ข่าวต่อเนื่องจากผลการประมูลซื้อสิทธิบัตร Nortel ที่พันธมิตร "ไมโครซอฟท์, แอปเปิล, RIM, EMC, Ericsson, และโซนี่" ชนะประมูลด้วยวงเงิน 4.5 พันล้านดอลลาร์ ปล่อยให้กูเกิลพ่ายแพ้และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องละเมิดสิทธิบัตรมากขึ้นไปอีก
แต่เส้นทางของพันธมิตรทั้ง 6 รายก็เริ่มไม่สดใสเหมือนกัน เพราะหนังสือพิมพ์ Washington Post รายงานข่าววงในของรัฐบาลสหรัฐว่า หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดธุรกิจหลายแห่งของสหรัฐ กำลังจะสอบสวนข้อหาร่วมมือกันสร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม จากกรณีซื้อสิทธิบัตรของ Nortel
นอกจากข่าวลือนี้แล้ว องค์กรอิสระที่จับตาด้านการผูกขาดอย่าง American Antitrust Institute ก็เข้ายื่นหนังสือกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐให้ลงมาสอบสวนเรื่องนี้เช่นกัน
ที่มา - Washington Post
Comments
google ดวงดีจริงๆ
แหม google เป็นธรรมนักล่ะ 55555
ส่งมาสู้กันฝ่ายละฝั่ง ดูจะแมนกว่ารวมหัวรุมยำคนอื่นเค้านะ
อันนี้มีข่าวต่อเนื่องที่ผมไม่ได้เขียน คือกูเกิลเองก็จับมือกับอินเทลระหว่างที่ไล่ราคากันครับ เป็นข้อตกลงในการประมูลว่าคนที่ยังประมูลต่อสามารถไปเรียกคนที่แพ้ไปแล้วให้มารวมตัวกันได้
lewcpe.com, @wasonliw
เป็นเช่นนี้นี่เอง
เท่าที่ติดตามข่าวสารมาพอสมควร ผมยังไม่เคยเห็น google ไล่ฟ้องเรื่อง สิทธิบัตร กับคนอื่น
ผมเห็นแต่ google ซื้อมาแล้วแจกฟรี
Saint. Google?
ใช้ฟรีครับ แต่แน่นอนว่ามีผลประโยชน์อยู่ และผลประโยชน์นั้นคือรายได้หลักของกูเกิลนะครับ
ถ้าคุณขายน้ำยี่ห้อนึงอยู่ แล้วผมเข้ามาในตลาดโดยมีเงินสดมหาศาลอยู่ในมือ และให้น้ำเปล่าที่คุณภาพเท่าเทียมกันแจกฟรีแก่ทุกคน โดยมีตัวโฆษณาใหญ่ๆอยู่กับฉลากเป็นการลดการขาดทุนบ้าง เพื่อว่าภายในสองปีคู่แข่งจะตายหมด และตัวเองจะได้กลายเป็นเจ้าตลาดแทน แบบนี้ดีหรือไม่ดีครับ
(แน่นอนในตลาดจริงๆมันมีค่าใช้จ่ายต่างๆที่สามารถคิดออกมาแน่นอนได้ ดังนั้นก็จะมีหน่วยงานที่คอยควบคุมเรื่องนี้ ไม่ให้ผู้เล่นรายใหญ่ใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ได้ แต่ในโลกคอมพิวเตอร์นั้น ยากมากที่จะหาอะไรมากำหนดสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นกูเกิ้ลก็เลยใช้แนวคิดนี้ในการดำเนินธุรกิจเรื่อยๆท่ามกลางคำสรรค์เสริญของคนจำนวนไม่น้อยที่ชอบของฟรีดีๆ)
ปล.ผมชอบ Google SketchUp มากคับ ^^
ผมไม่ชอบการทุ่มตลาดเลย หวานแค่ตอนแรกเท่านั้นเอง
ผมเห็น google ยัง search free อยู่นะครับ
...
ช่วงหลังๆ Google ก็โดนสอบเละเลยนะครับ ดูข่าวเก่าในหมวด Antitrust ได้ครับ
นั่นดิ ผมละสงสัยเวลาทีไมโครซอฟท์ผนวกไออีไปกับวินโดว์ถูกฟ้องร้องข้อหาผูกขาดและไม่เป็นธรรมต่อคู่แข่ง แต่พอกูเกิ้ลแจกสะบัดจนชาวบ้านสู้ไม่ไหวกลับบอกว่าถูกต้อง
มุมมองของ End User คงเป็นอย่างนั้นครับ ถ้าได้โปรแกรม/ บริการฟรี ก็เรียกว่าถูกต้อง ทั้งที่ของฟรีจริง ๆ มันไม่มีในโลก
+1
มันก็ดีกว่า เอาไปแล้วหากินทางตรงและทางอ้อม เพราะถ้าเกิดการผูกขาดขึ้น ราคาในสิ่งต่างๆก็จะแพงแบบ iphone ผูกขาด ios ใครอยากใช้ iphone ต้องซื้อในราคาแพง แต่ให้ spec ที่ต่ำกว่า
คุณควรศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง Business Model นะครับ Apple กับ Google มีไม่เหมือนกัน
+1 เป็นวิธีหารายได้ของแต่ละคน แต่ทั้ง 2 คนก็สร้างความก้าวหน้าใหม่ๆขึ้นมา User ก็ได้ประโยชน์กันทุกคน
+1
ในเมื่อมันมีอยู่แค่สองฝ่าย ต้องให้กูเกิ้ลชนะถึงจะเป็นธรรมเหรอ แล้วจะจัดประมูลกันไปเพื่ออะไร ใครเงินหนากว่าก็ควรได้สมควรแล้วนิ
ถ้าอธิบายแบบสั้นๆ เป็นภาษาไทยก็คือ ทางหน่วยงานรัฐเกรงว่าฝ่ายพันธมิตรจะเกิดการ "ฮั้ว" น่ะครับ
แก้ๆๆๆๆๆๆๆ
ในกรณีนี้ไม่น่าจะเป็นการฮั้ว น่าจะเป็นการลงทุนร่วมกัน การฮั้วจากการเทียบเคียงบ้านเราเป็นการแอบตุกติกร่วมมือกันวางแผนเพื่อให้ได้มาโดยการลงทุนต่ำ ทำให้ผลประโยชน์ต่อรัฐต่ำกว่าความเป็นจริง
UTV+IBC = UBC --> TRUE MOVE แบบนี้ ฮั้วไหม/ผูกขาดไหม ตกลงมีเหลือแค่ licensed เดียว
True Vision ??
อันนี้ประเทศไทยครับ สามจียังผูกขาดเลยครับ
Thailand ครับ
พอเป็น UBC ก็ขึ้นราคาเลย พอกลายเป็น TRUE นี่เรียกว่าพุ่งเลยรายเดือน
แต่พันธมิตรหกเจ้าไม่ได้ควบรวมกิจการแบบนี้นี่ครับ?
การร่วมมือกันทางธุรกิจไม่จำเป็นต้องควบรวมกิจการ
การร่วมมือกันทางธุรกิจ ไม่ได้ส่งผลผูกขาดเท่าการควบรวมกิจการครับ
ไม่ได้บอกว่ามันไม่ใช่การผูกขาดแน่นอนนะ แต่มันมีความสุ่มเสี่ยงน้อยกว่า
กรณีนี้แค่เริ่มต้นสอบสวน ผลออกมาอาจจะไม่ได้ผิดจริงก็ได้ แค่สุ่มเสี่ยง
ซึ่งกฏหมายต่างประเทศคงไม่เอา "สุ่มเสี่ยง" มาตัดสินว่า "ผิด" เหมือนบ้านเรา
เข้าใจว่าหมายถึง True Visions มากกว่าใช่ไหมครับ
จริงๆ การค้าแบบนี้ก็ถือว่าผูกขาดแบบ Monopsony หรือรายเดียวเป็นเจ้าของตลาดน่ะครับ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นปกติ ไม่ใช่ของแปลก เพราะบางอุตสาหกรรมอาจจะแข่งไม่ได้จริงๆ ถ้าจะให้เทียบกรณีคล้ายๆ ก็น่าจะเป็น Google กับ search engine ในหลายๆ ประเทศรวมถึงไทย ที่ไม่มีคู่แข่งเลย หรือจะเป็นไมโครซอฟท์กับ Windows/Office (ในบางช่วงเวลา) ก็พอได้
สถานการณ์แบบนี้ ฝ่ายรัฐที่เป็นกรรมการจะต้องเข้ามาตรวจสอบอย่างเข้มข้นครับ ซึ่งในอดีต กรณีของสหรัฐก็เข้ามาแยกบริษัท Standard Oil กับ AT&T (เพื่อให้มีหลายบริษัทแข่งกัน) จนโด่งดังมาแล้วในอดีต
ถ้านับบริษัทเดี่ยว ๆ สงสัยหวยจะไปออกที่ GG รึเปล่า ?
คะ คะ คดี... พลิก!
ทำให้นึกถึงบริษัทไทยถ้าถูกซื้อไปก็กลายเป็นต่างชาติ การอ้างว่าเป็นบริษัทไทยก่อนหน้านั้นจะมีความหมายอะไรแล้วมีอะไรป้องกันบ้างไหมถ้าเกิดการผูดขาดไปแล้ว ? โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพราะธุรกิจสมัยนี้ทำกันได้ทุกอย่างเพราะเงินไม่ใช่อุดมการณ์ระดับประเทศกระทั่งรัฐวิสาหกิจ(โดยเฉพาะตัวใหญ่ๆ)พยายามให้คิดถึงกำไรและพาให้ชาวบ้านคิดว่าทำไมถึงขาดทุน แล้วถ้ามีกำไร ชาวบ้านก็ไม่คิด(หรือคิดไม่ถึง)ว่ากำไรก็มาจากเงินที่ตัวชาวบ้านเองเสียไป
ป.ล. สงสัย การค้าเสรี กับ การค้าแบบสมคบ คงห่างกันไม่มาก
ทำไมดูเหมือนหน่วยงานรัฐประเทศเขาพึ่งพิงได้ดีจัง เฮ้อ...
อินเทลนี่ถอนตัวเจ้าแรกเลยไม่ใช่หรือ ส่วนกูเกิ้ล กับ Apple นี่ก็มีโอกาสไปคุยกับใครในกลุ่มพันธมิตรก็ได้ ปัญหาคือ ตอนหลังกลายเป็นว่าในการประมูล มันเหลือแค่ กูเกิ้ล กับพันธมิตร 6 บริษัท เป็นธรรมหรือไม่มากกว่า เพราะแน่นอน 6 บริษัทย่อมมีศักยภาพมากกว่าในการลงเงิน ถึงแม้ว่า กูเกิ้ลจะมีเงินสดหลายพันล้านก็ตาม สมมุติว่ากูเกิ้ลไปจับมือกับพันธมิตรกลายเป็น 6 บริษัทแทน Apple แล้ว พันธมิตรชนะเหมือนเดิม ส่วน Apple แพ้ รัฐบาลสหรัฐจะสอบสวนหรือไม่ อะไรคือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ไม่ได้บอกนี่ว่าต้องประมูลเดี่ยว Consortium ประมูลไม่ได้ อีกอย่าง Nortel เป็นบริษัท Canada ไม่ใช่ บริษัทอเมริกัน เรื่องนี้น่าคิด....
ผมว่าก็น่าจะฟ้องนะ มันไม่ได้อยู่ที่ใคร แต่มันอยู่ที่ว่าการกระทำมันเป็นอย่างไรมากกว่า
อ่อ! ก็แปลกนะตอน AMD ซื้อ ATi เป็นบริษัท Canada ทำไมไม่เกิดเรื่อง หวังว่าคงไม่ใช่ปัญหาเรื่องเงินบริจาคพรรคการเมืองแบบอเมริกัน หรือว่ามีอะไรที่ยังผูกกับ Bell ในอดีต หรือ at&t ?
AMD ไม่ได้ทำการ์ดจอครับ
จบ
แสดงว่าถ้าตอนนั้น intel ซื้อไปนี่"เป็นเรื่อง"
ถึงซื้อไป intel ก็ไม่ได้ dominate ตลาดการ์ดจออยู่ดีครับ...
ลองไปอ่านเรื่องกฏหมายผูกขาดที่อเมริกาดูไปพลางๆ ก็ได้ครับ
ผมว่า Intel + AMD เข้าไปนี่เกือบจะผูกขาดตลาดการ์ดจอแล้วนะครับ เพราะ Intel เป็นผู้ขายรายใหญ่อยู่แล้ว
แล้วถ้าหากเป็น
กรณีสมมุติว่า intel จะซื้อ nVIDIA แต่ท้ายสุดผู้ซื้อกับเป็น AMD
อีกกรณีปัจจุบัน intel กับ AMD ดูเหมือนแข่งกันแบบแบ่งส่วนกันทำตลาด และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ด้านชุดคำสั่งพิเศษ กับชุดคำสั่งเพิ่มเติม จากช่องว่างถือว่าผู้ผลิตซอร์ฟแวร์กับระบบปฏิบัติการสมัครใจใช้ โดยให้ผู้ซื้อเป็นผู้เลือกจากการจำกัดนี้
แล้วสมมุติว่า intel ซื้อ(หรือว่ารวม"สองบริษัท") AMD แต่ยังมี VIA
สภาพก็เลยเป็นอย่างที่เห็นที่ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการกับซอร์ฟแวร์ต้องพากันหาทางเลือกใหม่อย่าง ARM แต่ถ้าผู้ผลิต ARM ไม่พัฒนาผลิตภัณฑ์ถึงขนาดนี้(มีแค่สถาปัตย์ไม่มีตัวสินค้า)
ทำให้งงกรณี Microsoft เกี่่ยวกับ Windows ทั้งๆที่มี Linux กับ Mac อยู่เล็กน้อยในตอนนั้น ทำไมถึงโดนว่าผูดขาด รบกวนช่วยชี้แนะให้ความกระจ่างด้วยครับ
ก็ต้องทำสิครับ ทำไมคุณถึงคิดว่าจะไม่ทำล่ะครับ? มี bias อะไรเป็นการส่วนตัวรึเปล่า
ลบ(ขออภัย มองพลาดจ้า~)
ไม่ใช่ว่าหน่วยงานที่ว่านี้จะเป็นฝ่ายไปสอบสวนเขาเหรอครับ ?
นั่นสิ ผมยังงงๆ ว่าฝ่ายต่อต้านการผูกขาดทำไมโดนสอบสวน
ดูจากลักษณะการเข้าซื้อสิทธิบัตรไม่น่าจะเรียกว่าการผูกขาด เป็นการร่วมมือกันน่าจะเหมาะสมกว่า ทั้ง 6 รายสามารถนำสิทธิบัตรมาใช้กับตนได้ ไม่ได้ถูกครอบครองโดยบริษัทเดียว คิดว่ายังไงก็เอาผิดกับ 6 เจ้าสำนักไม่ได้
ผูกขาด หรือ antitrust != รายเดียว
ู^
อาจจะเป็นช่วงโหว่ของกฏหมายก็ได้ ฮา...
สิทธิบัตรที่ว่านี่มีจำนวนมากและค่อนข้างครอบคลุมเป็นวงกว้างหรือครับ ถึงทำให้ถ้าคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่สามารถครอบครองไว้ได้มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดการผูกขาดทางเทคโนโลยีได้ หรืออีกประเด็นที่โดนฟ้องเพราะกลุ่มได้ที่สิ ทธิบัตรไปมีแนวโน้มสูงที่จะเอาไว้ใช้กีดกันคู่แข่งหรือใช้เป็นเครื่องมือในการฟ้องร้องคู่แข่้งเป็นหลักแทนที่จะใช้สิทธิบัตรในการสร้่างสรรค์แทน อันนี้ความเห็นส่วนตัวล้วนๆครับ เหอๆ แล้วผมก็คิดว่าถ้า google ได้แต่แรกก็ไม่น่าจะโดนสอบสวนภายหลังด้วยมั้ง นะ
ต้นฉบับอธิบายไว้หมดแล้วครับ ตามไปอ่านได้
ทำไมถึงคิดว่าถ้า GG เป็นฝ่ายชนะประมูลแล้วไม่น่าจะโดนสอบสวนด้วยละครับ งง
ในกลุ่มนักพัฒนาแอปสำหรับ Android อยากให้ Google ชนะและครอบครองสิทธิบัตร เพราะจะได้เปิดโอกาสให้มีการนำสิทธิบัตรมาพัฒนาต่อยอดได้ ทั้งกลุ่มผู้ผลิตโทรศัพท์และนักพัฒนาแอป และคิดว่า Google น่าจะเปิดโอกาสให้เข้าถึงสิทธิบัตรได้ง่าย ใจกว้างกว่า
ยังไงฝ่ายไหนจะชนะก็น่าจะต้องถูกสอบสวนทั้งนั้นแหละครับ เพราะสิทธิบัตรมันมีมูลค่าสูงสร้างอำนาจการต่อรองได้มาก ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและองค์การที่มีหน้าที่ตรวจสอบครับ ไม่ใช่ขึ้นกับอารมณ์ของผู้ผลิตโทรศัพท์และแอป
สิทธิบัตรก็คือใบอณุญาตให้ผูกขาดไม่ใช่เหรอ
หรือเราสามารถฟ้องเจ้าของสิทธิบัตรให้ขายไลเซนส์ให้เราถูกๆหรือในราคาที่ทำให้เราแข่งขันกับเจ้าของได้
น่าสนใจดีนะ
เจอสิทธิบัตร ประเทศจีนเข้าไป หงายเงิบกันเลยทีเดียว