Tags:
Node Thumbnail

หลังจากเป็นข่าวลือมาตั้งแต่เมื่อวานนี้ วันนี้ทาง กทช. โดยนายพิทยาพล จันทนะสาโร รองเลขาธิการ กทช. ก็ออกมาให้ข่าวแล้วว่า บอร์ดมีมติให้ผู้ให้บริการทั้งหมดต้องให้บริการในราคาเท่ากัน ทั้งการโทรในเครือข่ายและนอกเครื่อข่ายจริง โดยมีเหตุผลว่าโดยทั่วไปแล้วผู้ใช้มักไม่รู้ว่ากำลังโทรไปยังเครือข่ายใด โดยค่าโทรที่กำหนดไว้นั้นจะต้องไม่เกิน 3 บาทต่อนาที

จุดน่าสนใจของเรื่องนี้คือการที่นายพิทยาพลกล่าวถึงเรื่องการตั้งราคาค่าโทรตามเวลา ว่าเป็นเรื่องเล็กและจะมีการลงมติในเรื่องนี้อีกครั้ง ทำให้น่าสนใจว่าหากผู้บริโภคไม่รู้ว่ากำลังโทรไปเครือข่ายใด ผู้บริโภคก็อาจจะไม่รู้ด้วยว่าค่าโทรแต่ละเวลาเป็นเท่าใดหรือไม่ในความคิดของ กทช.

อำนาจในการบังคับใช้คำสั่งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (Google Docs) โดยผมเข้าใจว่าเป็นไปตามมาตรา 56 (3) และมาตรา 60 ที่กำหนดให้อำนาจกทช. ในการกำหนดอันตรา "ขั้นสูง" ของค่าธรรมเนียม โดยมาตรา 56 (3) นั้นระบุว่าอัตราขั้นสูงที่ กทช. กำหนดจะต้อง "ไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฎิบัติ แบ่งแยกหรือกีดกันผู้ใช้บริการหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด" ตรงนี้น่าสนใจว่าสุดท้ายแล้ว กทช. มีอำนาจในการกำหนดอัตราค่าบริการจริงๆ หรือไม่เพราะ พ.ร.บ. ฉบับนี้ในหมวดที่ 5 และ 7 ที่เกี่ยวข้องกับค่าบริการนั้นเป็นการระบุถึงอัตรา "ขั้นสูง" ทั้งหมด ซึ่งในวันนี้ก็ไม่มีค่ายใดเก็บค่าบริการเกินกว่า 3 บาทต่อนาทีอย่างที่ กทช. ตั้งมา แต่เป็นการตั้งราคาให้ถูกกว่าเพดานที่กำหนดโดยไม่เท่ากัน

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือความเท่าเทียมกันของเครือข่าย เนื่องจาก กทช. มีภารกิจในการส่งเสริมการแข่งขัน แม้จะต้องบังคับให้ขึ้นราคาเพื่อให้ผู้บริโภคโดยรวมได้รับประโยชน์ในระยะยาว แต่น่าสนใจว่าการบังคับให้ราคาเท่ากันทั้งนอกและในเครือข่ายเช่นนี้จะสร้างภาวะการแข่งขันที่ดีขึ้นได้จริงหรือไม่? เพราะสังเกตว่าผู้ใ้หบริการที่เสนอโปรโมชั่นในเครือข่ายอย่างหนักนั้นกลับเป็นผู้ให้บริการขนาดเล็ก และหากค่าบริการเท่ากันทั้งหมด จะเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ับริโภคให้ไม่สนใจว่าปลายทางเป็นเครือข่ายใด ส่งผลให้ผู้ให้บริการขนาดเล็กมีภาระค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเชื่อมต่อโครงข่ายสูงกว่าผู้ให้บริการรายใหญ่ๆ มาก

ที่มา - ไทยรัฐ

UPDATE: รายงานการประชุมมาแล้วครับ ผมคัดเฉพา่ะวาระ 4.26 ในเรื่องนี้มา

ระเบียบวาระที่ ๔.๒๖ : การไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีการให้บริการของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) : คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง

มติที่ประชุม

  1. ได้พิจารณาและวินิจฉัยแล้วลงมติว่าการให้บริการดังกล่าวเป็นบริการโทรคมนาคมลักษณะหรือประเภทเดียวกัน จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อ ๑๗ ของประกาศ กทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการและการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
  2. มีคำสั่งให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) เรียกเก็บค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากผู้ใช้บริการของตนสำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในโครงข่าย (on net) และการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างโครงข่าย (off net) ในอัตราเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคไม่สามารถรู้ได้ว่าเลขหมายปลายทางให้บริการโดยผู้ให้บริการรายใดและเป็นการใช้บริการภายในโครงข่าย (on net) หรือระหว่างโครงข่าย (off net)
  3. เนื่องจากการเรียกเก็บค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากผู้ใช้บริการของตนในอัตราที่แตกต่างกันระหว่างการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในโครงข่าย (on net) และการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างโครงข่าย (off net) เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายตาม ๑. จึงให้มีผลใช้บังคับกับผู้รับใบอนุญาตและผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย
  4. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดทำร่างหนังสือแจ้ง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ผู้รับใบอนุญาตและผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายเพื่อทราบมติที่ประชุมตาม ๑. ทั้งนี้ ให้หารือ กทช.สุธรรมฯ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและถูกต้องของถ้อยคำทางกฎหมายก่อนจัดส่งต่อไป

UPDATE2: มาตรา 57 ที่รายงานของกทช. อ้างถึงมีดังนี้

ผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการนอกเหนือหรือเกินกว่าอัตราขั้นสูงที่คณะกรรมการกำหนดในมาตรา ๕๕ ไม่ได้และต้องไม่เป็นการกำหนดอัตราในลักษณะที่เป็นการกีดกันทางการค้า ซึ่งจะมีผลเป็นการจำกัดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม โดยจะต้องเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการของตนในอัตราเดียวกันสำหรับบริการโทรคมนาคมลักษณะหรือประเภทเดียวกัน

ประเด็นนี้ทางกทช. ระบุว่าบริการในเครือข่ายและนอกเครือข่ายเป็นบริษัทที่มี "ลักษณะหรือประเภท" อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ในส่วนนี้ยังน่าสงสัยว่าเราสามารถบอกได้ว่ามันอยู่ในประเภทเดียวกันได้หรือไม่ เพราะถ้าได้แล้วมันต่างจากการโทรศัพท์รูปแบบอื่นๆ อย่างไร? เช่นการโทรทางไกล ที่มีค่าใช้จ่ายต่างกัน หรือการโทรจากโทรศัพท์บ้านไปยังโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

Get latest news from Blognone

Comments

By: jirayu
ContributorWindows PhoneBlackberrySymbian
on 12 May 2010 - 21:18 #177061

15 หยกๆ 16 หย่อนๆ ของเรา

โอ้ว ไม่นะ...


By: shikima
Windows PhoneAndroidUbuntu
on 13 May 2010 - 09:34 #177276 Reply to:177061

ใช้อยู่เหมือนกันอ่า...​เศร้าแน่ๆ

By: NUTKABPOM
AndroidWindowsIn Love
on 12 May 2010 - 21:31 #177067

55555555555 -*-

ดีแล้วครับ เก็บ 3 บาทต่อนาทีไปเลย จะได้ไม่ต้องใช้มือถือ สิ้นเปลือง (ประชด)

By: movemore
iPhoneWindows PhoneBlackberry
on 12 May 2010 - 21:35 #177070

กทช รับเงินจาก AIS มาก็บอกไปตรงๆสิ :P

By: kurosame
ContributoriPhone
on 12 May 2010 - 21:38 #177073
kurosame's picture

~ Tab CapsLock Ctrl


{$user} was not an Imposter

By: Bombycilla
Android
on 12 May 2010 - 22:21 #177105 Reply to:177073
Bombycilla's picture

ขาด ESC ไปป่าวคับ ฮ่า ๆๆ

By: nimrod
AndroidUbuntuWindows
on 13 May 2010 - 05:16 #177241 Reply to:177105

Shift หาย (เกือบไม่เก็ต :P)

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 12 May 2010 - 21:43 #177077

อ้อ สรุปได้ว่าผมโง่ คุณฉลาด จบ


iPAtS

By: pasama
Android
on 12 May 2010 - 21:43 #177078
pasama's picture

ไม่เห็นด้วยครับ ที่ว่าผู้ใช้มักไม่รู้ว่ากำลังโทรไปยังเครือข่ายใด ร้อยละ 80 ผมโทรหาคนสนิทครับ ซึ่งก็มักใช้เครือค่ายเดียวกัน ผมไม่ได้โทรสุมว่านไปทั่วนะถึงจะไม่รู้ และก็โทรนานกว่าด้วยที่ต้องโทรออกไปต่างเครือข่ายก็นานๆทีคุยกับเพื่อนบ่าง ในระยาวจะได้ประโยชน์อย่างไรผมว่าต้องบอกให้ชัดนะ ตอนนี้คิดไม่ออก แล้วหากค่าบริการเท่ากัน จะมีประโยชน์อย่างไรกับประชาชน มีส่วนให้แข่งขันอย่างไรในการพัฒนาเครือข่าย ผมต้องการ number portability ไอ้ค่าโทรให้เขาไปแข่งขั้นกัน

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 13 May 2010 - 09:15 #177269 Reply to:177078
joomla's picture

เขาคงเห็นใจพวกโทรขายประกันมั๊ง ยังตามสูบเงินพวกเด็กตัวกระเปี๊ยกได้อีกเยอะด้วย

By: WattZ
AndroidRed HatSymbianWindows
on 12 May 2010 - 21:45 #177082
WattZ's picture

ยอมรับเลยว่า ผมไม่สามารถตามทันความคิดของหน่วยงานนี้เลย แสดงว่าผมยังไม่มีความสามารถเพียงพอสินะ

By: sugarplz
AndroidUbuntuWindows
on 12 May 2010 - 21:46 #177083

ถึงกับอยากจะ สบถ ออกมาเป็นภาษาอิสาน ...
ขอบคุณครับ ที่เล็งเห็นผลประโยชน์ของผมได้ดีกว่าที่ผมเห็นเอง

By: Jessy
Red HatUbuntuWindows
on 12 May 2010 - 21:54 #177084

ไม่แน่ อาจเป็นเพราะ CAT จะเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของ Hutch หรือเปล่า ปัจจุบันโปรของ Hutch ถูกสุด โทรเข้าเบอร์องค์การเหมือนว่าจะฟรี ถ้าใช้แบบเหมาวันนะ แต่ถ้าเป็นเครือข่ายอื่น โทรเข้าองค์การไงก็ต้องเสีย พูดง่ายๆก็คือ ปรับฐานราคาให้เท่ากันหมด ทีนี้รัฐก็ลงทุนได้เยอะหน่อย เพราะกำไรต้องเพิ่มขึ้นแน่นอนอยู่แล้ว ระหว่าง 2.5G กับ 3G คนก็หันไป 3G กันหมด และแน่นอน Hutch ใช้ 3G ได้ก่อนเจ้าอื่น จบเกมส์

By: maxsloveyou
iPhoneAndroidWindows
on 12 May 2010 - 21:46 #177086

ถ้าเกิดความเดือดร้อนขึ้นมา ในกรณีนี้จะฟ้องศาลปกครองได้มั้ยครับ 3G ก็ไม่ได้ ค่าโทรก็จะขึ้น ประชาชนคนธรรมดามีสิทธิ์ต่อกรอย่างไรได้บ้างครับ

By: Thaina
Windows
on 12 May 2010 - 21:53 #177092 Reply to:177086

เลือกรัฐบาลที่ต่อต้านนโยบายนี้ครับ

ก็ทนไปจนกว่าจะเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ได้

ถ้าประเทศเรายังคงเป็นประชาธิปไตยอยู่น่ะนะ...

By: pd2002 on 12 May 2010 - 22:38 #177125 Reply to:177092

+1

By: John
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 12 May 2010 - 23:51 #177153 Reply to:177092
John's picture

ไม่มีประโยชน์ครับ เพราะ กทช เป็นหน่วยงานอิสระไม่สังกัดรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไหนโฆษณาว่าต่อต้านหน่วยงานนี้ได้แสดงว่ารัฐบาลนั้นไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ไม่ทำตัวตามระบบที่ถูกต้อง ใช้อำนาจรัฐข่มขู่หรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่ถูกต้องครับ

By: Thaina
Windows
on 13 May 2010 - 00:01 #177157 Reply to:177153

ไม่ยากครับ ก็แค่ยุบแล้วเปลี่ยนเป็นองค์กรณ์ใหม่
ยังไง กทช. ก็ต้องโดนยุบให้เป็น กสทช. อยู่แล้ว
หรือไม่ก็แต่งตั้งโยกย้ายคณะกรรมการให้เป็นคนที่สนับสนุนนโยบายทางเดียวกับรัฐบาลแทน

นอกจากนี้สภายังมีอำนาจออกกฏหมายที่จะจำกัดหน้าที่ของ กทช. อีกด้วย อย่างน้อยถ้ากำหนดหน้าที่ว่า กทช. บังคับการตั้งรายละเอียดในการดำเนินธุรกิจของเอกชนไม่ได้ ก็จบเหมือนกัน

By: emptyzpace on 13 May 2010 - 01:50 #177209 Reply to:177092

+100
ต้องรอดู ว่านักการเมืองพรรคใหนจะยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็น

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 13 May 2010 - 09:24 #177273 Reply to:177209
joomla's picture

แต่ผมเคยเห็นอยู่พรรคหนึ่ง เอาขาไปกางขวางไว้ไม่ให้ค่ายอื่นได้พัฒนาระบบขึ้นมาสู้ของค่ายตัวเองได้ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน แล้วประชาชนก็เสียผลประโยชน์

เรื่องหากินกับอากาศนี่ไม่มีวันหมด กำไรเยอะแถมไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ผมเลยไม่มีความมั่นใจว่าจะมีรัฐบาลชุดไหนที่ยอมเสียผลประโยชน์ของพวกตัวเองเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จริงๆ นับแต่ปัจจุบันย้อนไปอดีต ไม่เคยมีเลย

By: Thaina
Windows
on 13 May 2010 - 10:22 #177296 Reply to:177273

เราก็เลือกรัฐบาลที่ไปหาผลประโยชน์กับเรื่องอื่นแล้วยอมทำเรื่องนี้ไงครับ

จริงๆแล้วมันก็มีวิธีกดดันรัฐบาลหลายวิธี สรุปคือทำยังไงก็ได้ให้รัฐบาลรู้ว่า ถ้าไม่ยอมทำเรื่องที่เราต้องการ สมัยหน้าไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่ รีบทำก่อนตัวเองหมดสมัยซะ อะไรพรรค์นั้น

แต่ตราบใดที่พรรคนั้นยังไม่มีคู่แข่งที่สู้กันได้ด้านความสามารถในการบริหาร ก็ค่อนข้างจะยาก เพราะประชาชนคนอื่นก็ยังพอใจกับนโยบายเรื่องอื่นของพรรคนั้นอยู่

ป.ล. ผมเห็นว่าที่คุณพูดถึงพรรคหนึ่งนั่นก็เป็นแค่ข้อกล่าวหานะครับ แต่ขอไม่เถียงในที่นี้ เดี๋ยวยาว

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 13 May 2010 - 10:39 #177307 Reply to:177273
McKay's picture

อย่างไรครับ

ผมคิดว่าสิ่งที่ทักษิณทำนั้น ไม่ได้เป็นการเอาขาไปกางขวางไว้เลย กลับเป็นการช่วยผู้ให้บริการรายย่อยด้วยซ้ำ โดยที่ตนเองก็ได้ประโยชน์ด้วย แต่เงินเข้าคลังต่อระยะเวลาการโทรหนึ่งๆลดลง แต่เป็นผลทำให้ราคาค่าบริการของผู้ให้บริการทุกรายถูกลงมาก ประชาชนใช้โทรศัพท์มือถือมากขึ้นนานขึ้น ซึ่งเอาเข้าจริงเงินเข้าคลังโดยเฉลี่ยก็จะเท่าเดิม ซึ่งผมเห็นว่ามันควรจะทำมาตั้งนานแล้ว

ข้อเท็จจริง
ทักษิณออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง 'จริง'
ผู้ให้บริการ'ทุกราย'ได้ผลประโยชน์ เนื่องจากต้นทุนที่ต่ำลง
ประชาชนได้ประโยชน์ เพราะค่าบริการที่ต่ำลง
เงินเข้าคลังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก หรืออาจจะเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ

ถ้าทักษิณจะผิด ก็ผิดแค่ข้อแรกนี่หล่ะ
กรณีนี้พูดถึงทักษิณและกฎหมายที่ออกในขณะที่ดำรงตำแหน่งนักการเมือง ไม่ได้พูดถึงกรณีที่พยายามขัดขวางบริษัทอื่นจากการแข่งขันจากการที่ตนเองเป็นนักธุรกิจ (ซึ่งมันต้องเกิดขึ้นอยู่และ และเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด)

ผมไม่ได้คิดว่าทักษิณไม่ผิด แต่ผมไม่ชอบการกล่าวอ้างว่าคนนั้นคนนี้ผิดโดยขัดหลักความเป็นจริง


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: btxxxx
AndroidWindows
on 13 May 2010 - 14:10 #177359 Reply to:177307

ก็เค้าตัดสินตามประกาศ คปค.ไม่ใช่เหรอครับ :D

ขนาดคุณสมัครทำรายการอาหารออกทีวียังผิดเลยนิ นายกฯ ต้องเป็นเทพประทาน ไม่เคยทำอะไรมาก่อนเท่านั้น ถึงจะทำหน้าที่นี้ได้

By: 9grit on 12 May 2010 - 21:50 #177090

ทำไมจะไม่รู้ ผมใช้ DTAC อยู่ ถ้าโทรหา DTAC กันเอง จะดัง ตึง ตึ๊ง ตึ๋ง... DTAC รับเงินชัวร์

By: btxxxx
AndroidWindows
on 13 May 2010 - 14:11 #177361 Reply to:177090

ผมมองว่ามันมีวิธีที่จะทำให้แก้ปัญหาได้ (และเค้าก็ใช้กันอยู่แล้ว อย่างที่คุณว่ามา ผมก็ใช้อยู่) แต่เค้าทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น เพื่อให้ได้ผลที่ตัวเองต้องการเท่านั้นเองมากกว่า

By: bitworld
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 12 May 2010 - 21:52 #177091
bitworld's picture

ผมมีเบอร์แบบเติมเงินทั้งสามระบบ เพื่อโทรหาเครือข่ายเดียวกัน อย่างคุณ pasama ว่ามาอ่ะครับ เพราะผมรู้ว่าผมจะโทรหาใคร และผมก็ให้ทางเลือกลูกค้าผมว่าจะโทรเข้าหาผมได้ที่เครือข่ายไหน

จริงอยู่ว่าในการโทรครั้งแรกๆ อาจจะไม่รู้ว่าเรากำลังโทรเข้าเครือข่ายไหน แหม แต่มีปากอ่ะนะก็ถามสิ คราวหน้าจะได้เลือกโทรได้ถูก

ไม่รู้เค้าคิดอะไรของเค้า เฮ้อ

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 12 May 2010 - 21:57 #177094
Perl's picture

แล้วนาที 25 สต ของช้านน

ถ้าสมมุติคิด 2 บาท/นาทีเท่ากันหมด(+เผื่อค่า IC ที่ 1 บาท)
โทร 1 ชม = 120 บาท.. โอววว T T

By: Kiss on 12 May 2010 - 22:06 #177097

ผมว่าในระยะยาว นโยบายนี้ดีนะครับ เพราะผู้ให้บริการรายเล็กจะไม่เสียเปรียบมากนัก

By: pasama
Android
on 12 May 2010 - 22:09 #177100 Reply to:177097
pasama's picture

ผิดกันผมว่ามันไม่มีสิทธิเกิดเลยละครับ ไครจะมายอมใช้เครือข่ายที่ด้อยกว่า หากราคาเท่ากัน ระยะยาวมันจะเหลือบริษัทใหญ่ไม่กี่เจ้า

By: Kiss on 12 May 2010 - 22:21 #177106 Reply to:177100

่ตัวอย่าง ฮัท กับ pct
2 เจ้านี้เป็นเจ้าแรกๆที่มีโปรฯภายในที่ถูกมาก แต่ก็ไปไม่ถึงไหนสักราย

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 12 May 2010 - 23:03 #177138 Reply to:177106
lew's picture

จุดนี้น่าสนใจ

คนที่เล่นสงครามราคาในเครือข่ายกลับไม่ใช่เครือข่ายขนาดใหญ่ แต่เป็นนเครือข่ายขนาดเล็ก

ประกาศนี้เท่ากับถอนเครืองมือการทำสงครามราคาภายในออกไป ทำไมมันถึงทำให้การแข่งขันดีขึ้นล่ะครับ?


lewcpe.com, @wasonliw

By: Kiss on 12 May 2010 - 23:29 #177147 Reply to:177138

ผมก็งงตัวเองตอบไม่ตรงประเด็นสักเท่าไร
แต่ผมว่าเมื่อเครื่อข่ายใหญ่ๆมาเล่นโปรฯนี้กันมากขึ้น(ซึ่งเมื่อก่อนไม่มี) อาจทำให้คู่แข่งหน้าใหม่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะไม่สามารถแย่งลูกค้าจากเครือข่ายเก่าๆที่มีฐานลูกค้ามากๆ ได้เลย

ปล.คิดไปคิดมาหากผู้บริการรายใหญ่เอาค่า IC ที่ตัวเองได้รับ มาลดภาระการเชื่อมต่อกับค่ายอื่นๆ บ.เล็กๆก็คงอยู่ไม่ได้เหมือนกัน

By: puri on 12 May 2010 - 23:47 #177150 Reply to:177147

ผมเห็นด้วยครับ
ตอนอ่านข่าวนี้ครั้งแรก ผมก็คิดเลยว่ามันทำให้ผู้เล่นรายย่อยสามารถเข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น
เพราะรายใหญ่ ๆ ไม่ได้เปรียบจากฐานลูกค้าที่มีอยู่เดิม

โดยส่วนตัว ผมก็ไม่รู้นะครับว่าเบอร์ของเพื่อนผมเป็นค่ายไหน
ผมว่าปัญหาคือ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเบอร์นี้เป็นค่ายไหนจากเบอร์โทรศัพท์
เช่น 06 เป็น AIS, 07 เป็น DTAC, 08 เป็น True, ...
ซึ่งเหตุผลเดียวกันนี้นำมาอ้างกับเรื่องโปรตามเวลาไม่ได้ครับ เพราะใคร ๆ ก็รู้เวลาได้จากแหล่งอ้างอิงมาตรฐาน

ทางแก้หนึ่งที่ฟังขึ้นอาจจะเป็นการแจ้งผู้ใช้เมื่อเริ่มโทรศัพท์ว่าเบอร์นี้เป็นของค่ายใด ราคาเท่าไร ก่อนจะเริ่มคิดเงินครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 May 2010 - 00:03 #177161 Reply to:177147
lew's picture
  1. รายใหญ่ทำราคาได้ดีกว่า เป็นธรรมชาติของธุรกิจครับ Economic of Scale ใหญ่ ซื้อของทีละมากๆ ก็ได้ถูก ขายได้กำไรงาม มาตรการนี้ช่วยอย่างไร????
  2. โดยปรกติแล้ว รายเล็กๆ มักมีทางออกโดยอาศัยความคล่องตัว ทำตลาดเฉพาะทางบางกลุ่ม (ที่รายใหญ่ไม่สน เพราะกินกลุ่มหลักรวยกว่า) เช่น โทรเป็นกลุ่ม, จ่าย 200 แล้วโทรฟรีทั้งเครือข่าย ฯลฯ มาตรการพวกนี้รายใหญ่ไม่สนมากนัก เพราะเพียงแค่ลดราคานิดหน่อยพอให้คนไม่ไหลออกจากเครือข่าย แล้วกินรายได้ต่อเลขหมายที่สูงกว่า อัตราส่วนกำไรดีกว่า
  3. ผมมองว่ามาตรการนี้เป็นการ "รับประกัน" ว่ารายใหญ่จะได้เปรียบครับ เพราะรายเล็กจะเล่นในเครือข่ายต่ำๆ ไม่ได้ ติด "พื้น" ที่ค่า IC กันหมด ค่า IC นั้นสองฝั่งจ่ายเท่ากันนะครับ

lewcpe.com, @wasonliw

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 12 May 2010 - 23:49 #177151 Reply to:177106
tekkasit's picture

ธรรมชาติของสองระบบนี้ต่างกันนะครับ และผมคิดว่ามีเหตุผลที่แตกต่างกัน

PCT ใช้สัญญาณในช่วง 1900MHz (เฮ้ย!) และเครื่องส่งมีกำลังต่ำ ขนาดเซลล์อยู่ที่ระดับ 50-100 เมตร แม้ว่าไซต์แต่ละที่ไม่แพง แต่ต้องติดตั้งไซต์เยอะมากเพื่อให้รองรับการใช้งานทั่วบริเวณ และด้วยความที่กำลังต่ำและเซลล์เล็ก เหมาะกับการนั่ง/เดิน/วิ่ง ไม่เหมาะกับการใช้งานที่มีการเคลื่อนที่เช่นบนรถยนต์ จึงไม่ค่อยคล่องตัวในการใช้งาน นั่นคือเหตุผลทางเทคนิค

ในแง่การตลาด CP ใช้ PCT เป็นตัวเริ่มเข้าสู่ตลาดโทรคมนาคม ก่อนจะไปร่วมทุนกับ Orange และเริ่มเข้าสู่ตลาดมือถือจริงๆ ทำให้ CP ไม่มีเหตุผลที่ดีนักในการพัฒนา PCT แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่ดีกว่าเดิม รองรับการเคลื่อนที่ความเร็วสูงมากขึ้น แต่จะกลายเป็นการฆ่ากันเอง

แต่ Hutch นี่ ถ้าจำไม่ผิด หุ้นลมเยอะมาก!!! ต้องลงทุนโครงข่ายใหม่ทั้งหมด ทั้งแพง และทั้งเยอะ ค่าใช้จ่ายเยอะมาก ทำให้เล่นเกมส์ยากมาก โฆษณามาก เพิ่มไซต์ไม่ทัน คุณภาพสัญญาณห่วยก็โดนด่า เล่นแคมเปญมากๆก็ไม่ได้ เด๋วคนใช้งานเยอะเกินเครือข่ายตัวเองจะล่ม แต่ครั้นจะไม่โฆษณาก็ไม่ได้ เด๋วคนจะไม่รู้จัก หนีไปใช้ระบบอื่นๆหมด เพราะเข้ามาตอนที่ผู้เล่นมีเยอะมากแล้วทั้ง AIS, DTAC, CP-Orange (TrueMove) หรือแม้แต่ PCT (จริงนะ มันสามารถทดแทนได้ในระดับหนึ่ง คุณภาพช่วงหนึ่งนี่ห่วยพอกันเลย)

แถมระบบมือถือที่ใช้เป็นแบบเฉพาะตัว แถมจะเอาเข้าต้องมีการคัสตอมรอมก่อน ทำให้โมเดลให้เลือกน้อยมาก รูปแบบก็ไม่หลายหลาย แถมไม่ค่อยทันสมัย แค่นี้ก็ทำให้หมดสิทธิ์กินเงินเด็กวัยรุ่นที่มีกำลังทรัพย์เยอะ พร้อมจ่าย

By: angelicza
AndroidWindows
on 12 May 2010 - 22:39 #177127 Reply to:177100
angelicza's picture

"เครือข่ายที่ด้อยกว่า" เค้าก็ต้องพัฒนานี่ครับ จะได้แข่งขันกับ "บริษัทใหญ่" ได้ ผู้บริโภคได้ประโยชน์เห็นๆ
ปล.ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคุณแต่ก็ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้เหมือนกัน

By: pasama
Android
on 12 May 2010 - 22:06 #177098
pasama's picture

ผู้ใช้มักไม่รู้ว่ากำลังโทรไปยังเครือข่ายใด ผมมันโง่ ไม่รู้ว่าพ่อ แม่ แฟน ใช้เครือค่ายใหน แล้วไอ้ที่ผมเปลี่ยนเบอร์มาทำไปเพื้ออะไร
ผู้ใช้เสียประโยชนืเห็นๆๆครับท่าน เครือข่ายเล็กคงได้ประโยชน์ อยู่หรอก ค่าบริการเท่ากัน มีไครบ่างอยากใช้ เครือข่ายเล็กกว่า
ที่ทุกวันนี้ราคาต่างเพราะ เครือข่ายเล็ก ยอมเอากำไรน้อยต่างหาก a เครือข่ายเล็กก้ยอมเอากำไร 25 สตางค์เพื่อให้มันอยู่ได้สู้กับ b ถ้าเท่ากันแล้วมันจะเกิดเหรอเนี่ย งบประชาสัมพันธ์ก็น้อยกว่า เครือข่ายก็น้อยกว่า มันเป็นการสกัดดาวรุ่งชัดๆๆ

By: lexurous on 12 May 2010 - 22:13 #177101
lexurous's picture

ถ้าผู้บริการรายไหนแข่งไม่ไหว ก็ตกรอบออกไปเลยใช่ไหมครับ

By: chaow
Android
on 12 May 2010 - 22:20 #177104
chaow's picture

ตอนนี้อาจจะรู้ว่าใครเครือข่ายอะไร แต่เมื่อได้ใช้ number portability แล้วก็ยากกว่าเดิมที่จะรู้ว่าใครใช้เครือข่ายอะไร มั้งครับ

By: zotix
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 13 May 2010 - 01:15 #177201 Reply to:177104

ถ้าราคาเท่ากับ IC แล้ว ทุกเครือข่ายกดราคาเรียกลูกค้า พอเริ่มใช้ Number portability ลูกค้าที่มีปัญหาเรื่องเครือข่าย ก็จะย้ายไปอยู่เครือข่ายที่มีฐานมากที่สุด โทรง่าย โทรสะดวก ยังไงค่าโทรมันก็เท่ากัน ไม่มีค่าโทรหาในเครือข่ายถูกแล้วนี้ เครือใหญ่สุดน่าจะได้เปรียบกว่า หรือตัดเนื่อตัวเอง
สิ่งที่น่าทำปรับการคิดเวลาโทรเป็น วินาที ดีกว่า ผมเจอเวลาโทร 2.0X ประจำ กับ Number portability ถ้า Number portability เกิดผมว่ายังไงเราคงสนใจค่าบริการมากกว่า ถึงมันจะดูยากกว่าเดิมแต่สำหรับคนโทรนานคงไม่มีน่ามีปััญหา ที่จะถามเพื่อน ตอนนนั้นคงมีปัญหาอยู่ที่เพื่อนมันก็ไม่รู้ตัวเองเครือข่ายอะไร เปลี่ยนเยอะ เหมือนเบอร์สมัยนี้???

By: ikkyu
Windows PhoneAndroid
on 12 May 2010 - 22:21 #177107

Sign Petition ต่อต้านคำสั่งนี้กันไหม

By: mednoon on 12 May 2010 - 22:22 #177109

ผมว่านี่คือการแทรกแซงตลาดที่ไม่ดีมากๆเลยล่ะ

By: exboy
iPhoneAndroidWindows
on 12 May 2010 - 22:24 #177110
exboy's picture

จะดีหรือแย่ลงก็ไม่ทราบ แต่แบบนี้็ก็คงลดปัญหาที่ต้องใช้คนละหลายๆเบอร์ได้

By: Bombycilla
Android
on 12 May 2010 - 22:27 #177112
Bombycilla's picture

อื่มม... อยากรู้ความเห็นผู้ให้บริการจริง ๆ

By: eol
Android
on 12 May 2010 - 22:28 #177115
eol's picture

ตุ่ง ตุง ตุ๊ง ... ดีแทค

โทรหาสาวๆ ก็ดังตลอดนะ ทำไมผมจะไม่รู้ !!! (แต่ค่ายอื่นเค้าไม่ทำก็เท่านั้น)

By: jirayu
ContributorWindows PhoneBlackberrySymbian
on 12 May 2010 - 22:30 #177118 Reply to:177115

ทำไงให้มันดังมั่งครับ ผมไม่เห็นจะดังเลย - -" (ก็โทรหาดีแทคอยู่ทุกๆคืนนะ)


By: United
ContributorAndroidIn Love
on 13 May 2010 - 03:48 #177235 Reply to:177118
United's picture

ของ DTAC กด *7102 แล้วโทรออกครับ (ไม่คิดค่าบริการ)

By: buagern
iPhoneAndroidBlackberryUbuntu
on 12 May 2010 - 23:57 #177155 Reply to:177115
buagern's picture

ais ก็มีนะครับ กด * อะไรสักอย่างจำไม่ได้แล้ว ผมใช้อยู่ ก็จะมี ชริ้ง เอ ไอ เอส มา

By: atheist
AndroidUbuntuWindows
on 12 May 2010 - 22:33 #177121

โปรคุยยาว 20 ชั่วโมงของผม จบกัน
(อย่าด่าผมนะครับ ชีวิตผมจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์นานๆ )

By: ibirdboy
AndroidBlackberryWindows
on 13 May 2010 - 12:36 #177343 Reply to:177121
ibirdboy's picture

ทรูใช่ป่าวคัรบ? บุฟเฟ่ใช่ไหมครับ?

By: Jonathan_Job
WriteriPhoneUbuntuWindows
on 12 May 2010 - 22:38 #177124
Jonathan_Job's picture

ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
เรื่อง แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/065/41.PDF

หน้า 41

ข้อ ๒ หลักการสำคัญ
แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓) อยู่บนพื้นฐาน
หลักการสำคัญคือ
๒.๑ กำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมเท่าที่จำเป็น
๒.๒ มุ่งเน้นการบังคับใช้กฎ กติกา ให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมและ
เท่าเทียมกัน
๒.๓ ยึดมั่นและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวมเป็นหลัก

=========
หน้า 42

โดยเฉพาะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มีบทบัญญัติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากิจการโทรคมนาคมไว้ในมาตรา ๔๗ ที่กำหนดให้คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสาร ของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ การดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ

=================================================

การที่ กทช ออกกฏ ที่มี
- ผลทำให้ประชาชนเสียประโยชน์
- ขัดนโยบายของหน่วยงานตัวเอง
- และขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

... นั่นจะถือว่า mission failed ?
และ คณะกรรมการ กทช สมควรรับผิดชอบโดยการลาออกป่าวครับ?

By: Jonathan_Job
WriteriPhoneUbuntuWindows
on 12 May 2010 - 23:08 #177142 Reply to:177124
Jonathan_Job's picture

ลืมบอกว่า ทำไมผมถึงคิดว่ากฏหมายนี้ ไม่ส่งผลดีต่อประชาชนทั้งระยะสั้นและระยะยาวครับ

ระยะสั้น
1. ค่าโทร แพงขึ้น
2. ส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงของ "(ว่าที่)สถาบันครอบครัว" ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ... เพราะ ผมยังเชื่อว่า ยิ่งสื่อสารกันมาก ยิ่งเข้าใจกันมากขึ้น :-D
3. ค่าเสียโอกาส หรือความสูญเสีย เนื่องจากมีการเปลี่ยนโปรโมชั่น ไม่นานมานี้ เพื่อให้โทรในเครือข่ายได้ถูกลง แล้วถูกยกเลิกในครั้งนี้

ระยะยาว
1. ไม่ได้ช่วยทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ถ้ามองกัน ต้นทุนภายในเครือข่ายมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับค่า IC แต่ การที่ทำให้ค่าโทรที่เก็บทั้งในและนอกเท่ากัน ถ้า operator (op) ลดค่าโทรลง จุดปลอดภัยของ op. คือ ตั้งราคาเท่ากับค่า IC ส่วนต่างที่เก็บได้ภายในเครือข่ายจะเป็นกำไรของ op. ถ้าคิดในแง่ของโปรที่จะเอาไปแข่งขัน ราคามันคงจะเฉลี่ยๆกันและราคามันคงไม่สามารถลดได้ต่ำกว่า 80-90% ของต้นทุนค่า IC แน่ๆ

นั่นคือ เนื่องจากราคาจะถูกกำหนดด้วยค่า IC และ โอกาสโทรหากันภายในเครือข่าย ดังนั้น Op รายใหญ่ที่สายป่านยาวจะสามารถกำหนดราคาให้ได้ต่ำกว่ารายย่อย และถ้า ถ้ารายใหญ่ที่ว่า ร่วมกันฮั้วกันลดราคาลงให้ต่ำกว่าจุดนี้ในระยะเวลาหนึ่ง รายย่อยที่สายป่านสั้น ก็อยู่รอดไม่ได้อยู่ดี แบบเดียวกับ Tesco กับ ยี่ปั้ว

เมื่อรายย่อย ตายไป รายใหญ่ก็จะสามารถฮั้วกันตั้งราคาให้สูงได้อีก แม้จะไม่เกินเพดาน 3 บาท ตามกทช กำหนดไว้ แต่ผลเสียก็ตกที่ประชาชนอยู่ดี

By: ninja741 on 13 May 2010 - 01:43 #177208 Reply to:177142

ต้องถามว่า อะไรคือ เหตุผลของ "โปรที่จะเอาไปแข่งขัน ราคามันคงจะเฉลี่ยๆกันและราคามันคงไม่สามารถลดได้ต่ำกว่า 80-90% ของต้นทุนค่า IC แน่ๆ"

และถูกต้องที่ "Op รายใหญ่ที่สายป่านยาวจะสามารถกำหนดราคาให้ได้ต่ำกว่ารายย่อย และถ้า ถ้ารายใหญ่ที่ว่า ร่วมกันฮั้วกันลดราคาลงให้ต่ำกว่าจุดนี้ในระยะเวลาหนึ่ง รายย่อยที่สายป่านสั้น ก็อยู่รอดไม่ได้อยู่ดี"

แต่มองกลับกัน ถ้ายังคงระบบโทรในเครื่องข่ายถูกๆไว้ เกิดมี operator เจ้าหนึ่ง (สมมุติ ais) dominant ตลาดได้ถึงจุดหนึ่งซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น 50% ด้วย อาจจะแค่ 20%ก็ได้ขึ้นกับตัวแปรหลายๆตัว chain reaction จะเกิดทันทีว่า คนที่กำกึ่งว่าจะ ais หรือ dtac ดีจะเลือก ais ก่อน หลังจากนั้น % ขึ้นไปซัก 40% คนที่เฉยๆจะเลือก ais เพราะคนที่โทรหาเกือบครึ่งอยู่ใน AIS มันจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆจนคนที่ไม่ชอบก็ยอมเปลี่ยนไป ais เพราะ benefit เรื่องค่าใช้จ่ายจนประเด็นอื่นตกไป แล้วยิ่งอีกหน่อย เบอร์เดิมย้ายค่ายได้แล้ว ยิ่งทำให้มันเกิดง่ายขึ้นไปใหญ่

ทีนี้ละ Op รายใหญ่ จะลดราคาฆ่ารายอื่นได้ ในขณะที่ตัวเองก็ยังมีกำไรอยู่ด้วยซ้ำ สายป่านยาววันนึงก็ต้องหมด แต่แบบนี้อยู่ไปได้เรื่อยๆเพราะถึงถูก ตัวเองก็ยังกำไรอยู่

By: rulaz07
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 13 May 2010 - 02:13 #177215 Reply to:177208

ก็น่าคิดครับ

By: rulaz07
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 13 May 2010 - 01:55 #177210 Reply to:177124

fail +1

By: nuntawat
WriterAndroidWindowsIn Love
on 12 May 2010 - 22:39 #177128
nuntawat's picture

ดูมีเหตุผล...แต่จะกลายเป็นกีดกันรายใหม่หรือเปล่าไม่รู้แฮะ

By: taiong
Android
on 12 May 2010 - 22:52 #177134

Shift อยู่ไหน?

By: boykeng on 13 May 2010 - 00:05 #177165 Reply to:177134
boykeng's picture

นิด้า หรือป่าว

By: CPECHRIS
Windows PhoneWindows
on 13 May 2010 - 00:46 #177187 Reply to:177134
CPECHRIS's picture

หายไปแล้วครับ อิอิ

By: CPECHRIS
Windows PhoneWindows
on 13 May 2010 - 00:46 #177188 Reply to:177134
CPECHRIS's picture

อ้าว เกิน

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 12 May 2010 - 22:53 #177135
zerocool's picture

ผมว่าหลายคนในนี้ยังไม่ได้อ่านรายละเอียดก็ด่ากันไปเสียก่อนแล้ว บางคนถึงกับคิดไปว่าต่อไปค่าบริการต่อนาทีของแต่ละเครือข่ายคงจะเท่ากัน

ผมว่านะครับ ถ้ามันจะเท่ากัน มันก็เท่ากันตั้งแต่ตอนนี้แล้ว คุณมี Promotion โทรภายในเครือข่ายเดียวกันราคาถูก ผมก็มี Promotion แบบนี้ได้เหมือนกัน ไม่เห็นว่าการอนุญาตให้โทรภายในเครือข่ายในราคาถูกมันจะสร้างความแตกต่างหรือการแข่งขันอย่างไร คือการแข่งขันน่ะคงมีแต่ประเด็นนี้มันไม่เกี่ยว

ถ้าจะบอกให้แข่งกันเอากำไรน้อย โทรนอกเครือข่ายก็เอากำไรน้อยได้นะครับผมว่า ไม่เห็นต้องจำเพาะเจาะจงเป็นเฉพาะกำไรในเครือข่าย


That is the way things are.

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 12 May 2010 - 23:06 #177140 Reply to:177135
lew's picture

ผมเคยคุยเรื่องนี้ในข่าวเก่านะครับ

และผมยังมองไม่ออกว่าเครือข่ายขนาดเล็กจะเสียเปรียบน้อยลงอย่างไรจากประกาศนี้

ถ้าใครคิดออก ผมคงต้องช่วยสร้างความกระจ่างให้ผมสักหน่อยครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 12 May 2010 - 23:44 #177149 Reply to:177140
zerocool's picture

เห็นด้วยครับ ผมก็ว่าเครือข่ายเล็กก็เสียเปรียบเท่าเดิม


That is the way things are.

By: mp3wizard
iPhone
on 12 May 2010 - 23:15 #177144

มีวิธี Vote ออกไหม?
อยากรู้ว่าวิเคราะห์กันได้ยังไง ว่าคนโทรส่วนใหญ่ไม่รู้....

คนที่ไม่รู้เค้าจะประเมินไว้ก่อนทั้งนั้นว่าเป็นคนละเครือข่าย.. พอรู้ว่าเครือข่ายเดียวกันซิ เหมือนถูกหวย! (feel good) เพราะผมเป็นมาก่อน!!

By: moondrop
iPhoneWindowsIn Love
on 12 May 2010 - 23:16 #177145
moondrop's picture

โน้ววววว ผมพึ่งเติมเบอร์คนโปรดไป 5 เดือนเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา

By: illusion
ContributorAndroid
on 12 May 2010 - 23:28 #177146
illusion's picture

มีใครสนใจวิจารณ์เรื่องค่า IC บ้างมั้ยครับ ปัญหาผมว่ามันอยู่ที่ค่า IC เนี่ยแหละต้นตอปัญหาทั้งหมด มันแพงไป ราคานี้สะท้อนต้นทุนจริงหรือเปล่าไม่รู้ แล้วก็ไม่เป็นธรรม หลายค่ายเลยแก้เกมด้วยการโทรถูกในเครือข่ายมันเสียเลย

สำหรับผมเห็นด้วยตามเหตุผลของ กทช. ว่าจริงๆ ผู้ใช้โทรศัพท์ไม่รู้ว่ากำลังโทรไปเครือข่ายใด ซึ่งจริงๆ มันควรจะเป็นที่เข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วๆ ไป (หลายคนโทรหาคนสนิทบ่อย ซึ่งรู้เครือข่ายปลายทางแน่นอน แต่คนส่วนใหญ่ที่ใช้โทรศัพท์โทรหาคนทั่วๆ ไปล่ะ อันนี้ลำบากเช็คแน่นอน ยิ่งคนทั่วๆ ไป ตาสีตาสา คงไม่ค่อยสันทัดเรื่องนี้กัน) การทำให้ค่าโทรเท่ากันทุกเครือข่าย เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา เป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ

แต่เรื่องคือ มันมีต้นทุนค่า IC ค้ำไว้อยู่ ถ้าไม่แก้ไขที่ตรงนี้ แล้วยังดันทุรังคิดค่าโทรเท่ากันทุกระบบ ค่าโทรแพงขึ้นแน่ๆ ไม่ต้องสืบ ดังนั้นผมว่าถ้าแก้ให้ตรงจุด ต้องแก้ที่ค่า IC ครับ นอกจากค่าโทรโดยรวมน่าจะถูกลง เป็นผลดีต่อคนใช้แล้ว การแข่งขันก็เป็นธรรมขึ้นด้วย ..จริงๆ ก็ได้ข่าวว่ามีแนวคิดจะปรับลดจาก 1 บาท/นาที เป็น 50 สต./นาที แล้วนะ แต่มีบางค่ายไม่ยอมน่ะสิ

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 13 May 2010 - 09:43 #177280 Reply to:177146
joomla's picture

+1 ค่า ic แพงมาก น่าจะเหลือ 50 สต./นาที ก็พอ แล้วเอาค่า ic นี้คิดทั้งนอกและในเครือข่าย
แต่จะว่าไปโปรลักษณะนี้ก็มีแล้ว ครอบคลุมทั้งหมดแล้วนะ

By: exboy
iPhoneAndroidWindows
on 13 May 2010 - 10:04 #177286 Reply to:177146
exboy's picture

คือผมพึ่งรู้ว่ามีค่า IC เพราะข่าวนี้นี่เอง

เลยสงสัยว่าถ้าคิดนาทีละบาทแล้วโปรที่ผมใช้อยู่ นาทีแรก 1บาท ถัดไป 25สตางค์ ทุกเครือข่าย

แบบนี้ก็ขาดทุนแย่สิครับ

By: rabbitch on 12 May 2010 - 23:50 #177152

ถ้าต้องใช้ราคานี้จริง ควรลดค่า IC เพราะทำอย่างอื่นไม่ได้แน่ ๆ
ที่จริงแล้วเค้าต้องการเตะตัดขา โทรศัพท์ 2 ซิมไม่ต้องมีหลายเบอร์อีกต่อไป โทรศัพท์ 2 ซิมก็ขายไม่ออก 5555

By: John
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 12 May 2010 - 23:55 #177154
John's picture

ผมเข้าใจว่าที่ค่า IC แพงเพราะผู้บริการต้องการให้เป็นแบบนี้ซะอีก

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 13 May 2010 - 00:01 #177156
mr_tawan's picture

They should also consider cancelling the IC as well...


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: galactic
Android
on 13 May 2010 - 00:15 #177169

ปัญหามันอยู่ที่ค่า IC แต่ กทช. เดินอ้อมป่าอ้อมเขาไปแก้อีกจุดหนึ่ง
ลดส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชน เพิ่มผลประโยชน์ให้กับ Operator
ผมว่าอนาคตมันจะเป็นเมือนที่คุณ Jonathan_Job บอก

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 13 May 2010 - 00:19 #177171
hisoft's picture

หัวข้อชี้ชัดไปหรือเปล่าครับ? กทช. ไม่ได้สั่งขึ้นค่าโทรให้เท่ากันนะครับ แต่สั่งให้ปรับค่าโทรให้เท่ากันต่างหาก ถึงโทรต่างเครือข่ายต้นทุนจะสูงกว่าก็จริงแต่ใช่ว่าผู้ให้บริการจะทำอย่างนั้น บางครั้งอ่านหัวข้อก็ทำให้เกิดความคิดแง่ลบได้แล้วครับ อาจส่งผลให้ผู้อ่านคิดแทนผู้ให้บริการซึ่งอาจจะไม่ได้คิดเช่นนั้นจริงๆ ก็ได้

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 13 May 2010 - 10:34 #177303 Reply to:177171
joomla's picture

ถึงจะไม่ได้สั่งขึ้นค่าโทร แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ในเมื่อค่าโทรนี้อยู่บนเงื่อนไขค่า ic คงไม่มีใครลดค่าโทรลงให้ต่ำกว่าค่า ic เพราะแบบนั้นทำให้เจ๊งได้ง่ายๆ ถ้าทำได้จริงค่ายมือถืออาจจะปรับเปลี่ยนการเก็บค่าบริการเพิ่มอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น การเสียค่าเหมาจ่ายต่อเดือน

แต่ผมอยากให้ กทช ทำเรื่องอื่นที่จำเป็นมากกว่า เรื่องเก่า 3G ยังไปไม่ถึงไหน นี่จะเปิดศึกอีกทางแล้ว ผมคิดว่าจะมีเสียงต่อต้านเยอะ สุดท้ายจะกลายเป็นว่าทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่าง

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 13 May 2010 - 11:52 #177335 Reply to:177303
hisoft's picture

ก็ใช่ครับ แต่มันอาจจะเป็นการขึ้นค่าโทรในเครือพร้อมลดค่าโทรนอกเครือลงมาเท่ากันก็ได้ หัวข้อมันคล้ายกับว่านอกเครือเท่าเดิมแล้วเด้งในเครือขึ้นอย่างเดียวมากกว่า

By: Suwicha
Android
on 13 May 2010 - 00:28 #177179

ไม่ว่าเราจะใช้โปรฯอะไร เราก็ต้องเล่นตามเกมส์ของเขา(ผู้ให้บริการ)ทั้งนั้น ถ้า่ไม่มีโปรฯ อีกต่อไป เราก็จะได้เปลี่ยนพฤติกรรมการโทร น่ายินดีกลับข่าวนี้นะครับ รัฐก็เริ่มตื่นตัวแล้ว ที่ผ่านมาอาจจะจัดการช้าไปหน่อย แต่ก็พอให้อภัยได้

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 13 May 2010 - 00:29 #177180

นาทีละสามบาท แพงเกินไปสำหรับผมที่โทรนานๆ คุยยาวครั้ง แต่คุยสั้นบ่อยครั้ง

By: nblue
Android
on 13 May 2010 - 00:30 #177181
nblue's picture

เห็นต่างแฮะ เราไม่รู้ ว่าโทรไปหาใคร เครือข่ายไหนบ้าง
พ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อนฝูง ใช้อะไรบ้าง ก็ไม่เคยรู้เลย (อาจจะรู้ แต่ไม่สนใจและก็ลืม)

แต่ปกติเป็นคนโทรน้อย(มาก) เดือนนึงจ่ายอย่างสองร้อยกว่าๆ ไม่ใช้โทรศัพท์เพราะเน้นคุยในเน็ตมากกว่า ก็เลยไม่สนใจเรื่องค่าโทรศัพท์ว่าจะถูกจะแพง เลือกแค่โปรที่รายเดือนมันน้อยๆก็พอ

สำหรับคนใช้โทรศัพท์น้อย และไม่สนใจเรื่องเครือข่ายชาวบ้านแบบเรา จะค่าโทรเท่าไหร่ เท่าไม่เท่า ก็ไม่มีผลอยู่ดี
แต่เข้าใจว่าสำหรับคนทั่วไป ที่โทรเยอะหน่อย ก็น่าจะรู้นะ ว่าเบอร์ของคนที่เราโทรหาบ่อยๆ เป็นเครือข่ายอะไร

สรุปแล้ว กฎนี้ ไม่มีประโยชน์

By: Lamento
AndroidUbuntu
on 13 May 2010 - 00:32 #177183

เห็นด้วยนะ คิดได้ผู้บริโภคได้ประโยชน์เต็ม ๆ

By: expextoz
In Love
on 13 May 2010 - 17:43 #177427 Reply to:177183

ได้ประโชยน์ตรงไหน เมื่อมันทำให้ค่าโทรแพงกว่าเดิม

By: Jessy
Red HatUbuntuWindows
on 13 May 2010 - 00:55 #177190

เอาเป็นว่าผู้บริโภคจ่ายเพิ่มขึ้นในทุกกรณีก็แล้วกัน ถ้าโทรเครือข่ายเดียวกันได้ส่วนลด โทรข้ามเครือข่าย ก็จ่ายค่า IC ไป แต่คราวนี้ โทรไปไหน ก็เสียเท่ากันหมด แทนที่จะได้ลดบ้าง จ่ายเท่าค่า IC บ้าง แต่นี่ จ่ายเท่าค่า IC หมด ไม่มีถูกกว่าเดิมแน่นอน

ถ้าถามว่าเครือข่ายปัจจุบันดีไหม ผมว่ามันก็ใช้ได้หมดละนะ แม้แต่ผมไปตกปลาในเขื่อนไกลๆ หลายๆ แห่ง DTAC กับ True ก็มีสัญญาณ 3 ขีด ส่วน AIS ไม่ทราบเพราะไม่ได้ใช้

ตอนนั่งรถทัวร์ข้ามเขาเป็นลูกๆ จากเชียงใหม่ไปกรุงเทพ ก็เล่น EDGE/GPRS ในมือถือ ก็ถือว่าโอเคเลย มีสัญญาณตลอดไม่มีหลุด ผมว่าบริการระดับพื้นฐานมันโอเคแล้วล่ะครับ ดังนั้น กทช. ทำให้ประชาชนเสียเงินเพิ่มทำไม?

การปรับบริการ น่าจะไปเน้นตรง 3G ดีกว่าเพราะเป็นตลาดใหม่

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 13 May 2010 - 01:03 #177193
tekkasit's picture

ผมคิดว่า เค้าให้แต่ละค่าย ไปทำราคาเดียวมา ทั้งในเครือ นอกเครือ

ที่นี้ รายใหญ่ๆจะได้เปรียบ เพราะถ้าไปดูจริงๆ ส่วนรายใหญ่จะมีการโทรภายในมากกว่า โทรข้าม ซึ่งอยากแรกต้นทุนต่ำกว่า อย่างหลังคือค่า Interconnection Charge เมื่อถั่วเฉลี่ยลงมา มันเลยเอียงออกจาก IC

แต่รายย่อยๆ ส่วนใหญ่จะโทรออก โทรภายในกันน้อยๆ พอเฉลี่ยมาแล้ว มันจะเอียงไปหา IC มากกว่า ซึ่งทำให้เมื่อกดลงเป็น flat rate ทุกคนทั้งหมด มันเลยราคาสูง และไม่สามารถใช้มาตรการด้านราคา เพื่อให้ผู้บริโภคตัวเองเลือกใช้ในเครือข่ายตัวเอง อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ทำให้รายใหม่ๆ งานจะเข้า และเกิดยากขึ้น เพราะในเมื่อราคาแพง(กว่า) แถมโครงข่ายก็โทรออกยาก(กว่า) แล้ว cell site ก็น้อยกว่า ติดยาก แล้วตรูจะอยู่กับมันทำไม?!?

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 May 2010 - 01:09 #177196 Reply to:177193
lew's picture

ยิ่งถ้าไม่ต้องเท่ากันทุกเครือข่าย จะยิ่งสนุกครับ

เพราะเครือข่ายใหญ่สุดจะมีอำนาจเหนือตลาด หากใครมีผู้ใช้ (Active) เกิน 50% ของตลาดแล้ว จะสามารถลดราคาให้ต่ำกว่าค่า IC ได้ ถัวไปถ้วมาจะยังได้กำไร ซึ่งรายเล็กจะทำไม่ได้เลยเพราะเจ๊งเห็นๆ

คราวนี้ล่ะสนุกเลย รายใหญ่ตั้งราคาอย่างนี้สักปี รายเล็กไม่ต้องเกิดกันเลย พับกระดาน


lewcpe.com, @wasonliw

By: puri on 13 May 2010 - 02:59 #177223 Reply to:177196

ผมไม่แน่ใจกฎหมายไทย
แต่ทำอย่างนี้ไม่ถือเป็นการผูกขาดหรือครับ

By: Thaina
Windows
on 13 May 2010 - 03:08 #177225 Reply to:177223

ไม่ครับ เพราะไม่ได้มีเจ้าเดียว เจ้าใหญ่ๆหลายๆเจ้าทำแบบนี้ ก็เลยกลายเป็นไม่ผูกขาด

แต่เจ้าเล็กไม่เกิดอยู่ดี

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 May 2010 - 03:08 #177226 Reply to:177223
lew's picture

ผมคิดเร็วไป (ลองคำนวณให้ดูด้านล่างแล้วครับ)


lewcpe.com, @wasonliw

By: F16
iPhoneWindows PhoneAndroidIn Love
on 13 May 2010 - 01:06 #177195

ต้องทำประชาพิจารณ์ไหมเนี๊ย?
ทุกวันนี้ผมรู้สึกเสียดายเงินภาษีที่เสียไปจริงๆ

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 13 May 2010 - 10:36 #177304 Reply to:177195
joomla's picture

+1 จากที่เคยเฉยๆ เริ่มรู้สึกเสียดายภาษี

By: I3assy on 13 May 2010 - 01:15 #177200
I3assy's picture

Lite in love ของผมจบกัน -"-

ไปชุมนุมกัน เสื้อสี ฟ้า เขียว ส้ม 555555+

ปล. อย่าเครียดนะ

By: redmaster
Contributor
on 13 May 2010 - 01:34 #177207
redmaster's picture

พูดในแง่ตัวผมเองนะครับ(จะว่าเห็นแก่ตัวก็ได้)
ผมใช้โปรโทรฟรีในเครือข่าย ช่วงกลางวัน
ผมเติมแค่เดือนละ 199 นอกนั้นไม่จำเป็นต้องเติมก็ได้
เพราะผมสามารถโทรหาเบอร์ในเครือข่ายได้แม้ไม่มีตัง

ท่านบอกว่ากลัวผมไม่รู้ว่าโทรไปเครือข่ายอื่น
ง่ายเลย ผมไม่ได้เติมตังไว้ครับ
เวลาโทรนอกเครือข่ายมันก็โทรไม่ได้ ง่ายดี
เดี๋ยวนี้ก็มีเบอร์ให้กดเช็คได้ว่าเบอร์นี้เครือข่ายเราหรือไม่

ผมงงมากเลย
ตกลงจะเพิ่มราคาให้ผมได้ประโยชน์จริงเหรอเนีย
ผมเห็นแต่สิ่งที่ผมจะเสีย หรือในใจท่านคิดว่าทำแบบนี้แล้วทางโอเปอเรเตอร์จะปรับราคาลงมาที่ .25 หรือ .50 ทุกเครือข่าย
ฝันไปเถอะ มีแต่จะเพิ่มเป็น 3 บาท(หรือต่ำกว่าไม่มาก) ทุกเครือข่ายมากกว่า

เชื่อมั้ยว่าโปรที่ผมใช้นี้ ใช้โปรแบบนี้มา 5 ปีแล้ว ปีแรกๆ โทรฟรีทุกเครือข่ายกันลย
พอมีค่า IC โหดๆเข้ามา โดนปรับเหลือแค่ในเครือข่าย
เคยมีคนถามว่า "แล้วตอนคุณท่าน กทช. ลดค่า IC ลง ผมไปอยู่ไหนมา ไม่สนใจเลยว่าแต่เขาไม่ดี"
ผมต้องกราบขอบพระคุณอย่างงามเลยครับ พอท่านลด ค่าโทร และโปรต่างๆ ก็ลดราคาลดเท่าๆกับค่า IC ที่ลดลงเลย
เห็นกันชัดๆว่าปัญหามันอยู่ที่ไหน
แต่ก่อนผมไม่เคยเสียดายหรอกเพราะคิดว่าช่วยชาติ
แต่พอเจอเข้าแบบนี้ สนับสนุนให้ผมเข้าเนื้อตัวเองเหรอเนีย

ถ้ามีม็อบเรื่องนี้ผมสู้ขาดใจเลยนะเนีย

By: pines
Blackberry
on 13 May 2010 - 01:55 #177212

เราใช้โทรศัพท์กันเท่าที่จำเป็นจริงๆหรือเปล่า?

By: pasama
Android
on 13 May 2010 - 02:53 #177222 Reply to:177212
pasama's picture

ความจำเป็นของคุณคืออะไร...
ที่หน้าสนใจคือการเข้าถึงมากกว่าครับ พ่อ แม่ ลูก แฟน โทรถามกันว่ากินข้าวหรือยังจำเป็นใหม
กับคนที่มีเงินรายได้ 5000 - 6000 การต้องเพิ่มภาระต้องจ่ายเพิ่มอีก 50 - 100 บาท เป็นปัญหาครับเพราะมันเป็นค่ากับข้าว มือหนึ่งหรือวันหนึ่ง ผมไม่ต้องการให้เทคโนโลยีเป็นของที่กลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียวเข้าถึงได้ แต่อีกกลุ่มหนึ่งไม่มีสิทธิ คนไม่มีเงินจำเป็นต้องคิดถึงครอบครัวได้อาทิตย์ละครั้งใช่ใหมครับ..

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 13 May 2010 - 03:11 #177228 Reply to:177222
zerocool's picture

แล้วเมื่อก่อนตอนที่ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือนี่คนอื่นเขาคิดถึงครอบครัวกันอย่างไรหรือครับ?

ผมไม่ได้มีปัญหาอะไรกับการเข้าถึงเทคโนโลยีนะครับแต่ทุกอย่างมันต้องเป็นไปตามกลไก คุณบอกว่าคนที่มีรายได้ 5,000 - 6,000 บาทต้องเข้าถึงเทคโนโลยีได้แล้วพวกคนที่หาเช้ากินค่ำ รับจ้างทำงาน อดมื้อกินมื้อ ไม่มีเงินส่งลูกไปเรียนหนังสือ พวกเขาต้องเข้าถึงเทคโนโลยีด้วยเหมือนกันหรือเปล่าครับ ถ้าอย่างนั้นผมว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องให้บริการฟรีแล้วล่ะ ถ้าจะให้ดีต้องขายเครื่องให้ฟรีด้วยจึงจะทั่วถึง

การเอาเรื่องความรู้สึกมาเป็นข้อเรียกร้องเพื่อสิทธิ์บางอย่างของตัวเอง ผมว่ามันไม่ใช่เหตุผลแต่เป็นการเรียกร้องความเห็นใจมากกว่า ผมเองก็เห็นใจและอยากให้คนที่มีรายได้น้อยได้คุยกับคนที่บ้านอย่างทั่วถึงนะครับ แต่ผมชอบให้มันเป็นไปตามกลไกและกฎเกณฑ์มากกว่า

จะว่าไปการแทรกแซงของกทช.ครั้งนี้ก็ไม่ได้ดูเป็นไปตามกลไกตลาดสักเท่าไร แต่ผมว่ามันจำเป็นเพื่อป้องกันการผูกขาดทางการตลาด


That is the way things are.

By: illusion
ContributorAndroid
on 13 May 2010 - 04:04 #177236 Reply to:177228
illusion's picture

+1

By: pasama
Android
on 13 May 2010 - 05:54 #177243 Reply to:177228
pasama's picture

ผมมองในลักษณะที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวตามยุคสมัยครับ คุณอยากจะให้ไปส่งจดหมาย โทรเลข นกพิราบหรือ โดยที่คนกลุ่มหนึ่งถูกกีดกันทางโอกาศที่เข้าถึงเทคโนโลยี ผมแค่ยกตัวอย่างคนที่มีรายได้ 5,000 - 6,000 บาท ยังลำบากกันเลย แล้วพวกคนที่หาเช้ากินค่ำ รับจ้างทำงาน อดมื้อกินมื้อ ไม่มีเงินส่งลูกไปเรียนหนังสือ เข้าไม่มีสิทธิความเป็นมนุษย์ในการเข้าถึงเทคโนโลยีหรือครับ ผมไม่ได้เรียกร้องให้ไปไล่แจกอะไรไคร แต่เรียกร้องรัฐให้โอกาศช่องทางเข้าถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประชากรโดย ใช้กลไกตลาดที่ไม่ไปเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการบางรายทั้งทางตรงทางอ้อม ส่วนเครื่องอาจเป็นมือสอง ราคา 100-500หรือ ฟรี จากคนที่ต้องการเปลี่ยนไปใช้เครื่องใหม่ๆ และผมไม่ได้อ่างสิทธิ์ของตนเองเพราะต้องการขอความเห็นใจ แต่อ้างสิทธิ์ เพียงเพื่อคัดค้านการตัดสินใจที่จะนำเราไปการผูกขาดของตลาดของผู้ให้บริการเพียงไม่กี่เจ้า
ผมจะขอถามคืนในประเด่นดังนี้
1.ผมชอบให้มันเป็นไปตามกลไกและกฎเกณฑ์มากกว่า คือยังไง ผู้ประกอบการเล็กๆๆต้องไม่มีสิทธิทำธุรกิจเลยใช่หรือไม่ กลไกและกฎเกณฑ์ที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่อย่างงั้นหรือ
2.ผมว่ามันจำเป็นเพื่อป้องกันการผูกขาดทางการตลาด มันป้องกันการผูกขาดตลาดยังไงในสายตาผมรูปแบบที่คุณสนับสนุนมันนำไปสู่การผูกขาดสะมากกว่า
ปล.การผูกขาดได้อย่างไรเชิญไปอ่านคอมเมนต์คุณ LewCPE ครับ

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 13 May 2010 - 15:14 #177375 Reply to:177243
zerocool's picture

ผมเข้าใจว่า Comment นั้นของคุณ LewCPE เห็นด้วยกับผมนะครับ ใน Chart นั้นแสดงให้เห็นว่าถ้าไม่มีการออกกฎเกณฑ์ประเภทที่ว่าโทรภายในเครือข่ายถูกกว่าโทรออกนอกเครือข่าย ค่า IC จะไม่มีผลต่อผลประกอบการของผู้ให้บริการ

ไม่ทราบว่าคนอื่น ๆ เข้าใจกันว่าอย่างไรเหรอครับ ผมตีความอย่างนี้ไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่าแต่ประโยคแรกของ Comment นั้นคุณ LewCPE บอกว่าเห็นด้วยกับความเข้าใจของผมนะครับ

อนึ่งผมได้อธิบายไปแล้วว่ากระบวนการนี้ไม่ได้กีดกันผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ไปมากกว่าเดิมเท่าไร เพราะการที่จะบอกว่าผู้ประกอบการรายเล็กสามารถให้บริการได้เพราะมี Promotion โทรราคาถูกเมื่อโทรภายในเครือข่า่ย ผู้ประกอบการรายใหญ่ก็สามารถออก Promotion นี้ได้เหมือนกัน และในเืมื่อผู้ประกอบการรายใหญ่มีฐานลูกค้ามากกว่ารวมไปถึงคุณภาพสัญญาณดีกว่า ทำไมคนจึงจะยังใช้บริการจากผู้ประกอบการรายเล็กครับ ผมยังมองไม่เห็นว่าการอนุญาต Promotion โทรราคาถูกภายในเครือข่ายมันช่วยผู้ประกอบการรายเล็กอย่างไร ถ้าคุณมีความเข้าใจรบกวนอธิบายด้วยครับเพราะผมคิดไม่ออก ในทางกลับกันการอนุญาตให้มี Promotion แบบนี้ต่างหากที่จะทำให้ผู้ให้บริการรายเล็กเกิดขึ้นไม่ได้ดังที่ผมไ้ด้อธิบายไปแล้ว หากมี Promotion แบบนี้และกลุ่มสนทนาของเราใช้เครือข่า่ยที่มีฐานผู้ใช้มากที่สุดเกือบหมดแล้วทำไมเราถึงจะเปลี่ยนไปใช้บริการจากผู้ให้บริการรายเล็กหรือครับ?

ที่สำคัญที่ผมไม่สนับสนุนการโทรภายในเครือข่ายราคาถูกเพราะคนเราไม่ควรจะต้องจำว่าหมายเลขปลายทางเป็นของผู้ให้บริการรายไหน เราไม่ควรจะไปบังคับให้พ่อแม่พี่น้องเพื่อนฝูงของเราเปลี่ยนมาใ้ช้บริการของผู้ให้บริการเหมือนเราเพียงเพราะแค่ว่าเราจะได้โทรหากันและกันได้ถูกกว่า ถ้าไม่ให้คนอื่นเปลี่ยนตัวเองก็ต้องเปลี่ยนและต้องเปลี่ยนให้เหมือนกันทุกคนในกลุ่มที่ต้องการสนทนาด้วย ถ้าหากไม่อยากเปลี่ยนก็ต้องพกโทรศัพท์มือถือหลายเครื่องหรือมีหลายเบอร์ โดยแบ่งการใช้งานตามหมายเลขโทรออกแทนที่จะแบ่งตามประเภทการใช้งาน เช่น ส่วนตัว ธุรกิจ เป็นต้น

บุคคลแต่ละคนสมควรพกโทรศัพท์มือถือแค่เครื่องเดียวเท่านั้น การพกหลายเครื่องหลายเบอร์มันเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงสำหรับคนที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ใช่ว่าต้องพกหลายเครื่องจึงจะได้โทรราคาถูก ใครที่พกเครื่องเดียวต้องโทรราคาแพง อันนี้ผมว่ามันตลก

ลองจินตนาการผู้ชายคนหนึ่งต้องพกโทรศัพท์มือถือ 3 เครื่องตามจำนวนผู้ให้บริการรายใหญ่ทั้งหมดที่มีในตลาดตอนนี้ ผมอยากจะรู้ว่าต้องพกยังไงหรือครับ แล้วเครื่องไหนต้องราคาเท่าไร ต้องเป็นเครื่องราคาแพง 1 เครื่องอีก 2 เครื่องราคาถูกอย่างนั้นหรือครับ ใส่กระเป๋ากางเกงหน้าซ้ายเครื่องหนึ่ง หลังเครื่องหนึ่ง เหน็บไว้กับเอวเครื่องหนึ่งอย่างนั้นหรือครับ หลายคนอาจจะไม่รู้สึกอะไรแต่ผมว่ามันไม่เป็นธรรมชาติ

หากคำตอบของผมไม่ครบถ้วนหรือไม่ให้ความกระจ่างประการใด สอบถามเพิ่มเติมได้ครับ


That is the way things are.

By: illusion
ContributorAndroid
on 13 May 2010 - 15:39 #177384 Reply to:177375
illusion's picture

+1 มองเหมือนกันเลยครับ

By: pasama
Android
on 13 May 2010 - 18:17 #177436 Reply to:177375
pasama's picture

โอเคครับ เมื่อคืนผมอาจจะง่วงนอนเลยสรุปใจความไม่ดีพอ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 13 May 2010 - 08:58 #177258 Reply to:177222
hisoft's picture

ไม่เห็นด้วยครับ การที่เรามีน้อยเราก็ควรใช้น้อยตาม อะไรที่เรามีไม่พอเราก็ไม่ควรใช้ครับ

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 13 May 2010 - 10:39 #177308 Reply to:177258
joomla's picture

ถูกใจ ใช้เท่าที่จำเป็นตามกำลังที่หามาได้

"พอเพียง" คำนี้ไม่ใช่ทำให้คนยากจน

By: lancaster
Contributor
on 13 May 2010 - 02:15 #177216

คนที่รู้ว่าโทรหาเครือข่ายไหน - จะได้จัดค่าโทรตัวเองให้ถูกได้
คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองโทรไปไหน - ก็ไม่ได้อะไรดีขึ้นมา นอกจากค่าโทรเครือข่ายเดียวกันแพงขึ้น (คือปกติไม่ได้สนใจ แต่มันก็โทรถูกของมันเอง)

ยังไม่เห็นว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ตรงไหนเลย เว้นแต่ว่าจะบีบให้แต่ละเครือข่ายลดค่า IC เหลือต่ำๆด้วย ถ้าแบบนี้โอเค

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 13 May 2010 - 09:25 #177274 Reply to:177216

ผมว่าถ้าเป็นจริงเดี๋ยวค่าโทรนอกเครือข่ายก็ต้องลดลง เพราะผู้ให้บริการได้รายได้จากโทรในเครือข่ายมากขึ้น ก็จะเกิดการแข่งขันด้านราคา ค่ายไหนอยากได้ลูกค้า จะยอมกำไรโทรนอกเครือข่ายน้อยลง หรือยอมขาดทุนก็ได้ เพื่อดึงคนก็ได้ และรายได้จากในเครือข่ายก็กลบเอง แต่คงต้องห้ามมีโปรรับสายรับทรัพย์นะ โปรนี้ตัวดีเลย ทำโปรโทรถูกทุกเครือข่ายเจ๊งเพราะค่า ic


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 13 May 2010 - 02:21 #177217
zerocool's picture

ผมว่าแบบนี้ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรนะครับเพราะ Promotion ที่อนุญาตให้โทรในเครือข่ายได้ถูกกว่าโทรข้ามเครือข่ายเนี่ย มันทำให้ผู้ให้บริการรายใหญ่ได้เปรียบ ผู้ใช้ที่มักไม่ได้สนใจว่าเบอร์ปลายทางเป็นของผู้ให้บริการรายไหนก็จะเลือกอยู่กับผู้ให้บริการรายใหญ่เพราะมั่นใจได้ว่าโทรไปนี่โอกาสที่หมายเลขปลายทางจะอยู่ในเครือข่ายเดียวกันมีมากกว่า ทีนี้พอคนเห็นแบบนี้มาก ๆ เข้าก็ย้ายไปอยู่เครือข่ายใหญ่กันหมด สุดท้ายแล้วใครจะอยู่เครือข่ายเล็กครับ

ในทางกลับกันถ้าค่าโทรของแต่ละเครือข่ายไม่ต่างกันมากเพราะติดขั้นต่ำค่า IC ผู้ให้บริการแต่ละเจ้าก็ต้องแข่งขันกันที่คุณภาพของการให้บริการมากกว่าอาศัยแค่ฐานลูกค้าเดิมที่มีมาก่อนหน้า ซึ่งก็เป็นการแข่งขันกันซึ่ง ๆ หน้าตรงไปตรงมา ต่อให้มีรายใหม่เข้ามาถ้ามีเงินมากพอที่จะให้บริการด้วยคุณภาพที่ดีได้ก็สามารถแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้แม้จะต้องใช้เงินลงทุนสูงก็ตาม แต่ถ้าหากยังเป็นแบบเดิมต่างหากที่จะทำให้ผู้บริการรายใหม่เกิดขึ้นได้ยากลำบากเพราะไม่มีฐานลูกค้าไปแข่งขันเพื่อทำราคาให้ถูกมาก ๆ

สมมติว่ามีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3 เจ้า

A มีส่วนแบ่งผุ้ใช้งาน 50%
B มีส่วนแบ่งผุ้ใช้งาน 30%
C มีส่วนแบ่งผู้ใช้งาน 20%

ถ้ามี Promotion โทรภายในเครือข่ายเดียวกันเหมาจ่ายเดือนล่ะ 200 บาทเป็นราคาที่ถูกที่สุดที่จะเหมาจ่ายได้ ไม่สามารถกดให้ต่ำกว่านี้ได้อีกแล้ว ถามว่าถ้าให้คนเลือกค่ายมือถือจาก 3 ค่ายนี้ด้วย Promotion นี้คนจะเลือกค่ายไหน ผมว่าทุกคนก็คงเลือกค่าย A ใครจะไปเลือกค่าย C ถ้าคุณภาพการให้บริการของทั้ง 3 ค่ายพอ ๆ กัน

ผมลองอธิบายตามความเข้าใจ ใช้ภาษาไม่ค่อยดี เรียบเรียงแบบงง ๆ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ


That is the way things are.

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 May 2010 - 03:07 #177224 Reply to:177217
lew's picture

ผมลองคิดดูเล่นๆ เริ่มเข้าใจล่ะ

สมมติ

  1. ทั้งประเทศมี 100 คน ทุกคนโทรแบบสุ่มทั้งประเทศนะครับ
  2. ส่วนแบ่งตามที่คุณว่ามา A=50%, B=30%, C=20%
  3. ราคาเท่ากันทั้งในและนอกเครือข่ายนะครับ ดังนั้นไม่มีการเปิดเบอร์เพื่อคุยกันเอง ทุกคนโทรเท่ากัน 200 บาทต่อเดือน
  4. เราจะได้อัตราส่วนการโทรออกนอกเครือข่ายเป็น A=50%, B=70%, C=80%

กรณีค่าโทรเท่ากันทุกค่ายนาทีละ 2 บาท ค่า IC นาทีละ 1 บาท

  NAME %   MINUTES INCOME IC-OUT IC-IN NET-MARGIN
  A    50  5000    10000  2500   2500  10000
  B    30  3000     6000  2100   2100   6000
  C    20  2000     4000  1600   1600   4000

ค่า IC จะหักกันไปหมดเสมอ กำไรขาดทุนจะเป็นสัดส่วนของขนาดเครือข่ายและเวลาที่ให้บริการ

แต่ถ้าเริ่มมีความบิดเบี้ยวด้วยการดึงผู้ใช้ของตัวเอง ไม่ให้โทรออกตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น เครือข่ายขนาดใหญ่จะได้เปรียบทันที (เพราะคุณค่าของการโทรในเครือข่ายสูงกว่า)


lewcpe.com, @wasonliw

By: pasama
Android
on 13 May 2010 - 03:21 #177230 Reply to:177224
pasama's picture

ก็คือเป็นการคุมกำเนิดบริษัทเล็กๆไปเลยไงครับ แล้วมันจะไปแข่งขันได้อย่างเสรีได้ไง

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 13 May 2010 - 08:59 #177259 Reply to:177224
hisoft's picture

แต่เค้าไม่ได้ห้ามบางค่ายค่าโทรต่ำกว่านะครับ

By: pasama
Android
on 13 May 2010 - 10:33 #177301 Reply to:177259
pasama's picture

ทำแล้วมีแต่ขาดทุนก็รู้นะครับว่าเอกชน จะเลือกอะไร

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 13 May 2010 - 14:10 #177360 Reply to:177224

เจอโปรรับสายรับทรัพย์เบี้ยวทันที


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: anirut
ContributorAndroidSymbianUbuntu
on 13 May 2010 - 02:35 #177220

"โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้มักไม่รู้ว่ากำลังโทรไปยังเครือข่ายใด" หมายถึงคนไทยส่วนใหญ่โง่ ?!?

เอ่อ! สงสัยว่าจะจริง เพราะผมก็ไม่รู้ว่าพวกคณะกรรมการ กทช.ใช้โทรศัพท์ของเครือข่ายค่ายไหนกันบ้าง ถ้ารู้ก็จะเลือกได้ถูกว่าจะใช้มือถือของเรา หรือของ พ่อ-แม่-พี่-น้อง-เพื่อน เพื่อโทรไปหาพวก กทช.


I'M... , NOT A CLONE.

By: illusion
ContributorAndroid
on 13 May 2010 - 15:49 #177391 Reply to:177220
illusion's picture

ในมุมมองของผม คนใช้โทรศัพท์จริงๆ จังๆ เช่นการใช้ติดต่อธุรกิจ คนที่ต้องติดต่อด้วยมีมากหน้าหลายตาเลยนะครับ นั่นหมายถึงโอกาสทราบยากด้วยว่าปลายทางใช้เครือข่ายอะไร แถมคงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมานั่งเช็คเครือข่ายปลายทางแน่ๆ

ซึ่งบางคนอาจจะใช้โทรศัพท์เพียงเพื่อติดต่อคนในครอบครัว พ่อแม่พี่น้อง ซึ่งสนิทกันและรู้เครือข่ายปลายทางดีอยู่แล้ว มีเบอร์ให้โทรอยู่ไม่กี่เบอร์ เลยอาจไม่ค่อนเข้าใจและไม่ค่อยเห็นความสำคัญของมาตรการนี้ครับ

โดยส่วนตัว แม้โปรจะมีให้เลือกหลากหลายแบบก็จริง แต่สังเกตได้ว่าหลังๆ โปรใหม่ๆ เริ่มบีบให้ใช้โปรโทรใน-นอกเครือข่ายราคาไม่เท่ากันเยอะขึ้นแล้ว ถ้าปล่อยไว้คงไม่ดีต่อผู้ใช้โดยรวมแน่

By: pasuth73
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 13 May 2010 - 03:27 #177233

คนใช้รายเดือนอย่างผมจะมีปัญหาไหมเนี่ย ปี1 โทรหาแฟนอย่างเดียวคนอื่นก็ไม่ถึง10นาที เจออย่างนี้ใช้โทรศัพท์บ้านดีฟ่าครั้งละ 3 บาทเอง-*-

ปล.สงสัยจริงๆ อ่านมาก็ยังสองแง่ไม่เข้าใจ ถ้าICเท่าเทียมกัน ถ้าราคาเกิดใกล้เคียงกันคุณจะเลือกคุณภาพอยู่แล้ว แล่วเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดคือ AIS เป็นผมแพงกว่านิดๆผมก็ไป AIS ละ AIS มันทั่วประเทศพ่อผมไปเที่ยวในป่าในเขาดอยยังต้องถอดซิมหนีงานเลย-*- แต่ไม่ต้องไปห่วงฮัทเลย รัฐวิสาหกิจมันซื้อไปไม่ล้มง่ายๆอยู่แล้ว

ปล.2 ปูทางให้ฮัท...?

By: tirakarn
AndroidUbuntuWindows
on 13 May 2010 - 04:44 #177239

ใจเย็นๆครับ ผมมีความคิดเห็นว่า กทช. ทำอย่างนี้ถูกแล้ว ในระยะยาวจะช่วยให้รายใหม่มีโอกาสในการแข่งขันได้อย่าง "เป็นธรรม " ผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับ กทช. หรือผู้ให้บริการรายไหน
แต่ลองมามองถึงผู้ใช้ที่กำลังคิดจะซื้อ หรือคิดจะเปลี่ยนเครือข่ายกันบ้าง

ตอนนี้เราอาจจะรู้สึกว่านโยบายนี้ทำให้เราจะไม่ได้ในสิ่งที่เคยได้ เพราะเราเคยโทรในเครือข่ายฟรี
โทรหาคนสนิทถูก ก็นี่แหล่ะครับ ปัญหาที่ กทช. กำลังแก้ (คิดเอาเองว่าเป็นแบบนั้น)

สมมติว่า ประเทศเรามีค่า IC เท่ากัน
และมี ผู้ให้บริการ 3 ราย
A มีส่วนแบ่งผู้ใช้ 50%
B มี 30 %
C มี 20 %
และ D เป็นผู้ให้บริการรายใหม่ ยังไม่มีผู้ใช้เลย = 0%

แปลว่าเวลามองไปบนถนน ใน 10 คน จะมีคนใช้เครือข่าย A 5คน

สมมุติว่าผมกำลังคิดจะซื้อเบอร์มือถือใหม่ โดยไม่คำนึงถึงคนสนิท ญาติ เพื่อน หรือแฟนเลยว่าใช้เบอร์อะไรอยู่ แล้วสมมติว่าโปรโมชั่นแต่ละค่ายเท่ากันหมดเลย นอกเครือข่าย 1 บาท ในเครือข่าย 25 สต. ต่อนาที
การทีผมจะประหยัดค่าโทรศัพท์ที่สุดจะต้องเลือกเครือข่ายไหน ในเมื่อโปรโมชั่นมันเท่ากันหมดเลย ?
คำตอบก็ใช้เปอร์เซ็นต์ข้างต้นไงครับ ซื้อ เครือข่าย A
ทำไมล่ะครับ ก็เพราะ โทรไปหาคนโดยไม่รู้อะไรเลย แต่โอกาสที่จะได้ลดราคา 75% มีอยู่ถึงครึ่งนึง
แต่ถ้าเลือกเครือข่าย C โอกาสที่จะได้ลด 75% มีอยู่แค่ 2 ใน 8 คนเท่านั้นเอง
แล้วแบบนี้เครือข่าย C จะแข่งขันยังไงล่ะครับ เพราะเครือข่ายใหญ่มีคะแนนจัดตั้งอยู่ตั้งครึ่งนึง (เอาไปเปรียบเทียบกับการเมืองนิดนึง :p)
ถ้าจะเรียกลูกค้าให้มาใช้กับเครือข่ายของตัวเองได้ต้องโปรโมทมากกว่า ลดราคาโดยรวมมากกว่า

นี่ยังไม่รวมกับคนกลุ่มที่มีเบอร์มือถืออยู่แล้ว
สมมุติว่า ในประเทศไทยมี 100 ครอบครัว แปลว่า 50 ครอบครัวต้องมีเบอร์ของเครือข่าย A อยู่แล้ว
ถ้าลูกเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นแล้วอยากมีมือถือ ถามว่า ถ้าพ่อกับแม่ (ซึ่งครึ่งหนึ่ง มี เบอร์ของเครือ่ข่าย A)
จะเลือกเบอร์ของเครือข่ายไหนให้ลูก ถ้ามีโปรโมชั่นโทรในเครือข่ายเดียวกันถูกกว่า เพราะพ่อกับแม่ก็ต้องอยากโทรหากันในครอบครัวถูกกว่าอยู่แล้วจริงมั๊ยครับ

แล้วถ้าในกลุ่มเพื่อนล่ะ สมมุติว่ากลุ่มเพื่อนสนิทของเรามี 10 คน
ตอนนี้เพื่อนเรา 5 คน ก็ต้องมีเบอร์ของเครือข่าย A อยู่
เคยได้คำพูดประโยคนี้มั๊ยครับ เฮ้ย เบอร์เอ็งเครือข่ายอะไรวะ
"ของ กูเครือข่าย B ว่ะ "
เฮ้ยอะไรว๊า ทำไมไม่ใช้ เครือข่าย A กูจะได้โทรหามึงถูกหน่อย
ซึ่งแน่นอน เราก็ต้องอยากโทรหาเพื่อนถูกๆด้วยเหมือนกัน ในเมื่อเพื่อนเราครึ่งนึงใช้เครือข่าย A อยู่
ถ้าเราคิดจะเปลี่ยนเบอร์ใหม่ล่ะก็ ถ้าโปรโมชั่นเท่าๆกัน เราก็ต้องเลือก เครือข่าย A ถูกมั๊ยครับ

ยิ่งถ้าเราไปจีบหญิงอีกล่ะ แน่นอนคุยนานแน่ๆ มองไปทางไหน ครึ่งนึงก็ใช้เครือข่าย A อยู่แล้ว
ถ้าบังเอิญโชคดีไปเจอหญิงที่เครือข่ายเดียวกันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเราใช้ เครือข่าย C แล้วดันไปจีบหญิง
เครือข่าย A ล่ะก็ ถ้าไม่เปลี่ยนเครือข่ายไปใช้ เครือข่าย A ตาม หรือซื้อเครื่องกับเบอร์ใหม่ให้มาใช้เครือข่ายเดียวกับเราล่ะก็ อาจจะจีบไม่ติด ไม่งั้นก็หมดตัวเพราะค่าโทรศัพท์แน่นอน
แต่ความเป็นไปได้ที่จะต้อง เปลี่ยนไปใช้เครือข่ายเดียวกับหญิงสาว (ซึ่งครึ่งนึง ใช้เครือข่าย A อยู่) ก็มีความเป็นไปได้สูงที่สุด

ถ้าผู้ให้บริการรายใหม่ เข้ามาเปิดให้บริการ บริการดี คุณภาพดี มีโปรเน็ต โปรเครื่อง มากมาย
อยากจะเปลี่ยนไปลองดู แต่ก็ติดอยู่ตรงที่ว่า ญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อนฝูง กิ๊กทั้งหลาย ยังใช้เครือข่าย A (ซึ่งมีครึ่งหนึ่งของประเทศ) ยังใช้เครือข่ายนั้นอยู่
อย่างมากเราก็ต้องเปิดเบอร์ใหม่ กับผู้บริการรายใหม่ แต่ยังคงเบอร์ของเครือข่ายเก่าเอาไว้
เพราะค่าโทรในเครือข่ายมันถูกกว่า และนี่ก็ทำให้เกิดปัญหาที่หลายคนต้องมีเบอร์โทรหลายเบอร์

โอกาสที่ผู้ให้บริการใหม่ๆจะเกิดนั้น หรือจะสามารถแข่งขันได้นั้น ก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก
เพราะไม่มีคะแนนจัดตั้งเป็นของตัวเอง
ถ้าไม่มีปัจจัยด้านฐานผู้ใช้เดิมมาเกี่ยวข้องผู้ให้บริการรายใหม่น่าจะสามารถ
เอาทุนไปเน้นการให้บริการด้านอื่นได้หลากหลายขึ้น

นึกถึงกรณีที่ AIS ไม่ต้องเสียค่า IC ให้ TOT เวลาโทรเข้าเบอร์บ้าน แต่ DTAC กับ Truemove ต้องเสียซิครับ
ทำยังไงก็สู้กันไม่ได้
ต่อไปเราอาจจะได้เห็นโปรโมชั่นที่ถูกกว่าโทรในเครือข่ายตอนนี้เป็นได้
เพราะแต่ละค่ายไม่ว่าค่ายเล็กค่ายใหญ่ ต่อสู้กันด้วยกติกาและปัจจัยที่เป็นธรรม และผมก็คิดว่านี่แหล่ะที่ กทช. กำลังทำอยู่

เพิ่มอีกนิดครับ
ถ้ามีผู้ให้บริการรายใหม่เข้ามา การที่ทำโปรโทรถูกให้ต่ำกว่า IC ก็น่าจะได้
เพราะฐานลูกค้ายังไม่มีเลย ยอมขาดทุนค่าโทรต่อนาทีโดยจำนวนคนไม่เยอะ แล้วอาจจะไปเอากำไร ด้าน data access ,sms mms , หรือ content มาถัวเฉลี่ยแทน ก็อาจจะเป็นไปได้
แต่ผู้ให้บริการที่มีผู้ใช้หลายล้านคนจะลดราคาต่ำกว่า IC แบบนั้นคงจะขาดทุนมหาศาล

แค่ความคิดเห็นอันหนึ่งครับ

By: pasama
Android
on 13 May 2010 - 07:49 #177252 Reply to:177239
pasama's picture

ในกรณี AIS ผมว่ามันผิดที่เกณฑ์มันไม่เท่ากันแล้วครับ และทั้ง DTAC กับ Truemove ได้ร้องเรียนและ กำหนดค่า IC ที่ 1 บาท
ส่วนประโยค
" เฮ้ย เบอร์เอ็งเครือข่ายอะไรวะ"
"ของ กูเครือข่าย B ว่ะ "
"เฮ้ยอะไรว๊า ทำไมไม่ใช้ เครือข่าย A กูจะได้โทรหามึงถูกหน่อย"
"ไม่ได้หรอกมึง แฟนกูใช้เครือข่าย B"
จากประโยคหลังย่อมจะมีแนวโน้มทีจะใช้เบอร์เดิมมากกว่า และถ้าหากราคาค่าโทรเท่ากันสองเครือข่าย ประโยคชวนเหล่านี้จะไม่เกิดเลยเพราะจะเปลี่ยนไปทำไมราคามันเท่ากัน Number Portability ก็ไม่มีความหมายจะเปลี่ยนไปทำไมราคามันเท่ากัน ส่วนบริการอื่นจะให้ดีแข่ง หรือแม้แต่เท่า อย่าคิดเลยครับ ต้องใช่เงินเท่าไหร่
เอาละมาดูกลยุทธของค่ายมือถือที่เป็นรองที่เขาใช้แก้เกมค่ายใหญ่ตอนนี้กันครับ
1.เปิดบริการเฉพาะพื้นที่เน้นบริการโทรภายเครือข่ายถูกกว่าพิเศษ เช่นเปิดเฉพาะเชียงใหม่เน้นโทรภายในเชียงใหม่ค่าบริการถูกพอเศษ โทรออกนอกเครือข่ายเท่าค่า IC ผมว่ามีคนยอมเปลี่ยนเครือข่ายยกบ้านเอา ตัวอย่างซิมมั่วซื่น
2.เน้นบริการเฉพาะกลุ่ม กลุ่มธุรกิจเฉพาะพื้นที่ ป้องกันพนักงานโทรสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจ
3.ซื้อมือถือพ่วงบริการโดยยอมแลก เพื่อสร้างฐานผู้ใช้ระยะเวลา 6-12 เดือน เหมือน Model Iphone เพื่อกอบโกยเอาที่หลัง ซึ่งค่ายมือถือใหญ่ก็ทำได้ แต่อย่าลืมคนทำก่อนยอมได้เปรี่ยบ เพราะมันติดหูติดตลาดไปแล้ว

By: Virusfowl
ContributorAndroidSymbianWindows
on 13 May 2010 - 04:38 #177240

ผมชอบอย่างนึงนะ อ่านความเห็นในเว็บนี้แล้ว ค่อนข้างหาข้อสรุป ถกกันด้วยเหตุผล และมีแนวความคิดหลากหลายดี อย่างไปอ่านเม้นของบางเว็บ ก็จะเจอแต่ด่า กทช. ว่า เอาเวลาไปทำเรื่องอื่น เช่น 3G ดีกว่าไหม อะไรอย่างนี้ แต่เม้นในเว็บนี้ แทบจะไม่มีใครข้ามไปว่าเรื่อง 3G เลย (ทั้งๆ ที่ ผมก็รู้นะว่าทุกคนก็อยากว่าเหมือนกันแหละ แต่มันคนละประเด็นกับข่าวนี้)

ผมว่ากรณีนี้ มันเป็นหัวข้อใหญ่ครับ แบ่งออกมาได้เป็นหลายประเด็น

  1. สาเหตุ (ความเห็นส่วนตัวนะครับเท่าที่อ่านๆ มา) ของการพิจารณาครั้งนี้มาจากการที่ ทาง กทช. อ้างว่า ผู้บริโภคไม่รู้ว่าตัวเองนั้นกำลังโทรออกไปยังเครือข่ายใด ซึ่งเท่าที่ผมตามข่าวนี้มา มีสาเหตุหนึ่ง คือ มีการร้องเรียนจากผู้บริโภค เข้าใจว่าเป็นเรื่องปัญหาค่าบริการโทรศัพท์ ที่เกิดจากความไม่เข้าใจเรื่องเครือข่าย ว่าง่ายๆ ก็คือ มีคนโทรไปเครือข่ายอื่นแล้ว เสียค่าโทรผิดปกติ แล้วไปร้องเรียนนั่นหละครับ ทาง กทช. จึงนำมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาประเด็นนี้ขึ้นมา และใช้เหตุผลว่า ผู้บริโภคนั้นไม่รู้ ว่าตัวเองกำลังโทรไปยังเครือข่ายใด
    1.1 หลายๆ คน ก็ออกมาบอกว่า โดยปกติแล้ว เราก็ต้องรู้อยู่แล้วสิ ว่าเรากำลังโทรออกไปยังเครือข่ายใด ซึ่งผมว่าประเด็นนี้ก็ต้องแตกไปอีกหลายข้อนะครับ แต่เรื่องหนึ่งที่มีเหตุผลก็คือว่า หลายท่านก็บอกว่า ถ้าเราโทรหาไปยังบางเครือข่าย ก็จะมีเสียงบอกว่า เรากำลังโทรไปยังเครือข่ายใด เช่น DTAC , AIS อ้างอิงจากความเห็นข้างบนนะครับว่าสองเครือข่ายนี้ มีการแจ้งเตือนได้จริง
    ประเด็นสำคัญมันมีอยู่นิดเดียวครับว่า การแจ้งเตือนดังกล่าวนี้ ไม่ได้ถูกตั้งมาเป็นค่ามาตรฐาน ผู้ใช้ต้องทำการเปิดใช้บริการนี้ด้วยตัวเอง (อันนี้ก็อ้างอิงตามการใช้งานของตัวเองนะครับ หากท่านใดจะบอกว่ามันเปิดมาเป็นค่ามาตรฐานอยู่แล้ว ผมก็ไม่ขอเถียง) ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็น่าจะ น่าจะนะครับ ไม่รู้ว่าตัวเองสามารถเปิดใช้บริการดังกล่าวนี้ได้ ถึงแม้บริการนี้จะเป็นบริการฟรีก็ตาม และข้อสำคัญอีกอย่างของบริการนี้ก็คือ มันจะแจ้งเตือนเฉพาะเมื่อเราโทรหา เครือข่ายเดียวกันเท่านั้นครับ ผมยังไม่เคยเจอบริการตัวที่สามารถแจ้งเตือนได้ทุกสายที่เราโทรออก ว่าผู้รับนั้นเป็นเครือข่ายใดนะครับ ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหา ว่า ผู้บริโภคไม่รู้ว่าตัวเองกำลังโทรไปยังเครือข่ายใด ความเห็นผม คิดว่า การทำให้บริการดังกล่าวนี้ เปิดเป็นค่ามาตรฐาน และสามารถแจ้งได้ทุกสายที่โทรออกแล้ว น่าจะแก้ปัญหาได้นะครับ โดยที่มีข้อเสียอยู่นิดเดียวคือ เราจะเสียเวลาในการโทรออกไปอีกนิด เพื่อต้องฟังระบบบอกว่าเรากำลังโทรออกไปยังเครือข่ายไหน
    ป.ล. ส่วนประเด็นการแยกแยะประเภทนั้น ผมว่าผู้ใช้ทั่วไปแยกแยะได้จากการกดเลขหมายนะครับ อย่างเช่นโทรทางไกล ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ ก็จะมีเลขหมายที่เห็นได้ชัดว่า ไม่ใช่เลขหมายประเภทอื่น แต่ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องของค่าบริการ ที่ไม่เท่ากันของแต่ละจังหวัด กับแต่ละประเทศตามมาได้อีกไหมหนอ?

  2. การแข่งขัน ระหว่างค่ายมือถือเอง ในประเด็นนี้ผมคงไม่สามารถจะถกในส่วนที่เป็นเศรษฐศาสตร์ ได้นะครับ เนื่องจากความรู้คงไม่เพียงพอ แต่จะขอมองในมุมด้านผู้บริโภคนิดนึงนะครับ อย่างที่หลายคนให้ความเห็นมา คือว่า หาก ประกาศนี้ถูกบังคับใช้จริง ในส่วนของผู้บริโภคต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแน่นอน ใช่ครับว่า มันไม่ใช่นาทีละ 3 บาท อย่างแน่นอน เพราะนั่นคืออัตตราเพดาน แต่มันก็คงไม่ใช่หลัก สตางค์ อย่างที่หลายๆ คนกำลังจ่ายกันอยู่อย่างตอนนี้แน่นอน เพราะตามความเข้าใจของผม หากต้องเก็บในอัตตราใหม่นี้แล้ว เราจะมีค่า IC มาเป็นฐาน ซึ่งอาจคิดได้อย่างง่ายๆว่า ราคาขั้นต่ำก็ได้เช่นเดียวกัน
    แต่ประเด็นสำคัญที่ผมอยากจะทราบก็คือ โดยปกติแล้ว การเลือกใช้ค่ายโทรศัพท์ นั้น เรายึดหลักอะไรกันครับ
    ยึดตามเพื่อน คนรู้จัก ครอบครัว ว่าใช้เครือข่ายไหน แล้วใช้ตาม เพื่อที่จะได้ค่าโทรที่ถูกที่สุด
    หรือ ดูจากค่าโทรของแต่ละค่ายแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ว่าเครือข่ายไหน มี package ที่เหมาะกับเรามากที่สุด

สรุป ผมก็ยังไม่เห็นว่า ประกาศนี้จะส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่างไร และความจริงแล้วใครกันแน่ที่ได้รับผลประโยชน์จากการบังคับใช้ครั้งนี้ และก็จากประเด็นด้านบน ก็ทำให้พานสงสัยต่อไปว่า อย่างนี้ ต่อไป โทรทั่วไทย ต้องเป็นอัตตราเดียวกันด้วยหรือไม่ หรือต่อไป กทช. จะกำหนดเพดานของค่า romming ระหว่างประเทศกันเลยมั๊ย?


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.

By: uthan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 13 May 2010 - 05:45 #177242

Number Portability ย้ายค่ายไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์ ทำเรื่องดีก่อนดีกว่ามั้ยท่าน

By: lingjaidee
ContributoriPhoneAndroid
on 13 May 2010 - 05:59 #177247
lingjaidee's picture

บังคับให้ทุกค่าย ทำเสียงสัญญานให้รู้ดีกว่า
ว่ากำลังโทรคุยกับเครือข่ายไหนอยู่ -_-' แก้ปัญหาที่สาเหตุ


my blog

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 13 May 2010 - 09:20 #177271

ผมว่าเป็นการปูทางไปสู่ Number Portabilty นะ ลองคิดดูว่าถ้าค่าโทรเหมาในเครือข่ายแบบนี้ คนเปลี่ยนค่ายกันได้ด้วยเบอร์เดิม คนรู้ว่าคนที่โทรหาเครือข่ายไหนยังจะรู้อยู่หรือเปล่า และดีอย่างคือไม่ต้องปวดหัว คอยคิดคำนวณค่าโทร แต่พวกที่โทรหาเบอร์เดียวเยอะๆ ก็แย่ไป (T_T)


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: nextman13
AndroidBlackberryUbuntuWindows
on 13 May 2010 - 09:21 #177272

จะดีหรือเปล่านี่

By: onlinekg on 13 May 2010 - 09:54 #177284

เหตุผลไม่เข้าท่าครับ คนที่จะใช้โปรโทรในเครือข่ายราคาถูก คือมีเบอร์อยู่ในใจอยู่แล้วว่าจะโทรหาใครบ้าง และประหยัดได้มหาศาลจากเบอร์เหล่านี้

ส่วนเบอร์อื่น ๆ ที่โทรไม่บ่อย จะข้ามเครือข่ายหรือเปล่าคนใช้โปรเหล่านี้ไม่สนใจหรอกครับ

ถ้าคนที่โทรข้ามเครือข่ายบ่อย ๆ เขาก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกโปรอื่น ๆ ได้

สรุปแล้ว หาเรื่องขึ้นราคา

By: Thaina
Windows
on 13 May 2010 - 10:33 #177302 Reply to:177284

เออ อันนี้ผมเห็นด้วยแฮะ
+10

โปรโมชั่นมันก็คือโปรโมชั่น ไม่ใช้ก็ไปเลือกอันอื่นได้
ที่ถูกคือควรกำหนด Default Pro มากกว่า ว่าให้มีเพดานค่าโทรตามที่กำหนด แล้วห้ามเปลี่ยนไปเป็นโปรโมชั่นอื่นๆถ้าลูกค้าไม่สั่งเปลี่ยนเอง

สรุปคือป้องกันได้แต่ผูกขาด ประชาชนเสียประโยชน์+เสียความรู้สึก โปรโมชั่นที่อยากใช้ไม่ได้ใช้
ไม่เข้าท่า

/me ผมไม่ใช้โปรโมชั่นโทรในค่ายเลย ใช้ซิมแอปเปิลเพราะนานๆโทรออกที ปกติเล่นแต่เน็ต

By: Aime
iPhoneBlackberrySymbian
on 13 May 2010 - 10:17 #177288

อ่าน คห. แต่ละคนแล้วเข้าใจว่ามีแต่ คนที่โทรน้อย หรือ แค่กับคนรู้จัก ที่เสียประโยชน์นะ - -? (แถมมีแขวะโง่อีก ??? )

เคสนี้มันดีตรง

  • พวกมีพรรคพวกหลายคน รู้จักหลายเบอร์ คงไม่ฉลาดหรอกที่จะรู้ว่าใครใช้เบอร์อะไร

  • เวลาต้องทำธุระกับคนไม่ค่อยรู้จัก จะรู้ไหมว่าเจ้าตัวเบอร์ค่ายไหน ยิ่งกับลูกค้าคงไม่ไปถามหรอกว่าค่ายไหน

ส่วนตัวมองว่า ราคาเท่ากันจะแพงขึ้น สักกี่บาทกี่สลึง? จริงๆน่าแก้ค่า IC ด้วยนะ ต้องต่ำกว่ากี่สตางค์ไปเลย

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 13 May 2010 - 10:53 #177313 Reply to:177288
joomla's picture

คนที่ทำธุรกิจน่ะ เวลาเขาขายสินค้าหรือบริการเขาบวกค่าโทรเข้าไปในตัวสินค้าอยู่แล้วครับ ถึงแม้จะลดค่าโทรถูกลงตัวสินค้าก็ยังเท่าเดิม แต่ถ้าค่าโทรมากขึ้นสินค้าก็จะขึ้นตาม และถ้าแคร์ในเรื่องค่าโทรจริงระบบการสื่อสารทางเลือกอื่นมีอีกหลายแบบครับ เช่น อีเมล์ โทรศัพท์ไอพี กด1234 เท่าที่ผมรับประเภทที่บอกว่ามีพรรคพวกหลายคนนี่น่าจะเป็นคนขายประกัน ขยันโทรมาก ตื้อจนน่ารำคาญ จะมีบ้างที่เป็นพรรคพวกจริงๆ แต่โทรกันไม่บ่อยเท่ากับโทรหาแฟน :>

ถ้าใครทำกิจการค้าขายน่าจะรู้ดี

By: illusion
ContributorAndroid
on 13 May 2010 - 15:52 #177392 Reply to:177288
illusion's picture

+1

By: chayaninw
WriterMEconomicsAndroidIn Love
on 13 May 2010 - 22:46 #177484 Reply to:177288
chayaninw's picture

แปลว่า ลูกค้ากลุ่มที่โทรภายในกลุ่มกันเอง เช่นครอบครัว ไม่ควรจะรู้สึกเสียผลประโยชน์เหรอครับ?

By: chayaninw
WriterMEconomicsAndroidIn Love
on 13 May 2010 - 10:21 #177295
chayaninw's picture

ประเด็นเรื่องของการห้ามใ้ห้ค่าโทรศัพท์ on net, off net แตกต่างกัน ถ้าถามในเชิงส่วนตัวในฐานะผู้ใช้ ผมเฉยๆ มันมีผลต่อการเลือกรูปแบบค่าโทรตอนต้น แต่ไม่มีผลต่อการโทรในแต่ละครั้ง (อันนี้คืดโดยส่วนตัวนะครับ)

ถ้าในเชิง policy ผมยังตอบไม่ได้ว่าเห็นด้วยกับแบบไหน เพราะมันยังมีเหตุผลที่สนับสนุนได้ทั้งสองทาง ทางหนึ่งคือ มันอาจจะลดอำนาจผูกขาดของผู้ให้บริการได้ (จริงหรือไม่จริงอันนี้ค่อยเถียงกัน แต่มันก็ยังฟังดูเป็นไปได้) ในอีกทางหนึ่ง ราคาที่แตกต่างกัน มันก็อาจจะสะท้อนต้นทุนจริงที่แตกต่างกัน (ถึงแม้จะปรับค่า IC แต่ถ้าต้นทุนในความเป็นจริงของการโทรในเครือข่ายกับนอกเครือข่ายมันแตกต่างกัน ไปบังคับให้ราคาเท่ากันก็อาจจะแปลกๆ อันนี้ผมไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วโครงสร้างต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงมันเป็นยังไง)

ที่สงสัยคือ

จุดน่าสนใจของเรื่องนี้คือการที่นายพิทยาพลกล่าวถึงเรื่องการตั้งราคาค่าโทรตามเวลา ว่าเป็นเรื่องเล็กและจะมีการลงมติในเรื่องนี้อีกครั้ง ทำให้น่าสนใจว่าหากผู้บริโภคไม่รู้ว่ากำลังโทรไปเครือข่ายใด ผู้บริโภคก็อาจจะไม่รู้ด้วยว่าค่าโทรแต่ละเวลาเป็นเท่าใดหรือไม่ในความคิดของ กทช.

เข้าใจว่าอันนี้เกี่ยวกับเรื่องค่าโทรศัพท์ที่แปรตามเวลา (เช่น กลางวันแพง กลางคืนถูก หรือกลับกัน) ซึ่งฟังดูไม่มีเหตุผลกว่าเรื่องค่าโทรระหว่างเครือข่ายนะ เพราะถ้าจะบังคับเรื่องค่าโทรระหว่างเครือข่ายจริงๆ เหตุผลก็คงจะเป็นเรื่องลดอำนาจผูกขาด (ถ้าแค่ว่าลูกค้าต้องทราบราคา -ซึ่งจริงๆ ก็เห็นด้วยในระดับหนึ่ง- ทางออกอาจจะเป็นแค่บังคับให้ต้องมีสัญญาณเตือนโดย default ว่ากำลังโทรในหรือนอกก็ได้)

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 13 May 2010 - 10:44 #177309
joomla's picture

จำได้ว่าหน่วยงานนี้บอกพร้อมจะให้บริการ 3G ได้ภายในสิ้นปี 2009
แล้วมีคนคัดค้านว่า 3 ปีไม่รู้จะเกิดได้หรือเปล่า ตอนนั้นผมยังฉุนอยู่ว่าอคติเกินไปหรือเปล่า
ทุกวันนี้ ผมเป็นซะเอง แล้วมาเจอเรื่องนี้อีก

By: Aphorist
AndroidUbuntuWindows
on 13 May 2010 - 11:07 #177317
Aphorist's picture

แล้วผมจะเปิด Buffet ของ Truemove ทำไม (เพิ่งเปิดไป)

ก็ในเมื่อง พ่อ แม่ พี่ น้อง ของผมใช้ Truemove หมด
จะโทรหา พ่อ แม่ พี่ น้อง ก็โทร Truemove เอา หรือ พ่อโทรเข้า Dtac ผม ผมก็ตัดสาย แล้วเอา Truemove โทรกลับเอา

ส่วนการที่ผมจะโทรหาคนอื่นๆ ผมก็ เอาเบอร์ Dtac ผมโทรอยู่แล้ว

เพื่ออะไร ????

เพื่อค่าสัมปทานที่อยากได้เพิ่มขึ้น ใช่หรือไม่ ???

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 13 May 2010 - 11:24 #177320

คนมีเบอร์ในเครือข่ายที่โทรประจำอยู่แล้วเสียประโยชน์แน่นอน
คนโทรน้อย + คนโทรนอกเครือข่าย หรือไม่รู้ว่าเครือข่ายไหน อันนี้ผมคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ ราคาถ้าปรับเป็นเท่ากันยังไงราคาก็ต้องลดแน่ๆ แต่เป็นเท่าไหร่คงต้องรอทำจริงและค่อยๆ ปรับไป เพราะยังไม่รู้รายได้ ยังไงค่ายพวกนี้ถ้ามีกำไรก็ต้องบี้ราคาลงมาเพื่อแย่งลูกค้ากัน จนสุดท้ายกำไรก็คงไม่ต่างจากเดิม


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: nrml
ContributorIn Love
on 13 May 2010 - 11:40 #177324
nrml's picture

ผมมองว่า จากปัจจุบันที่ค่ายเล็ก(หรือค่ายใหม่)ต้องพยายามชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากเจ้าใหญ่ยากอยู่แล้ว วิธีการก็ด้วยการทำโปรโมชั่นให้ดึงดูดมากที่สุด เนื่องจากความด้อยกว่าในเรื่องสัญญาน ฐานลูกค้า หรือเงินทุน ซึ่งหากยังคงการแข่งขันแบบนี้ไว้มันก็จะเป็นไปตามกลไกตลาดอยู่แล้ว เมื่อมีทุนมากขึ้นก็สามารถพัฒนาเครือข่ายให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าไม่ประสบความสำเร็จก็หายไปจากตลาดตามธรรมชาติ ประโยชน์ที่มองผมมองเห็นคืประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น

แต่เมื่อมีการผ่านมตินี้ขึ้นมา จากเดิมค่ายเล็กที่แข่งขันยากอยู่แล้วก็จะแข่งขันยากขึ้นในด้านราคาเพราะก่อนหน้านี้ก็พยายามดันทำโปรจนต่ำจะติดพื้นอยู่แล้ว ก็ยิ่งหาช่องทางแข่งขันยากขึ้นไปอีก

By: DoraeMew
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 13 May 2010 - 11:51 #177332

เวรรรรร... นี่มันนโยบายที่ออกมาเพื่อทำให้ Number Portability ไม่มีความหมายใช่มั้ยเนี่ย - -?
แบบว่าไหนๆ ไอ้ Number Portability ก็ยืดยาวมานาน ท่าทางจะไม่สำเร็จ ก็ออกนโยบายมาสกัดมันซะเลย จะได้ไม่ต้องมาเรียกร้องกันละ - -"

By: Bombycilla
Android
on 13 May 2010 - 13:05 #177350
Bombycilla's picture

โดยความเห็นส่วนตัวแล้วผมคิดว่า

  • นโยบายใหม่นี้ทำให้ "ผู้บริโภคส่วนหนึ่ง"รู้สึกและเสียผลประโยชน์เพราะว่าอย่างน้อยจากที่เคยโทรออกอาจจะเครือข่ายเดียวกันแบบไม่รู้ตัวแต่ก็ยังได้ลดค่าใช้จ่ายในการโทร

  • การที่ผู้ให้บริการต้องปรับราคาค่าโทรในเครือข่ายให้เท่ากับนอกเครีอข่าย แน่นอนมีความเสี่ยงที่จะเสียฐานลูกค้าให้กับรายใหญ่ได้เช่นกัน หากราคาค่าโทรของแต่ละผู้ให้บริการเท่ากัน ซึ่งแน่นอนรายใหญ่ไม่สามารถลดราคากดรายเล็กได้สะดวกเหมือนปัจจุบัน เพราะจากฐานลูกค้าแล้ว ค่าที่จะต้องจ่าย IC ให้เจ้าอื่นเดือนๆ หนึ่ง ไม่ได้มากเท่าไหร่ หากคุมราคาได้แบบลดแล้วยังได้กำไรนี่เจ้าอื่นเป็นลูกไก่ในกำมือเลยครับ จะบีบเมื่อไหร่ก็ได้ (สามารถกันวิกฤการ การลดราคากระหน่ำของเจ้าใหญ่ เนื่องจาก นโยบาย เบอร์เดิมย้ายเครือข่ายตามใจ ถ้าเป็นงั้นจริง กทช ดูไม่จืดแน่ครับ) หากแต่เวทีแบบนี้ต้องสู้กันในด้าน โครงข่าย,การตลาด และ บริการ แบบ แฟร์ๆ เจ้าเล็กจะเหนื่อยหน่อย(จะแบบไหนก็เหนื่อยเหมือนว่าเจ้าใหญ่ก็ยังได้เปรียบในสมรภูมิ ยิ่งมีเบอร์เดิมย้ายเครือข่ายตามใจ อีก >_<)แต่ก็ยังมีโอกาศที่จะเข้ามาสู้กันในตลาดได้

ผมเองก็ไม่ทราบต้นทุนของผู้ให้บริการมากนะครับ หากแต่ กทช. น่าจะเข้ามาช่วยผู้บริโภคที่รู้สึกFail(ไปแล้ว)อีกหน่อย เช่น(เช่นจริงๆ ครับ)ลดค่า IC ซึ่งอาจจะทำให้ราคาโดยรวมลดลงมาหน่อยก็ยังดีกว่าพยายามจะสื่อว่า "ผู้บริโภคไม่รู้เป็นทุนอยู่แล้ว ว่าปัจจุบันโทรเครื่องข่ายอะไร" เพื่อเป็นเหตุผลขับเคลื่อนนโยบายครับ เพราะเหมือนดูถูกผู้บริโภคดูไม่ค่อยดีเลยครับ

ถ้า Win Win ได้มันก็ดีครับ แต่ถ้าไม่ได้ คงต้องเลือกทากใดทางหนึ่งที่ในอนาคตแล้วจะสูญเสียน้อยที่สุดหละครับ (อันนี้ต้องผู้เชียวชาญวิเคราะห์หละครับ) ผมเองส่วนก็ไม่ชอบการผูกขาดเหมือนกันครับ ^_^

By: superballsj2
iPhoneWindowsIn Love
on 13 May 2010 - 14:51 #177369
superballsj2's picture

หมดกัน บุฟเฟ่ต์โทรในเครือข่าย 24 ชม. ผม

เมื่อก่อนใช้เดือนละเกือบพัน เพื่อโทรหาแฟน(ค่ายเดียวกัน)ซะส่วนใหญ่
พอเปลี่ยนมาใช้บุฟเฟ่ เหลือแค่ 400+
ถึงผมจะไม่รู้ก็เถอะว่าที่โทรไปหาเพื่อนๆ จะเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือป่าว

แล้วผมต้องกลับไปเสียเดือนเกือบพันอีกหรือ?
มันผลประโยชน์กับผู้ใช้บริการตรงไหนเนี่ย

By: indycmu on 13 May 2010 - 16:47 #177411

ผมว่า มันเป็นก้าวสำคัญก่อนที่จะทำ Number Portability นะครับ
ไม่อย่างนั้น ทั่วประเทศไทยคงย้ายไปหาเครือข่ายที่มีผู้ใช้สูงสุด
เพื่อที่จะได้โทรหาในเครือข่ายได้ถูกที่สุด และรายใหญ่ก็จะผูกขาดในที่สุด

ถ้าราคาเท่ากันทุกเครือข่ายจริง ต่อไปผมคงเลือกเครือข่ายที่คุณภาพสัญญาณ
และหวังว่าผู้ให้บริการ จะแข่งกันในเรื่องคุณภาพของสัญญาณนะครับ

ปล.1 ผมไม่ได้อยู่ในเมืองหลวง ค่ายใดพัฒนา 3G ในพื้นที่ภูมิภาคผมได้ก่อน
ผมก็ไปใช้บริการรายนั้น

ปล.2 ผมอยากมีเครือข่ายคุณภาพให้เลือกบ้าง, ราคาถูกแต่โทรไม่ติด ก็เท่านั้น

..

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 13 May 2010 - 20:03 #177456 Reply to:177411
zerocool's picture

เห็นด้วยและเป็นมุมมองที่น่าสนใจมากครับ


That is the way things are.

By: sunback
Contributor
on 13 May 2010 - 21:02 #177471 Reply to:177411
sunback's picture

ราคาถูก แต่โทรไม่ติด ผมจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าเรามีหน่วยงานที่รับร้องเรียนแล้วนี่ครับ เอ๊ะหรือเขาเลิกหน่วยงานนี้ไปแล้ว

By: galactic
Android
on 13 May 2010 - 21:16 #177474 Reply to:177471

ยัง ยัง ยังไม่เลิก
แต่สงสัยไม่ค่อยมีงานทำ เลยหาเรื่องให้ประชาชนไปร้องเรียน

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 14 May 2010 - 01:28 #177513 Reply to:177411
hisoft's picture

อ๊ะจริงด้วยสิ ถ้าในเครือข่ายถูกเราก็ต้องเข้าอันที่มันใหญ่พอจะโทรหาใครก็ได้สินะ

By: I3assy on 13 May 2010 - 19:29 #177448
I3assy's picture

ราคาเท่ากัน สาวๆคอลเซ็นเตอร์ดีแทคชนะเลิศ

By: Izen on 14 May 2010 - 00:56 #177504

กทช. เป็นองค์กรอิสระในการกำกับดูแลและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้านการสื่อสารตามรธน.'40 คณะกรรมการสรรหาจากผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนโดยรัฐสภา
ตามรธน.'50ให้ยุบรวมกทช.และกสช.(แพร่ภาพและกระจายเสียง)เป็นกสทช.งานจึงเป็นการส่งต่อและมีผลตามกฏหมายต่อไป

ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจใดที่จะยับยั้ง โยกย้าย ยกเลิก หรือแซรกแซง เพราะเป็นองค์กรที่ต้องมีตามรธน. การตัดสินใจในด้านการสือสารของกทช.ถือเป็นสิทธิ์ขาดและแก้ไขได้โดยมติของกทช.เอง

การอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเป็นเรื่องพึงกระทำแต่การประชดประชันโดยเอาโลกของตังเองเป็นหลักไม่ก่อให้เกิดผลใดหากมีข้อสรุปอันเป็นที่ขัดข้องใจควรส่งเรื่องร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรไปที่กทช.เองตามระเบียบปฏิบัติ เพราะการพิมโต้ตอบกันก่อให้เกิดได้แค่กระแสครับ

By: Thaina
Windows
on 14 May 2010 - 01:41 #177517 Reply to:177504

การสรรหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่ว่า
แปลว่ารัฐสภาสามารถเลือกคนที่มีนโยบายไปในทางเดียวกับรัฐบาลก็ได้ใช่หรือไม่?

ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจ แต่ฝ่ายนิติบัญญัติที่เห็นด้วยกับฝ่ายบริหาร ก็มีอำนาจใช่หรือไม่?

รัฐธรรมนูญแก้ได้ด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ในสภา จริงหรือไม่?
ถ้าทั้งสภาสูงและสภาล่างพร้อมใจกันแก้กฏหมายข้อนี้ก็แก้ได้ ไมจริงหรือ?

การเชื่อว่าตนเองเป็นกลางกว่าผู้อื่น หรือเอาแต่คิดว่าผู้อื่นเอาแต่ใจ ก็เป็นอคติ อาจบดบังทัศนวิสัยที่ควรจะมี
กับตรรกะง่ายๆแค่นี้กลับไม่นึกถึง หรือจงใจจะไม่นึกถึงก็ไม่ทราบได้

สุดท้ายขอบอกว่าการพิมพ์โต้ตอบกันก่อให้เกิดได้แค่กระแส คุณพูดไม่ผิด
แต่ประโยชน์ของกระแสคือมันจะนำพามาซึ่งกำลังที่จะใช้ขับเคลื่อนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
กทช.เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฏหมายนั่นเป็นพลังอย่างหนึ่ง จึงต้องให้พลังที่มากกว่าเมื่อต้องการคัดง้าง และกระแสก็เป็นหนึ่งในพลังนั้น

สิ่งที่ก่อให้เกิดได้จากการโต้เถียงอีกอย่างคือความจริง การละเลยที่จะโต้เถียงนำพามาซึ่งอคติ
ครั้งนี้แ้ม้ว่าเราจะยังไม่เข้าใจกัน แต่ผมว่าเราได้เข้าใจกันมากขึ้น ผมได้รู้อะไรมาจากคุณมากขึ้น แม้ว่าสุดท้ายแล้วผมจะยังมีข้อโต้แย้งที่ผมยืนยันว่าหักล้างคุณได้ก็ตาม
คุณเป็นน้ำที่เต็มแก้วแล้วหรือไม่?

By: Izen on 14 May 2010 - 21:11 #177724 Reply to:177517

ใช่หรือไม่ คือทั้งใช่และไม่ครับฝ่ายนิติบัญญัติมีเอกสิทธิ์ในการออกเสียงครับเลือกแบบไหนก็ได้แบบนั้นผมยืนยันตรงนี้เสมอมาครับ

การแก้หรือไม่แก้กฏหมาย(รธน.) ซึ่งแก้ได้โดยกระบวนการตามบัญญัติ ในข้อนี้ส่วนตัวแล้วการมีองค์กรอิสระกำกับดูแลกิจการนี้การจะแก้เพื่อให้ไปในทิศทางอื่นเพื่อการใดเพราะโดยตัวมันเองคัดเลือกโดยรัฐสภาและสามารถถูกตรวจสอบได้อยู่แล้ว

กลางหรือไม่ผมไม่ขอตอบครับ ผมเพียงเห็นด้วยกับสิ่งที่ถูกและไม่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผิด ทั้งจริยธรรมและกฏหมายซึ่งสามรถรับรู้ได้โดยครบถ้วนและเป็นไปตามวิธีการ ผมไม่ยึดถือในบุคคลหรือสี คุณสามารถเชื่ออย่างไรได้ตามสบายครับ เรื่องทัศนวิสัยหรือตรรกะใดเป็นเรื่องส่วนบุคลซึ่งไม่เท่ากันฉะนั้นผมอ่านทุกความเห็นครับ

ที่บอกว่ากระแสไม่ทำให้เกิดอะไรนั้นมันตอบในตัวเองครับเพราะกระแสเป็นเจ้าทุกข์หรือผู้ร้องเรียนไม่ได้ แต่การที่กระแสจะก่อให้เกิดการรวมกลุ่มหรืออื่นใดเพื่อขับเคลื่อนเพื่อการดำเนินงานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้แต่ไม่เสมอไปครับ

เรื่องเอาแต่ใจเป็นเรื่องที่สามารถรับรู้ด้วยตัวเองซึ่งผมมิได้พาดพิงใคร และจะเห็นได้ว่าเป็นไปในทางของข้อควรระวังเพื่อความเป็นส่วนรวมเสียมากกว่าครับ

และผมไม่ได้สื่อไปในทางละเลยการโต้เถียงถ้าอ่านอย่างครบถ้วน(พึงกระทำ) ส่วนการจะได้ความจริงจากการโต้เถียงหรือไม่เป็นเรื่องที่ยังต้องรอการพิสูจน์ครับ

ในเรื่องนี้จากที่แสดงไว้ผมเพียงแค่ไขข้อข้องใจของบางท่านในส่วนที่ผมสามรถและมีความรู้เท่านั้นครับ จะเห็นว่าประเด็นอื่นผมไม่ได้แตะ

ส่วนเรื่องอื่นๆ ตามสบายครับ ผมไม่มีปัญหากับสิ่งที่เป็นความคิดครับ ผมใส่ใจการกระทำมากกว่าครับ

By: Thaina
Windows
on 14 May 2010 - 23:04 #177738 Reply to:177724

มันไม่มีทั้งใช่และไม่หรอกครับ สรุปคือรัฐสภามีสิทธิ์ควบคุมดูแล และสั่งให้ กทช. ทำงานตามนโยบายของรัฐบาลได้(ไม่ใช่ในทางตรงก็ในทางอ้อม)
จะเห็นว่าผมแยกคำว่ารัฐสภากับรัฐบาลออกจากกัน
และคำว่ารัฐบาล บางครั้งก็ไม่ได้หมายถึงแค่ฝ่ายบริหาร แต่รวมฝ่ายนิติบัญญัติที่อยู่ฟากรัฐบาลเข้าไปด้วย

การที่คุณพูดออกมาลอยๆ ว่า "ประชดประชันโดยเอาโลกของตัวเองเป็นหลัก" ไม่ได้มีเจตนาจะพาดพิงจริงหรือไม่?
ผมไม่เห็นอย่างนั้น ถ้าไม่คิดจะพาดพิงถึงใคร จะพูดทำไมแต่แรก
การที่คุณคิดจะพูดแปลว่ามีคนที่คุณเห็นว่ากำลังทำหรือจะทำใช่หรือไม่?

ถึงอย่างไรถ้าคุณยืนยันว่าไม่เจตนาจะพาดพิงใครจริงๆ ผมก็ต้องขอโทษด้วย

ผมไม่เห็นด้วยกับการที่คุณคิดว่าความเป็นตัวเองของคุณ รับรู้ได้ด้วยตัวเอง
การที่คนอื่นมองคุณอย่างไร บางทีมันก็จริงมากกว่าตัวเองมองตัวเอง

By: Izen on 15 May 2010 - 02:38 #177766 Reply to:177738

เช่นนั้นแล้ว ผมไม่ขัดข้องครับ เป็นเอกสิทธิ์ทางความคิดของแต่ละบุคคลและผูกพันธ์โดยบุคคลนั้นเองครับ ผมรับฟังได้อยู่แล้วครับ ส่วนเรื่องที่คุยกันไว้คำตอบผมชัดเจนในตัวเองครับ