Electronic Frontier Foundation (EFF) กลุ่มรณรงค์ด้านสิทธิดิจิทัลที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้เปิดเผยเอกสารสองฉบับจากกระทรวงความมั่นคงภายในของสหรัฐ (Department of Homeland Security กระทรวงที่ตั้งขึ้นสมัยรัฐบาลบุช หลังเหตุการณ์โจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน) ที่กล่าวถึงการเข้าไปสอดส่องบนเว็บไซต์ social network ต่างๆ เช่น Facebook, MySpace, Hi5, ฯลฯ
เอกสารฉบับแรกเป็นบันทึกของหน่วยงานด้านสัญชาติและการเข้าเมือง ออกมาเมื่อปี 2008 โดยระบุว่า บนเว็บไซต์เหล่านี้ พฤติกรรมของผู้ใช้จำนวนมากต้องการจะมี "เพื่อน" เยอะๆ และยอมรับคำขอเป็นเพื่อนแม้ว่าจะไม่รู้จักกันก็ตาม ซึ่งเป็นโอกาสอันดี ให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปสอดส่องพฤติกรรมของบุคคลน่าสงสัย เช่น การแต่งงานหลอกเพื่อเอาสถานะพลเมือง ส่วนเอกสารฉบับที่สอง กล่าวถึงการสอดส่องเว็บไซต์ลักษณะดังกล่าว ในช่วงก่อนพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามา
EFF ตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายไม่ได้ระบุว่า ระดับไหนถึงจะเรียกว่าน่าสงสัยจนควรไปสอดส่องดู นอกจากนี้ ยังไม่ระบุว่าเจ้าหน้าที่จะต้องแสดงตัว หรือแม้กระทั่งต้องใช้ชื่อจริง
Ars Technica สรุปตอนท้ายว่า ผู้ใช้ควรจะเรียนรู้ได้แล้วว่าจะต้องระมัดระวังเรื่องความเป็นส่วนตัวในการรับคนที่ไม่รู้จักเป็นเพื่อน
ที่มา – Ars Technica
Comments
ถ้าเรื่องแบบนี้ เมืองไทยเราทำกันมานานแล้วครับ เป็นปกติอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะกรณีถ้าใครอยู่ในบุคคลเฝ้าระวังของรัฐบาล (กลุ่มคนเสื้อแดง) จะมีพวกเจ้าหน้าที่ศอฉ./DSI ขอแอดเป็นเพื่อนอยู่เกือบทุกคนแหละครับ แต่พวกนี้ทำกันไม่ค่อยเนียนเท่าไร (เปลืองเงินภาษีมาก) ชอบมาแอดเพื่อขออ่านอย่างเดียว ไม่เคย Comment หรือกด Like อะไรเลย, ไม่เคย Post อะไรทั้งสิ้น, Profile ไม่บอก, เพื่อนก็ไม่ค่อยมี แต่แอดเพื่อนเอาไว้เยอะมาก
ผมว่าคนทั่วไปเขาก็ทำกันเยอะแยะไปนะครับ
เป็นพวกโฆษณาขายตรงเปล่าครับ แล้วระแวงไปเอง
คล้ายๆ วิธีแอบจับกิ๊กสินะ
กลับด้าน ใช้ในการหากิ๊กด้วยนะ
เห็นขายตรงในไทยนิยมทำ พอเพื่อนเยอะๆก็จะเริ่ม tag ภาพ
ผมด่ากลับไปหลายคนมากๆ เลย ลำคานมากๆๆ
"รำคาญ" ครับ
เป็นสื่อที่ไม่สร้างเอาเสียเลย ผมว่าพวกนี้ทำให้ภาพพจน์พวกขายตรง เสื่อมเสียเข้าไปใหญ่ เห็นใจคนขายตรงที่ตั้งใจทำมาหากิน ไม่ใช่หากินอะไรง่ายๆ ในรูปแบบนี้