[update] มีคนท้วงมาเรื่องคำว่า น่าเชื่อถือ ขอแทรกหมายเหตุว่าต้นฉบับใช้คำว่า authenticity นะครับ ประมาณน่าเชื่อถือว่าเป็นของจริง
Christopher Poole หรือ "Moot" ผู้ก่อตั้งชุมชนออนไลน์นิรนามชื่อดัง 4Chan.org พูดใน keynote ที่งาน SXSW 2011 ถึงความเป็นนิรนามของการแสดงความคิดเห็นว่า ความคิดเห็นที่คนแสดงออกมาโดยที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตนนั่นแหละ คือความเห็นที่จริงใจและน่าเชื่อถือ
Poole ยังกล่าวอีกว่าการต้องเปิดเผยตัวตนนั้นเป็น "ราคาที่สูง" ของการแสดงความคิดเห็น
ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องตัวตนกับการแสดงความคิดเห็นนั้นเริ่มเป็นที่ถกเถียงมากขึ้นเมื่อเว็บไซต์ดัง ๆ ต่างก็หันมาใช้ระบบความคิดเห็นที่เชื่อมโยงกับตัวตนบน Facebook ซึ่งบ้างก็บอกว่าช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ บ้างก็บอกว่าทำให้คนไม่กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา
ที่มา - ReadWriteWeb และ The Guardian
Comments
ผมว่าเป็นช่องทางให้คนได้แสดงพฤติกรรมแปลก ๆ ลึก ๆ ออกมามากกว่าจะเป็นตัวตนที่แท้จริงมากกว่านะ
หมายความว่า "พฤติกรรมแปลก ๆ ลึก ๆ" นั่นไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงหรือครับ
+1
+100
น่าจะเป็นตัวตนที่แท้จริงของคนมากกว่าครับ ทั้งความหยาบ เถื่อน รุนแรง หื่น น่ารัก อ่อนโยน เห็นอกเห็นใจ ฯลฯ ที่สามารถฝ่าด่านการป้องกันตัวเองออกมาให้เห็นได้มากขึ้น ความน่าเชื่อถือในตัวตนนี่เห็นชัดขึ้น แต่เนื้อหาผมว่าเนื้อหาน่าจะกำกวม หรือมีคะแนนน่าเชื่อถือน้อยลง (โดยรวมๆ นะครับ)
ได้แสดงความชั่วในจิตใต้สำนึกออกมาได้อย่างเต็มที่มากกว่าครับ
เพราะไม่มีความรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบอะไรในผลที่ตามมา
พร้อมกันก็ไม่ต้องโกหก เพราะกลัวผลกระทบที่จะตามมา
... เรื่องแบบนี้มันเป็นปัญหาโกลแตกครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
+1
สอดคล้องกับจิตวิทยาการสื่อสาร เขาบอกว่าการสื่อสารของคนในโลก IT จะใช้ภาษาที่รุนแรงกว่าปกติ
"ผลที่ตามมา" ที่คนแสดงความคิดเห็นต้อง "รับผิดชอบ" นี่มันมีตัวอย่างยังไงบ้างหรือครับ
นี่ถามจริงๆหรือแค่ย้อนอะครับ
ยกตัวอย่างพวกตอบกระทู้เรื่องการแพทย์มั่วๆ นี่พอเห็นภาพไหมครับ
ใครจะถือเอาความเห็นทางการแพทย์จากใครก็ไม่รู้บนเว็บไซต์เป็นจริงเป็นจังบ้างครับ
งั้นผมยกตัวอย่างใหม่ละกัน
ถ้ามี anonymous คนนึงมา post ใน blognone forum ว่าโดน tewson ไปทำเค้าท้องแล้วไม่รับผิดชอบ แล้วดันมีคนเชื่อจริงจัง ถึงกับไปขุดประวัติ tewson มาประจานกันตั้งแต่บรรพบุรุษรุ่นทวด
แบบนี้ anonymous ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองเขียนลงไปไหม? แล้วถ้าต้องรับผิดชอบจะเอาผิดกับใคร? แบบนี้เป็น counter example ได้ไหมว่า anonymous ไม่ได้มีแต่ข้อดีอย่างที่คิด?
แค่ยกตัวอย่างน่ะครับ อย่าซีเรียสนะ
ไม่รู้ทำไมกด reply อันข้างบนนี้ของ lancaster ไม่ได้ ขอตอบตรงนี้แทนละกัน
ถ้าคนอื่นทั่วไปที่ไม่รู้จักผมจะเชื่อเอาจริงเอาจังกับข้อมูลนิรนามเกี่ยวกับผมนี่มันก็ไม่ใช่เรื่องน่าใส่ใจอะไรหรือเปล่าครับ ในทางกลับกัน ถ้าคนที่รู้จักผมเชื่อเอาจริงเอาจังกับข้อมูลนิรนามเกี่ยวกับผม มันก็น่าจะแปลว่าตัวผมเองมีแนวโน้มว่าจะเป็นอย่างที่ข้อมูลว่า มันถึงได้น่าเชื่อ แล้วก็คงเป็นธุระของผมเองที่จะแก้ต่างหรือไม่กับคนที่ผมใส่ใจอะนะ
นอกจากนี้ ถ้านิรนามคนนี้จะอุตส่าห์มาโน้มน้าวคนอื่นให้เชื่อข้อมูลตนเอง มันก็น่าจะมีอะไรที่ทำให้น่าเชื่อ ถ้าเป็นข้อความลอย ๆ แล้วมีคนเชื่อ มันจะเป็นเรื่องที่น่าใส่ใจหรือ?
ผมว่านิรนามคนนั้นก็มีสิทธิ์พูดสิ่งที่อยากพูด (ตราบเท่าที่ระบบมันเอื้อให้มีการพูดอย่างนิรนามอะนะ) แน่นอนมันก็เป็นสิทธิ์ของผมที่จะขอให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ลบออก แน่นอนที่เราต่างก็มีสิทธิ์เลือกใช้เว็บไซต์ที่มีนโยบายจัดการกับข้อความหมิ่นประมาท และแน่นอนที่เว็บไซต์ก็มีสิทธิ์กำหนดนโยบายไม่สนับสนุนความเห็นนิรนาม
แล้วอย่างเรื่องที่คนไปตอบมั่ว ๆ ใน Google's Person Finder สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นล่ะครับ
ผมว่ามันก็เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้น และก็เป็นสิทธิ์ของเราที่จะประณามพวกแกล้งไม่เข้าท่าอย่างนี้ แต่สุดท้ายแล้วปัญหาคืออะไร ในเมื่อระบบแบบนี้จำเป็นต้องอนุญาตการแสดงความเห็นนิรนาม เพราะการสมัครสมาชิกก็ไม่ได้ช่วยยืนยันตัวตนอะไร อาจจะช่วยสร้างความลำบากให้พวกอยากป่วนได้บ้าง
ถ้าปัญหาคือ การอนุญาตการแสดงความเห็นนิรนามจะทำให้มีข้อความไม่พึงประสงค์ ในเมื่อเราไม่สามารถตรวจจับ ก่อน ที่คนจะโพสต์ได้ ก็มีแค่วิธีที่เห็นชัดอยู่แล้วคือมีการตรวจดูความเห็นหลังโพสต์ จะด้วยวิธีให้คนช่วยกันแจ้งลบ (flag) แบบที่ Google ทำอยู่ หรือจะคอยอ่านก่อนแสดงผลก็ว่าไป
แต่ถ้าปัญหาคือเรื่องข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับคนที่สูญหาย ผมว่าเราอาจจะแบ่งความเห็นในเว็บได้คร่าว ๆ ตามนี้คือ (1) ข้อมูลจากคนปรารถนาดี (ที่อาจจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง) (2) ข้อมูลจากคนไม่ปรารถนาดีที่แสร้งทำเป็นปรารถนาดี (และอาจจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง) และ (3) ข้อมูลจากคนไม่ปรารถนาดีที่แสดงตัวว่าไม่ปรารถนาดี (บอกชัดเจนว่าเข้ามาป่วนเฉย ๆ)
เราก็จะเห็นว่าเราตัดความเห็นแบบ (3) ออกไปได้ทันที แน่นอนมันอาจจะทำร้ายความรู้สึกอย่างมาก ก็เป็นเรื่องของระบบว่าจะช่วยจัดการลบความเห็นแบบนี้ออกไปได้เร็วแค่ไหน แต่ผมคิดว่าเราไม่น่าจะแยกออกระหว่างข้อมูลแบบ (1) กับ (2)
สุดท้ายสำหรับกรณีนี้ เราคงไม่ตัดสินว่าคนคนหนึ่งสูญหายจากแค่ข้อมูลนิรนามในหน้าเว็บ? หรือเชื่อข้อมูลที่คนที่แสดงความคิดเห็น (ซึ่งน่าจะรู้จักคนที่สูญหายน้อยกว่าเรา) บอก ผมว่ามันต้องประเมินหลายอย่างนะ และผมคิดว่าคนที่มาป่วนนั้นมีความตั้งใจน้อยกว่าคนที่ปรารถนาดี อาจจะเป็นเรื่องของการออกแบบระบบเพื่อจำกัดพวกตัวป่วนออกไปให้มากที่สุดในกรณีนี้ มากกว่าจะตัดสินว่าไอเดียของความเห็นนิรนามโดยทั่วไปนั้นไม่ดี
ข้างบนถามหา "ผลที่ตามมา" ที่คนออกความเห็นแบบนิรนามควรจะ "รับผิดชอบ" นิครับ ผมเห็นว่าในกรณี Person Finder นี่ คนป่วนความเห็นพวกนั้นควรจะต้องรับผิดชอบ
ที่พูดมาข้างบนเหมือนบอกว่าความรับผิดชอบอยู่ที่คนที่เชื่อข้อความดังกล่าว หรือระบบมากกว่าคนป่วนนะครับ (แม้ว่าน่าจะจริงที่อาจจะลดการป่วนลงไปได้ ถ้าความเห็นไม่ได้เป็นนิรนาม แม้จะเป็น ID หลอก ๆ อย่าง IP)
อาจจะเปรียบเทียบไม่ตรงเท่าไร แต่เหมือนกับบอกว่ามีผนังสาธารณะอยู่ที่นึง คนก็เข้าไปบ่นสีขีดอะไรก็ได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบน่ะครับ
เอ๊ะ กด reply ไม่ได้อีกแล้ว ทำไมหว่า
ก็ในเมื่อความเห็นมันนิรนาม จะไปหาคนโพสต์ความเห็นมารับผิดชอบได้ยังไงอะครับ ถ้าต้องการรู้จริง ๆ ว่าใครโพสต์ความเห็นไหน ก็ต้องทำให้ระบบมันระบุได้
เรื่องพ่นสีผมว่าเปรียบเทียบกับเรื่องนี้ไม่ได้เสียทีเดียวนะ ค่าใช้จ่ายในการลบและความง่ายในการลดกำลังใจพวกตัวป่วนมันต่างกัน สถานที่ต่าง ๆ ก็มีกล้องวงจรปิด
ผมว่าความนิรนามมีสองแบบนะครับ แบบแรกคือนิรนามจริง ๆ ไม่เก็บข้อมูลอะไรของผู้โพสต์ไว้เลย อีกแบบคือเก็บไว้แต่ไม่เปิดเผย ซึ่งก็ทำให้ตามคนมารับผิดชอบได้แต่ก็ยังให้แสดงความคิดเห็นได้แบบอิสระ
แต่อย่างไรก็ตาม การตามคนมารับผิดชอบไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าคนนั้นไม่ต้องรับผิดชอบหรือไม่ใช่คนผิดนิครับ ตกลงว่าอย่างในกรณีข้างต้น ถ้ามีคนเชื่อว่าผู้สาบสูญตายไปจริง ๆ คิดว่าความผิดอยู่ที่คนโพสต์ (แม้จะไม่รู้เลยว่าเป็นใคร ตามก็ไม่ได้) คนเชื่อ หรือผู้สร้างระบบครับ?
ในเรื่องผู้สาบสูญนี่ "ความผิด" คืออะไรครับ ผิดที่โน้มน้าวให้คนที่ไม่รู้จักเชื่อว่าเพื่อน/ญาติเขาตายแล้ว? ถ้าจะผิดก็ผิดแค่ทำร้ายจิตใจคนอื่นนั่นล่ะครับ คิดว่าเป็นไปได้ไหมว่าถ้าผมไปพูดพล่อย ๆ ลอย ๆ ว่าคนนั้นคนนี้ (ที่ผมไม่รู้จักสักนิดเดียว) ตายแล้ว แล้วญาติเขา (ที่ก็ไม่รู้จักผมเนี่ย) จะเชื่อเอาจริงเอาจัง เลิกค้นหาเลิกพยายามติดต่อ หรือคิดว่าเป็นไปได้ไหมที่ใครจะอุตส่าห์สร้างหลักฐานปลอมไปโน่มน้าวให้คนที่ไม่รู้จักเชื่อว่าญาติเขาตายแล้ว
ผมเข้าใจว่าในทางกฏหมาย (ซึ่งก็มาจากความเชื่อในสังคม) เค้าดูผลลัพธ์เป็นหลักก่อน แล้วค่อยดูว่าตั้งใจหรือไม่ ขนาดไหน ส่วนตัวผมเห็นว่าคนเชื่อไม่จะน่าเชื่อ คนทำระบบน่าโดนต่อว่า แต่คนผิดก็คือคนโพสต์ และอาจจะต้องรับผิดครอบคลุมความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้คิดไว้ก่อน
น่าคิดเหมือนกัน คล้ายๆพยานในคดีความจะยอกให้ความร่วมมือในขั้นต้น แต่ถ้าต้องไปขึ้นศาลบางรายก็ยอมที่จะกลับคำให้การ
เช่นเว็บ p เป็นต้นสินะ สินะ
ผมคิดว่ามันไม่เกียวอะไรกับน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อถือนะครับ
น่าจะเกี่ยวแค่จริงใจ หรือไม่จริงใจแค่นั้นเอง
ต้องขออภัยด้วยครับ เป็นความบกพร่องในการแปลของผม คือผมพยายามแปลจากคำว่า authenticity ให้กระชับ ความหมายมันน่าจะประมาณ ความแท้จริง น่าเชื่อถือ (ว่าเป็นของจริง)
แล้วทำไม ความจริงใจ ถึงไม่น่าเชื่อถือ
ความไม่จริงใจ ถึงจะน่าเชื่อถือ
ได้ ล่ะครับ?
เพราะว่าความจริงใจ ไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าข้อมูลที่โพส มันจริงหรือไม่จริงน่ะซิครับ
เพราะคนที่โพสอาจจะไม่รู้ตัวว่าข้อมูลที่โพส เป็นข้อมูลที่ตัวเองรู้มาผิดๆ
ดังนั้นต่อให้จริงใจแค่ใหนก็ไม่ได้แปลว่าข้อมูลนั้นจะน่าเชื่อถือ
สรุปว่า ความจริงใจกับความน่าเชื่อถือ มันเป็นเรื่องที่ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆต่อกันเลยครับ
เออวุ้ย :D
มันเป็นการแสดงจิตใต้สำนึก(สันดาน)ออกมาได้โดยที่ไม่ต้องกลัวการเผชิญหน้าเต็มที่น่ะครับ
จึงเป็นที่มาของดราม่าสารพัดสารเพให้เราๆท่านๆได้เสพ
มันก็แล้วแต่หัวขัอที่พูดคุยกันอยู่ด้วย มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คนเราบ้างทีต้องการเป็นคนนิรนาม เพื่อที่จะแสดงพฤติกรรมความคิดของตนเองอย่างเต็มที โตยไม่ต้องการให้มีผลกระทบกับชีวิตในปัจจุบัน เช่น การเมือง... ความเชื่อ...
ความเห็นที่เป็นนิรนาม ข้อดีอย่างหนึ่งก็คือ เราสามารถอ่านและตัดสินข้อความนั้นได้จากเนื้อหาสาระจริงๆ ของความเห็นนั้น โดยไม่ต้องถูกชักจูงด้วยตัวตน ตำแหน่ง ความนิยมเด่นดัง หรืออื่นๆ ของผู้โพสต์ และสามารถแสดงความเห็นแย้งได้โดยไม่ต้องงุงิๆ จ๊ะจ๋า
อินเทอร์เน็ต ที่มีส่วนในการวิพากษ์สังคมร้อนแรงอย่างทุกวันนี้คือความเปนนิรนาม คือการไม่จำกัดโดยกรอบสถานะทางสังคม ส่วนตัวผมชอบความเห็นที่เปนนิรนาม เพราะมันระงับอคติของผู้อ่านหรือผู้รับฟังที่มีต่อผู้แสดงความเห็น ทั้งนี้การแสดงความเห็นอย่างไร้รับผิดชอบก็เปนสิ่งที่มาคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คงไม่ยากนักในการแยกแยะ
อย่างคดีวอเตอร์เกต กว่าจะได้รู้ว่าใครเปน Deep Throat ก็ปาไป 33 ปี ซึ่งถ้าไม่ปิดก็คงไม่มีใครพูด
เห็นหลายท่านพูดถึงสันดาน ผมว่ามันก็คือเหรียญด้านหนึ่งของคำว่าความจริงใจนะ
การแสดงความจริงใจออกมา ถ้ามีความรุนแรงหยาบคาย มันก็เรียกว่าสันดานไปโดยปริยาย
ในที่นี้เขาก็เน้นให้เห็นถึงความจริงใจ เปนหลัก ไม่ว่าจะหยาบคายรุนแรงก้าวร้าวหรือไม่
ผมคิดว่า เขาพยายามที่จะเสนอว่า การที่คนเราไม่ต้องใช้ความกล้าในการเปิดเผยตัวตน ก็ทำให้คนเราสามารถออกความเห็นที่ผิดปกติ ผิดธรรมเนียมสังคม แต่สามารถจะยืนยันให้เหตุผลว่าตัวเองถูกโดยไม่ต้องโดนไล่ล่าจากขบวนการคลั่งลัทธิ คือสิ่งสำคัญ
อย่างเช่น ถ้ามีพูดคุยแลกเปลี่ยน โต้เถียงกันเรื่องประเภท "ศาสนาอิสลามจำเปนต้องให้ผู้หญิงใส่ฮิญาบจริงๆหรือ" ในประเทศอิสลาม
หรือ ประเภท "จักษุธาตุมีจริงหรือไม่" "ชาตินิยมดีจริงหรือไม่" ในประเทศไทย
ถ้าฝ่ายคัดค้านต้องเปิดเผยตัวตน ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกฝ่ายที่คลั่งไล่ล่าเอาได้ แม้ว่าจะให้เหตุผลแลกเปลี่ยนกับฝ่ายสนับสนุนตามธรรมดาก็ตาม
Like อย่างแรง!!
"การที่คนเราไม่ต้องใช้ความกล้าในการเปิดเผยตัวตน ก็ทำให้คนเราสามารถออกความเห็นที่ผิดปกติ ผิดธรรมเนียมสังคม แต่สามารถจะยืนยันให้เหตุผลว่าตัวเองถูกโดยไม่ต้องโดนไล่ล่าจากขบวนการคลั่ง ลัทธิ คือสิ่งสำคัญ"
ทุกวันนี้ ในชีวิตจริง รวมถึง facebook ผมแสดงออกทางความคิดแบบ "เซฟที่สุด" และทำตัว "คลั่งเหมือนเขา" "ว่าไงว่าตามกัน" "ซาบซึ้งตามกัน" ดูแล้วไม่น่ามีความคิดที่แตกต่างไปจากสังคมไทยกระแสหลักเป็นกันเลย
ซึ่งนั่น น่าอึดอัดที่สุด และขัดแย้งกับความรู้สึกนึกคิด แต่จำเป็นต้องทำเพราะจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันในสังคมที่ถูกตีกรอบให้คิดแบบเดียวกันหมด ไม่ต่างอะไรกับการใส่หน้ากากเข้าหากัน
ไม่น่าแปลกใจ ที่บนเน็ตมีแต่คนออกมาระบายตามที่ตนเองเชื่อหรือนึกคิดไว้ เพราะในชีวิตจริงมันไม่สามารถแสดงออกได้เลย หรือมันก็ได้ล่ะแต่ผลไม่คุ้มกัน... ย้อนกลับมาที่ข่าวนี้ล่ะครับ แล้วแต่มุมมองแต่ละท่านละ ว่า บุคคลนิรนาม น่าเชื่อถือหรือไม่ เมื่อเขาพูดออกมาจากความรู้สึกนึกคิดจริงๆ ไม่ใช่ใส่หน้ากากในชีวิตจริงอย่างที่หลายคนต้องทำ
เห็นด้วยตรงที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง
อย่างในเวบP ถ้าให้สังเกตการแสดงความคิดเห็น
ถ้า 10 ความเห็นแรก เห็นด้วยกับจขกท
แล้วดั๊นมีความที่ 11 บอกว่าไม่เห็นด้วย พร้อมยกเหตุผล
ให้สังเกตว่า ความเห็นที่ 12 ต่อๆมา จะมีข้อความที่เห็นด้วย กับความเห็นที่ 11
แล้วกระทู้ก็จะเปลี่ยนแนว
บางที เราก็ต้องการใครสักคนกล้าที่จะพูดออกมา แล้วเราเห็นด้วย ก็พร้อมที่จะสนับสนุน แต่บางทีมันไม่กล้าที่จะเริ่มก่อนด้วยตัวเอง
+1
เรื่องนี้ทำไห้นึกถึงประโยคนึงขึ้นมาในหัว
"จงจดจำแนวความคิด ไม่ใช่ตัวบุคคล เพราะบุคคลล้มเหลวได้ ผิดพลาดได้"
ส่วนตัวผมสนับสนุนการเปิดเผยตัวตนในการแสดงความคิดเห็นครับ
แม้ว่าจะต้องกระมิดกระเมี้ยนบ้างในการแสดงความคิดเห็น
แต่ถ้าปกปิดตัวตนไปเลย บางทีมันก็ทำให้คนเรามันห่ามกันมากขึ้นครับ
แล้วมันทำให้ผู้ดูแลเว็บทำงานกันลำบากมากขึ้นอีกในการดูแลความเรียบร้อย
หัวโขนทำให้เราต้องจำกัดการแสดงออกครับ บางทีเราก็ต้องไว้หน้าคู่สนทนา ไม่กล้าแย้งหรือโต้เถียงกันตรงๆ เพราะเกรงใจความสัมพันธ์บ้าง กลัวการแก้แค้นผ่านระบบอุปถัมภ์บ้าง ฯลฯ
นิรนาม จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เรากล้าพูดเรื่องในใจจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านดี หรือด้านร้าย(สันดานดิบ) แต่มันก็คือตัวตนที่แท้จริงไม่ใช่หรือ?
สนับสนุนการแสดงความคิดเห็นแบบไม่เปิดเผยตัวตนครับในบางสถานที่ เพราะจะทำให้ไม่เกิดการชี้นำ ไม่เกิดอุปทานหมู่ ความคิดเห็นนั้นๆสะท้อนทุกสิ่งทุกอย่างของความคิดที่มีกับเรื่องนั้นๆได้อย่างตรงไปตรงมา หากเรายืนอยู่ในฐานะผู้อ่านแล้วเราจะได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ด้วยกฏหมายแบบนี้มันไม่อำนวยครับ บีบกันเป็นทอดๆไป
อิสระภาพมีโทษมหันต์แต่ก็มีคุณอนันต์เหมือนกัน
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ส่วนตัวแล้วมองว่า
นิรนาม ดีในแง่ของการแสดงความคิดเห็น เพราะไม่จำเป็นต้องปิดบังหรือกลัวสิ่งใด แต่ไม่ดีในแง่ที่ต้องแสดงข้อเท็จจริง เพราะมันเลี่ยงความรับผิดชอบได้
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
คนเราต้องการการยอมรับในสังคมครับ ในหลายๆครั้งภาพลักษณ์ที่สั่งสมมานานในโลกความเป็นจริงก็ทำให้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างเช่น(ยกตัวอย่างนะ) 'AV คนนี้เจ๋งสะบัดช่อไปเลยย หื่นได้สุดๆ' เพราะภาพลักษณ์ที่สั่งสมมาทำให้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเช่นนี้ได้
ค่อนข้างเห็นด้วยกับแบบ @kohsija ว่าสุดท้ายแล้วการเปิดเผยตัวตนทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่พูด และการพูดบนอินเทอร์เน็ท (กล่าวคือการเขียน) เป็นหลักฐานที่อยู่ยาวนาน มี Log บันทึก ทำให้เราต้องรับผิดชอบมากกว่าการพูดในโลกความเป็นจริง (ที่เราสามารถเนียนว่าไม่ได้พูดได้)
ไปดูเวป m สิครับ สุดยอดเวปข่าว แสดงความเห็นกันแบบไม่กลัวตกนรกกันเลยทีเดียวเชียว
การเป็นนิรนาม สามารถพูดเรืองจริงได้โดยไม่ต้องกลัวใครมาตามคิดบัญชี และก็สามารถใส่ไฟหลอกลวงคนอื่นโดยไม่มีทางจับตัวได้
ผมสงสัยว่าทำไม "การหลอกลวง" โดยคนนิรนาม ถึงจะถูกเชื่อในระดับที่น่ากังวลอะครับ ไม่ใช่คนที่ดูมีประวัติดี น่าเชื่อถือหรอกหรือ ที่น่าจะประสบความสำเร็จกับการหลอกลวงมากกว่า
ผมสมมุติว่าเนื้อข่าวข้างบนเป็นจริงน่ะครับที่ว่า anonymous น่าเชื่อถือและจริงใจกว่าการโพสแบบเปิดเผยตัวตน
ผมใส่หมายเหตุไว้ข้างบนในข่าวอยู่แล้วนะครับว่า น่าเชื่อถือ นี่คือ authenticity ทำนองว่าน่าเชื่อถือว่าเป็นความเห็นจริง ๆ ของผู้อ่าน ไม่ใช่ว่าน่าเชื่อถือว่าเป็นข้อเท็จจริง เรื่องนั้นมันแล้วแต่คนจะประเมินกันเอง
แสดงว่าไม่รู้จักเว็บดราม่า
สนับสนุนการเปิดเผยตัวตนครับ ถ้ากล้าคิดแล้วก็ควรกล้าพูดและกล้ารับผิดชอบด้วย
That is the way things are.
ทำไมเราต้องบังคับให้คนมีความกล้า เวลาที่จะต้องแสดงเหตุผลในเรื่องที่ถูกต้องล่ะตรับ
สมมุติว่าผมเชื่อว่าโลกกลม ในยุคที่สังคมและศาสนาบังคับให้คนเชื่อว่าโลกแบน ทำไมผมต้องแสดงตัวตนให้โดนพวกคลั่งลัทธิตามล่าตามรังควาน เพื่อที่จะบอกความจริงแก่คนทั่วไป
ประเด็นเรื่อง "การแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องแสดงตัว" นี่เราทุกคนเคยเห็นความสำคัญกันมาตั้งนานแล้วครับ
ก็การหย่อนบัตรเลือกตั้งไง
ไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่างไกลตัวหรอก
+1 ชัดเจนครับ
+1000
ถ้ามีข้อมูลไห้ดู ว่าคนใหน ชื่ออะไร เลือกหมายเลขใหน ไม่อยากจะคิดเลย ว่าจะเป้นยังใง หุหุ
อ่านๆดูแล้ว ความคิดของคนเรานี่มันซับซ้อนมากเลยฮะ
มากเสียจน supper computer ทำไม่ได้อย่างคนแน่ๆ
เช่นคนเราสามารถโกหก เพื่อรักษาน้ำใจ (computer โกหกไม่เป็น ตรงไปตรงมา)
คนเราเลือกที่จะยอมแพ้คู่ต่อสู้ เพื่อตอบแทนบุญคุณ (computer ไม่ยอมแพ้ ผมเล่นเกมหมากฮอส มันชนะผมตลอดเลย จะแกล้งแพ้ซักตาให้ผมดีใจหน่อยก็ไม่ได้)
สรุป.. ความซับซ้อนในการการประมวลผลของ computer ยังห่างชั้นกับสมองเล็กๆของมนุษย์อยู่มาก
อืม .. คงเหมือนกับเปิดโชว์ id กับใช้บัตรผ่านกระมัง
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
การปาหินใส่รถนั่นก็เป็นนิรนามนะครับ ไหวไหมนั่น ลองคิดดู
ปกติ Hacker ก็ทำตัวนิรนามอยู่แล้ว การพิมพ์ข้อความในโลกออนไลน์ไม่ใช่การปาหิน
อาจเปนไปได้ว่าข้อความที่พิมพ์จะทำให้กระจกรถแตก .. ไม่ใช่ล่ะ (ขำๆ นะฮ้าฟ)
อ่านความเห็นรวมๆ ทั้งหมดแล้วมันก็มีทั้งดีทั้ง 2 แบบแหละครับ แต่ผมว่าต้องใช้ให้ถูกเวลาและสถานที่มากกว่า
ใช่อย่างที่หลายคนพูด ว่าการระบุตัวตนได้นั้นดีกว่า เพราะมันจะมีเรื่องความรับผิดชอบเขามา
แต่ลองมองถึงในด้าน "ตู้แสดงความคิดเห็น" ผมว่า 4Chan ก็เหมือนตู้แบบนั้น
มันมีสิ่งที่คนปกติเขาจะไม่พูดกันเยอะ และตู้นี้ดีตรงคุณไม่ต้องเดินไปหยอดจดหมายลงตู้ด้วยตัวคุณเอง
เพราะคุณอาจโดนเจ้านายมีแอบติดกล้องถ่ายว่าใครมาหยอดบ้าง
และ "ตู้แสดงความคิดเห็น" นั้นก็จะไม่เป็นนิรนามจริงๆ ไป
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
Facebook ทำให้โลกประชาธิปไตยสั่นคลอน คอมมิวนิสต์เฟื่องฟู?
ผมว่าปัญหาของความนิรนาม ที่หลายคนพูดไว้ มันไม่ใช่ปัญหาของความนิรนามนะ
ปัญหาคือ ไม่ว่าคนโพสท์จะมีตัวตนหรือไม่ หากพูดสิ่งใดขึ้นมาลอยๆ โจมตีบุคคลอื่น ไม่มีหลักฐานอ้างอิง ไม่มีเหตุผล ไม่มีตรรกะ มันก็ไม่ควรเชื่อถือแต่แรกอยู่แล้ว
ตรงนี้ยิ่งแย่กว่าเสียอีก หากว่าอีกฝ่ายมีตัวตน ก็อาจอาศัยชื่อเสียง พูดโน้มน้าวโจมตีบุคคลที่ไม่ชอบ
ในทางหนึ่งคือเราลากคอคนๆนั้นมารับผิดชอบได้จริง แต่บางครั้งอาจมีคนเชื่อไปแล้วเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือสำหรับสังคมนั้นๆ และการเรียกร้องให้รับผิดชอบอาจถูกกระแสกลบหมดสิ้น ดังที่เคยเห็นบ่อยๆในดราม่าพันธิป
สรุปคือ ที่ถูก ผมคิดว่า เราควรเชื่อถือแต่ข้อความที่มีเหตุผลหรือมีหลักฐาน ไม่ว่าคนโพสท์จะมีตัวตนหรือไม่ และไม่เชื่อถือข้อความที่ไม่ใช่เหตุผลหรือหลักฐาน ไม่ว่าคนโพสท์จะมีตัวตนหรือไม่
ด้วยหลักการนี้ คนที่ไม่มีตัวตน จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะการมีตัวตน อาจทำให้คนไม่กล้าพูดอะไรที่คิดจากใจจริง
ครับ
ป.ล. แน่นอนว่าความเปนจริงไม่ได้ง่ายดายขนาดนั้น การใช้ความนิรนามเผยแพร่ข่าวลือบางทีก็มีคนเชื่อ และการมีตัวตนทำให้คนเราเซฟตัวเอง
แต่อย่างที่บอกน่ะครับ ถ้าการแลกเปลี่ยนความคิดเปนไปอย่างถูกต้อง ตามหลักการ ผมคิดว่าความนิรนามดูจะดีกว่า
จะมีคนเอาแนวความคิดนี้ไปทำเหมือน facebook ไหมน่ะ
จากการเอาคนที่เรารู้จักกันมาเชื่อมโยงกันเปลี่ยนเป็น
เอาสิ่งที่ชอบหรือเอาสิ่งที่สนใจมาเชื่อโยงกันโดยไม่เปิดเผยตัวตน
คิดเล่นๆ น่ะอิๆๆ
+100 ไอเดียนี้เลฺิศสุดๆครับ
+99 น่าทำมากครับ
จิต
ผมว่าการไม่รับรู้ตัวตนแบบนิรนามไปเลยมันสุดโต่งไป ในทางปฏิบัติเราไม่จำเป็นต้องปิดบังหรือเปิดเผยอะไรแบบหมดเปลือก อย่างที่รู้กันถ้าปล่อยให้อยู่ในที่มืดคนก็มักจะทำอะไรในด้านมืด