เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าซีพียูรุ่นต่ำๆ คือซีพียูรุ่นที่เหนือกว่าแต่ปิดความสามารถบางส่วนทิ้งไป (หลายคนคงจำการเอา "ดินสอ" มาลากเส้นเชื่อมเพื่อให้โอเวอร์คล็อคได้) แต่อินเทลกำลังพัฒนามันไปอีกขั้น โดยขาย "การ์ด" (จริงๆ มันคือหมายเลขซีเรียล) สำหรับปลดล็อคพลังของซีพียู
การ์ดรุ่นที่มีขายใช้กับ Pentium G6951 มันเป็นแผ่นกระดาษธรรมดาที่มีซีเรียลสำหรับดาวน์โหลดซอฟต์แวร์พิเศษ Intel Upgrade Service จากอินเทล ซึ่งจะปลดล็อคความสามารถของซีพียูที่ถูกจำกัดไว้ จากการทดสอบของเว็บไซต์ Hardware.info พบว่าการปลดล็อคช่วยให้ซีพียูเข้าถึงแคช L3 เต็ม 1MB และใช้งาน HyperThreading ได้
การ์ดมีราคา 50 ดอลลาร์ ฟังดูเหมือนเรื่องหลอกเล่นแต่บนเว็บของอินเทลมีรายละเอียดชัดเจน Intel Upgrade Service
ที่มา - Engadget
Comments
สนใจแต่รอ จีน copy ฮะ
50$ + cpu ที่ราคามันแพงอยู่แล้วผมยังไม่ไม่กล้าเอามาเล่นหล่ะ
:)
Ton-Or
เอ่อ อีกหน่อยโปรแกรมนี้อาจจะมีคนแงะได้ก็ได้นะ ถึงมันจะใช้ hardlock จากซีพียูหรืออะไรก็เถอะ
โอ้ว E5200 ของผมจะปลดล็อกได้เท่าไหร่เนี่ย
รุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่มีครับ
โอ้ว ข่าวดี
ข่าวร้ายคือไม่มีเงิน
ตอนนี้ก็ OC ไป 3.2GHz
แต่ก็อยากใช้ L3 กับ HyperThreading ^0^
โปรแกรมมันคงแฟลชไบออสให้อ่ะนะ
intel เล่นอะไรของเค้าอะ
ว่าแต่ เอา A-Cash เติมได้ไหมเนี่ย
นั้นดิ เหมือนเติมตังเกมออนไลน์ไงไม่รู้
ปล. เล่าเทพทรูคงชอบกัน
อีกหน่อยคงขาย ซีพียูแรงแบบ 7 วัน หรือ 30 วันด้วยมั้งนี่
ฮาา
รู้สึก IBM จะมีแนวนี้จริงๆนะ ประเภท on Demand อะไรนี่แหล่ะ ได้ยินว่าซื้อ CPU เสียบไว้ก็จริง แต่เปิดใช้งานไม่ได้ ต้องซื้อ license มาปลดล็อคการใช้งานด้วย แถมได้ยินว่าสามารถซื้อเป็นช่วงเวลาได้
ของ HP ก็ทำได้ครับ ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นพวกตระกูล PA-RISC ที่ใช้รัน HPUX
ส่วน Itanium เนี่ย ไม่แน่ใจว่ายังทำแบบ on demand ได้เหรอเปล่า
+1 ก๊ากกกกกก
มีไอเท็มช็อปด้วยซิ แบบว่า ไอเท็มคล็อกเพิ่มความสามารถเฉพาะทางน่ะ
ประเด็นคือ consolidate สายการผลิตสินะ ไม่ต้องตัด fuse เพื่อให้แยกสินค้าแล้ว แต่ผลิตให้เหมือนกันแล้วปลดล็อกด้วยซอฟต์แวร์
lewcpe.com, @wasonliw
อย่างกับ DLC
ตอนผมอ่านข่าวต้นฉบับ นึกถึง NPFaster
สรุปมันคือการลดต้นทุนการผลิตอย่างเดียว หรือมีประเด็นอื่นๆ อีก
ต่อไปคงต้องลง Crack CPU กันซินะ
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
555+ กำลังจะพิมเลย
มันจะโดน Crack มั้ย
c2d ของผมอยากได้ HT มั่ง จะปลดล็อคไดไหมนี่
จะมีแบบเติมเงิน รายชั่วโมง รายวัน แรงแบบพอเพียงมั้ยครับ?
ผมว่าอินเทลไม่น่าหากินแบบนี้เสียภาพพจน์หมด
ผมว่าต้นฉบับEngadget พาดหัวได้ชวนตีมาก
"Intel wants to charge $50 to unlock stuff your CPU can already do"
ปลดล็อกยังกับพวกเมนเฟรม แต่ใช้กันตามบ้านนี่จะเอาจริงรึ Intel
ในมุมมองผู้บริโภคที่ไม่ค่อยรู้เรื่อง Hardware เท่าไหร่อย่างผมรู้สึกเหมือนโดนกั๊ก
จริง... เหมือนโดนกั๊ก...
สงสัยว่าบริษัทลดประสิทธิภาพทำไม... เพื่อขายในราคาถูก ??? ทั้งๆที่ต้นทุนเท่ากัน ???
การ์ดจอสมัยก่อนก็มีให้เห็นบ่อยๆ นะครับที่รุ่นล่างกับรุ่นบนเหมือนกันเด๊ะ เอาปากกานำไฟฟ้าขีดไม่กี่เส้นก็เปลี่ยนแล้ว เพราะต้นทุนในการเปิดสายผลิตรุ่นล่างโดยตรงมันไม่คุ้มครับ ถ้าคุณคิดแบบนี้คุณจะคิดว่าแล้ว Windows มันจะแยกขายหลายรุ่นทำไมในเมื่อต้นทุนก็เท่ากัน? อันที่จริงผมเชื่อว่ารุ่นล่างๆ ต้นทุนสูงกว่าด้วยครับเพราะต้องมาปิดฟังก์ชันและหาวิธีป้องกันไม่ให้โดนเปิดขึ้นมาได้ง่ายๆ
คือตอนแรก software ผมเข้าใจนะ แต่ hardware ผมไม่เข้าใจเท่าไหร่... แต่พออ่านข่างล่างแล้ว... อ๋อ...
คือมุมหนึ่งก็คือ ถ้าตัวฮาร์ดแวร์มันมีศักยภาพจริง แล้ว Intel ไปล็อคฟีเจอร์ เช่น Core, Thread, L1/L2 Cache แล้วขายเป็นเกรดต่ำกว่า ให้ได้กำไรน้อยกว่า ทำไมกัน
ที่เคยได้ยินคือ เพราะว่าการผลิตอาจจะมีการปนเปื้อน มีความแปรผัน ทำให้ชิปแต่ละตัวมีศักยภาพไม่เท่ากัน ทนความร้อน ทนความเร็ว ไม่ได้ จึงต้องไปมาร์กว่า ตัวนี้สำหรับ 2.7GHz ตัวนี้ 2.65GHz หรือตัวนี้ Core นี้ไม่เสถียร ต้องปิดไปเป็น Solo Core แทนที่จะเป็น Dual Core
ดังนั้นผมยังไม่ค่อยเชื่อว่า การไปเปิดล็อคพวกนี้จะได้ศักยภาพเท่าเทียมกับของจริง แล้ว 50 USD นี่ก็ไม่ได้ถูก แล้วผมก็ไม่ทราบว่า ไอ้ที่จะจ่ายไปน่ะ CPU ตัวที่ผมใช้จะได้ฟีเจอร์อะไรมั่ง แล้วมัน stable จริงๆรึเปล่า อยากเห็น Intel ออกซอฟท์แวร์ diagnostic มารัน แล้วขึ้นรายละเอียดในลักษณะว่า
จ่าย 10USD เข้าถึง L2 Cache อีก 1M
จ่าย 20USD เข้าถึงอีก 1 Core กลายเป็น Dual Core
นั่นอ่ะ ค่อยน่าเชื่อ
คือจริงๆ แล้วต้นทุน "ต่อชิ้น" ของพวก semi-conductor นี่มันต่ำมากๆ (มากๆๆ) ครับ แต่ค่า setup สายการผลิตก็แพงมากๆ (มากๆๆๆๆ) อีกเช่นกัน ดังนั้นไม่มีบริษัทไหนอยากเปิดสายการผลิตเพิ่ม ไม่มีบริษัทไหนเปิดสายการผลิตเพื่อชิปประสิทธิภาพต่ำ เพราะต้นทุนมักไม่คุ้ม
ที่ผ่านมาผูัผลิตจะอาศัยการตรวจสอบว่าฟีเจอร์บางตัวของ CPU อาจจะเสียไประหว่างการผลิต เช่น Cache บางโซนอาจจะเจ๊ง ทำให้ต้องปิด cache ตรงนั้นไปแล้วขายเป็นรุ่นถูก
แต่การคัดเกรดเช่นนั้นไม่สามารถควบคุมปริมาณได้ ผลิตมาแสนตัวอาจจะดีจัด ใช้งานได้เต็ม 99,000 ตัว
วิธีการแต่เดิมคือการเอาเลเซอร์ไปยังฟิวส์ เพื่อปิด cache หรือ core ตรงนั้นไปเลย ทำให้แม้ตัววงจรจะอยู่ในชิป แต่ไฟไม่จ่าย ทำงานไม่ได้
วิธีการช่วงหลังๆ เปลี่ยนไป เพราะซีพียูสามารถควบคุมพลังงานได้ผ่านทางซอฟต์แวร์ เช่น Core i7 นี่มี Power Gate แล้วทำให้เวลาประมวลผลต่ำๆ มันแทบจะปิดบางคอร์ไปโดยกินพลังงานใกล้ๆ ศูนย์
ในเมื่อปิดได้อย่างนี้ ก็แทนที่จะต้องมานั่งยิงเลเซอร์ (ซึ่งเพิ่มต้นทุน) อินเทลเลยปรับให้มันถูกปรับฟีเจอร์ด้วยคซอฟต์แวร์ทั้งหมด
บางทีการตัดฟีเจอร์พวกนี้ก็ไม่ใช่เรื่องของการตลาดเพียงอย่างเดียว ลูกค้าบางราย (เช่นแอปเปิล) อาจจะขอให้อินเทลปิดความสามารถบางส่วนไปอย่างจงใจ เพื่อให้การปล่อยความร้อนลดลง บีบขนาดเครื่องได้เล็กลง
lewcpe.com, @wasonliw
ความคิดเห็นส่วนตัวผมเชื่อว่ามันน่าจะเท่า
คุณภาพของสายการผลิตมันอาจยกระดับขึ้นมาเร็วกว่า
distribution ลงไปสู่ตลาด
สถาพตลาดและ value chain มันอาจตามไม่ทัน
ต้องควบคุมให้ตลาด มีระดับราคาที่มีเสถียรภาพ เป็นระบบระเบียบ
มีหลายเงื่อนไขที่จะต้องคำนึงถึง
ทั้งซีพียูที่ปล่อยไปแล้วและหมุนเวียนอยู่ใน stock ของเจ้าของแบรนด์ต่างๆ
และผู้ขายเครื่องสำเร็จรายย่อย ๆ
การโฆษณาประชาสัมพันธ์
มีของเกรดล่างราคาต่ำเป็นฐาน จึงทำให้ของเกรดบนขายได้ราคาสูงกว่า ถ้าของเหมือน ๆ กันหมด
ราคาก็ลงมาเฉลี่ย ๆ
กำไรสูงสุดอาจจะเป็นเรื่องซับซ้อนกว่านั้น ทีมนักเศรษฐศาสตร์และนักการตลาดอินเทลคงคิดออกมาแล้ว
เค้าคงทำโมเดล ออกมา
ตัวเลขระดับราคาความเร็วก็แบ่งตลาดเป็นหลายระดับ
มองการขาย cpu เป็นแนว abstract ได้เหมือนขาย software
คือ ขายที่ระดับสามารถของการใช้งาน ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้
ผมว่า cpu พวกนั้นคงผ่าน การทดสอบ มาตรฐานมาแล้ว แต่ปิดเอาไว้ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ
เรื่องการตลาดผมว่าเกี่ยวครับ เห็นด้วยเหมือนกัน
แต่เท่าที่ผมทราบคือ CPU แต่ละตัวทำงานได้ไม่เท่ากันจริงๆ ครับ แม้จะออกจากโรงงานเดียวกัน Line ผลิตเดียวกัน ซึ่งจะเห็นเวลาทำ Overclock ที่แต่ละตัวทำได้ไม่เท่ากัน
เพราะฉะนั้น i7 920 กับ Core i7 965 แม้จะออกจากโรงงานเดียวกันเป๊ะๆ แต่เพราะรันได้ไม่เท่ากันจึงถูกตั้งความเร็วไว้ให้ทำเท่าที่ทำได้ และตั้งขายในราคาต่างๆ กัน .. ซึ่งผมว่าอันนี้เป็นวิธีที่แฟร์ทั้งผู้ซื้อผู้ขายนะ
ส่วนตัวผมว่าการปลดล้อคด้วยซอฟต์แวร์ที่ต้องซื้อนี่ไม่แฟร์เลย ในเมื่อฮาร์ดแวร์ทำได้อยู่แล้วทำไมถึงไม่ให้ใช้โดยฟรี
เรื่อง overclock ได้ไม่เท่ากันผมว่าเป็นเรื่องของสถิติครับ
ผมไม่มีข้อมูลของการผลิต CPU ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นมีการกระจายยังไง
แต่ถ้าใช้กรณีทั่วไปก็ขอยกตัวอย่างตามนิยม นั่นคือรูประฆังคว่ำครับ
โดยผมสมมติว่ากราฟที่เห็น คือความน่าจะเป็นของการผลิต CPU ให้มีความเร็วค่าหนึ่งๆ ละกัน
จะเห็นว่าถ้ากราฟมีความสูงมาก (ระบบผลิตดี - การกระจายต่ำ) CPU ส่วนมากจะตกในช่วงกลางๆ ของรูปกราฟ
ซึ่งเมื่อเราเปิดตารางการกระจาย จะพบว่ามี CPU จำนวณประมาณ 15.8% ที่ความเร็วน้อยกว่า -1SD
และมี 2.2% ที่ความเร็วน้อยกว่า -2SD โดยที่ SD คือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานครับ
ในที่นี้สมมติผมต้องการ "ขาย" CPU ที่ความเร็ว 3.0GHz โดยค่าเฉลี่ยความเร็วของ CPU ที่ "ผลิต" คือ 3.6GHz และมีค่า SD คือ 0.3GHz
ผมไม่ต้องการปล่อยของที่คุณภาพต่ำ ดังนั้นจึงต้องทำลาย CPU ที่เร็วน้อยกว่า 3.0GHz (หรือ -2SD) ทิ้งไป (คิดเป็น 2.2% ของทั้งหมด)
ตอนนี้ ผมจึงเหลือแต่ CPU ที่เร็วกว่า 3.0GHz เท่านั้นแล้วครับ
แต่เนื่องจากการขาย CPU ตามความเร็วที่ผลิตได้ตามจริงเลยนั้น เป็นไปได้ยากในโลกความจริง
จึงต้องมีการล๊อกความเร็ว CPU ไว้ เพราะไม่ต้องการให้มันวิ่งเร็วเกินกว่าที่ต้องการขาย ในที่นี้ก็ล๊อกไว้ที่ 3.0GHz ครับ
ดังนั้น ถ้าท่านทำการ overclock แล้วโชคดีได้ของในช่วง +2SD ขึ้นไป (มีโอกาส 2.2%x(100%/97.8%) = 2.25% ครับ)
ความเร็วที่ OC ได้อย่างต่ำก็คือค่าเฉลี่ย+2SD = 3.6+(2x0.3) = 4.2GHz ครับ
ถ้าโชคดีน้อยหน่อย ได้ของช่วงแค่ +1SD (โอกาส 18.7%) ก็ OC ไปได้อย่างต่ำๆ 3.9GHz ครับ
พอเห็นภาพมั้ยครับ
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ผมยกมานี้ไม่มีข้อมูลการผลิต CPU มาสนับสนุนครับ อ่านเอา concept แต่อย่าเชื่อเป็นตุเป็นตะเน้อ
ส่วนเรื่องการล๊อก Hardware ผมว่ากลับไปอ่านคอมเมนท์ของคุณ lew อีกรอบครับ น่าจะ get concept มากขึ้น
แต่เรื่องการ unlock นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะทำยังไงเท่านั้น
ถ้า $50 แพงไป ด้วยกลไกลทางเศรฐศาสตร์ (มีเจ้าอื่นทำได้ถูกกว่า/ของเถื่อน) ราคามันจะลดลงมาเองครับ
ส่วนผมมองว่ามันเป็นเรื่องของการตลาดครับ
การที่ผลิตภัณฑ์ 1 ตัวมีรุ่นย่อยเพียงรุ่นเดียว อาจมีข้อดีที่ทำให้ผู้ซื้อไม่ต้องตัดสินใจเลยว่าจะเลือกตัวไหนดี (เพราะมีแค่ตัวเดียว)
แต่ผมเชื่อว่า นี่จะทำให้สูญเสียลูกค้าบางส่วนไป (น่าจะมากด้วย) ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการครับ
1. ลูกค้ามีงบไม่พอกับผลิตภัณฑ์ตัวนั้น
2.1 ลูกค้าไม่ได้ต้องการผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพที่สูงถึงขั้นนั้น
2.2 ลูกค้าไม่ได้ต้องการผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพที่น้อยขนาดนั้น
ตัวอย่างก็เช่นรถยนต์รุ่นเดียว ทำไมถึงต้องมีทั้งแบบเกียร์ธรรมดาหรือออโต้ เครื่อง 1.6, 1.8, 2.0 อย่างนั้นหละครับ
นอกจากนี้ มันยังมีเรื่องของจิตวิทยามาเกี่ยวข้องด้วยครับ
บางคนอาจรู้สึกเหนือกว่า เมื่อได้ใช้ของรุ่นท๊อปครับ ทั้งๆ ที่อัตราส่วนเงินที่เพิ่มต่อประสิทธิภาพนั้นไม่สมเหตุสมผลเลย
หรืออีกกรณีนึงก็คือ ถ้ามีรุ่นให้เลือกหลายๆ รุ่นแล้ว คนทั่วไปมักจะเลือกรุ่นที่อยู่แถวๆ กลาง-สูง เพราะคิดว่าระดับล่างนั้นไม่ดีครับ
ตัวอย่างก็เช่นการที่สมัยก่อนแมคโดนัลมีแก้วโค๊กให้เลือกไซส์แค่ S กับ L ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกแก้วไซส์ S
หลังจากนั้นแมคฯ ได้ดำเนินกลยุทธ์ เพิ่มแก้วขนาดใหญ่กว่าเก่าขึ้นมา แล้วตั้งชื่อแก้วใหม่นั้นเป็น L ส่วนแก้ว L เดิมเปลี่ยนชื่อเป็น M
แก้วไซส์ L ที่ใหญ่สุดก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดิม แต่กลายเป็นว่าลูกค้าส่วนใหญ่เลือกแก้วไซส์ M ขึ้นมาทันที
ส่งผลให้กำไรโดยรวมเพิ่มขึ้น เนื่องจากฐานลูกค้าย้ายจากรุ่นต่ำกว่าไปสู่รุ่นสูงกว่าครับ
มันเป็นหลักทางเศรษฐศาสตร์เลยครับ แนะนำให้อ่านหนังสือเรื่อง "นักสืบเศรษฐศาสตร์" มีอธิบายไว้ละเอียด
เล่มนี้ยังไม่เคยอ่าน จดๆๆ ^__^
ประเด็นที่ผมอยากรู้คือ ผมเชื่อว่าอุปกรณ์ทุกตัวน่าจะมีขีดจำกัดด้านกายภาพที่แตกต่างกัน (normal distribution) แล้วคุณจะรู้ได้ไงว่า ไอ้ชิปตัวที่อยู่ในมือผมน่ะ ศักยภาพจริงๆที่คุณปิดไปด้วย software น่ะมันเท่าไรกันแน่
ถามว่าทำไม ผมจะได้รู้ในฐานะของผู้ซื้อว่า สิ่งที่ผมจะได้กลับมา คือเท่าไร เพื่อไปตีความ 'ความคุ้มค่า' ในสายตาของแต่ละคนต่างหาก
หรือว่าชิปทุกตัวจริงๆมันเท่ากันหมด แต่ดันปิดเพราะซอฟท์แวร์อย่างเดียว
+1 ผมก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน
50 นี้คงเป็นค่า QC ที่ต้องเพิ่มความละเอียดขึ้นมา
ว่า ชิปทุกตัวสามารถอัพเกรดได้รึเปล่าครับ
เท่าที่เคยอ่านนะครับกระบวนการจะเป็นดังนี้
cpu ผลิตเสร็จทุกตัวต้องถูกนำมาทดสอบในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งในแง่การทำงานได้ถูกต้องของหน่วยทำงานแต่ละส่วน
และที่สำคัญคือต้อง เทสเสถียรภาพกับสมรรถนะ ภายใต้เงื่อนไข ต่าง ๆ ตัวที่เราสนใจพูดถึงกัน คือความถี่สูงสุดที่ทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ
เมื่อทดสอบเสร็จ serial ของ cpu จะถูกบันทึกลงไปใน ระบบว่าผลการทดสอบเป็นอย่างไร
สิ่งที่เขาเสนอขายคือ ขายตามสัญญาครับ เขาสัญญาว่า จะรองรับการทำงานได้ตามที่เขาเคลมว่า cpu ตัวนี้ทำงานได้ดังนี้แน่นอน ซึ่งเขาอาจจะปิดไว้ไม่ให้ใช้ได้เต็มที่ก็ได้
"ถามว่าทำไม ผมจะได้รู้ในฐานะของผู้ซื้อว่า สิ่งที่ผมจะได้กลับมา คือเท่าไร เพื่อไปตีความ 'ความคุ้มค่า' ในสายตาของแต่ละคนต่างหาก"
=> ได้ตามที่เขากล่าวอ้างครับ ถ้าคุณเอาไปใช้แล้วมันได้น้อยกว่าที่เคลม เขาผิดสัญญา คุณก็ไปเรียกร้องได้ คุ้มค่าหรือไม่ก็ตามสัญญา
ถ้าคุณเอาไปใช้ได้มากกว่านั้น ก็ไม่ผิดสัญญา (แต่ถ้าเขาบอกกว่าถ้า overclock คือการใช้งานผิด ก็ถือว่าผิดได้)
สัญญาโดยละเอียดมากับกล่อง cpu ครับ ถ้าจำไม่ผิด
สรุปจากข่าวคือตัวที่ขาย คือตัวที่ผ่านมาตรฐานสูงกว่า ที่ตีตรามาขายใน เงื่อนไขเริ่มต้น หากต้องการใช้มากกว่านั้น
ก็ต้องไปเปิดความสามารถ แล้วจ่ายค่าใช้งาน
เท่าที่สังเกต intel เริ่ม commercialize พวกนี้มาระยะนึงแล้วครับ อย่างเช่น turbo boost เอาส่วนเกิน clock ที่ทำได้มา manage ให้เป็น feature ที่ขายได้
ชอบแนวคิดนี้มากครับ เหมาะกับการซื้อ แบบประหยัด แล้ว upgrade ภายหลังเมื่อต้องการ ซึ่งควรจะถูกกว่าไปซื้อ CPU ใหม่ ลดปัญหา โลกร้อนได้ด้วยนะ
แต่อยากให้ AMD ทำแบบนี้ครับ ผมใช้แน่นอน เพราะ 10ปี ที่ผ่านมาก ซื้อ แต่ AMD ครับ
ผมเข้าใจว่า AMD ทำอยู่แล้วแต่ไม่ Official เท่านั้นเอง
AMD แจก Overdrive ไปอัดกันเองฟรี ๆ ครับ
เดาว่าจะมีการเกทับกันออกมาในเร็ววัน
license คล้ายๆ บาง product ของ Cisco เลย การซื้อ license upgrade จากรุ่นเล็กว่า ไปรุ่นใหญ่กว่า โดยการไป unlock core ของ CPU (จาก 2 -> 4)
ข่าวต่อไป คีย์เจน สำหรับซีพียูอินเทล มาแล้ว
อีกหน่อยถ้า บ.ผลิต CPU ต่าง ๆ สร้าง CPU ให้กับค่ายรถยนต์คงจะมีโฆษณานี้...
คุณ!! ต้องการให้รถของคุณมีแรงม้าสูงขึ้นไหม เพียงซื้อ upgrade license ให้กับ CPU ในรถของคุณสิ !!!
- 50 แรงม้า/3 สัปดาห์ $199
- ปล็ดล็อกเกียร์ที่ 7/ 2 สัปดาห์
- ปล็ดล็อกไฟ Console สีเขียวสะท้อนแสง
พิเศษถ้าท่านซื้อผ่านร้าน 7-12 เอาวันไปเลยอีก 7 วัน !!!
** ความสามารถนี้ขึ้นอยู่กับ OS ของท่าน ทางเราจะไม่รับประกันความเสียหาย หรืออุบัติเหตุ
ต่อตัวท่านหรือรถยนต์อันเนื่องมาจาก OS ของท่าน และเราขอสงวนสิทธิ์ยกเลิกได้ทุก ๆ กรณี
ปล. ขำ ๆ ฮ่ะอย่าคิดมาก
ซื้อเป็นชั่วโมง/กิโลดีกว่ามั้ยอะ (ซีเรียสนะเนี่ย)
เพราะเวลาธรรมดารถติดคงไม่ได้ใช้ประสิทธิภาพพวกนี้เท่าไหร่
แต่ถ้าเป็นเวลาต้องขับรถทางไกลตจว.นี้ อย่างน้อยขอให้ kick down เร็วขึ้นเสี้ยววินาทีก็ดี
ปล.จริงการแต่งรถรถด้วย software มีมานานมากแล้วครับ พวกอู่แต่งรถที่รับจูนกล่อง ECU นั่นแหละ
fyi รถบ้านๆ แทบทั้งหมดถูกล๊อกไม่ให้วิ่งได้เร็วเกิน (แถวๆ) 200km/h ครับ
พวก รถนี่ตั้งกล่อง ECU เอาได้นิครับ ที่เคยได้ยินมา
เวลาโดนล๊อกความเร็วก็เอากล่องไปโม ปลดล๊อกเอา O-o
เสริมเล็ก ๆ
กล่องเพิ่มเติมสำหรับ ECU มีหลายเแบบ
แบบต่อ เพิ่มกับของเดิมเรียก Pickky Card
แต่ถ้าต้องการแรงมาก ๆ นิยมเปลี่ยนไปใช้ อีก Unit มาคุมแยก
โดยยิ่งรับ sensor ได้เยอะหลายจุดยิ่งแพง..
นึกถึงสมัยก่อน
เปลี่ยนนมหนู กับเอา สก็อตไปร์ท มาลอกชั้นให้บาง แล้วทำไปเป็นกรองเปลือยราคาประหยัดแหะ
สำหรับเครื่องดีเซล ก็ทะลึ่งไปจูนน้ำมันให้หนา ๆ แทน ควันดำปี๋เลย อิอิ
จริงๆแล้ว Hardware vendor อยากทำอย่างงี้เลยน่ะ จ่ายตามอายุการใช้งาน เพราะทางด้าน software นั่นมีโมเดลนี้อยู่ (perpectual license vs n-year license)
แต่ลูกค้าจะรู้สึกช็อค บวกไม่คุ้มค่า ว่าตรูจ่ายเงินซื้อมันมาแล้ว ซื้อ supply มาให้เรียบร้อย ซื้อ OS มาด้วย ดันต้องจ่ายค่าใช้งาน CPU แบบ on-demand อีกต่างหาก
มีนะ กล่อง ECU รถซิ่งที่สามารถจูนไว้หลายๆแบบ ทั้งแบบแรง แบบประหยัด ให้เลือกใช้ตามใจชอบ
แต่ยังไม่มีคนทำแบบที่สามารถล็อคความสามารถไว้แล้วปลดล็อคถ้าจ่ายตังค์เพิ่ม
โลกITซับซ้อนซ่อนเงื่อนจริงๆ
คงคล้าย ๆ กับการผลิต Harddisk ที่เวลาผลิตมาถ้าล๊อตเดียวกันก็เหมือนกันหมด แล้วจึงนำมาทดสอบว่าตัวไหนรองรับข้อมูลได้สูงสุด กี่ GB แล้วจึงมา lock ก่อน packing
อันนี้เหมือนเป็นอีกกรณีนะครับ เหมือนประมาณว่าผลิตมา lot เดียวกันเหมือนกันเลย แต่ส่วนหนึ่งตั้งราคาขายปกติ อีกส่วน lock บางฟังก์ชั่น ขายถูกลง และที่ไม่แยกสายผลิตเลยตามเหตุผล comment บนๆ คือแยกสาย หรือ set up ใหม่ไม่คุ้ม mass ไปเลยถูกกว่า
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อ้อ ขอบคุณครับ ^ ^