntu One และชนิดของข้อมูลที่ต้องการ sync กับ Ubuntu One ได้
ใน Ubuntu One รุ่นล่าสุด มันรองรับการ sync ข้อมูลดังนี้
Ubuntu ยังพยายามแก้ปัญหาเรื่อง sync กับมือถือ โดยจับมือกับบริษัท Funambol ให้บริการ sync ข้อมูลระหว่างมือถือของเรากับ Ubuntu One (แล้วค่อยมา sync ระหว่าง Ubuntu กับ Ubuntu One อีกทอดหนึ่ง) กระบวนการคือต้องติดตั้งโปรแกรมของ Funambol ในมือถือนั่นเองครับ
แต่ฟีเจอร์นี้ไม่ฟรีครับ สำหรับคนที่ยอมจ่ายเงินอัพเกรด Ubuntu One เป็นรุ่น 50GB เท่านั้น ถ้าใช้ของฟรีแบบ 2GB สามารถทดลองใช้ได้นาน 30 วัน
โปรแกรม Funambol นั้นยังไม่รองรับ Android แต่เผอิญ RIM ส่ง BlackBerry มาให้ทดสอบพอดี ผมเลยจับมาลองเสียเลย ลองสั่ง sync รายชื่อจากมือถือเข้ามาใน Ubuntu One ก็ใช้ดีไม่มีปัญหาอะไร (ขอยืมคุณ @sugree มาเป็นนายแบบ)
โดยสรุปแล้ว ผมยังทดสอบ Ubuntu One ไม่เยอะเพราะว่าไฟล์อยู่ใน Dropbox เสียมาก (ขี้เกียจย้าย) อาจจะเล่าเรื่อง Ubuntu One ได้ไม่ดีนัก แต่ในระยะยาวแล้ว Ubuntu One แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ และในอีกไม่กี่รุ่น มันจะช่วยให้ Ubuntu กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่ต่อเชื่อมกับบริการแบ็คอัพข้อมูลออนไลน์ได้เข้มแข็งมากตัวหนึ่ง (ดีกว่า Windows 7 + Windows Live หรือ Mac OS X + Mobile Me แน่)
ในอีกด้าน ถ้าสามารถเชื่อมกับบริการที่น่าดึงดูดต่อผู้ใช้ได้มากขึ้น (เช่น การขายเพลง การ sync มือถือ) Ubuntu One ย่อมจะเป็นช่องทางสร้างรายได้ที่ดีอีกอย่างของ Canonical เช่นกัน (ซึ่งมีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทในระยะยาว)
ใน Ubuntu 9.10 "Karmic Koala" นั้น ผมเจอปัญหาด้านฮาร์ดแวร์มากมาย จนเรียกมันว่า "โคอาล่ามีกรรม" แต่ใน Ubuntu 10.04 Lucid Lynx กลับราบรื่นมาก แทบไม่มีปัญหาเลย
ผมทดสอบกับโน้ตบุ๊ก 2 ตัวที่มี ผลเป็นดังนี้ครับ
เสียดายว่าผมไม่สามารถหาเครื่องที่ใช้การ์ดจอ NVIDIA ทดสอบได้ (ซึ่งมักจะมีปัญหาการแสดงผล) เลยไม่มีข้อมูลในจุดนี้
แต่อย่างที่เขียนไปในรีวิว 9.10 เรื่องฮาร์ดแวร์นั้นเป็นปัญหาเรื่อง "กรรมเวร" ของแต่ละท่านอย่างแท้จริง ถ้าใครมีเรื่องกับ Lucid Lynx ก็มาแชร์ให้เป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ ได้ สำหรับผมแล้ว Ludic Lynx น่าประทับใจมาก
Ubuntu 10.04 LTS "Lucid Lynx" เป็นรุ่นที่ผมประทับใจมาก เพราะ
แต่มันก็ยังมีประเด็นเล็กๆ น้อยๆ ให้ติอยู่ดี เช่น
ในอีก 2-3 รุ่นข้างหน้า เมื่อแผนการของ Ubuntu เริ่มเสร็จสมบูรณ์ มันจะเป็นระบบปฏิบัติการที่เจ๋งมากเลยล่ะ!
อ่านเพิ่มเติม
Comments
ยังไม่เลิกทำธีม หม่นๆ สินะ...
น่าจะทำ default theme ขาวๆบ้าง
เครื่องที่ใช้การ์ดจอ NVIDIA พอลงไดฟร์เวอร์แล้วบูตสแปลชพังครับ ขึ้นแบบไม่สมประกอบ (กระพริบเขียวๆ ความละเอียดต่ำ หรือไม่ขึ้นเลย) วีดีโอ
แก้ได้ด้วยวิธีนี้ครับ (ข้อ 6)
แล้วก็ บางครั้งผมเจอปัญหาแบบนี้ครับ
อาจเป็นเพราะผมเปลี่ยนฟอนต์ไซ้เป็น 9 ก็ได้ (ปกติเป็น 10)
ติดตั้งน้อง(Docky) แต่ไม่ติดตั้งพี่(Do) แฮะ
ว่าจะลง Lucid อยู่ หลังจากใช้ Win7 มายาวนาน แต่ไม่ชอบสีหม่น ๆ ของมันเลย
Jusci - Google Plus - Twitter
แต่งให้ไบรท์ ใสกิ๊ก แบบ win7 ได้ไม่อยากเลยครับ ลองดูครับ
WE ARE THE 99%
ตอนนี้ใช้ธีมสว่างอยู่ครับ แต่ย้าย panel มาด้านล่าง ถ้าไว้ด้านบนแล้วมันอยู่แปลก ๆ ครับ
ผมไม่อยากให้มันเหมือน Windows 7 หรอกครับ แต่ไม่ชอบอะไรที่ดูแล้วหม่น ๆ มากกว่า ลองแนะนำหน่อยสิครับ ว่าทำยังไง เผื่อจะได้ลองดูครับ
ปล. ลงเสร็จเมื่อกี้
Jusci - Google Plus - Twitter
ก่อนอื่นก็ลง driver การ์ดจอให้ใช้งานได้เรียบร้อยก่อน
ลองคลิกขวาที่ panel แล้วก็ properties ดูครับ มันเลือกสีได้ ปรับความโปร่งใสได้
ลองลง Emerald Theme Manager ดู
ดูพวก Beryl
ลองเล่นพวก compiz fusion
แล้วลองไปเที่ยว http://gnome-look.org/ ดูก็ดีมากครับ
ประมาณนี้แหละครับ :P (มือสมัครเล่นเหมือนกัน)
WE ARE THE 99%
I love compiz
ผมใช้โปรแกรมทำนอง GNOME-Do หรือ Quicksilver แล้วไม่ถนัดน่ะครับ
เป็นรีวิวที่ยอดเยี่ยมแบบมาตรฐานเอ็มเค ชอบจริงๆครับ
แต่ผมเปลียนธีมเอาปุ่มคลิกขวากลับมาเหมือนที่คุ้นๆ จะได้ไม่คลิกผิดคลิกถูก
10.04 มีบักแปลกๆ notification area ลงสองเครื่องไม่เหมือนกัน เหมือนมันดิ้นได้ เห็นคนบ่นกันไม่น้อย
และปัญหาที่อูบุนตูแก้ไม่ตกมานาน (หรือไม่แก้) ก็คือเรื่อง proxy ยังคงเหมือนเดิมอยู่ คนทำงานออฟฟิศ ส่วนใหญ่ก็ต้องผ่านพร็อกซี่ ไม่มีพิดจิ้น มาให้ก็ต้องเอามาลงเอง
อูบุนตู ซอฟต์แวร์ เซ็นเตอร์ และ อูบุนตู วัน ไม่สามารถทำงานผ่านพร็อกซี่ได้ (ปัญหาเดิม ๆ)
apt-get ก็ไม่ได้ แต่ก่อนใช้วิธีเอ็กซ์พอร์ตพร็อกซี่เป็นครั้งๆไป ตอนนี้ใช้ไม่ได้อีก ต้องไปแก้ทางอื่น...ที่จริง มันก็แก้ได้อยู่หรอก
ที่ผมชอบใจมีเยอะกว่าที่ไม่ชอบ
อ้อ อีกอย่าง gwibber และ empathy ก็ใช้ผ่านพร็อกซี่ไม่ได้เหมือนกัน :)
เป็นปัญหาชวนป่วยจิตจริงๆ ต้องใช้พิดจิ้นเหมือนเดิมสำหรับโลกของคนต้องผ่านพร็อกซี่
gwibber ผมอ่าน timeline ของ tweet ที่ผ่านๆ มา ยากมากครับ
หมายถึงว่า เราอ่านของเก่ายังไม่ทันเสร็จ มันก็เด้งขึ้นไปหาอันใหม่ล่าสุดทุกที
พอเราลากลงมาจะอ่านของเก่า มันก็เด้งขึ้นไปหาอันใหม่ล่าสุดอีก ต้องเอาเมาส์ตรึง scrollbar เอาไว้ - -"
WE ARE THE 99%
สามารถแก้เวลาในการรีเฟรชของ Gwibber ได้
ค่าปริยายอยู่ที่ 5 นาที เปลี่ยนไปได้สูงสุดที่ 100 นาทีครับ
ตรง edit--preferences--update
คืออยากให้เป็นแบบว่าเหมือน client ตัวอื่นอ่ะครับ ถ้าเราเลื่อน scrollbar ไว้ตำแหน่งบนสุด มันก็จะอัพเดทของใหม่ เลื่อนไปเรื่อยๆ
แต่ ถ้าเราดึง scrollbar มาให้อยู่ตำแหน่งตรงกลางๆ (เลื่อนลงไปอ่านข้อความที่ผ่านๆมา) ของใหม่มันก็อัพเดทไป แต่มันจะไม่รีเฟรช หรือเลื่อนตำแหน่งไปจากเดิมที่อ่านอยู่ ทำให้ไม่รบกวนเวลาเรากำลังอ่านอยู่(อ่านยังไม่จบ มันหายไปไหนแล้ว)แม้ว่าเราจะตั้งสถานะให้ client อัพเดททุก 1-2 นาทีก็ตาม
ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรีเฟรชทั้งหน้า timeline :P
WE ARE THE 99%
ผมคุ้นๆ ว่าเห็นปัญหานี้ใน Roadmap ของ Gwibber 3.0 (รุ่นหน้า) นะครับ พวก daily build อาจแก้แล้ว ตอนนี้ผมเปลี่ยนมาใช้ gwibber-daily ยังไม่รู้ว่าจะเป็นยังไงบ้าง
ขอบคุณครับ จะลองดู
WE ARE THE 99%
daily build ลองแล้วครับ ยังมีอาการเหมือนเดิม
งั้นก็คงต้องใช้ turpial แล้วล่ะครับ
WE ARE THE 99%
สงสัยอีกอย่างนึงครับ เว็บ appnr.com ทำไมเข้าไม่ได้ครับ ใครเข้าได้บ้างมั๊ยครับ
WE ARE THE 99%
ขอบคุณมากครับ สำหรับ รีวิว ดีๆ
ขอถาม ท่านๆ ที่ได้เคยได้ใช้แล้ว ... ครับ
คือ
ผมมีปัญหากับ Lucid ตั้งแต่ Alpha --> Released คือ
Firefox ปิดตัวเองตลอด โดยทั้งมีสาเหตุและไม่มีสาเหตุ
ปิดแบบ เปิดมาใช้งานไม่นาน ก็ปิดตัวเองไป ไม่มีการขึ้นให้ส่งรายงานข้อผิดพลาด
หรือ มีทั้งแบบขึ้นให้ส่งรายงานข้อผิดพลาด
ทั้งๆ ที่เริ่มลงใช้งานไม่นาน ยังไม่ได้ ติดตั้งอะไรเพิ่มเติม ... เฮ่อ ...
Notebook ที่ใช้ เป็น Fujitsu Lifebook S6410 รุ่นแรกๆ กับ 2GB RAM
ก่อนหน้านี้ ใช้ Hardy Jaunty Karmic ก็ไม่เคยเจอปัญหา ... แบบนี้เลย
ปล. ถ้าเป็น Web browsers อืนๆ ที่ ใช้พื้นฐานของ Firefox 3.6.X เป็นหมดครับ
อ้อ ... Flock 2.X ไม่เป็น ครับ ... และ อื่นๆ ก็ไม่เจอปัญหาครับ ... งงจริงๆ
+1
ของผม ของเพื่อนผม ก็เป็นครับ
WE ARE THE 99%
ลองรัน firefox safemode หรือสร้าง profile ใหม่ของ firefox แล้วหายไหมครับ
ขอบคุณครับ
จะไปลองนะครับ
ที่สงสัยเป็นตัวเจ้าปัญหาก็
อาจจะ Flash นี่ล่ะครับ ...
ซึ่งปกติ ก็ ดึงเวลา โปรเซสเซอร์ สุดๆ อยู่แล้ว ...
ยังไม่ได้ลอง safemode นะครับ
เมื่อตะกี้ ลอง เปิด Manager ด้วย Firefox
หน้าแรก โอเค ทิ้งไว้ไม่เป็นไร พอกด Link ข่าว
ไปเปิด tab ใหม่ (default จากเว็บ และ firefox)
เรียบร้อย Firefox ปิด ตัวเองไปซะงั้น หุหุ ...
ลองเปิด firefox จาก terminal ด้วย sudo ...
อาการเดิม เวลาเปิด Manager web site
ที่ terminal มีข้อความ ยาว ติดๆ ตลอด
(firefox-bin:4511): Gdk-WARNING **: XID collision, trouble ahead
Segmentation fault
ไม่แน่ใจว่าคือไรเช่นกัน เพราะ ความรู้ยังด้อย ครับ
ขอแชร์ประสบการณ์ครับเผื่อเป็นประโยชน์ เครื่องผม Lenovo Thinkpad X200 ลง Lucid ตัวเต็ม clean install พบปัญหาว่า Firefox มักจะปิดตัวเองลงเมื่อมีการ login เข้าหน้าเว็บพวก Facebook, Google Wave หรือทำการเปิดไฟล์/เมลใน Google Docs, Hotmail
ผมทดลอง run ด้วย safe mode แล้วกลับไม่พบอาการดังกล่าว จึงได้ลอง 2 วิธี 1. สร้าง profile ใหม่ 2. ถอด extension/add-on ทิ้งหมด แต่ปรากฏว่าอาการยังเป็นอยู่ครับ และไม่ได้ลองวิธีอื่นต่อ
ผมตัดสินใจลบ Firefox ทิ้งแล้วลงใหม่ครับ โดยเริ่มจากถอด firefox ออกด้วย
- sudo apt-get remove firefox
หลังจากนั้นลบโฟลเดอร์ที่เกี่ยวข้องออกครับ
- sudo rm -r /usr/lib/firefox-3.6.3 /usr/lib/firefox-addons ~/.mozilla
หลังจากนั้นลงใหม่ด้วย
- sudo apt-get install firefox
ซึ่งทำให้กลับมาใช้ได้ครับ ผมยังไม่ได้ลงไล่ไปลึกกว่านี้ว่าสาเหตุจริงๆคืออะไรกันแน่ครับ
ไม่แน่ใจว่าเพราะลงระบบภาษาไทยหรือเปล่าครับ
เห็นหลายคนที่ใช้ระบบภาษาไทยกับ 10.04 แล้วเกิดปัญหานี้ พอเอาออกก็หาย
เหมือนไม่น่าจะเกี่ยว แต่ดันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
กรรมจริงๆ ถ้า เป็นเพราะ ระบบภาษาไทย
แล้วกลุ่มที่ไปช่วยกันทำภาษาไทย
จนมี Firefox ไทย ออกได้ที่ Mozilla.org
มันยังไงล่ะนี่ ...
แล้วคนไทย กลับไปตั้ง/ใช้ ระบบภาษาไทย ไม่ได้นี่
มันน่าคิดจริงๆ ...
อะไรจะมาปิดกั้นภาษาไทยกันขนาดนั้น ...!
สุดยอด ... เพียงแค่
เพราะ ส่วนภาษาไทย ของ Firefox
ที่จัดการส่วน UI ภาษาไทย
(เครื่องมือ -> ส่วนเสริม -> ภาษา -> ไทย)
(Tools -> Add-ons -> Language -> ไทย)
หากเปิดใช้แล้ว นั่นล่ะ คือตัวปัญหา ทำให้
Firefox ปิดตัวเอง ...
จะว่าผมขวางโลกก็เถอะ แต่ผมคนไทย
อยากใช้ ภาษาไทย มันแปลกตรงไหน ครับ?
bug != ปิดกั้น
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ไม่มีใครไปปิดกั้นอะไรครับ
มันเป็นบัก คือข้อบกพร่องของระบบ
และก็ยังสรุปกันไม่ได้ด้วยซ้ำว่าจริงๆ แล้วปัญหาอยู่ตรงไหน
บางคนเอาระบบภาษาไทยออกแล้วมันหาย และมีหลายคนที่ทำแล้วหายจริง
บางคนก็ไม่หายครับ
สรุปคือยังไม่รู้ว่าปัญหาอยู่ตรงไหน
แต่ไม่ใช่การปิดกั้นอะไรกันนั่นแน่นอนครับ
ในเครื่องผม สรุปคร่าวๆ ว่าเกิดจากการประมวลผลหนักๆ แล้วจะแครช และสาเหตุหลักๆ คือแฟลช ผมไม่เคยลงรุ่นภาษาไทยเลย มันก้แครชได้แครชดี
ที่ว่าปิดกั้น เพราะจริงๆ ต้องบอกว่าหงุดหงิด
เหมือน กลุ่มที่ไปช่วยทำกันอย่างหนักเพื่อให้มี
ภาษาไทยใช้ ได้ออกมาให้มี รุ่นภาษาไทย
ดาวน์โหลดจากที่ Mozilla เอง
แต่ไหง เพียงแค่เพราะ ภาษาไทย ...
ทำให้ มีปัญหาแบบนี้ เพียงแค่เปิดใช้
ในหลายๆ เว็บไซต์ ก็ปิดตัว
จริงๆ มานั่งคิด เหมือนกับปัญหามาจาก
การเขียนเว็บไซต์เอง กระนั้นหรือเปล่า
ที่อ้าง Coding ไม่ตามกฏเกณฑ์
หรือ อีกหลายๆ ส่วน ที่เป็นปัญหา
เดิมๆ เวลาทำเว็บไซต์ด้วยภาษาไทย
...
เว็บที่มี Flash นี่ สำหรับ Firefox ผมว่า
ดึงเวลาประมวลผลไปมากจริงๆ
ถ้าเทียบกับเวลาใช้ Epiphany แล้ว
เว็บเดียวกัน เปิดใช้ กลับดึงเวลาประมวลผลน้อยกว่า
เวลาเปิดเว็บหลายๆ Tab ใน Epiphany
ก็ไม่ทำให้เครื่องค้างๆ กระตุกๆ มากขนาด Firefox
จะว่าไปเพราะ Epiphany มันเบากว่าก็ใช่
แต่ ผมก็เปิด ส่วนขยาย ใน Epiphany ไม่ใช่น้อยเช่นกัน
โอ ไม่พอใจรุนแรงทีเดียวครับ :-) ถ้าอย่างนี้ต้องลองแก้ไข แล้วยังไงก็เขียน Patch ส่งขึ้นไปต้นน้ำด้วยก็ดีนะครับ
ข้างบนแรงไปนิด เอาแบบนี้ดีกว่า ถ้าเห็นว่าโปรแกรมมีปัญหา หรือรู้สึกว่าถูกกีดกัน แนะนำว่าให้ไปเปิด Ticket ใน Bug Tracking ของ Mozilla หรือของ Ubuntu ครับ
รู้ว่ามีปัญหาแต่ไม่แจ้งให้ผู้พัฒนาทราบเขาก็ไม่รู้นะว่ามันมีปัญหาหรือเปล่า อีกอย่าง ถึงรู้ว่ามีแต่เขาก็ต้องแก้ตัวที่อยู่ในคิวก่อน ดังนั้นถ้าไม่รีบก็อาจจะไม่ถูกแก้ในเร็ววันนี้นะครับ
ขอบคุณครับผม ...
บางทีมันหงุดหงิด มีภาษาไทยแต่ใช้ไม่ได้ ... ประมาณนี้ครับ
แจ้ง บัก นั้น พยายามแจ้งอยู่ครับ ... ผม ^_^
แต่ อย่างปัญหา Crash นี้ Ubuntu เอง ก็มีแจ้งเตือน
ส่งไปเอง ด้วย ที่ใช้ๆ มา ... ซึ่งเวลา Crash ทีก็มีแจ้งเตือนให้ส่ง
ขึ้นไป ... ซึ่ง อย่างน้อยก็ เป็นสิบกว่าครั้งได้ แล้ว ที่
มีขึ้นมาให้แจ้งข้อผิดพลาดไป ... ครับ
แต่ก็ยังเป็น ตั้งแต่ Alpha -> Released อย่างที่บอกน่ะครับ
ขอบคุณครับผม
ก็ทีได้ทำก็ตามที่บอก
เพียงไป Disable หรือ ปิดการใช้ UI ภาษไทย
เว็บที่เคยเข้าไปแล้ว Firefox ปิดตัวเอง
ก็ท่องเว็บนั้นๆ ไปได้ตามปกติ ครับ
แบบนี้ มัน Bug แบบ หนักทีเดียว ถึงจะไม่ร้ายแรงอะไร
เพราะมันเป็นตั้งแต่ Alpha จน Released แล้ว
ก็ไม่หาย ไม่มีใครช่วยแก้ ... ครับ
ผมว่า icon ด้านบนซ้ายมันไม่สวยครับใหญ่ไป มันใหญ่จนเท่าแถบเมนู
แต่มันก็เป็นแบบนี้มาตั้งแต่รุ่นก่อนๆ แล้วนี่หว่า
อันนี้ผมเห็นด้วยครับ เป็นมาหลายรุ่นแล้วด้วย เห็นรีวิวบางเจ้าก็วิจารณ์จุดนี้เหมือนกัน (แต่ผมลืม แหะๆ)
ผมเอาออกหมด ไว้โล่งๆ ดูดีขึ้นเยอะ
เพิ่งได้เห็นหน้าแบบเริ่มต้นแฮะ (พอดีอัปเกรดมา ยังไม่ได้ไปดูรูปเท่าไหร่เลย) ตอนนี้ใช้ธีมสีอ่อน ก็โอเค
วันสองวันแรกก็เผลอๆ เหมือนกัน เรื่องปุ่มย้ายข้าง แต่พอชินแล้วก็โอเค จะปวดหัวหน่อยก็ตรงที่ Chrome มันยังอยู่ด้านขวา (ถ้าไม่เปิดเอา system title bar ขึ้นมา)
พูดถึงอินเทอร์เฟสแล้วดูดีขึ้นมากเลยครับ พัฒนาการดีจริงๆ อีกนิดก็สวยเชียะแล้ว
ติดอยู่อย่างเดียว ไม่ชอบ default font ตัวนี้อย่างแรง กลิ่น GNOME มาเลย ถ้า ubuntu เปลี่ยนฟอนท์ดีๆ งามๆ แบบ OSX แบบ Android หรือ Vista/7 หน้าตาดีขึ้นกว่านี้แน่นอนรับรอง
โดยส่วนตัวมันก็พัฒนาเรื่อง font นะครับ 9.10 ยังขัดๆ ตาอยู่
(ผมใช้ Ubuntu แต่ใช้ Windows ที่บ้าน)
พอลงใหม่เป็น Lucid Lynx ดูดีขึ้นมากครับ โดยเฉพาะ font กับ firefox เนียนขึ้นไม่เหลื่อมล้ำกันเหมือนแต่ก่อน :)
ผมถือว่าอัพเกรดครั้งนี้ใช้ได้เลย ลดความรู้สึกขัดแย้งเวลาใช้ข้าม OS ไปเยอะ
ไม่ต้องถึงกับแซง อย่างน้อยถ้าต้องใช้สลับไปมาก็อยากให้รู้สึกเหมือนไม่ได้สลับ OS เลย
แล้วผู้ใช้ก็จะย้ายมา Linux โดยปริยาย :D
แล้ว การ์ดจอแบบ Hybrid หล่ะครับ
สามารถสลับ การ์ดจอไปมา ได้หรือเปล่าครับ
ผมว่าอีกไม่เกิน 50 ปีน่าจะสมบูรณ์แบบทัดเทียมกับ OSes ทั้งหลายนะครับ หากมีคนพัฒนา + แ้้ก้บั๊คมากกว่านี้อีกซักสองสามพันคนฮาๆ
ปล.เพ้อเจ้ออีกละครับ อีกสองสามรุ่นคงจะดีมากๆและใช้งานจริงได้ในแง่ทั่วไปครับ ... ส่วนผมเองใช้ตัว Netbook Remix ทำงานมานานละครับ : )
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
เป็นการดูถูกกันชนิดที่รุนแรงมากครับ 55
ถ้าเทียบกับ DOS แล้วสมบูรณ์กว่ามั้ยครับ อยากทราบ :-)
ก๊าาาาาก : )
ปล.กำลังจะลอง Unity อยู่เลยครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
สวัสดีครับ
ผมลอง Unity แล้วกับ Lifebook S6410 ...
แรกที่ลง ก็ทำงานได้ปกติ ...
แต่หลังจากที่ ปิดเครื่องไป
จากนั้นมา เกิดอาการที่ งง
เพราะ พอ เปิดเครื่อง เลือก ใช้ Ubuntu และ Login เข้าไป
การตอบสนอง การทำงานต่างๆ ช้ามากๆๆๆๆๆๆ
ไม่ว่าจะกด Mouse เพื่อสั่งงานอะไร
จะมีการตอบสนองช้ามากผิดปกติ จริงๆ
ทั้งๆ ที่ ลองพยายาม ทนรอ เพื่อ เปิด System Monitor ก็
ไม่เห็นว่ามี Process อะไรที่ ดึงเวลา Processor ไป หรือ
มีการใช้ Processor ที่มากผิดปกติ ...
ยังไม่ได้ หาสาเหตุ เหมือนกัน ครับ ...
ขอแค่ Linux ไม่มีปัญหากับ Hardware ผมว่าชีวิตจะดีขึ้น
That is the way things are.
ยาก
เพราะผู้ผลิตไม่ทำให้ และไม่ดูแลอย่างต่อเนื่อง ที่ใช้กันทุกวันนี้ส่วนหนึ่งก็เดปทำกันเอง (เช่น madwifi ที่ทำให้ใช้ Wireless ได้)
ทั้งหลายทั้งปวง ประเด็นไม่ใช่ยากเพราะไม่ดูแลต่อเนื่อง
ประเด็นเพราะ ฮาร์ดแวร์ ชิ้นส่วน อุปกรณ์ ของ พีซี
มีหลากหลาย แค่รายเดียว ก็มีไม่รู้กี่รุ่น แล้ว
ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ชิ้นส่วน อุปกรณ์ เอง ก็
สนับสนุน ลินุกซ์ บ้าง ไม่สนับสนุนบ้าง
มีไดรเวอร์สำหรับ ลินุกซ์ บ้าง ไม่มีบ้าง
ที่ไม่มีให้ หากมีไลบรารี่ สนับสนุน ให้ไปพัฒนา
ไดรเวอร์เอง ก็ดีไป หรือ ให้รายละเอียดของ
ฮาร์ดแวร์ ให้ ผู้ผลิตอิสระ ไปพัฒนาไดรเวอร์ ได้ก็ ดีไป
แต่ก็มีผู้ผลิตอีกหลายราย ที่ไม่เปิดเผย ... รายละเอียด
ของ ฮาร์ดแวร์ ให้ ผู้ผลิตอิสระ พัฒนาไดรเวอร์ ได้
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเขาหวง แต่เพราะ ข้อจำกัด หลายประการ
ด้านกำลังคน งบประมาณการลงทุน และ การตลาด
โดยเฉพาะบริษัทเล็กๆ ที่ต้องเลือก ตลาดที่มีผู้ซื้อมาก
ตัวของ ผู้พัฒนา ลินุกซ์ดิสโทร ต่างๆ คงไม่สามารถ
ไล่ทำไดรเวอร์ได้หมด อีก ประการ ...
ผู้ผลิต พีซี เอง ก็ไม่สามารถ ไล่ทำไดรเวอร์ ได้หมด
อยู่ดี สำหรับ ฮาร์ดแวร์ สำหรับ พีซี หรือ โน๊ตบุค ที่ออกขาย
ต้องพึ่ง ผู้ผลิต ชิ้นส่วนของ ฮาร์ดแวร์ ที่เป็นต้นน้ำ อยู่ดี
นี่ เป็นเหตุ หนึ่ง สำหรับ แมค ที่ ทำไม ถึง
มี โอเอส ที่ เสถียร ... เพราะ ฮาร์ดแวร์ไม่ได้ หลากหลาย
ถูกควบคุม ดูแล จาก แอปเปิ้ล ... ไม่ให้นอกลู่นอกทาง
จริงๆ หาก รุ่น ฮาร์ดแวร์ ของ พีซี ที่เราๆ ใช้กัน
ลินุกซ์ มีไดรเวอร์ รองรับหมด ... ไม่ยาก ที่ทำให้เสถียร ได้ ครับ
เพราะ ที่ใช้ปัจจุบัน ผมก็ใช้เสถียร ได้ดี น่าพอใจ ... ครับ
ลองกับตัว Server i386 ไปบูตไวจนตกใจครับ เยี่ยมจริงๆ
เรื่องบูตไวเนี่ย ยกให้เขาจริงๆ ครับ
เจ๋งมาก ใช้อยู่ config จนสวยมากๆ
ติแค่เรื่อง Chrome เน่าอย่างเดียว
แต่ยังไง ถ้า linux mint 9 ออก ก็เปลี่ยนทันทีครับ (linux mint ดีกว่าเยอะ)
+1 แต่ทาง mint ก็บ่นเปรยๆตั้งแต่รุ่น 8 แล้วว่าแก้ปัญหาเรื่องระบบ boot ตัวใหม่กับ wubi ยังไม่ได้เลย - -"
Chrome ถ้าเน่า เรื่องภาษาไทย
ลองใช้ฟอนต์ Lamoputta2 ครับ
จะแก้ปัญหาเรื่อง ตัวหนังสือทับกันได้ครับ
ถ้าอยากใช้ Mint 9 เร็วๆ ก็
เพิ่ม Repository ของ Mint 9
แล้ว เพิ่ม Packages ของ
Mint 9 เอา ครับ
แหล่ง ครับ
deb http://packages.linuxmint.com/ isadora main upstream import
ครับ
พออัพเดต แพกเกจ เสร็จ ก็ ให้ ลง เพิ่ม แพกเกจ Linux Mint Ring ไป ก็จะได้ Key จาก Mint repository มาครับ
ขอบคุณครับ ตอนนี้ Mint ตัวเต็มมาแล้ววว ได้เวลาลบ ubuntu แล้ว 555
ขอบคุณเรื่อง chrome ครับ เดี๋ยวมินท์เสร็จแล้วจะลองๆ ดูครับ
จากที่เคยลอง ...
ไม่ต้องลงใหม่ก็ได้ครับ
เพิ่ม Repository ลงไป
แล้วเพิ่ม Package ของ Mint ให้หมด
พอ Restart เครื่องใหม่
ไม่แตกต่างกับลงใหม่เลยครับ
ยกเว้น มี Package มากกว่า Mint ปกติ ครับ
ถ้ามีใครเจอแตกต่างจากที่ผมลอง ก็บอกนะครับ
เริ่มเลย ก็ Theme Plymouth ของ Mint นี่
ใช้ชื่อ Package ทับซ้ำกับ Ubuntu เลย
พอ เพิ่ม Mint Repository กับ Apt-get Update แค่นั้น
ก็โดนไปแล้ว ... หน้าที่กำลังเข้า Ubuntu กลายเป็น Mint เรียบร้อย
แล้วแต่นะครับ
ขอบคุณครับ พอดีได้โหลดตัวเต็ม แล้วเดี๋ยวลองๆ ดู
Linux Mint 9 "Isadora" ออกแล้วครับ Release Notes for Linux Mint 9 Isadora
ผมติ Synaptic ของ Mint หน่อย ตรง
ไปบล๊อก Repository หลักของ Ubuntu ไว้
ไม่ให้เราไปเปลียนแหล่งที่มาของ Repository
ซึ่งไม่ค่อยชอบใจเลย ...
เพราะ เน็ต บางที่ มันช้า
กว่าจะ Update รายการ Packages จาก
Main Site นานมาก ...
แต่ก็แล้วแต่นะครับ
ตรงจุดนี้เห็นด้วยเลยครับ
.
.
ขอถามนิดนึงครับ Thumbdrive /Flashdrive ที่เราเอามาบูตเนี่ย เราสามารถเอาไฟล์อย่างอื่นเช่นไฟล์เอกสารมาใส่ได้หรือเปล่า จะมีผลอะไรกับการบูตมั้ย หรือไม่ควรเก็บอะไรเลย นอกจากไฟล์ที่สร้างจาก UNetbootin อย่างเดียว เพราะปกติผมบูตจากซีดีตลอด ไม่เคยบูตจาก Thumbdrive /Flashdrive เลย
ใส่ได้ครับ ไม่มีผลอะไรกับการ boot
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ขอบคุณครับ
ใช้ Mac เชียร์ Ubuntu :)
ใช้สองอย่าง เชียร์สองอย่างเลย