โลกของซีพียูมาตันที่สัญญาณนาฬิกา 3GHz กว่าๆ กันอยู่นานจนเลิกตื่นเต้น ส่วนซีพียูต้นแบบที่ทำสัญญาณนาฬิกาได้สูงมากๆ ก็มักอยู่แต่ในห้องทดลองเสียเป็นส่วนใหญ่
แต่ IBM ได้เปิดตัวซีพียู 5.2GHz ที่ทำงานได้จริง ขายจริง จับต้องได้จริงแล้ว ชื่อของมันคือ z196 มันเป็นซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ zEnterprise ตัวซีพียูผลิตที่ 45 นาโนเมตร และใช้เทคโนโลยี embedded DRAM (eDRAM) ของ IBM ทำให้บีบพื้นที่การวางหน่วยความจำแคชได้มากขึ้น ตอนนี้ตำแหน่งซีพียูที่ทรงพลังที่สุดในโลกคงเป็นของ z196 แบบไม่ต้องสงสัย
ส่วนตัวเซิร์ฟเวอร์ zEnterprise 196 ประกอบด้วยซีพียู z196 จำนวน 96 ตัว IBM อ้างว่ามันช่วยให้ทำงานประมวลผลข้อมูลแบบหนักๆ ได้เร็วขึ้น 60% เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ System z10 ที่กินไฟเท่ากัน
ที่มา - IBM, Hot Hardware
Comments
โวะ!!
น่าเอามาคล็อก= ='
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เอามาทำคล็อก
คงไหม้ทั้งบ้านแน่ๆ
- -*
Dream high, work hard.
สงสัยต้องน้ำแข็งแห้ง... ไม่ไหวก็ LH2 ให้พังกันไปข้างนึ่ง ;D
อ้าว ไอ้เครื่องนี่มันไม่ได้อยู่แค่ในอุณหภูมิปกติหรอ?
ถ้าคล็อกไม่เท่าไหร่มันก็คงไม่ร้อนขึ้นเท่าไหร่หรอดมั้งงง
May the Force Close be with you. || @nuttyi
พวกมัลติคอร์จะได้มีความเร็วขั้นต่ำแต่ละคอร์สูงขึ้นสักที
แร๊ง !!
ยังบอกไม่ได้ว่า มันทรงพลังที่สุด เพราะ AMD พิสูจน์แล้วว่า ความแรง ไม่ได้อยู่ที่ Clock
แต่ตัว CPU ของ AMD เองก็พิสูจน์แล้วว่า
ยิ่ง CPU Clock สูง ก็ทรงพลังกว่า CPU Clock ต่ำกว่า
(เมื่อเทียบกับ CPU ของ AMD เอง)
.... งง มั้ย
+1
+1
+1 ตรง "งง" (ขำขำครับ)
ถ้ามันวิ่งสัก 10 GHz คงเกิดบิ๊กแบงขนาดย่อมๆ ได้เลยนะเนี่ย
บิ๊กแบงเสร็จแล้วก็ตู้มกลายมาเป็นโกโก้ครั๊นซ์ๆๆๆๆๆๆๆ
ฮา
OMG! สุดยอดเลยนะ
Sony หันควับ เตรียมจับมาใส่ PS4 555
ตอนนี้คงต้องแก้ปัญหา PSJB ให้ได้ก่อน เริ่มระบาดแล้ว ใบเวปบิทเริ่มมีเกมส์ ps3 ออกมาแล้ว
สาธุ
RISC มันเพิ่ม clock ได้ง่ายกว่าอยู่แล้วหรือเปล่าหว่า แต่เดี๋ยวนี้มันก็น่าจะแกนเป็น RISC เหมือนกันหมดมั้ง
สมัย 100MHz นี่อาจจะจริงครับ
สมัย 3.2->4->5GHz นี่ ไม่มีอะไรใกล้เคียงคำว่าง่ายเลยครับ ทุกวงจร ทุก critical path ต้องถูก optimize อย่างหนักกันหมด
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่าความเร็วขนาดนี้น่าจะถึงขั้น breakthrough นะครับ
เพราะผมคิดง่ายๆนะ ใน 1 clock cycle ที่ความ 5.2GHz นี้ แสงในสูญญากาศ(ขีดจำกัดตามธรรมชาติ)เดินทางได้แค่ 5.76 เซ็นติเมตรเอง ซึ่งเป็นสองเท่าของขนาดชิปเองนะ เพราะตามข่าว ขนาดของชิปตัวนี้อยู่ที่ 512 ตารางมิลลิเมตร (ซึ่งน่าจะไม่รวมตัว package/ขาชิป) หรือถ้าสมมติว่าชิปเป็นจัตุรัส แสดงว่าชิปกว้างด้านละประมาณ 2.26 เซ็นติเมตร
ที่ความเร็วสูงขนาดนี้ เวลาออกแบบต้องคิดเวลาของกระแสไฟฟ้าที่เดินไปด้วย เพราะช่วงเวลาของ clock cycle หนึ่งๆมันสั้นมากจนใกล้กับความเร็วแสงมากแล้วนะ ไหนจะกระแสคล็อคที่ต้องมีทั้งขาขึ้น, คงที่ และขาลงอีก ช่วงคงที่นี่น่าจะเหลือแค่ 1/5 เองนะ ทำให้มันแม่นยำได้มากนี่สุดโหดมาก ไม่หมูแน่ๆ
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ไม่เคยคิดเรื่องนี้เหมือนกันแฮะลืมไปเลย
เอิ่ม o_O; มีใช้พร้อมกันอยู่ทั้ง 5 platform เลยรึ
+1 ครับ กำลังอึ้งเฮียแกอยู่เหมือนกัน ^o^
เห็นก่อนหน้านี้ข่าวออกมาว่าจะใช้แสงในการนำข้อมูลแทน แต่ถึงตอนนี้ก็คงยังไม่ได้นำมาใช้มั้งครับ
อีกอย่าง 1 clock cycle นี่มันข้อมูลจากจุดนึงไปอีกจุดนึงนี่ครับไม่ได้วิ่งข้ามชิปนี่ครับ ซึ่งมันก็น่าจะห่างกันแค่ไม่กี่นาโนมั้ง (หรือไมโคร?) แต่ก็ต้องคิดเวลาตอบสนองของทรานซิสเตอร์อีกก็นานโขอยู่ดี
อยากรู้ว่ามันมีกี่ core
เท่าที่ผมเข้าใจคือ สรุปมันขายทั้งระบบเหมือนเดิม
ไม่ได้แยกขายให้มาลองกันเล่นหรอกนะคุณๆ
ที่ทำงานได้จริง ขายจริง จับต้องได้จริงแล้ว และราคาที่ยากจะอ้อมถึง
เอื้อม รึเปล่าครับ?
ให้ข่าว 10 คะแนน
ให้คอมเม้น 100 คะแนน
for server only รึเปล่าเนี่ย
yes
"ประมวลผลข้อมูลแบบหนักๆ ได้เร็วขึ้น 60%" ค่าไฟก็ขึ้นอีก 60% (ขำขำ)
ในข่าวก็เขียนอยู่ชัดๆ นะครับ "เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ System z10 ที่กินไฟเท่ากัน"
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
+1 หม้อไฟ 15 แอมป์ พอมั้ยนั้น