แม้ว่าเครื่องเมนเฟรมจะเสื่อมความนิยมไปจากตลาดหลักแล้วก็ตาม แต่บริษัทอย่างไอบีเอ็มก็ยังทำรายได้จากเมนเฟรมอย่างเป็นกอบเป็นกำ และวันนี้ไอบีเอ็มก็เปิดตัวเครือง zEnterprise 114 ซึ่งเป็นเมนเฟรมที่มาราคาเริ่มต้น 75,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2,200,000 บาทเทียบกับรุ่นปีที่แล้วคือ zEnterprise 196 ที่ราคาเริ่มต้น 100,000 ดอลลาร์หรือประมาณ 3,000,000 บาท
zEnterprise 114 สามารถรันระบบปฎิบัติการได้ทั้ง zOS, zLinux, หรือ AIX ส่วนตัวเบลดนั้นสามารถสั่งได้ทั้งแบบ POWER7 หรือ x86 ทำให้ zEnterprise 114 เป็นระบบคอมพิวเตอร์ลูกผสมสำหรับลูกค้าที่ต้องการรันแอพลิเคชั่นบนเมนเฟรมคู่ขนานไปกับลินุกซ์ และยังมีแนวโน้มว่าไอบีเอ็มจะประกาศซัพพอร์ตวินโดวส์ภายในปีนี้ ทำให้เมนเฟรมตู้เดียวอาจจะพอสำหรับการรันแอพลิเคชั่นของทั้งองค์กรไปพร้อมๆ กัน
การรับ x86 และลินุกซ์เข้ไปเป็นส่วนหนึ่งของเมนเฟรมอาจจะเป็นทางออกสำหรับองค์กรที่ต้องการอัพเกรดแอพลิเคชั่นออกจากยูนิกซ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป อีกทางหนึ่งลูกค้าที่ใช้เซิร์ฟ x86 แต่ต้องการระบบการจัดการรวมที่ดีกว่าอาจจะเลือกซื้อเมนเฟรมไปเพื่อใช้แอพลิเคชั่นลินุกซ์หรือวินโดวส์ก็ได้
ที่มา - InformationWeek
Comments
จริงๆๆ ibm ก็ ใช่ cpu ของ amd เยอะอยู่น่าๆๆน่าจะ ซื้อ amd มา แล้ว กับไปเอา thinkpad กับมาทำเอง ด้วย เลยนะคับๆๆ
ข่าวต่อไป... คนไทยสร้างเมนเฟรม ราคาต่ำกว่า 1 แสนบาท......ฝัน
โห๊ะๆ สนับสนุน x86 และในอนาคตหากสนับสนุนแพลตฟอร์มวินโดวส์ด้วยนี่ ลูกค้าจะได้ย้ายค่ายจากวินโดวส์ไปลินุกซ์เยอะแน่ๆ
ป.ล. สงสัยเพราะข่าวนี้มาดึก ทำให้มีพิมพ์แปลกๆ หลายที่เลยครับ ^^
ลินุกซ์เข้ไปเป็นส่วนหนึ่ง > ลินุกซ์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง
zOS, zLinux มันต่างยังไงกับ OS และ Linux ทั่วไปยังไงครับ เป็นชื่อโอเอส (เช่น Debian, Ubuntu, Mint) หรือระบบ
zOS คือระบบปฏิบัติการเฉพาะของ MainFrame ครับ พัฒนาต่อยอดมาจาก OS/390
ส่วน zLinux คือ Linux ที่ได้มีการ compile kernel ใหม่ให้สามารถใช้งาน CPU ของ MainFrame ได้ครับ จริงๆ แล้วก็ใช้งาน zLinux บน Hardware MainFrame ก็ต้องมีการแบ่ง Partition พิเศษให้ ไม่เหมือนกับ Partition ปกติของ zOS ด้วยนะครับ
ปล. CPU ของ MainFrame นี่อาจจะนึกกันไปว่าเป็น Chip ตัวเดียวใหญ่ๆ แต่จริงๆ แล้วมันคือ Board 1 Board เลย Chip บนนั้นเป็นขโยง เครื่อง MainFrame ตัวนึงใส่เป็นสิบ (แล้วแต่รุ่น)
ขอบคุณครับ
ลูกค้า คงไม่ย้ายค่ายง่ายๆ หรอกมั้งครับ
เมนเฟรมเป็น เครื่องกึ่งเฉพาะ ดังนั้นลูกค้ามักจะยึดติดแพลตฟอร์มเดิมๆ มากกว่าจะย้ายค่าย เพราะความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ถ้าจะหากินก็คงจะได้กับลูกค้ารายใหม่มากกว่า แต่จะมีกี่รายที่ เล่นเมนเฟรม
ปัจจุบันมักจะเน้นไปทาง cluster กันมากกว่านะ โครตเซิฟเวอร์ในตลาดส่วนใหญ่ก็ Xeon