IBM เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมรุ่นใหม่ (ที่น่าจะเหลือทำอยู่บริษัทเดียวแล้ว) คือ IBM z16 ที่ต่อยอดมาจาก z15 ในปี 2019
จุดเด่นของ IBM z16 คือซีพียูใหม่ Telum ที่เปิดตัวมาก่อนเมื่อปีที่แล้ว มีจุดเด่นด้านการประมวลผล AI รองรับได้ 3 แสนล้าน inference ต่อวัน ซึ่ง IBM ยกตัวอย่างว่าสามารถนำไปใช้ในภาคการเงิน เพื่อป้องกันธุรกรรมที่ผิดปกติ (fraud) ได้ในขนาดที่เยอะกว่าเดิมมาก
Fujitsu ประกาศแผนการหยุดผลิตเซิร์ฟเวอร์เมนเฟรม และเซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์ที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม SPARC
Fujitsu ให้เหตุผลว่าตลาดโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีเปลี่ยนไป โลกหมุนไปทางคลาวด์และไฮบริดมากขึ้น และบริษัทเองก็เริ่มปรับโมเดลธุรกิจมาเป็นการให้เช่าตามปริมาณการใช้งานจริง (as-a-service) จึงได้เวลาหยุดขายและซัพพอร์ตสินค้ารุ่นเก่าๆ
คอมพิวเตอร์เมนเฟรมกับคลาวด์อาจเป็นเทคโนโลยีคนละยุค ที่ฟังชื่อแล้วดูห่างไกลกันมาก แต่ถ้ามีหน่วยงานที่ต้องการเช่าเครื่องเมนเฟรมผ่านคลาวด์ ตอนนี้ IBM เปิดให้ทำได้แล้ว
IBM ถือเป็นผู้ขายเมนเฟรมรายใหญ่ของโลก เป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการ z/OS ของตัวเอง ประกาศทำ Wazi as a Service (Wazi aaS) เปิดให้เช่าเครื่อง z/OS แบบออนดีมานด์ผ่านคลาวด์ IBM Cloud VPC โดยจะเริ่มให้บริการในช่วงครึ่งหลังของปี 2022
กลุ่มเป้าหมายของบริการ IBM Wazi aaS คือลูกค้าองค์กรที่มีเครื่องเมนเฟรม Z ของ IBM อยู่แล้ว แต่ต้องการหาเครื่องมาทดสอบการพัฒนาแอพเพิ่มเติม โดยไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ให้เปลืองงบประมาณ
IBM เปิดตัวหน่วยประมวลผลใหม่ Telum ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลรุ่นแรกของ IBM ที่มีชิปเร่งความเร็วประมวลผล AI ที่พัฒนาเองโดย IBM Research ใช้เวลาพัฒนามานาน 3 ปี
Telum จะถูกนำมาใช้ในเซิร์ฟเวอร์เมนเฟรมตระกูล IBM Z และ LinuxONE รุ่นถัดไป แทนชิป z15 ตัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
สเปกทางเทคนิคของ IBM Telum เท่าที่เปิดเผยคือ
BMC บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับลูกค้าองค์กร ประกาศเข้าซื้อกิจการ Compuware ผู้พัฒนาโซลูชันซอฟต์แวร์บนเมนเฟรม โดยไม่เปิดเผยมูลค่าของดีล
การควบรวมกิจการของสองบริษัทนี้ BMC ระบุว่าจะทำให้บริษัทมีชุดเทคโนโลยีสำหรับลูกค้าองค์กรในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ DevOps ที่ครบถ้วนมากขึ้น ทั้งการจัดการเมนเฟรม, ความปลอดภัยไซเบอร์, การพัฒนาแอพพลิเคชั่น, การจัดการข้อมูล และการจัดการสตอเรจ
ที่น่าสนใจคือทั้ง BMC และ Compuware เป็นสองบริษัทซอฟต์แวร์บนเมนเฟรมที่เป็นคู่แข่งมานาน ซึ่งก็มาควบรวมกิจการกันในที่สุด
IBM ประกาศเปิดตัว z15 เป็นสินค้าชิ้นใหม่ในไลน์คอมพิวเตอร์เมนเฟรม IBM Z โดยตัวเครื่องสามารถประมวลผลงาน web transaction ได้สูงสุดถึง 1 ล้านล้านครั้งต่อวัน รองรับการรันฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และรันลินุกซ์คอนเทนเนอร์ได้สูงสุดถึง 2.4 ล้านคอนเทนเนอร์
ตัวเครื่องเมนเฟรมจะอยู่ในตู้แร็คขนาด 19 นิ้ว มีเมนเฟรม 1-4 เครื่องรวมกันเป็น 1 ระบบ ซึ่งตัวเครื่องนี้เล็กกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่าง z14 ทำให้ผู้ใช้ประหยัดพื้นที่กว่ารุ่นเดิม 50% และประหยัดไฟกว่าเดิม 10% โดยสเปคของตัวเครื่องเมื่อเทียบกับ z14 แล้ว มีจำนวนคอร์ซีพียูมากกว่า 12% และเมมโมรี่มากกว่า 25% ซึ่ง IBM ระบุว่าเมนเฟรมนี้ใช้เวลาพัฒนาต่อเนื่องกว่า 4 ปี และมีสิทธิบัตรในกลุ่ม IBM Z กว่า 3,000 รายการ
IBM เปิดตัวคอมพิวเตอร์เมนเฟรมตระกูล Z รุ่นใหม่ (นับเป็นรุ่น z14 แล้ว) จุดเด่นคือสมรรถนะระดับสูงพอที่จะ "เข้ารหัสทุกสิ่งทุกอย่าง" ในทุกแอพพลิเคชันตลอดเวลา
IBM ระบุว่าโลกปัจจุบันจำเป็นต้องเข้ารหัสข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การเข้ารหัสมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพและความซับซ้อนในการจัดการ ส่งผลให้ IBM z14 พัฒนาเอนจินเข้ารหัสทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นถึง 7 เท่า (เทียบกับ z13) และคุยว่าเหนือกว่าระบบที่เป็น x86 ถึง 18 เท่า
นอกจากประสิทธิภาพเรื่องเข้ารหัสแล้ว IBM z14 ยังมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย ที่ปกป้องกุญแจเข้ารหัสที่ระดับฮาร์ดแวร์ (ผ่านมาตรฐาน FIPS ของรัฐบาลสหรัฐที่ level 4)
ภาษา COBOL เริ่มพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน และใช้เรื่อยมาจนบูมในยุคเมนเฟรมช่วงปี 1960-1980 แม้ว่าจะเสื่อมความนิยมไปนานแล้ว แต่ตอนนี้ก็ยังมีองค์กรขนาดใหญ่มากกว่า 5,000 บริษัทมีระบบสำคัญรันอยู่บนเมนเฟรมโดยไม่สามารถหยุดใช้งานได้ ตอนนี้ LzLabs สตาร์ตอัพจากสวิสเซอร์แลนด์ ออก LzLabs Software Defined Mainframe (SDM) ทำให้สามารถย้ายแอปจากเมนเฟรมขึ้นไปรันบน Red Hat Enterprise Linux ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดใหม่
ปัญหาสำคัญของแอปเก่าๆ เหล่านี้คือเครื่องเมนเฟรมเหล่านี้หาผู้ดูแลระบบมาดูแลยาก SDM ทำตัวเป็นคอนเทนเนอร์สำหรับรันแอป COBOL เหล่านี้ พร้อมชุดเครื่องมือสำหรับการย้ายแอปจากเครื่องเมนเฟรม
ปีที่แล้ว Open Mainframe Project รับเอาโค้ดเมนเฟรมจากไอบีเอ็มเข้ามาดูแลเป็นโครงการโอเพนซอร์ส ปีนี้ทางโครงการก็ประกาศองค์กรที่เข้าร่วมเพิ่มเติม บริษัทสำคัญคงเป็น Hitachi Data Systems (HDS) ที่จำหน่ายระบบสตอเรจระดับสูง นอกจากนี้ก็มีการประกาศแนวทางการพัฒนาให้ลินุกซ์สำหรับเมนเฟรมรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้มากขึ้น
กลุ่มเทคโนโลยีที่จะเน้นการพัฒนาให้เมนเฟรมรองรับในปีนี้ได้แก่
ทีมงานโอเพนซอร์สของไอบีเอ็มพอร์ตภาษา Go ของกูเกิลไปรันบน System z s390x พร้อมกับเปิดให้ดาวน์โหลดบน Github เคียงคู่กับโครงการอื่นๆ ที่ไอบีเอ็มพอร์ตไปยัง System z เช่น Cassandra, Spark, Mongo
ภาษา Go เปิดตัวในปี 2009 มีจุดเด่นที่วางกระบวนการทำงานขนานตั้งแต่ต้น กระบวนการสร้างเธรด (goroutine) และการสื่อสารระหว่างกันเป็นธรรมชาติของภาษาตั้งแต่ต้น และเป็นภาษาแห่งปีของดัชนี ITOBE จากการได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และตอนนี้คาดว่าจะเข้ามาอยู่ในทำเนียบภาษาที่ได้รับความนิยม 50 ภาษาแรกเร็วๆ นี้
เดือนที่แล้ว IBM เปิดตัว LinuxOne เมนเฟรมสายเลือดใหม่พลังลินุกซ์ วันนี้ผมได้รับเชิญจาก IBM ประเทศไทย มาร่วมงานสัมมนา IBM Connect 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์ ในงานมีหัวข้อเกี่ยวกับ LinuxOne พอดี เลยนำข้อมูล พร้อมภาพ LinuxOne ตัวจริงๆ มาฝากกันครับ
ข่าวใหญ่ของโลกไอทีวันนี้ เพราะอาจถือเป็นจุดอวสานของคอมพิวเตอร์เมนเฟรมแบบดั้งเดิม เมื่อ IBM ประกาศสนับสนุนการใช้งานลินุกซ์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สบนเครื่องเมนเฟรมของตัวเอง แทนระบบปฏิบัติการ z/OS ที่ใช้มาแต่เดิม โดยมีรายละเอียดดังนี้
IBM Model 1401 เป็นคอมพิวเตอร์เมนเฟรมสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ไอบีเอ็มให้บริการเช่าใช้งานเดือนละ 2500 ดอลลาร์ นับเป็นคอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงช่วงที่มีการใช้งานสูงสุดมีมากกว่าหมื่นเครื่อง ล่าสุด Ken Shirriff ผู้ชื่นชอบคอมพิวเตอร์เก่าได้สาธิตใช้ Model 1401 มาขุดบิทคอยด์ได้สำเร็จ
Model 1401 ไม่ได้ใช้ระบบไบต์ขนาด 8 บิตเช่นคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันแต่ใช้ไบต์ขนาด 6 บิตแทน และชุดคำสั่งไม่มีคำสั่งประมวลผลบิตโดยตรง Shirriff ต้องพยายามแปลงคำสั่งเพื่ออิมพลีเมนต์ฟังก์ชั่น SHA-256 ที่จำเป็นสำหรับการขุดบิทคอยน์
อ่านข่าวสมาร์ทโฟนกันมาเยอะ มาดูข่าว "เมนเฟรมใหม่" กันบ้างนะครับ
IBM เปิดตัวเมนเฟรมรุ่นใหม่ z13 โดยเป็นเมนเฟรมตัวท็อปที่มีศักยภาพประมวลผลธุรกรรม (transaction) ได้มากถึง 2.5 พันล้านธุรกรรมต่อวัน เป้าหมายของ IBM คือสร้างคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง พร้อมสำหรับโลกอนาคตที่มีธุรกรรมผ่านอุปกรณ์พกพาจำนวนมหาศาล
เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นางลินดา เคอร์ตัน (Linda Cureton) ซีไอโอขององค์การอวกาศนาซ่า (NASA) ได้เขียนบนบล็อกของนาซ่าว่า "เดือนนี้นับเป็นจุดสิ้นสุดของยุคแห่งวิชาการคอมพิวเตอร์ที่นาซ่าอีกหนึ่งยุค ศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล (Marshall Space Flight Center) ได้ทำการปิดเครื่อง IBM Z9 ซึ่งเป็นเครื่องเมนเฟรมเครื่องสุดท้ายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว"
แม้ว่าเครื่องเมนเฟรมจะเสื่อมความนิยมไปจากตลาดหลักแล้วก็ตาม แต่บริษัทอย่างไอบีเอ็มก็ยังทำรายได้จากเมนเฟรมอย่างเป็นกอบเป็นกำ และวันนี้ไอบีเอ็มก็เปิดตัวเครือง zEnterprise 114 ซึ่งเป็นเมนเฟรมที่มาราคาเริ่มต้น 75,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2,200,000 บาทเทียบกับรุ่นปีที่แล้วคือ zEnterprise 196 ที่ราคาเริ่มต้น 100,000 ดอลลาร์หรือประมาณ 3,000,000 บาท
ข่าวเครื่อง x86 บุกยูนิกซ์และเครื่องเมนเฟรมนั้นมีอยู่เรื่อยๆ ไม่ขาดสาย แต่ทาง eWEEK ก็ไปสัมภาษณ์ Tom Rosamilia ผู้จัดการฝ่าย Power (ซีพียู) และ System z (เซิร์ฟเวอร์) ถึงสถานะการณ์ปัจจุบันจากมุมมองของไอบีเอ็ม
Rosamilia ระบุว่า System z นั้นยังคงแข็งแกร่งและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยปีที่ผ่านมารายได้จาก System z ของไอบีเอ็มเติบโตขึ้นร้อยละ 15 ขณะที่พลังประมวลผลที่ส่งมอบให้ลูกค้าทั้งปีเติบโตขึ้นร้อยละ 54 โดยการเติบโตนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะประเทศที่เจริญแล้ว แต่ตลาดใหม่ๆ อย่างเกาหลี, นามิเบีย, และรัสเซีย ก็มีการติดตั้ง System z กันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ