ในช่วงหลังบริการ Git repository มีการแข่งขันสูงขึ้น โดยเฉพาะจาก GitLab ซึ่งนอกจากจะให้ใช้ repository ได้ฟรีทั้ง public และ private ได้แล้ว ยังมีการโยกฟีเจอร์เสียเงินมาเป็นฟีเจอร์ฟรีอยู่เรื่อยๆ
ล่าสุด GitHub ก็ไม่ทานกระแสนี้อีกต่อไป เปิดให้ใช้ private repository ฟรีแบบไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนสมาชิกในทีมแล้ว (เดิมจำกัดไม่เกิน 3 คน) พร้อมทั้งได้ใช้ฟีเจอร์ CI/CD, การรีวิวโค้ด, การจัดการโปรเจกต์ไปด้วย สำหรับทีมที่เสียเงินอยู่ในแพคเกจ Team จะได้ลดราคาจาก $9 เหลือ $4 ต่อคน โดยจะใช้งานฟีเจอร์มากขึ้น และได้โควต้าใช้งานส่วนต่างๆ มากขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางใกล้เคียงกับที่ GitLab ทำอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อวานนี้ Laël Cellier รายงานช่องโหว่ remote code execution ซึ่งเป็นช่องโหว่บน Git ทุกรุ่นที่เก่ากว่า 2.7.1 ทำให้เกิด buffer overflow ได้เมื่อผู้ push หรือ clone โปรเจกต์ที่มีชื่อไฟล์ยาวหรือมีโครงสร้างไดเรกทอรีซ้อนกันมากๆ
ปัญหาดังกล่าวถูกแก้มาตั้งแต่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาในรุ่น 2.7.1 แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก จนกระทั่งมีการนำช่องโหว่นี้ไปรายงานในเว็บไซต์ seclists ดังกล่าว
ถึงวันนี้คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักความศักดิ์สิทธิ์ของ "กรวย" กันแล้ว แต่ถ้าคุณกำลังขับรถบนทางด่วน และกำลังรีบสุดๆ คงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากลุยเข้าไปเท่านั้น!
เกมนี้จะให้คุณได้เปลี่ยนบรรยากาศจากการวิ่งเก็บเจลลี่และตัวอักษรต่างๆ มาขับรถหลบมวลมหาประชากรวยกันบ้าง ด้วยวิธีการเล่นสุดเรียบง่าย เพียงกดด้านซ้ายหรือขวาของจอเพื่อเปลี่ยนเลนบนทางด่วนสามเลน ซึ่งเต็มไปด้วยมวลมหาประชากรวยเต็มไปหมด
แม้ว่าดูภาพผ่านๆ จะเหมือนเกมกิ๊กก๊อก สุ่มอะไรมาให้หลบเล่นๆ สั่วๆ แต่ลองดูครับ รับรองว่าเกมนี้ความยากระดับน้องๆ Flappy Bird เลยทีเดียว
Google Code Jam เป็นการแข่งขันเขียนโปรแกรมที่จัดขึ้นโดยกูเกิล โดยเปิดให้ผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลกได้ประลองฝีมือการแก้โจทย์ปัญหาอัลกอริทึมต่างๆ ภายในเวลาที่กำหนด (ข่าวเก่า 2012, 2011)
สำหรับกำหนดการแข่งขันในปีนี้ เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้จนกระทั่งสิ้นสุดการแข่งขันรอบคัดเลือก ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 6.00 น. ของวันที่ 13 เมษายน 2556 จนถึงเวลา 7.00 น. ของวันที่ 14 เมษายน 2556 (ปีนี้ก็ตรงกับวันสงกรานต์อีกแล้ว)
หลังจากอโดบีปล่อย Flex SDK เป็นโอเพนซอร์สเมื่อปลายปีก่อน ตอนนี้โครงการ Apache Flex ก็ออก Flex 4.8 เป็นรุ่นแรกภายใต้โครงการ Apache Incubator แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นที่โครงการโอเพนซอร์สที่ได้รับบริจาคซอร์สโค้ดมาต้องทำเพื่อสร้างชุมชน และแก้ไขซอร์สโค้ด เพื่อขอเป็นโครงการตัวจริงใน Apache ต่อไป
หลังจากประกาศเลิกพัฒนา Flash สำหรับมือถือแล้ว ผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ของอโดบีก็ประกาศอีกว่า Flex 4.6 SDK (เฟรมเวิร์กสำหรับสร้างแอพลิเคชันแบบ cross platform ด้วย Flash) ซึ่งจะออกมาในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้นั้น จะเป็นรุ่นสุดท้ายที่พัฒนาโดยทีมงานของอโดบีอย่างเต็มตัว
หลังจากนั้นจะปล่อยโปรเจกต์เป็นโปรเจกต์ที่พัฒนาร่วมกันโดยชุมชนโอเพนซอร์ส โดยมีนักพัฒนาจากอโดบี, Spoon Project, และนักพัฒนาจากบริษัทที่ใช้ Flex ร่วมกันดูแล ส่วนนักพัฒนาจากทีม Flex เดิมส่วนหนึ่งก็จะหันไปทุ่มกำลังให้กับงานด้าน HTML แทน
อย่างไรก็ตาม อโดบีจะยังคงพัฒนา Flash Builder (เครื่องมือสร้างแอพลิเคชันด้วย Flex) และ Adobe AIR เองต่อไป
หลังจาก Google Wave ถูกจับแช่ลงไหดอง โปรเจกต์นี้ก็ดูเหมือนจะเข้าสู่จุดจบอย่างถาวร ถึงแม้ทางกูเกิลจะเปิดซอร์สของโปรเจกต์ในชื่อ Wave in a box ออกมา แต่อนาคตของโครงการก็ยังดูมืดมน
แต่ล่าสุดทาง Google Wave ได้นำร่างโครงการ Apache Wave กลับมาแก้ไขและเสนอให้ Apache Software Foundation (ASF) เพื่อปลุกชีพ Google Wave ขึ้นมา เพื่อให้มีนักพัฒนามาร่วมพัฒนากันต่อ โดยเป้าหมายหลักๆ คือถ่ายโอนซอร์สโค้ดให้กับ ASF นำโปรเจกต์กลับมาพัฒนาต่อ และเพิ่มผู้รับโค้ดเข้าระบบให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม มันยังเป็นแค่ข้อเสนอนะครับ ต้องรอดูการตอบรับจากคณะกรรมการของ ASF กันต่อไป
Drupal 7 ซึ่งประกาศชัดเจนว่า "มันจะเสร็จก็ต่อเมื่อมันเสร็จ" และกำหนดเงื่อนไขที่จะให้ Druplal 7 ออกไว้สองข้อคือ
ในวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมาบั๊กร้ายแรงทั้งหมดก็ได้รับการแก้ไขไปแล้ว (ไม่นับบั๊กร้ายแรงอีกสามตัวที่ถูกรายงานเพิ่มก่อนบ่ายสองโมงเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นกำหนดสิ้นสุดการรายงานบั๊กร้ายแรง) ทาง Drupal จึงปล่อยรุ่นเบต้า 3 ออกมา และวางแผนจะออกรุ่น RC1 ภายในสิ้นเดือนนี้ โดยหลังจากออกรุ่นนี้แล้วจะไม่ให้แก้ไขส่วนหลักๆ ของระบบอีก
หลังจากเราได้รู้จักกับ Intel AppUp Center [1] [2] และรู้จักวิธีการใช้ SDK [1] [2] กันเรียบร้อยแล้ว ทีนี้เราจะกรอข้ามช่วงการพัฒนาแอพลิเคชันของเราไปถึงช่วงที่เราจะส่งแอพลิเคชันกันเลย
ก่อนที่เราจะฝันหวานถึงวันที่แอพลิเคชันของเราได้ขึ้นไปอยู่บน Intel AppUp Center ต้องรู้ก่อนว่า ไม่ใช่ทุกแอพลิเคชันที่จะส่งเข้าไปที่ Intel AppUp Center ได้ โดยข้อกำหนดหลัก ๆ ในปัจจุบันมีดังนี้
หลังจากกูเกิลแอบใบ้ฟีเจอร์ใหม่นี้ด้วยโลโก้อยู่พักหนึ่ง (โลโก้จะแสดงสีตัวอักษรทีละตัวตามความยาวคำค้นที่พิมพ์เช้าไป) ตอนนี้กูเกิลก็เปิดตัว Google Instant ให้ใช้กันแล้ว
โดยการทำงานเบื้องต้นของมันคือ ระหว่างที่เราพิมพ์คำค้น มันจะเอาคำแรกในส่วนแนะนำคำ (suggestion) มาแสดงผลการค้นหาทันทีที่ด้านล่างนั่นเอง หรือถ้าต้องการค้นหาจากคำอื่นๆ ที่อยู่ในรายการ เราก็สามารถกดลูกศรขึ้น/ลง เพื่อแสดงผลการค้นหาของคำอื่นๆ ได้ทันที
ในบล็อกของกูเกิลบอกว่าวิธีแสดงผลการค้นหาแบบนี้จะทำให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาได้เฉลี่ย 2-5 วินาทีต่อครั้ง แต่โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยรู้สึกอะไรมาก (เพราะใช้อินเทอร์เน็ตบ้านเรา มันก็ต้องรออยู่ดี) แต่เรื่องความเจ๋งนี่ มันเจ๋งจริง
หลังจากได้รู้จักกับ Intel AppUp Center รวมถึงได้เห็นหน้าค่าตาของ Intel Atom Developer Program SDK สำหรับแอพลิเคชันที่จะเข้าไปทำตลาดกันบ้างแล้ว คราวนี้เราจะมาลองสร้าง/ปรับปรุงแอพลิเคชันเพื่อเตรียมลุยใน AppUp กัน โดยในบทความนี้จะเริ่มจากภาษา C/C++ กันก่อน เพราะตัว SDK รองรับมาตั้งแต่แรก ส่วนภาษาอื่นๆ นั้นแนวคิดจะคงเดิมแต่อาจจะต้องใช้ตัว binding ครับ
หลังจากเจ้าใหญ่ๆ สองสามเจ้าประสบความสำเร็จกับการทำร้านขายแอพลิเคชันแล้ว คราวนี้อินเทลก็ขอลงมาอยู่ในตลาดนี้บ้าง ซึ่งนับว่าสร้างความรู้สึก "แหวกแนว" อยู่พอสมควร เพราะขณะที่หน้าร้านขายแอพลิเคชันเจ้าหลักอื่นๆ อย่าง Apple Store หรือ Android Market ขายแอพลิเคชันสำหรับแพลตฟอร์มของตัวเอง แต่ AppUp นั้นขายแอพลิเคชันหลายแพลตฟอร์มพร้อมกัน คือมีทั้งเวอร์ชันสำหรับวินโดวส์ และ Moblin/MeeGo (สำหรับ MeeGo ยังไม่เปิดให้ดาวน์โหลดทั่วไป มีเฉพาะรุ่นที่แจกให้กับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ) โดยแอพลิเคชันที่ขายไม่จำเป็นต้องรองรับหลายแพลตฟอร์มก็ได้
สมัยก่อนที่จะเป็น MeeGo นั้น ทั้งอินเทลและโนเกียต่างก็ทำแพลตฟอร์มของตัวเอง โดยของอินเทลคือ Moblin ที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับ MID (ข่าว IDF ปี 2008) ส่วนของโนเกียเป็น Maemo ที่มีใช้งานอยู่ใน Nokia N-Series บางรุ่น ตัว Moblin นั้นไม่ประสบความสำเร็จนักอาจจะด้วยราคา และเทคโนโลยีที่ยังไม่พร้อมในตอนนั้น ส่วนทาง Maemo นั้นก็ดูจะมีเพียงโนเกียเท่านั้นที่ใช้งาน สุดท้ายทั้งสองตัดสินใจรวมกันเป็น MeeGo และออกรุ่น 1.0 มาแล้วเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และเพิ่งจะออก MeeGo Day 1 สำหรับนักพัฒนาบนโทรศัพท์มือถือไป
งาน World RoboCup 2009 ที่เมือง Graz ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน -7 กรกฎาคม 2552 มีตัวแทนนิสิตนักศึกษาไทยส่งหุ่นยนต์ไปร่วมแข่งขันเช่นเคย
เมื่อวานนี้ (28 มิถุนายน 2552) ชุมนุมนิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม.เกษตร จัดงาน ComKUCamp ซึ่งก็เป็น Barcamp ฉบับมหาวิทยาลัยครับ
จุดเริ่มต้นของงานนี้เกิดจากความคิดที่ว่า Barcamp เป็นลักษณะงานที่ดีมากสำหรับการศึกษา แต่คนที่สนใจ Barcamp ในภาควิชาฯ มีน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนทั้งหมด สาเหตุหลักๆ ก็คือรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง, ไปแล้วไม่รู้จะพูดอะไร, พูดไม่ได้, ฟังไม่รู้เรื่อง, ... ก็เลยจัด Barcamp ในภาควิชาฯ ซะเลย. การจัด Barcamp ภายในภาควิชา ซึ่งก็คนฟังก็เป็นเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ และอาจารย์ เจอหน้ากันประจำอยู่แล้ว น่าจะลดช่องว่างระหว่างคนพูดและคนฟัง และมีคนพูดมากขึ้นได้