ในงานสัมมนา Techonomy ซึ่งเชิญนักคิดผู้มีอิทธิพลของโลกไฮเทคหลายคนมาแลกเปลี่ยนความเห็นถึงอนาคตของการศึกษา ที่โดดเด่นจนเป็นข่าวมีสองราย
รายแรกคือ Nicholas Negroponte หัวหน้าโครงการ OLPC ฟันธงชัดเจนว่า หนังสือแบบกระดาษจะเริ่มหมดความสำคัญลงไป ในอีก 5 ปีนับจากนี้ เขาดักคอว่า "หลังจากคนได้ฟังคำพูดของผมแล้วจะบอกว่า เป็นไปไม่ได้หรอก" เขายกตัวอย่างของฟิล์มถ่ายภาพ ซึ่งเคยมีคนพยากรณ์เอาไว้ และคนที่ปฏิเสธว่าเป็นไปไม่ได้คือโกดัก ซึ่งตอนนี้ต้องรับสภาพความจริงไปเรียบร้อยแล้ว เขายังยกกรณี Amazon ระบุ ยอดขาย E-Book แซงหนังสือจริงแล้ว มาอ้างด้วย - TechCrunch
รายที่สอง บิล เกตส์ ไม่ได้ฟันธงชัดเจนว่าหนังสือกระดาษจะตาย แต่เขาบอกว่าในอีก 5 ปี มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกคืออินเทอร์เน็ต โดยเราสามารถฟังเลคเชอร์ที่ดีที่สุดในโลกได้ฟรีๆ เป็นจำนวนมาก โดยไม่มีมหาวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่งในโลกสามารเทียบเคียงได้ เกตส์ยังเสริมว่าเราควรมีวิธีสอบวัดระดับและรับรองความรู้จากอินเทอร์เน็ต เขาบอกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนยังเป็นเรื่องจำเป็น แต่การศึกษาระดับอุดมศึกษาจะยึดติดกับสถานที่น้อยลง - TechCrunch
Comments
"โดยเราสามารถฟังเลคเชอร์ที่ดีที่สุดในโลกได้ฟรีๆ เป็นจำนวนมาก โดยไม่มีมหาวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่งในโลกสามารเทียบเคียงได้"
ใช่ บน iTunes U (อีกหนึงเหตุผลที่ยังคงมี iTunes ไว้ในเครื่อง)
+1
ทั้ง iTunes U และ YouTube เป็นคลังข้อมูลชัดยอดของผมเลย
ผมว่าการศึกษาอะไรก็ตามผ่าน video เข้าใจได้รวดเร็วกว่าอ่านหนังสือ
เยอะเลย แต่ถ้าลงลึกใน detail หนังสือยังคงจำเป็นอยู่ ณ.ตอนนี้
ถ้ามีใบรับรองแบบที่บิลบอกจริงๆคงจะดีไม่ใช่น้อย
อย่างน้อยๆคนไทยก็เริ่มอ่านหนังสือจริงๆน้อยลงแล้ว ฮิฮิฮิ
http://www.thaicyberu.go.th/
อดดูสาวที่มหาลัยแล้วละสิ ;P
ดูกล้องกบแืทนดิ
เห็นด้วยกับบิลเกตส์นะ
+1 เห็นด้วย ด้วยคน.. ปัญหาที่ตามมาคือละเมิดลิขสิทธิ์ และผู้ค้ารายใหญ่ผูกขาด?
สถาบันกวดวิชาประเภทเปิดทีวีให้นั่งดูอาจจะพ้งย่อยยับ?
ป.ล.ล่าสุดเพิ่งได้พี่หน้ากากเสือช่วยชีวิตไว้ xD
เกาหลีใต้เปลี่ยนเป็นกวดวิชาผ่านเน็ตแทน นานแล้วครับ
แบบนี้ต่อไปต้องใส่แว่นตาตี่แบบคนเกาหลีสินะ
พี่หน้ากากเสื้อช่วยได้แค่มิดเทอมเองครับ หลังจากนั้นจะหาดูจากที่ไหนอ่ะ
กวดวิชาแบบเปิดทีวีไม่พังหรอก ก็แค่ย้ายฐานทัพมาลงเน็ต
จริงๆ เดี๋ยวนี้หลายที่ก็มีระบบออนไลน์นะ อย่าง enconcept ช่วงไข้หวัด 2009
ก็ให้นักเรียนเรียนที่บ้านผ่านระบบสมาชิกในเว็บได้เลย
หรืออย่างพวกออนดีมานด์ พวกนี้รู้สึกว่าจะเรียนในคอมอย่างเดียว ไม่ได้เปิดทีวีทิ้งไว้
แล้วให้นั่งเรียนนั่งหลับ :p
ยังไงซะ แบรนด์ก็สำคัญ เหมือนเคมี ใครๆ ก็อยากเรียนอุ๊ ถ้าในยูทูปก็อาจจะมี แต่ว่าไม่ใช่อุ๊นี่สิ
ผมว่าเป็นไปได้มากครับ และอีกไม่นานอาจยกระดับเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับการศึกษาเลย
ในต่างประเทศ 5 ปี กับการหายไปของหนังสือกระดาษผมเชื่อว่าน่าจะเป็นดังนั้น ในไทยอาจจะบวกเพิ่มเข้าไปอีกอย่างน้อยสัก 3 ปี แต่มหาลัยบนอินเตอร์เน็ตผมคิดว่ามันน่าจะมาเร็วกว่า 5 ปี
แต่ทำไมเราโหลดแล้วค่อย print มาอ่านนะ จะนอนอ่านนั่งอ่าน ยังไงก็ได้ แต่ไม่น่าเปรียบกับฟิลม์ เพราะการใช้งานที่ต่างกัน แต่ความเห็นของเกตส์ต่างออกไป เกตส์พูดถึง knowledge บน internet ที่จะมีมากขึ้นจนไม่ต้องพึ่งพาสถานที่มากกว่า ไม่ใช่หนังสือจะตาย
ebook ไงครับ ราคาลดลงแบบกำลังจับต้องได้มากขึ้นเรื่อย ๆ นอนอ่านนั่งอ่านได้เหมือนกัน :) แต่ถึงขนาดหนังสือตายไปเลยก็คงไม่ใช่ แต่ที่เทียบกับฟิลม์น่าตรงนะ คือ ก็ไม่ตาย แต่ใช้น้อยลงมาก(ๆๆๆ)
อ่านในจอคอมปวดตาเกิ้นน
สังคมอุดมคติของคนรวยจริงๆ คนจนที่ไหนจะมีเงินไปซื้อเครื่องอ่าน แบบกระดาษมันให้ความรู้สึกหมึกติดมือ ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกมันให้ไม่ได้
คนใช้กล้องฟิล์มเขาก็ว่าฟิล์มยังมีความรู้สึกที่กล้องดิจิทัลให้ไม่ได้ครับ แต่ถึงตอนนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนทั่วไปไม่มีใครสนใจแล้ว
เรื่องราคา อะไรมันก็ไม่แน่หรอกครับ ไม่กี่ปีก่อน โทรศัพท์มือถือก็ยังเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยอยู่ มาถึงตอนนี้ ระดับชาวบ้านทั่วไปมีใช้กันแพร่หลายขนาดไหน
ผมพยายามเอากล้องฟิล์มครั้งสุดท้าย
ผมพบว่าผมจนเกินไป ถ่ายๆ ไปนี่โคตรเปลืองเลย
เลิก
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่าตอนนี้สำหรับ e-Book เรากำลังเข้ายุคปี 90 ที่ MP3 กำลังมา เทคโนโลยีและแพร่ไปเร็วมาก มาก่อนเรื่องลิขสิทธิ์ ด้วยซ้ำ เจ้าของอุตสาหกรรมปรับตัวตามความต้องการไม่ทัน พยายามขวางเทคโนโลยี MP3 สุดชีวิต ผู้ที่เหลือรอดคือใคร? ไม่ใช่ iTunes Store รึ
ประเด็นคือทำให้มันซื้อหนังสือได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ซื้อได้ทุกทีทุกเวลาที่อยากจะซื้อ ราคารวมรับได้ สมเหตุสมผล (ไม่ใช่ e-Book แพงกว่าหนังสือเล่ม T_T) นั่นก็น่าจะเพียงพอแล้ว
อึ่มมม ลองตั้งสมการดู
Rx + E = x
เมื่อ R คืออัตราส่วนราคาระหว่างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อหนังสือกระดาษ (ผมไม่มีข้อมูล ขอสมมติที่ 75% ครับ)
E คือราคาเครื่องอ่าน E-book (สมมติว่าราคาอยู่ที่ 10,000 บาท) และ x คือเงินที่ต้องจ่าย
แก้สมการนี้ จะได้ว่า x = 40,000 บาท
นั่นหมายความว่า ถ้าเราซื้อหนังสือปกแข็งด้วยเงินมากกว่า 40,000 บาทเมื่อไหร่
การลงทุนกับเครื่องอ่าน E-book และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก็น่าสนใจกว่า
ทีนี้ ลองมองดูรอบๆ ตัวว่า เราเสียเงินกับหนังสือกระดาษไปมากน้อยแค่ไหนนะ?
ถ้าเป็นคนเก่าคนแก่หน่อยที่ซื้อหนังสือพิมพ์เล่มละสิบบาทมาอ่านทุกวัน สี่หมื่นก็ใช้เวลา 11 ปี
ถ้าเป็นวัยเด็กที่ซื้อการ์ตูนเล่มละห้าสิบมาอ่าน ก็ตกว่าซื้อการ์ตูนได้ 800 เล่ม (ดรากอนบอล 20 ชุด)
ถ้าเป็นวัยรุ่นที่ตามเก็บนิยายตาหวานเล่มละสอง-สามร้อย ก็คงซื้อนิยายได้ซัก 150 เล่ม
ถ้าเป็นนักศึกษาที่ต้องซื้อ text เล่มละพัน ก็เทียบกับซื้อ text ได้ 40 เล่ม (จบป.เอกพอดี 555+)
ถ้าผู้นั้นมีนิตยสารในดวงใจให้ตามเก็บเดือนละเล่ม (เล่มละร้อย) ก็คิดเป็นเวลาประมาณ 7 ปีครึ่ง
ทั้งนี้ แนวโน้มเครื่องมือที่สามารถอ่าน E-book ได้น่าจะขยายวงกว้างและมีราคาถูกลง
ไม่แน่ว่า มือถือในอนาคตอาจถูกใช้เป็นเครื่องอ่าน E-book พกพาก็ได้
ดังนั้น ไม่ว่าจะคิดยังไง ผมก็เห็นว่าผลลัพท์ในท้ายที่สุดแล้ว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะให้ราคาที่ถูกกว่าแน่นอน
และต้นทุนแรกเข้า (ค่าเครื่อง E-book) จะถูกลงๆๆ เหมือนโทรศัพท์มือถือที่ราคา 700.- ในตอนนี้ครับ
มันไม่ใช่สังคมอุดมคติของคนรวยหรอกครับ มันคือสวรรค์ของคนจนชัดๆ
ลืมห้องสมุดไปรึเปล่าครับ
ผมอยู่มหาลัยนี่แทบไม่ต้องซื้อเลย= ='
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ห้องสมุดมีแนวโน้มจะ Backup ข้อมูลเป็น Digital มากขึ้นเรื่องนะครับ
เพราะมันมีทั้งค่าใช้จ่ายด้านพื้นที่ การบำรุงรักษา การจัดหา ความคงทน
ห้องสมุดนี้ ลืมไป (ได้) เลยครับ สำหรับผม
เพราะหนังสือนิยายที่อยากอ่าน หาอ่านไม่ได้เลย
text ถ้าเป็นภาษาไทยก็มีแต่แบบเก่าเก็บ 10 ปีขึ้น เอาไปถามอาจารย์แกก็บอกว่าเก่าไป เค้าเปลี่ยนเนื้อหาใหม่แล้ว
นิตยสารของเดือนนั้นๆ ไม่เคยพอ ไปทีไรหมดทุกที อยากอ่านจริงรอไปโน่น 3 เดือน
สงสัยเราไม่ได้อยู่มหาลัยเดียวกันแฮะ - -" อยากไปอยู่โน่นจัง
คนงานก่อสร้าง ยังมีมือถือเลยครับ แล้วฟัง mp3 ได้
อย่าลืมว่า เดี๋ยวนี้มี china factor ถ้าเทคโนโลยีมันเป็นไปได้
และไม่มีการปิดกั้น อีกไม่นานมันก็จะเข้าสู่ mass production
และ mass market.
+1
คนจะเป็นโรควุ้นลูกตาเสื่อมกันมากกว่านี้อ่ะดิ พูดออกมาไม่คิดให้รอบคอบ
ผมว่าประโยคที่เขาพูด มันเป็น positive statement นะ
ใช้เครื่องอ่านจอ E-Ink สิครับ จอสำหรับโมเน็ตบุ๊คให้เป็น e-ink ยังมีเลย
มันคงไม่ถึงกับตายไปจริงๆหรอก แต่ย้ายที่อยู่ใหม่
ถ้าเราเก่งภาษาอังกฤษก็คงดี
อีกหน่อย มีเซ็กส์ผ่านเนต
บีเบี้ยวกับบีบึ้ง
3G มาไวๆ เถอะ
เด็กเลี้ยงควายแถวบ้าน จะได้สัมผัส MBA from Harvard
ขนาดปีสองปียังขนาดนี้อีก 5 ปีเทคโนโลยีในการอ่านก็คงสูงจนเรานึกไม่ถึงได้
แล้วเราจะพบความคลาสสิคในการเดินถนน เดินไปตามร้านหนังสือได้หรือเปล่าหว่า
หรืออาจเปลี่ยนเป็นพกเครื่องอ่านหนังสือ และไปนั่งจิ้มๆที่ไหนเย็นๆแทน
กูเกิลทำหนังสือตาย
もういい
เมื่อไรที่จอม้วนเก็บได้และถนอมสายตาเมื่อนั้นอาจแทนที่ได้โดยสมบูรณ์
5 ปีสำหรับการตายของหนังสือกระดาษ มันไม่น่าจะเป็นไปได้เลย เพราะมันต่างจากกรณีฟิล์มเอามากๆ
กรณีฟิล์มนั่นเป็นเรื่องของการเก็บข้อมูล กับการแสดงผลล้วนๆเลย
การอ่านหนังสือมันไม่ใช่แค่การเก็บข้อมูล การแสดงผล แต่มีเรื่องของพฤติกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่นการเปิด พลิกสลับหน้า หรือการเอานิ้วขั้นหน้าหนังสือไว้ พร้อมกับเปิด อีกหน้าพร้อมกัน หรือว่าการเปิดผ่านๆ ยังไม่รวมเรื่องความรู้สึกไม่คุ้นชินอีก
ยกตัวอย่างง่ายที่สุด คงเรื่อง touch keyboard ยังแพ้ keyboard อยู่
ทุกวันนี้ยังมีคนที่ชอบกดปุ่มตัวเลขจริงๆ มากกว่ากดหน้าจออีกมาก
ebook ในปัจจุบันยังขาดการควบคุมที่ครอบคุมการใช้งาน ในหลายๆส่วน ที่ทำให้ยังสู้ กระดาษไม่ได้
แต่ที่เป็นไปได้ใน 5 ปี น่าจะเป็นการเก็บข้อมูลจาก analog > digital
หรือถ้า e-ink มีมัลติทัช +ออกแบบ ui รวมถึงการควบคุมดีๆ ใน 5 ปี ผมเชื่อว่าส่วนแบ่งในตลาดน่าจะสูสีกันได้ แต่ก็ยังแทนที่ยังไม่ได้ ต้องค่อยๆซึมเข้าไปในพฤติกรรมมากกว่าจะเปลี่ยนทันที
จริงอยู่ที่ว่า 5 ปีสำหรับ (ความเคยชินของมนุษย์ที่ใช้) หนังสือกระดาษ (มาตลอดเป็นพันๆ ปี) มันน้อยมากที่จะทำให้ตายลงไป
แต่ว่าลองมองในอีกแง่มุมหนึ่ง 5 ปีสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีมันเยอะมากเลยนะครับ
ผมว่าเมื่อถึงตอนนั้นแล้ว หนังสือกระดาษน่าจะยังไม่ตายไปหรอก
(เพราะบางคนอาจต้องการ hard copy เก็บไว้อยู่)
แต่ว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์น่าจะเป็น major สำคัญแทนหนังสือกระดาษแล้วนะครับ ไม่ใช่แค่สูสี
(เหมือนกับที่เดี๋ยวนี้ทุกคนมีมือถือเป็นของตัวเองแล้วนั่นเองครับ)
ถ้าเด็กๆ เกิดและโตมาพร้อมกับ E-book Reader เขาก็จะบอกว่า ถนัดการใช้ E-book Reader มากกว่าหนังสือ
ผมมองว่าเป็นเรื่องของความถนัดมากกว่าครับ ใครถนัดแบบไหน สิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามย่อมเป็นความไม่ถนัดโดยปริยาย
เหมือนเรื่องรถยนต์เกียร์อัตโนมัติกับธรรมดา ที่ถกเถียงกันได้ตลอด ในเรื่องความถนัด ไม่ถนัด ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี
+1
แต่รถยนต์ผมชอบเกียร์มือนะ (ถึงจะไม่ถนัดเท่าไหร่ อิอิ)
ยังไงซะกระดาษก็คงไม่หมดไปง่ายๆ
หนังสือยังไม่ตายง่ายๆหรอก แต่ผมว่าที่จะตายในระยะเวลาอันใกล้นี้คือ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร เสียมากกว่า
ปล.ผมเห็นด้วยกับคำพูดของ บิล เกตส์ นะ
ส่วนตัวผม หนังสือพิมพ์จะยังไม่ตาย(ในไทย)ไปจนกว่ายุคสมัยจะเริ่มเปลี่ยนผ่านครับ
เพราะตอนนี้เองกลุ่มเป้าหมายหลักของหนังสือพิมพ์ก็ชัดเจนกว่าเมื่อก่อนมากแล้ว แนวทางออกจะคล้ายกับวิทยุ
ถ้ามี E-Book ก็ลงทะเบียนแล้วแล้วมันจะส่งให้ทุกวันเลยอ่ะครับ
ส่งมาทางไหนดีล่ะครับ ?
แล้วก็ต่อให้ส่งมาทุกวันได้จริง (ซึ่งไม่รู้ว่าเมืองไทยจะรองรับแบบนั้นได้เมื่อไหร่) ยังมีประเด็นเรื่องตัวเครื่อง E-reader อีก ที่ถึงราคาจะตกลงมาแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าถูก
อย่างถ้าคนที่แค่อ่านนสพ.อย่างเดียว หัวเดียวต่อวัน เค้าคงไม่ซื้อเครื่องราคาห้าพันอัพมาเพื่ออ่านนสพ. แน่ๆ กว่าจะคุ้มก็อาจพังไปก่อนแล้ว
ส่งผ่าน 3G แบบ Kindle ก็สะดวกดีครับไม่เสียค่าบริการ Wi-Fi ก็ได้
ส่วนเรื่องความคุ้มค่า ต้องคนชอบอ่านหนังสือด้วยจริงๆ ครับ ไม่งั้นยังไงๆ ก็ไม่คุ้มอยู่ดี
3G บ้านเรา คงต้องรออีกหลายปีเลยล่ะครับ
ตรงข้ามเลยครับ Kindle 2 Global ที่ผมใช้อยู่ในเมืองไทย มันขึ้นว่ารับสัญญาณ 3G นะครับ!
คนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯ นะครับ
ตามคุณ tekkasit เลยครับ Kindle ในไทยก็ 3G แล้วครับถ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
อืม ก็จริงนะครับ หนังสือพิมพ์ก็ยังไม่ตายในไทยง่ายๆ เดี๋ยวนี้หนังสือพิมพ์บ้านเราก็มีการพัฒนาด้วย หนังสือพิมพ์ 3 มิติครั้งแรกของไทย
แต่เดี๋ยวนี้ผมไม่อ่านหนังสือพิมพ์แล้วน่ะครับ เพราะเหตุผลหนึ่งคือ หนังสือพิมพ์ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นใดๆได้เลย ไม่เหมือน internet ที่สามารถแสดงความคิดเห็น และ แชร์องค์ความรู้ของแต่ละคนที่มีอยู่ได้ครับ
กระดาษมันจะแพงนะสิ ไม้มันแพง
ข้อดีของ ebook คือช่วยลดโลกร้อน ^ ^
textbook จะอยู่ได้เกิน10ปี
แต่ Magazine ไม่มั่นใจ คงอยู่ได้ แต่ร่อแร่
เด็กรุ่นใหม่คงโตมากับ E-Book
ผมคนนึง อ่าน E-Book นานไม่ไหวจริง
20 ปีฟันธง
เคยบอกแบบนี้ใน Blognone มีคนไม่เชื่อแบบขาดใจดิ้นด้วย
เห็นป่าว ข่าวนี้ทายกันแค่ 5 ปีเอง 555+
ผมว่าอย่าไปคิดเลยว่าหนังสือมันอยู่ได้อีกกี่ปี
เรามาคิดว่าใน 5 ปี นับจากนี้ เทคโนโลยี ด้านนี้จะพัฒนาไปสุดยอดขนาดไหน
5 ปี ในถนนเทคโนโลยี มันน่าจะพัฒนาอะไรได้เยอะมากๆ
ตอนนั้นอาจจะมีกระดาษดิจิตอลบางๆใช้กันแล้ว
อยากรู้ว่าการจด short note ลงไปในหน้าหนังสือและการขัดไฮไลท์สามารถทำได้สะดวกแค่ไหนครับ
เพราะรู้สึกว่าถ้าทำแล้วยุ่งยาก ยอมใช้หนังสือกระดาษต่อไปดีกว่า
และท้ายสุด ผมเห็นด้วยกับเกตส์ครับ มุมมองเจ๋งจริง
twitter.com/exfictz
"มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกคือ Internet" ชอบแฮะ แต่เด็กไทยยังมีความเป็น Learner น้อยไปหน่อย ยังติดที่ต้องให้คอยป้อนเป็นแค่ Student
รบกวนทุกท่านที่สนใจเรื่อง e-book ช่วยทำแบบสอบถามออนไลน์ให้หน่อยได้มั๊ยคะ
http://spreadsheets.google.com/viewform?formkey=dE9NMlhRaDM2N1JteVpTS3E1VHZqbWc6MQ
ผลการตอบจะนำไปใช้สำหรับงานวิจัยป.โท จุฬาเท่านั้น ขอบคุณมากค่า ^_^
แล้ว double A เราจะรอดไหม (คิดไกลกว่ากระดาษ) ?
ผมชอบอ่านหนังสือเป็นเล่มมากกว่า สบายตา อ่านได้ทุกท่า นุนนอนได้ ถึงมีเครื่องอ่านอีบุ๊ก ผมก็ยังปริ้นออกมาอ่านเป็นเล่มอยู่ดี ฮ่าๆ
กี่ปีไม่รู้
แต่สำหรับผมถ้าจะมีอะไรมาแทนหนังสือกระดาษได้ ก็ต้องเอาไปอ่านในห้องน้ำได้
ต้องทนทานกันน้ำหรือตกแล้วไม่พังง่ายๆ น้ำหนักต้องเบา
เวลาอ่านแล้วรู้สึกสบายตาเหมือนเวลาอ่านกระดาษกรีนรีด
และราคาถูก
เครื่องอ่าน E-Book เบาครับ อ่านแล้วสบายตากว่าหนังสือในไทยทั่วๆ ไป อาจจะใกล้เคียงกรีนรีด (จะใช้กระดาษสีขาวทำไมเนี่ย อ่านแล้วปวดตานะ T-T) อ่านในห้องน้ำได้แต่กันน้ำไม่ได้แถมทำตกไม่ได้ด้วย อันตรายมาก
อีกไม่นานถ้ามันบูม มันจะมีคนบางคนที่พกไปอ่านทุกที่ครับ
แล้วหลังจากนั้นก็จะมีคนมาบ่นว่า เอาไปอ่านในห้องน้ำไปม่เห็นได้เลยว่อย (ตกน้ำแล้วพัง)
พอเป็นอย่างนั้นแล้ว ก็จะเกิดตลาดเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ต้องการอ่านในที่เสียงอันตรายต่อน้ำมากขึ้น
(เหมือนกล้องดิจิตัลกันน้ำ นาฬิกาข้อมือกันน้ำ ...อึ่ม เคส iPod nano gen 5 สำหรับถ่ายวีดีโอใต้น้ำยังเคยเห็นมาแล้วเลย อิอิ)
ในอีกมุมหนึ่งของเทคโนโลยี การชาร์ตไฟแบบไร้สายจะเป็นมาตรฐาน (อันนี้ไม่รู้ว่านานเท่าไหร่)
และการใช้วิธีส่งข้อมูลไร้สาย (bluetooth, wifi, 3G-4G) ก็จะมาแทนที่พอร์ต USB
ดังนั้น การออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตแทบทุกชนิด อาจเป็นแบบไร้ช่องเชื่อมต่อก็ได้
ส่งผลให้ผู้ผลิตสามารถออกแบบอุปกรณ์เหล่านี้ให้กันน้ำได้ง่ายขึ้นในอีกทางนึงด้วยครับ ^^
ดังนั้น เรื่องเอาไปอ่านในห้องน้ำ ไม่ต้องห่วงครับ รอมันบูมอย่างเดียว อิอิ
สำหรับผมจะเป็นหนังสือเป็นเล่มหรือเครื่องอ่านก็ไม่สำคัญหรอกครับ ให้เนื้อหามันเยอะ แล้วถูกกว่าเยอะๆ หน่อยก็โอเคแล้ว
"The Book of E.I.L"
มันกำลังจะมา 555+
การเรียนรู้ไร้พรมแดน ดีจริงๆ
5 ปียังเร็วไป
จะแทน ได้เครื่องอ่านต้องทำได้เหมือน หนังสือทั้งหมด อ่านได้เขียนได้ ไม่ใช่แค่ ไฮไลท์ เพราะบางคนเขียนเป็นมายแมพ จอต้องสัมผัสได้ ราคาต้องถูก "199$ ถูกแล้วนะครับ" สำหรับตัวผมราคายอมรับได้ ตะโกนถาม ลูกค้าในร้านเมื่อกี๊ ถาม เรื่องนี้ บอกเช่าหนังสือ อ่านวันหละ 4 - 5 บาทดีกว่า หรือนั่งอ่านหน้าคอมที่ร้านที่หล่ะ ชั่วโมงอ่านได้เป็น สิบตอน(Cartoon)
Ton-Or
เรื่องหนังสือจะตาย ผมว่าเป็นการพูดเปรียบเทียบง่าย ๆ
ตายไม่ได้แปลว่าหายไปเฉย ๆ หรือศูนย์พันธ์หรอกครับ
แต่มันหมายถึง มันสูญเสียความหมายเดิม ๆ ในมุมมองการใช้งาน
ของคนจำนวนมาก
โดยส่วนตัวเปิดอ่านหนังสือเป็นเล่มน้อยลงมากเรื่อย ๆ ส่วนมาก
จะเน้นอ่านในคอม
ส่วนเรื่อง การศึกษาอยู่บนเว็ป ผมว่าจุดเปลี่ยนสำคัญจุดนึง
ที่มันเกิดขึ้นแล้ว คือการเกิดขึ้นของ wikipedia และ google
เราจะสังเกตได้ว่า บรรดาผู้เชี่ยวชาญแก่ ๆ ในไทย กลายเป็นผู้รู้ธรรมดา ๆ ไปหมด
เพราะข้อมูลต่าง ๆ สามารถหามาอ่านมาเรียนรู้ได้ง่าย ๆ ในอินเตอร์เน็ต
ผมคิดว่าในไทยยังค่อนข้างยากอยู่ครับ เพราะ มีหลายคนที่ไม่เก่งคอม และหลายๆที่นั้นอินเตอร์เนตยังไม่เร็วเท่าที่ควร E-Book อาจจะเริ่มเข้ามาใช้ได้แต่คงต้องอีกหลายปีครับฃกว่าในไทยจะเริ่มใช้แบบจริงๆจังๆ
(แต่สำหรับผมชอบอ่านหนังสือข้างนอกแบบสัมผัสได้มากกว่า ยิ่งเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาน่ะครับ)
เพราะว่าผมจ้องคอมมาก ๆ แล้วปวดตา (สายตาคนเราจะแย่กันก็คราวนี้ล่ะครับ)
+10 ผมว่าอ่านผ่าน hard copy จะไม่ปวดตาและทำให้ง่วงนอนได้ง่ายเท่ากับอ่านผ่านหน้าจอทั้งหลายนะ
น่าสนใจที่การศึกษาอยู่บนเว็บ หมายถึงมันไม่เรียงมาให้ ไม่มีคนป้อนให้ ทีนี้คนที่ถูกสอนมาให้มีความถนัดทางการศึกษาด้วยตัวเองแบบนี้น่าจะมีโอกาสมากกว่าคนที่ถูกสอนแบบคอยให้ป้อนตลอด
ถ้าหนังสือกระดาษตาย ซึ่งเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ แล้วการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่ทั่วถึงจริง หายนะจะมาเยือน คนจนจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้อะไรใหม่ๆ ไม่ได้เลย น่ากลัวอยู่เหมือนกัน แต่ธุรกิจจะไม่สนใจ ขายอะไรแล้วมีกำไรก็ขายทั้งนั้น จะไฟล์หรือกระดาษ
มีประเด็นที่ผมสงสัย และคนจำนวนมากก็สงสัยเรื่องยอดขายหนังสือของอเมซอน ที่ไม่เคยบอกรายละเอียดจำนวนเล่ม หรือ ยอดขายเป็นเงินที่ชัดเจน กระทั่งยอดขายเครื่องคินเดิ้ลยังไม่เคยบอกจำนวนเลย ตัวเลขยอดขายคินเดิ้ลมาจากการประเมินของบริษัทภายนอกทั้งนั้น อเมซอนบอกแต่เปอร์เซ็นต์ แถมบอกอีกว่า 9-12 เดือนข้างหน้า ยอดขายอีบุ๊กจะแซงปกอ่อน
ถ้าเคยซื้อหนังสือจากคินเดิ้ล สโตร์ หนังสือฟรี ก็มีทรานแซคชั่นเหมือนหนังสือขาย ราคาจะโพรเซสออกมาเป็น 0 เหรียญ
เขานับโหลดฟรีอีบุ๊กแบบนี้ไปรวมแล้วเทียบกับหนังสือปกแข็งหรือเปล่า
ราคาอีบุ๊ก ต่ำกว่าปกแข็งมาก ถ้าจะแซงก็ไม่แปลก แต่ที่เห็นติดอันดับขายดี หรือพวกหนังสือใหม่ๆ จะแพงกว่าปกอ่อนเล็กน้อย