จากกรณี แอปเปิลบังคับใช้กฎ "ต้องขายเนื้อหาผ่านแอปเปิล" Kindle, Nook, Kobo นำลิงก์ออก ทางค่าย Kobo ก็ออกมาประกาศชัดแล้วว่าแนวทางจากนี้ไป จะไปเน้นที่แอพ HTML5 แทนแอพแบบ native ที่จะต้องผ่านเงื่อนไขของ App Store

Kobo ประกาศว่ากำลังพัฒนาแอพแบบ HTML5 ที่ทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม แต่ก็จะยังคงแอพบน iOS ต่อไป และแนะนำให้ลูกค้าไปซื้ออีบุ๊กจากหน้าเว็บของ Kobo โดยตรงแทน บริษัทยังให้ข้อมูลว่าพยายามเจรจากับแอปเปิลเรื่องลิงก์ไปยังร้านขายอีบุ๊กแล้วแต่ไม่สำเร็จ จึงต้องยอมนำลิงก์ออกตามเงื่อนไขของแอปเปิล

Kobo ปิดท้ายว่าบริษัทเชื่อมั่นในแพลตฟอร์มเปิด และตัดสินใจว่าแนวทาง HTML5 รองรับยุทธศาสตร์ของบริษัทได้ดีกว่า

ถึงแม้ทาง Kobo ไม่ได้พูดออกมาตรงๆ แต่ทุกคนน่าจะเข้าใจกันหมดว่าแอพรุ่น iOS คงพัฒนาช้ากว่าแอพรุ่น HTML5 แน่นอน

ที่มา - Kobo, ReadWriteWeb

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.

scarface Thu, 07/28/2011 - 03:48

จะตายได้ไง มีแต่ได้กับได้
แอบเปิ้ล คิด 30% ค่าบริการในเรื่องที่ให้ทาง apple เก็บเงินให้(มีรายละเอียดเยอะกว่านี้)

นั่นคือต้นทุนที่มาแน่นอน 30% จากราคาสิ้นค้าที่ขาย

สมมุติว่าคุณให้เขาตัดจ่ายซื้อสินค้าผ่านทางช่องทางอื่นที่ตัด % จากคุณน้อยกว่า
ใครจะไม่อยากได้ช่องทางอื่น

ผมว่าในท้ายที่สุดตัว app ใน device ของ apple จะเป็นแค่ตัวเล่นอย่างเดียว
เขาไปจ่ายเงินซื้อ content ที่จะเล่นอื่นแล้วมาเล่นบน device ของ apple อีกที

มีข้อเสียนิดนึงนะครับ ก็ต้องดูกันอีกที

การที่เขาออกไปจากแอพสโตรทำให้ คนที่จะใช้ต้องไปตามหาลิงค์เข้าไปเอง ดังนั้นลูกค้าอาจหายไปบ้าง

และนอกจากนี้ฟังก์ชั่นด้านออฟไลน์จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าคนใช้ต้องต่ออินเทอเน็ตทุกครั้งที่จะอ่านอีบุ๊ค ก็คงไม่ดีเท่าไหร่นะครับ

แต่มันก็มีข้อดีอย่างที่คุณว่าแหละครับ รอดูต่อไป...

เขาบอกยังคงอยู่ใน app store อยู่หนิ ยังใช้เป็นหน้าต่างติดต่อลูกค้า ios แต่การจ่ายเงินคงให้จ่ายถึงเขาโดยตรงจากหน้า เวบตัวเอง เพื่อเลี่ยง 30% ได้ลูกค้าประจำส่วนนึงไปแน่ ก็จ่ายน้อยลงหนิ

ลองดูแล้วครับ สำหรับแอพในเครื่องจะเป็นโปรแกรมอ่านครับ ส่วนหน้าร้านทั้งหมดจะต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ครับ แต่เท่าที่ลองไม่ได้ลำบากว่ากันเท่าไหร่ครับ ส่วนราคาหนังสือจะถูกกว่าปกติ 20% ครับ(ตามที่เขาโฆษณานะครับ)

ผมว่าฝั่ง native มันแค่อยู่เป็นรายการสินค้าหน้าร้านให้ผู้ใช้ App เห็นเฉยๆ ถ้าเอาจริงแค่ตั้งราคา content ในตัว App แพงกว่าฝั่ง html5 เดี๋ยวคนรู้ก็ตามไปซื้อใน html5 ไม่ต้องเสียค่าต๋ง 30% ด้วยนะ

ลองไปใช้ดูแล้วครับ ตัว Native app จะไม่มีลิงค์ไปยังสโตร์ครับ แต่ในหน้าข่าวมีแจ้งเรื่องว่าเอาลิงค์สโตร์ออกแต่ในข่าวมีแนวลิงค์เว็บ kobo ไว้ด้วย กดเข้าไปก็จะไปที่เว็บเขาครับ

ผมลองหนังสือฟรีมาเล่มนึง ก็ต้องเลือกที่ add to library ถ้ากดโหลด ebook ในไอแพดมันจะโหลดไม่ได้ จากนั้นกลับมาที่ app kobo มันก็จะอัพเดตเฉพาะเล่มนั้นให้เราโหลดมาได้เลย ไม่ได้ลำบากกว่าการใช้แบบปกติเท่าไหร่ครับ

looghmoo Thu, 07/28/2011 - 14:15

Kobo app สำหรับ iOS ยังอยู่เหมือนเดิม เพียงแค่ไม่มีส่วนของการซื้อขายหนังสือผ่านแอพ ผู้ใช้ต้องไปซื้อหนังซื้อผ่าน Kobo.com แทน จริงๆ ก็เป็นแบบนี้ตั้งแต่แรก เพียงแต่แอพมีการใส่ลิงค์ซื้อหนังสือไปยังเว็บของตัวเอง (แบบเดียวกับ Kindle นั้นแหละ) เลยต้องการนำส่วนนี้ออกไป

ปล. หนังสือของ Kobo เป็นไฟล์ ebpub กับ pdf ซึ่งติด Adobe DRM เอาไว้ อ่านออพไลน์ได้ มีเครื่องอ่านอีบุ๊กขายด้วยชื่อ Kobo eBooks reader

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Doom
public://topics-images/doom_logo.png
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Threads
public://topics-images/threads-app-logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Fortnite
public://topics-images/fortnitelogo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
Tinder
public://topics-images/hwizi8ny_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__0.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
PS5
public://topics-images/playstation_5_logo_and_wordmark.svg_.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png