เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Facebook เพิ่งเปิดให้ผู้ใช้เลือกใช้ HTTPS ตลอดเวลาได้จากความเสี่ยงที่เริ่มมีซอฟต์แวร์สำหรับแฮกออมาเป็นการเฉพาะ หากวันนี้ผู้อ่าน Blognone คนไหนยังไม่ได้เลือกตัวเลือกนี้ก็คงได้เวลาแล้วครับ เพราะมีแอพลิเคชั่นสำหรับ Android ชื่อ FaceNiff ออกมาดักจับ session ทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าดูหน้า Facebook ได้เหมือนเจ้าของ
FaceNiff รองรับทั้ง Twitter และ Facebook มันสามารถทำงานบนเครือข่ายที่ไร้สายได้รับการเข้ารหัสได้แม้ยกเว้นเพียงการเข้ารหัสแบบ EAP เท่านั้น และหากซื้อรุ่นปลดล็อก จะมีซอฟต์แวร์สำหรับโอนบัญชีที่ดักจับได้ผ่านทาง Android เข้ามาเปิดในพีซีได้
ในที่มามีให้ดาวน์โหลดมาทดสอบและศึกษาได้ แต่หากพรบ. คอมฯ ฉบับใหม่ของกระทรวงไอซีทีผ่าน แค่ "ครอบครอง" แอพพลิเคชั่นตัวนี้ก็มีโทษอาญา
ที่มา - FaceNiff
Comments
ดูวิดีโอในที่มาแล้ว อืมม ง่ายมากๆ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ขโมย cookies แล้วปล้น
Https ก็โดนได้อยู่ดีถ้าไม่ดูให้ดี :P
แบบเดียวกับ firesheep?
ถูกครับ ความเห็นผมคิดว่าพัฒนาต่ยอดจากแกะไฟเลยครับ
แฮคเกอร์เริ่มแสดงความเลวร้ายมากขึ้นทุกที
ไม่เกี่ยวข้องกับข่าวครับ แต่เกี่ยวกับ พรบ คอมฯ นิดหน่อย
บังเอิญเมื่อหลายอาทิตย์ที่ผ่านมาผมกะจะลองซื้อชุดเครื่องมือ lock picking (ไม่รู้ว่าภาษาไทยเรียกว่าอะไร "สะเดาะกุญแจ"?) เอาไว้เผื่อเปิดประตูตู้ต่าง ๆ ในบ้านเวลาหากุญแจไม่เจอ
แล้วเพิ่งรู้ว่าการครอบครองเครื่องมือประเภทเหล่านี้มันผิดกฎหมายในหลาย ๆ รัฐที่สหรัฐอเมริกา
ไม่แน่ใจเรื่องกฏหมายครับ แต่เป็นไปได้ไหมว่าประเทศอื่น ๆ มีกฏหมายห้ามครอบครองเครื่องมือที่อาจจะเอาไปใช้ก่ออาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เหมือนกัน แบบว่าเราไม่ได้นั่งเทียนคิดขึ้นมาเอง
อ้างอิงจากข่าวในย่อหน้าสุดท้าย
"ในที่มามีให้ดาวน์โหลดมาทดสอบและศึกษาได้ แต่หากพรบ. คอมฯ ฉบับใหม่ของกระทรวงไอซีทีผ่าน แค่ "ครอบครอง" แอพพลิเคชั่นตัวนี้ก็มีโทษอาญา"
งงครับ ก็รู้แล้วว่าของไทยอะผิด แต่เป็นประเทศเดียวในโลกเลยหรือ
ผมรู้แค่อีกที่ว่า ที่อเมริกาไม่ผิด (แต่การครองครองเครื่องมืออาชญากรรมหลาย ๆ อย่าง เช่น lock picking ผิด)
ผมนึกว่าอ่านผ่านตรงนั้นมาน่ะครับ ขออภัยด้วย
ผมแนะนำนิดนึง บางทีคำถามน่าจะชัดเจนกว่านี้นิดนึง เพราะเวลาที่มีคนมาตอบจะได้ไม่ต้องเดา เจตนาของคำถามมาก การตอบคำถามจะได้ตรงกับเรื่องที่คุณสนใจมากขึ้นน่ะครับ
เป็นไปได้ครับ แต่ต้องถามว่าเรากำลังเลียนแบบใคร และเพื่ออะไร ในเกาหลีเหนือ ดู Girl Generation นี่ถูกส่งเข้าค่ายแรงงานได้นะครับ เราควรเลียนแบบแล้วอ้างได้ว่าเราไม่ได้เขียนขึ้นมาเองเป็นชาติแรก????
ประเด็นสำคัญกว่าคือกฏหมายประเภทนี้ควรได้รับความเห็นในวงกว้างมากๆ ว่าเราจะเลือกแนวทางนี้จริง เราพร้อมจะทำให้การศึกษาอันตรายเหล่านี้เป็นเรื่องผิดกฏหมาย แล้วหวังว่าประเทศเราจะปลอดภัยขึ้นจริงๆ หรือ???
อีกประเด็นหนึ่งคือมันสมเหตุสมผลแค่ไหนในโลกอิเล็กทรอนิกส์ ที่เราจะทำให้การครอบครองเป็นเรื่องผิดกฏหมาย ซอฟต์แวร์แนวเดียวกันมีอยู่ใน Linux Repository เต็มไปหมด ตามมหาวิทยาลัยจำนวนมากทำ mirror เอาไว้ เรากำลังจะบอกว่าถ้าอยากทำ mirror ต้องมาคัดกรองซอฟต์แวร์พวกนี้ด้วยมือที่ละตัวว่าตัวไหนจะผิดกฏหมายไทย??? กรณีครอบครองนี้ต่างจากอาวุธหรืออุปกรณ์อื่นๆ แน่นอน เราไม่สามารถเดินๆ ผ่านร้านปืนแล้วมีปืนโผลเข้ามาในกระเป๋าเราโดยไม่ตั้งใจ
กรณี lock picking ผมไม่แน่ใจว่าคุณหมายถึงรัฐไหน และรัฐนั้นมีนิยามไว้อย่างไร คลิปหนีบกระดาษก็ทำ lock picking ได้
lewcpe.com, @wasonliw
โชคดีที่ขุนแผนไม่ได้เกิดในยุคนี้ มิฉะนั้นคาถาสะเดาะกุญแจของเขาอาจทำให้เขาติดคุกเพราะถือว่าครอบครองระบบที่เข้าข่าย Lock Picking
ผมแค่สงสัยว่ามันมีที่อื่นอีกไหม ไม่ได้แปลว่ามันถูกผิดดีชั่วแต่อย่างใด ถ้าที่อื่นมี แล้วเป็นประเทศที่น่าเชื่อถือทางกฏหมายสากล เราได้จะได้ศึกษาได้ว่าเพราะเหตุใดเค้าถึงมีกฏหมายเช่นนั้น
ส่วน lock picking นั้น นิยามในทางกฏหมายส่วนใหญ่ก็สั้น ๆ กว้าง ๆ คลุมไปหมดแหละครับ เดี๋ยวศาลไปตีความอีกที
ข้างล่างนี่เป็นของ Utah
ผมอ่านแล้วกฏหมายนี้ไม่ได้ห้ามครอบครองนะครับ แต่ห้ามครอบครอง "โดยแสดงว่ามีเจตนาจะใช้ทำอาชญากรรม" (... under circumstances manifesting an intent to use ....)
lewcpe.com, @wasonliw
ซึ่งถึงเวลาก็ต้องมาพิสูจน์กันต่อ ว่าครอบครองไว้ใช้เพื่อศึกษา หรือใช้ภายในบ้านจริงหรือไม่
คือกฏหมายแบบนี้มันล็อกสองชั้นครับ ตัวอุปกรณ์ต้องทำมาเฉพาะ และต้องครอบครองเพื่อมุ่งหมายจะใช้ก่ออาชญากรรม
แรงกว่าการอนุญาตครอบครองปรกติแน่นอน แต่มันไม่ใช่กฏหมายห้ามครอบครอง
lewcpe.com, @wasonliw
อืมม งั้นน่าจะเป็นอย่างงั้นมั้งครับ ผม copy มาจากเว็บที่เค้าคุยกันเรื่องพวกนี้อีกที
แต่ผมลองไปหาเพิ่มเติมใน wikipedia แล้ว พบว่ามันก็ยังผิดในหลาย ๆ ประเทศนะครับ เช่น Poland (ไม่มีอ้างอิง), United Kingdom (แค่เอาชุด lock pick ไปบ้านคนอื่นก็ผิด), หรือ หลาย ๆ ที่ใน Australia (ต้องมี license)
ทำให้สงสัยต่อว่าถ้าแก้กฏหมายอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ให้แบบมี license ครองครองเครื่องมือ hacking ต่าง ๆ ได้จะเป็นไปได้หรือไม่ (คงวุ่นวายและสิ้นเปลืองน่าดู) หรือเติมวลีประมาณว่า "ผิดเมื่อมีเจตนา..." จะเพียงพอหรือไม่
อันนั้นเป็นมาตรการควบคุม ก็ต้องหาจุดลงตัวที่สมเหตุผลกันต่อไปครับ
แต่ผมไม่สนับสนุนการห้ามครอบครองแบบลอยๆ ดังร่างที่เสนอมาแน่นอน ร่างนั้นเตรียมจะนำเข้าสู่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งถ้าเข้าไปทั้่งอย่างนั้นจริงผมมองว่ามันเลวร้ายมาก
lewcpe.com, @wasonliw
update: ทดสอบแล้วได้ผล Network ล่มทันตาเห็นเมือเราสตาร์ท FaceNiff
WiFi ที่ Android ไอพี 192.168.1.99
Gateway ไอพี 192.168.1.2
เมื่อสตาร์ท FaceNiff
มันจะ Get ไอพีจากเครื่อง DHCP Server อีกครั้งโดยใช้ Mac address ของ WiFi ซึ่งจะได้ไอพีเป็น 192.168.1.2 นั้นหมายความว่าไอพีไปชนกันเครื่อง Gateway ครับ ที่นี่ล่ะงานเข้าครับ
fix IP ใน android ไว้ก่อนได้ไหมครับท่าน
เครื่องอื่นๆ จะส่ง packet มาหาเราได้ไง
โห.... FaceNiff มันใช้ ARP Poisoning ด้วยเหรอเนี่ย ไม่ใช่แค่ Session Hijacking แล้วสินะ
มิน่าถึงได้หมดกับ WEP/WPA1/2-PSK แต่ไม่ได้กับ EAP
ประเด้น lock pick ก็คงคล้ายๆ กับมีดปอผลไม้แต่ฆ่าคนตายได้ เถียงกันไม่รู้จบ สุดท้ายก็ต้องไปพิสูจน์กันในศาลบอ่ะครับ
55+
แต่ แฮกเกรอืนี่ร้ายจริงๆ