เอกสารจากคดีระหว่างบริษัท Advanced Internet Technologies ที่ฟ้องเดลล์และสามารถตกลงกันนอกศาลได้ในปี 2008 ได้กลับมาหลอกหลอนบริษัทอีกครั้ง เมื่อศาลเปิดเผยเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดออกมา และพบว่าเดลล์มีความพยายามที่จะปิดบังความบกพร่องนี้
ความบกพร่องนี้เกิดจากตัวเก็บประจุที่ผลิตขึ้นมาอย่างผิดสเปค ทำให้อายุการใช้งานต่ำกว่าปรกติจนเมนบอร์ดมักเสียหายก่อนเวลาอันควร โดยทั้ง เดลล์, เอชพี, และแอปเปิล ล้วนใช้งานตัวเก็บประจุชนิดเดียวกัน จนต้องเรียกกลับมาซ่อม
รายงานความเสียหายนั้นมีตั้งแต่ เมืองนิวยอร์คที่ซื้อเครื่องไป 5,000 เครื่องและพบปัญหา 20.2%, ไมโครซอฟท์ซื้อไป 2,800 เครื่อง และพบปัญหา 11% นอกจากนี้บริษัทและหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ก็พบปัญหาแบบเดียวกัน รายงานภายในของเดลล์เองก็คาดว่าจะมีเครื่องเสียหายจากความผิดพลาดนี้ถึง 45% ภายในสามปี โดยความเสียหายสูงสุดอาจจะมากถึง 97%
เอกสารอีกชิ้นหนึ่งคือ DELL0088003 ระบุให้พนักงานขายอย่านำประเด็นนี้มาอยู่ในความสนใจของลูกค้า และห้ามสัญญาที่จะเปลี่ยนเครื่องที่ยังไม่เสียหายให้ก่อนพบความเสียหาย
เดลล์ระบุว่าสุดท้ายแล้วบริษัทได้เปลี่ยนเมนบอร์ดให้กับลูกค้าจำนวน 22% จากทั้งหมด 21 ล้านเครื่อง หรือยอดรวมประมาณ 4 ล้านเครื่อง และระบุว่าบริษัทได้ปรับปรุงกระบวนการเพื่อรองรับปัญหาเช่นนี้แล้ว
ที่มา - The New York Times
Comments
ทำไมเหมือนโดนมากับตัวเลยล่ะ= ='
May the Force Close be with you. || @nuttyi
C ตัวเดียวทำพิษ
จุกเลยทีเดียว + +
ถ้าอยู่ในระยะประกันปกติ เดลล์ก็เปลี่ยนให้อยู่้แล้วนี่ครับ ประเด็นคือไม่มีใครรู้ตั้งแต่แรกหรอก ต้องรอจนเกิดปัญหาถึงไล่ย้อนมาถึงการออกแบบได้นั่นแหละ แต่ก็ใช่ว่ามันจะพังเร็วทุกเครื่องและมันไม่ได้ก่ออันตรายถึงชีวิต จะไ้ด้จำเป็นต้อง recall มาเปลี่ยนทุกเครื่องเลย เขาเลยรอแก้ไขให้เฉพาะเคสที่พังจริงๆเท่านั้น
โดยส่วนตัวเห็นว่า การที่อุปกรณ์พวกนี้ลดราคาลงมากๆ อายุการใช้งานก็ลดลงจริงๆ การคาดหวังการใช้งานจึงอยู่แค่ในระยะประกันเท่านั้นอยู่แล้ว จะให้หวังซื้อทีใช้เป็นสิบปีอย่างสมัยเครื่องละห้าหมื่นคงไม่ได้(desktopนะ) แต่เดลล์ดีอย่างตรงที่ว่า ต่อประกันหลังหมดอายุไปแล้วได้ด้วย(แต่รวมแล้วไม่เกิน 5ปีซึ่งน่าจะเป็นจุดสุดท้ายของการตีค่าเสื่อมราคาไปพอดี)
กรณีนี้แม้จะรับประกันได้ แต่อัตราการเสีย 20% นี่เกินปรกติแน่ครับ ผมไม่คิดว่ามันจะเกินเลยถ้าเดลล์จะเสนอให้ซ่อม "ก่อน" การเสียหายจริง
ผมไม่ใช่คนที่คาดหวังใช้งานคอมพิวเตอร์ในระยะประกันครับ และเชื่อว่าคนเกือบทั้งหมดก็เช่นกัน
lewcpe.com, @wasonliw
ครับถ้ามุมมอง consumer user คงเป็นแบบนั้น แต่ถ้าในผู้ใช้ระดับองค์กร reliability จะผูกกับระยะเวลาการรับประกัน ซึ่งซื้อเพิ่มได้ครับ เพราะคอมพิวเตอร์ที่หักค่าเสื่อมราคาไปจนหมดแล้ว ไม่รวมว่ามันเก่าจนอาจจะไม่รองรับ software ใหม่ๆ แต่หมายถึงว่าการ support ที่จะหมดไป การคาดหวังความน่าเชื่อถือในงานสำคัญย่อมทำไม่ได้ไปด้วยนั่นเอง
แต่จะว่าไป ถ้าระดับ OEM มียี่ห้อยังเจอผลกระทบขนาดนี้ นี่ยังน่ากลัวว่า Mainboard ที่ส่งไปตลาดค้าปลีกในระยะเวลาใกล้ๆกัน ก็อาจจะเจอปัญหา C ด้อยคุณภาพด้วยเช่นกัน แถมระยะเวลาการรับประกันที่ต่ำกว่า(ขายปลีกประกันสูงสุดแค่3ปี) อันนี้ผมว่าผลกระทบต่อผู้ใช้ประกอบเองโดบไม่ัรู้ตัว น่าจะมีไม่น้อยเช่นกัน แถมการรับผิดชอบน่าจะต่ำกว่า OEM brand เสียด้วย
ผมไม่เคยเห็นองค์กรไหนในบ้านเราใช้คอมพิวเตอร์แค่ในระยะประกันครับ
lewcpe.com, @wasonliw
หนึ่งในห้าเลยนะนั่น...
Happiness only real when shared.
เสียชื่อซะแล้ว ต่อไปก็ขายแต่องค์การ
ผมเคยใช้ D500 และโชคดีที่เกิดปัญหาเมนบอร์ดพังก่อนจะปีหนึ่ง
ช่างบอกว่าบอร์ดรุ่นนี้มันมีปัญหาง่าย แต่รุ่นใหม่ที่เอามาเปลี่ยนนี่ไม่มีปัญหาแล้ว...
สงสัยนี่ก็เป็น 1 ในกรณีเหล่านั้นแน่ ๆ จากประสบการณ์จริง
อ่านประโยคว่า "โชคดีที่เกิดปัญหาเมนบอร์ดพังก่อนจะปีหนึ่ง"
แล้วหัวเราะขึ้นมาเลยฮ่า ๆ คือถ้าโชคร้ายเสียหลังจากหมดประกันเหรอครับ
ส่วนตัวคิดว่าแค่เสีย จะอยู่ในประกันหรือนอกประกัน ก็คิดว่าเป็นโชคร้ายแล้วละ
ยิ่งในระยะเวลาประกันนี้ QC**ซวยแล้วละ เสียทั้งเงินทั้งเวลาทำมากะให้พังมาเอาค่าซ่อมยาว ๆ รึเปล่า LOL
น่าจะมีคนเล่นแบบนี้กับ HP Pavilion บ้าง เอาให้ล่มจม..
pyงไงเขาก็รับซ่อมนะ ไม่ใช่บ่ายเบี่ยงและเสียยกล็อตนี่ครับ
I need healing.
ในไทยตรงกันข้ามกับที่คุณพูดหมดเลยครับ
ผมโดนกับตัวเองเลยครับ Notebook HP นี่สาปส่งเลย
ไปซ่อม ไปแก้ไข เขาก็รับผิดหนิ
ดูโตโยต้าเป็นตัวอย่าง เรียกคืนรถ ^^
รถมันอันตรายกว่ากันเยอะครับ
@lew
จะมีหรือเจ้าไหนที่อยู่ทน
ดีใจที่ไม่ใช่ C บริษัทผม ไม่งั้นโดนเคลมตาเหลือกแน่