หน่วยย่อยที่สุดของการผลิตชิปคอมพิวเตอร์ยังเป็น "ทรานซิสเตอร์" ที่ทำหน้าที่ปล่อย/ปิดกั้นการไหลของอิเล็กตรอน ซึ่งจะกลายมาเป็นสถานะ 0 หรือ 1 ในโลกของคอมพิวเตอร์
ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ (ดังที่เราได้ยินข่าวว่าผลิตที่ระดับกี่นาโนเมตร) แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนตั้งแต่มีการสร้างทรานซิสเตอร์ขึ้นมาก็คือ "ทิศทาง" การไหลของอิเล็กตรอนที่จะไหลในแนวระนาบ (2D) เท่านั้น สิ่งที่อินเทลประกาศในวันนี้คือความสำเร็จในการสร้างทรานซิสเตอร์แบบใหม่ที่เรียกว่า Tri-Gate ซึ่งส่งกระแสอิเล็กตรอนในแนวบน-ล่างได้ด้วย (เพิ่มมาอีกมิติเป็น 3D)
อธิบายเป็นตัวหนังสือก็เข้าใจยาก ดูภาพดีกว่าครับ
ภาพจำลองโมเดลทรานซิสเตอร์ 2D (ซ้าย) และ 3D (ขวา) สังเกตตรงแท่งสีเหลืองๆ แทนการไหลของอิเล็กตรอน ว่าจะต่างกัน แบบ 3D จะนูนขึ้นมา
ภาพการทำงานจริงของทรานซิสเตอร์ 2D แบบเก่า จะเห็นเส้นเล็กๆ บางๆ แนวระนาบ แทนการวิ่งของอิเล็กตรอน
ส่วนทรานซิสเตอร์ 3D Tri-Gate แบบใหม่ เส้นจะนูนขึ้นมา
พอเข้าใจแนวคิดของทรานซิสเตอร์ 3D กันแล้ว ต่อไปก็มาดูข้อดีของมัน เมื่อกระแสอิเล็กตรอนวิ่งในแนวตั้งด้วย ทำให้การทำงานของชิปมีประสิทธิภาพดีขึ้น (หรือกินไฟน้อยลงในประสิทธิภาพเท่ากัน)
อินเทลจะนำเทคนิคการผลิตแบบนี้ไปใช้กับซีพียูรุ่นถัดไปรหัส Ivy Bridge ซึ่งผลิตที่ 22 นาโนเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับทรานซิสเตอร์แบบเดิม ผลิตที่ 32 นาโนเมตรแล้ว ประสิทธิภาพจะดีขึ้น 37% หรือในทางกลับกันคือกินไฟน้อยลงครึ่งหนึ่ง
เทคนิคการผลิตแบบนี้จะช่วยให้อินเทลยังรักษา "กฎของมัวร์" ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง
ปิดท้ายด้วยคลิปอธิบายแนวคิดของ "ทรานซิสเตอร์ 3D" จากวิศวกรอาวุโสของอินเทล ทำเป็นการ์ตูนดูสนุกใช้ได้เลยครับ
ที่มา - Intel, Engadget, VentureBeat
Comments
น่ารักดีแฮะ แต่ผมว่ามันเหมือน 2.5D มากกว่า คือมันนำกระแสเป็นสองมิติอยู่ดี แต่สร้างสันขึ้นเพื่อให้นำกระแสได้มากขึ้นเป็นสองเท่า
ตอนแรก 3D นึกว่าจะนำกระแสได้ที่ใต้พื้นพิวด้วยนะ หรือสร้างวงจรในรูปแบบสามมิติเสียอีก
ใช่ครับ ตอนผมอ่านตอนแรกก็นึกถึงการนำกระแสขึ้น-ลงเป็น state ใหม่อีกชุดเลย (เหมือนพวก Quantum Computer) ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่อย่างนั้น เป็นการสร้าง "สัน" เพื่อนำกระแสแบบ 2D ได้มากขึ้นแทน
ผมก็แอบดีใจว่าทำได้แบบนั้นเหมือนกัน แบบสร้าง Chip ให้มีขาหลายๆด้าน แผงชิปวิ่งข้ามบนล่างกันได้
สุดท้ายแค่นี้เอง ขยายเส้นขึ้นมาให้ความต้านทานต่ำลง
วิธีที่ใช้ทำ tr ในปัจจุบัน ใช้ทำหลายชั้นไม่ได้ ยกเว้นว่าจะทำแบนๆหลายๆอันแล้วค่อยมาซ๊อนกันทีหลัง ด้วยวิธีอื่น
ถ้าเป็นแบบนั้นจริงคนออกแบบจะต้องใช้จินตนาการขนาดไหนกันอยากรู้จัง
เดี๋ยวนี้ทรานซิสเตอร์กับแบตกระดุมจะเริ่มแยกกันไม่ออกแล้ว ถ้าเอามาวางแบให้ดูยังบอกยากเลยว่าทรานซิสเตอรืหรือแบต
คุณลุงน่ารักดี เดินกลับด้วย ^^
ปล. ใช้ไฟฉายขยายส่วนขอโดราเอมอนแทนก็ได้ครับ
Like
ลุงน่ารัก
การ์ตูนอธิบายได้ชัดเจนดีแถมยังประเทืองความรู้ดีอีกด้วยครับ ^^
ลุงแกโมโนโทนได้ใจ แต่พูดเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได้สนุกดี :D
กฎของมัวร์ ใกล้ไปละ
โอเค เดินกลับก็ได้ฟระ!!
ฮาโคตร
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ฮาจริง ๆ หน้าตาแก ตลกหน้าตายมาก
ฮาสุดๆ แถมหน้าตายได้อีก ขำ
positivity
ไอ้เครื่องย่อ-ขยายส่วนน่ะใหญ่ไปมั้ย ญี่ปุ่นเค้าขนาดไฟฉายเองนะ ^^
แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมจากที่ AnandTech เข้าใจง่ายดี
นึกว่า Quantum Computer ซะแล้ว
ฮาดีครับ ... ปกติจะมีแต่คนพูดเก่งๆมาเล่น ... นี่เอาลุงมาเล่นฮาๆ ... เจ๋งครับเจ๋ง
ปล.ตัวนี้นึกว่าจะเป็นแบบคิดใหม่ทำใหม่เลยเสียอีกครับ ... แต่แค่นี้ก็เนียนละครับ : )
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ชื่อทางการค้าใหม่ intel core 3d :)