กลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์ (WatchDog) ที่ทำหน้าที่สนับสนุนการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค ปล่อยโฆษณาอัด Eric Schmidt ซีอีโอกูเกิล บนจอดิจิตอลขนาด 540 ตารางฟุตในย่าน Times Square จนถึง 15 ตุลาคมนี้
จุดประสงค์ของโฆษณาคือ การตระหนักถึงการให้ข้อมูลส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ตซึ่งจะนำมาสู่การติดตามได้ โดยเนื้อหาในโฆษณาซีอีโอกูเกิลจะรับบทเป็นพนักงานขายไอติมหน้าตาเจ้าเล่ห์เพทุบายในชื่อยี่ห้อ Google โดยมีเด็กๆ ตาดำๆ มาคอยซื้อไอติม ซึ่งข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ของเด็กสามารถค้นหาได้โดยกูเกิล (ดูในรายละเอียดในวีดิโอ)
ตัวอย่างเรื่องความไม่เป็นส่วนตัวของกูเกิลที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือ กรณีของ Gmail กับ Buzz (ข่าวเก่า) และลองดู คลิปนี้ว่า chrome ละเมิดความเป็นส่วนตัวยังไง
"นี่คือโฆษณายั่ว (โมโห) กันชัดๆ" คุณ Marc Rotenberg, ผู้อำนวยการบริหาร แห่ง EPIC (Electronic Privacy Information Center) กล่าว อันที่จริงแล้วเรื่องนโยบายและข้อกฏหมายต่างๆเกี่ยวกับข้อปฏิบัติของธุรกิจกูเกิล ถูกก็ว่าไปตามถูก ผิดก็ว่าผิด ปฏิกิริยาตอบกลับเรื่องนี้ก็มีหลายกระแสก็ต้องจับตากันต่อไป แต่ที่แน่ๆ โฆษณานี้ก็เล่นแรงกันเกินไปจริงๆ
ที่มา: TechNewsWorld
Comments
ในหัวข่าวนะครับ
ยังมีใช้คำไม่มีเหมือนกันอยู่นะครับ เช่น CEO = ซีอีโอ
เสริมด้วยครับ
อุ้ย ตอมเมนท์นี้โผล่มาได้ไงเนี่ย ^^" (ลบเลยครับ)
ขอใส่ embed วิดิโอได้ไหมครับ
บีเบี้ยวกับบีบึ้ง
ใส่เลย (และควรใส่) ครับ อย่าลืมเอาไว้หลัง split summary ด้วยนะครับ
ผมไม่เคยใช้ chrome เลยหลังจากทีได้ลองใช้ตั้งแต่ที่เป็นเบตาแอบอัพเดทโดยไม่ถามก่อน แล้วถูกเตือนโดย firewall ไม่รู้ตอนนี่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปหรือยัง
ตอนนี้ใช้ android อยู่ ลองใช้ navigation เพื่อนำทาง ปลายทางจะไปค้นข้อมูลที่อยู่จาก address book มาให้เลย มันก็สะดวดดีอยู่ แต่ว่าเราต้องแลกมาด้วยการให้กูเกิลรู้ทุกอย่างที่ เรารู้จักใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใหร่
คิดว่า android ก็ไม่แน่ อาจจะแอบส่งข้อมูลว่าเราโทรหาใครเมื่อใหร่ ไปเก็บไว้ที่กูเกลด้วยก็ได้
แรงเกิน ไม่ฮาด้วย
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ฟังเรื่อง "ความปลอดภัย" มากๆ แล้ว
ผมรู้สึกว่ากูเกิลไม่ได้มี "ความเป็นส่วนตัว" น้อย ไปกว่าอะไรอย่างอื่นเลยนะ
ฟังดูน่าตกใจที่เราจะพูดว่า กูเกิลรู้ทุกอย่างของเรา
แต่โดยในความเป็นจริง ถ้าเราไม่ใช่บุคคลสำคัญ เป็นไปได้ยากที่ข้อมูลของเรา อยู่ๆจะถูกกูเกิลสุ่มควักขึ้นมาพินิจพิจารณา
ที่เขาเรียกว่าซ่อนใบไม้ต้องซ่อนในป่า ยิ่งข้อมูลถูกเก็บไว้ที่ Google มากเท่าไหร่ โอกาสที่ข้อมูลหนึ่งๆ มันจะถูกเรียกขึ้นมา และมีมนุษย์มานั่งกรองและรับข้อมูลอันนั้นไปใช้ได้ ก็ยากขึ้นไปเท่านั้น
ผมว่าปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ว่า "ข้อมูลของเราอยู่ที่กูเกิล"
ปัญหามันน่าจะอยู่ที่ว่า ทำอย่างไร "คน" ถึงจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าปัญหาความปลอดภัยตอนนี้ มันจะอยู่ที่ว่า มนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่คนเก็บไว้ได้
ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่มีจิตใจ อย่างเช่นเครื่องจักร ถึงจะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้ อ่านได้ เราก็คงไม่สนใจ เพราะมัน
แน่นอนว่าผมไม่ได้แก้ต่างให้กูเกิล อย่างเช่น Buzz เป็นการกระทำที่แย่มาก ที่ให้ ระบบ เอาข้อมูลของเรา ไปประเคนให้มนุษย์คนอื่น โดยที่เราไม่ได้คิดจะอนุญาต
แต่ผมอยากจะพูดว่า ถ้าคนในกูเกิล ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่กูเกิลเก็บไว้ได้ มันก็จะไม่ใช่ปัญหาใช่หรือไม่?
เห็นด้วยมากๆ ครับ
ผมเฉยๆ เพราะเป็นคนไม่สำคัญ ^^
บริการฟรีแต่ข้อมูลจำนวลมหาศาลที่แอบฉกไปก็สามารถทำรายได้มหาศาลให้กับกูเกิลได้เช่นกัน
ผมว่าข้อมูลที่กูเกิลมีก็ไม่ต่างอะไรจากข้อมูลที่นักสืบต้องการ ถ้าเกิดกูเกิลนำข้อมูลพวกนี้ออกขาย(หรือฟรี)อย่างลับๆ
ก็คงสะดวกดีสำหรับสายลับจับบ้านน้อย