หลังจากเราได้รู้จักกับ Intel AppUp Center [1] [2] และรู้จักวิธีการใช้ SDK [1] [2] กันเรียบร้อยแล้ว ทีนี้เราจะกรอข้ามช่วงการพัฒนาแอพลิเคชันของเราไปถึงช่วงที่เราจะส่งแอพลิเคชันกันเลย
ก่อนที่เราจะฝันหวานถึงวันที่แอพลิเคชันของเราได้ขึ้นไปอยู่บน Intel AppUp Center ต้องรู้ก่อนว่า ไม่ใช่ทุกแอพลิเคชันที่จะส่งเข้าไปที่ Intel AppUp Center ได้ โดยข้อกำหนดหลัก ๆ ในปัจจุบันมีดังนี้
สำหรับข้อกำหนดทั้งหมดดูได้จากหน้า Validation Guidelines หัวข้อ Application Store Definitions and Guidelines
ในยุคที่ตลาดซื้อขายแอพลิเคชันกำลังรุ่งเรืองแบบนี้ การให้ผู้ใช้มานั่งตอบคำถามและกด next ไปเรื่อยๆ นั้นเริ่มจะล้าสมัยแล้ว นักพัฒนาอย่างเราๆ ก็ต้องปรับตัวกันสักนิดนึง โดยปรับขั้นตอนการติดตั้งให้ผู้ใช้สะดวกสบาย และเข้ากับระบบซื้อขายแอพลิเคชันให้มากยิ่งขึ้น
กฎเบื้องต้นที่เราจะต้องทำตามก็คือ
สำหรับผู้ที่จะสร้างชุดติดตั้งด้วย Visual Studio 2008 ดูวิธีการสร้างชุดติดตั้งได้จากบทความของ Intel AppUp developer program [1] [2] (เปลี่ยนจากชื่อเดิม Intel Atop developer program แล้วนะครับ)
แต่ถ้าไม่มี Visual Studio ตัวเต็มใช้ เราก็สามารถสร้างชุดติดตั้งเองได้ โดยมีซอฟต์แวร์ฟรีหลายตัวให้เลือกใช้ เช่น NSIS, InnoSetup, Windows Installer Toolset XML
หลังจากทดสอบแล้วว่าชุดติดตั้งของเราติดตั้งโปรแกรมถูกต้องครบถ้วน โปรแกรมทำงานได้สมบูรณ์ คราวนี้เราก็จะเตรียมชุดติดตั้งที่จะส่งไปยัง Intel AppUp Center จริงๆ แล้ว ซึ่งขั้นตอนทุกอย่างเหมือนเดิม แตกต่างเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือไฟล์แอพลิเคชัน ซึ่งเราจะต้องคอมไพล์ใหม่อีกรอบโดยใช้หมายเลขแอพลิเคชัน (application ID) จริงๆ แทนที่จะใช้หมายเลขสำหรับทดสอบอย่างที่ผ่านมา
วิธีการขอหมายเลขแอพลิเคชันนั้นง่ายมาก เพียงแค่เข้าสู่ระบบ Intel Developer Program เข้าไปที่แดชบอร์ด ส่วนของ Application แล้วคลิกปุ่ม Start A New Application พร้อมใส่ชื่อแอพลิเคชันของเรา จากนั้นก็นำค่าในส่วน GUID มาใช้ได้ทันที (ในภาพ GUID คือส่วนที่ถูกป้ายแถบสีดำไว้นะครับ)
จากนั้นก็เอาไปใส่ในซอร์สโค้ดของเรา แล้วคอมไพล์ใหม่อีกที จากนั้นก็สร้างชุดติดตั้งอีกรอบด้วยวิธีเดิม เท่านี้ก็เรียบร้อย
{syntaxhighlighter brush: cpp}
using namespace HelloAppUp;
// Define your application ID, or use ADP_DEBUG_APPLICATIONID in testing.
const com::intel::adp::ApplicationId adp_app_id = ApplicationId(0x01234567, 0x89ABCDEF, 0x02468ACE, 0x13579BDF);
class ADPApplication: public com::intel::adp::Application {
public:
// Constructor
ADPApplication(): com::intel::adp::Application(adp_app_id) {
// Don't remove this pair of bracket, to pass the compilation.
}
int run() {
System::Windows::Forms::Application::Run(gcnew MainForm());
return 0;
}
};
{/syntaxhighlighter}
เมื่อเราเตรียมชุดติดตั้งตัวจริงเรียบร้อยแล้วก็เอาไปส่งได้เลย โดยกลับไปที่หน้าแดชบอร์ดส่วน Application อีกครั้งหนึ่ง แล้วเลือกแก้ไขแอพลิเคชันที่เราสร้างไว้ในขั้นตอนขอ Application ID
จากนั้นจะต้องกรอกข้อมูลกันพอสมควร เพื่อให้ผู้ใช้ได้ตัดสินใจก่อนจะดาวน์โหลดโปรแกรมเราไปใช้ เช่น ชื่อผู้เผยแพร่ หมวดหมู่ รายละเอียด ระดับอายุ ภาพตัวอย่างของแอพลิเคชัน รวมถึงข้อกำหนดในการใช้งาน ซึ่งเราจะเลือกใช้ข้อความที่ทาง AppUp เตรียมไว้ให้ หรือกำหนดเอง
หลังจากส่งข้อมูลไปแล้วทาง Intel AppUp Center ก็จะเอาไอคอนแอพลิเคชันของเราไปแต่งองค์ทรงเครื่อง ตัดมุมให้มนแล้วใส่เงากระจกแถมให้โดยอัตโนมัติ ดูดีขึ้น 200% แบบในภาพด้านล่าง
เมื่อกรอกข้อมูลเกี่ยวกับแอพลิเคชันเสร็จแล้วก็มาถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ กันบ้าง นั่นคือราคาแอพลิเคชันของเรานั่นเอง โดยถ้ากำหนดให้เป็นแอพลิเคชันสำหรับขาย เราสามารถกำหนดประเทศที่จะขาย และกำหนดราคาแยกตามหน่วยของเงินได้ (ปัจจุบันมีหน่วยยูโร ดอลลาร์ และปอนด์ของอังกฤษ) แต่ถ้าเราไม่สะดวกที่จะกำหนดราคาแยกเอง จะให้ระบบแนะนำราคาของหน่วยอื่นๆ ให้เลยก็ได้ (สังเกตได้ว่าราคาที่ระบบแนะนำมา ไม่ว่าจะยังไงก็จะลงท้ายด้วย 9 เสมอ)
นอกจากนี้หาก Intel AppUp Center รองรับการขายแอพลิเคชันในประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น เราสามารถเลือกให้แอพลิเคชันของเราขายในประเทศนั้นได้โดยอัตโนมัติได้เลย (ยกเว้นประเทศที่ใช้ค่าเงินต่างจากนี้ เราจะต้องเข้ามาตั้งราคาเองอีกครั้ง)
และขั้นตอนสุดท้าย ก็คือการเลือกระบบปฎิบัติการ แล้วอัพโหลดชุดติดตั้ง และซอร์สโค้ด (กรณีเป็นแอพลิเคชันแบบโอเพนซอร์ส)
หลังจากอัพโหลดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะส่งแอพลิเคชันไปตรวจนั้น เราสามารถชวนผู้ทดสอบมาทดสอบโปรแกรมก่อนได้ เพื่อยืนยันให้มั่นใจว่าผู้ใช้ใช้งานได้จริง ก่อนจะส่งไปตรวจจริง
เมื่อทดสอบเรียบร้อยแล้วก็ส่งให้ Intel AppUp Center เอาไปตรวจได้เลย ถ้าจำเป็น อาจจะใส่ข้อความฝากรัก เช่น ชื่อผู้ใช้, รหัสผ่านที่ต้องใส่ ฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นต้องใช้ ไปให้กับผู้ตรวจด้วยก็ได้
หลังจากนั้นเหลือแค่รอให้ทางฝ่ายตรวจสอบแอพลิเคชันของ Intel AppUp Center ตรวจว่าแอพลิเคชันของเราผ่านเงื่อนไขทั้งหมดหรือเปล่า เมื่อผ่านแล้วแอพลิเคชันของเราก็จะได้ไปนั่งรอพบผู้ใช้มากมายใน Intel AppUp Center แต่ถ้าไม่ผ่าน ทางฝ่ายตรวจสอบก็จะส่งเหตุผลที่ไม่ผ่านกลับมาให้เราได้แก้ไขต่อไป
เพื่อไม่ให้ต้องพลาดกันบ่อยๆ อาจจะลองดูเกณฑ์การตรวจสอบแอพลิเคชันทั้งหมด และวิธีแก้ปัญหาหลักๆ ที่ทำให้
แอพลิเคชันไม่ผ่านการตรวจดูด้วยนะครับ
ก่อนที่ผมจะเขียนบทความนี้เสร็จ Intel AppUp Center ก็ออกรุ่น 1.0 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ไม่ใช่รุ่นเบต้าแล้ว พร้อมกันนั้นก็ออก Intel AppUp SDK รุ่นใหม่ ซึ่งเพิ่มอุปกรณ์ช่วยตรวจสอบโปรแกรม ใครที่ติดตั้ง SDK รุ่นก่อนหน้านี้ไว้ ขอแนะนำให้อัพเดทเป็นรุ่นใหม่ครับ (SDK รุ่นใหม่นี้มีการเปลี่ยนที่อยู่ของ header files, ไลบรารีนะครับ ต้องตั้งค่าที่อยู่พวกนี้ใหม่เพื่อให้คอมไพล์ใหม่ได้)
หลังจากเราพาไปรู้จักกับ Intel AppUp Center รวมถึงเห็นวิธีการพัฒนาแอพลิเคชันเพื่อส่งเข้าสู่ตลาดแล้ว คำถามสุดท้ายคือ พร้อมจะสร้างแอพลิเคชันส่งไป Intel AppUp Center แล้วหรือยัง
ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่พร้อม แต่หลังจากอ่านบรรทัดนี้แล้วอาจจะทำให้เราพร้อมมากขึ้น เพราะทางอินเทลประเทศไทยเตรียมสนับสนุนของรางวัลสำหรับคนไทยที่ส่งแอพลิเคชันขึ้นไปยัง Intel AppUp Center เป็นพิเศษด้วยครับ
Comments
เท่าที่ผมอ่านๆ ดูแล้ว เข้าใจว่าถ้าเราเป็นผู้ใช้ AppUp กดติดตั้งโปรแกรมนี่มันจะลงให้เองเลยใช่ไหมครับ (เหมือนลงโปรแกรมจาก Android Market) ไม่ต้องมี modal dialog ใดๆ มาให้เห็น
แล้วเราสามารถควบคุมไดเรคทอรีที่ติดตั้งได้ด้วยหรือเปล่า หรือ AppUp จับลงให้
ใช่ครับ เป็นกฎเลยว่าเราต้องทำชุดติดตั้งให้ลงเองได้โดยไม่ต้องใช้ dialog อะไร (ยอมให้มีได้นะครับ แต่ห้ามให้คนใช้ต้องกดเอง)
เรื่องไดเรกทอรีนี่เราก็ควบคุมได้เองเลยครับ แต่ถ้าเราเอาไปลงตำแหน่งพิลึกๆ อันนี้ก็ไม่แน่เหมือนกันว่าจะโดนยิงร่วงรึเปล่า (แต่ผมไม่เห็นกฎเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยครับ)