เหมือนจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้ว เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างซอฟแวร์ที่ฝั่ง โอเพนซอร์ส (ต่อไปจะเรียก OSS) กับฝั่ง Proprietary Software (ต่อไปจะเรียก PS) ก็จะมีการถกเถียง แลกเปลี่ยนประเด็นและความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนมากก็มักจะเป็นประเด็นเดิม ๆ หัวข้อเดิม ๆ ที่ผมอ่านมาตั้งแต่เริ่มสนใจพัฒนาซอฟแวร์ใหม่ ๆ (ราว ๆ ปี 2002 เห็นจะได้)
จากการลงข่าว WikiLeaks: ไมโครซอฟท์และ BSA กังวลต่อแนวทางโอเพนซอร์สของไทย ใน blognone และก็เหมือนทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา ก็จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งพอจะสรุปเป็นความคิดเห็นมีอยู่ 2 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้
หมายเหตุ บทความนี้ดัดแปลงจากบทความ Business Model for Open Source Software เผยแพร่ที่ XimpleSoft
สำหรับข้อมูลในส่วนของผู้ใช้ ที่น่าสนใจมากอีกแหล่งคือ Romance of the Three (Software) Kingdoms เป็นการนำเสนอภาพรวมของคนใช้ซอฟต์แวร์ 3 กลุ่มคือ OSS, PS และ ละเมิดลิขสิทธิ์
ขอออกตัวไว้ก่อนเลยครับว่า ผมเป็นคนสนับสนุน OSS สำหรับในเรื่อง usability ที่คนที่ใช้งาน PS พูดถึง ผมเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยบางส่วน เพราะซอฟต์แวร์หลาย ๆ ตัวที่เป็น OSS แล้วมี usability ที่ต่ำจริง ๆ เช่น GIMP, LibreOffice (ดันสำคัญทั้งสองตัวเสียด้วยสิ) หรือไม่เสถียรจริง ๆ เช่น Inkscape แต่ก็มี OSS อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีคุณภาพเทียบเท่า PS หรือบางตัวอาจดีกว่าด้วยซ้ำเช่น FireFox, Chromium, Drupal, Apache, PHP, MySQL, PostgreSQL (ทำไมมันเกี่ยวกับเว็บไซท์หมดเลยหว่า?) เรื่องนี้ผมยืนยันว่า หากจำเป็นต้องใช้งาน PS โดยเฉพาะคนที่ใช้ PS เป็นเครื่องมือทำมาหากิน ก็จำเป็นต้องซื้อ อย่าละเมิดลิขสิทธิ์
มาเข้าถึงประเด็นสำคัญคือ Business Model หรือวิธีการทำธุรกิจด้วย OSS ผมไม่เห็นด้วยแน่นอนว่า OSS ไม่เหมาะกับการทำธุรกิจ โดยดูได้จากตัวอย่างบริษัทไอทีมากมายทั่วโลก ที่ใช้ OSS เป็นส่วนขับเคลื่อน มากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่นโยบายของแต่ละที่ ซึ่งผมขอแยกลักษณะการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ OSS ดังนี้
OSS ในฐานะเครื่องมือ
บริษัทไอทีจำนวนมากจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ได้ใช้ OSS เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนธุรกิจของบริษัท หากจะให้ยกตัวอย่างยักษ์ใหญ่ก็มี
และยังนับรวมถึงบริษัทที่ใช้ PHP, Java, MySQL, Linux, Apache, Drupal, Joomla, etc. เป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ หากพิจารณาบริษัทไอทีที่ทำงานเกี่ยวกับ web-based ผมไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน แต่เดาว่ามีบริษัทเกินครึ่ง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ OSS ในฐานะเครื่องมือ ข้อดีของการใช้ OSS ในฐานะเครื่องมือคือ
ซึ่งแน่นอนว่าหน้าที่ของ OSS ในลักษณะนี้ เราจะคาดหวังให้บริษัทต่าง ๆ contribute หรือมีส่วนร่วมในงานบางอย่าง เพื่อกลับไปสู่โครงการ OSS คงไม่ได้ แต่ส่วนมากแล้วบริษัทต่าง ๆ จะมีส่วนร่วมกับโครงการ OSS เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง เพื่อพัฒนา OSS ที่ใช้เป็นเครื่องมือ ในส่วนที่ยังตอบโจทย์ของบริษัทได้ไม่ดีนัก การมีส่วนร่วมลักษณะนี้ถือว่าเป็นการสร้างผลประโยชน์ต่างตอบแทนที่ดีมากวิธีหนึ่ง
OSS ในฐานะสินค้า
การทำธุรกิจลักษณะนี้หากเทียบอัตราส่วนแล้วถือว่าน้อย เมื่อเทียบกับ OSS ในฐานะเครื่องมือ สาเหตุง่าย ๆ ก็เพราะว่า หากมี OSS ที่ฟรีอยู่แล้ว ใครจะมาเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์ แต่ก็มี OSS จำนวนหนึ่ง ที่มีสัญญาอนุญาตในลักษณะ Dual Licensing กล่าวคือ จะมีการแยกแยะระหว่าง การนำซอฟต์แวร์ไปใช้งานเชิงพาณิชย์ และการนำซอฟต์แวร์ไปใช้ในลักษณะอื่น ๆ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ก็จะเก็บเงินจากหน่วยงานที่นำซอฟต์แวร์ไปใช้งานเชิงพาณิชย์
หรืออีกลักษณะที่มีการทำกันค่อนมากคือ การแยกซอฟต์แวร์ออกเป็น 2 เวอร์ชัน คือ เวอร์ชันที่เป็น PS และเวอร์ชันที่เป็น OSS (แตกต่างจาก Dual Licensing ตรงที่ Dual Licensing มีแค่เวอร์ชันเดียว)
คำถามคือ ทำไมพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นสินค้าโดยตรง (PS) ทำไมถึงต้องทำควบคู่กัน (OSS + PS) แนวคิดการทำธุรกิจในลักษณะนี้คือ
OSS ในฐานะการสร้างคู่แข่งทางธุรกิจเพื่อความเชื่อมั่น
อาจฟังดูแปลก ๆ แต่ลองนึกดูครับว่า หากเราสร้างเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาหนึ่งอย่าง และเราเป็นบริษัทหน้าใหม่ สิ่งที่ลูกค้าจะถามคือ "เราจะมั่นใจในเทคโนโลยีของคุณได้อย่างไร?" แน่นอน เราสามารถสร้างความเชื่อมั่นในลักษณะอื่น ๆ ได้ แต่ทั้งนี้ การมีคู่แข่งทางธุรกิจ ที่ทำงานลักษณะเดียวกัน จะเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าได้อีกระดับหนึ่ง เพราะการที่มีบริษัทอื่น ๆ นอกเหนือจากบริษัทผู้ผลิตสนใจในเทคโนโลยีดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีได้ผ่านการตรวจสอบจากบริษัทที่นำไปใช้แล้วระดับนึง
OSS ในฐานะใบเบิกทาง
ในหลาย ๆ กรณี OSS ไม่สามารถสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจด้วยตัวมันเองได้ แต่สามารถสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจให้กับผู้ผลิต ด้วยสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวมันได้ โดยใช้ OSS เป็นตัวเบิกทาง โดยธุรกิจแวดล้อม OSS อาจมีความเป็นไปได้ดังนี้
บทสรุป
จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจด้วย OSS มีให้เลือกใช้มากมายหลายลักษณะ และหลาย ๆ อย่างก็ผ่านการพิสูจน์มานับครั้งไม่ถ้วน ว่าได้ผล แต่ทั้งนี้การทำธุรกิจทุกรูปแบบที่เขียนถึง เป็นรูปแบบการทำธุรกิจที่คนทำธุรกิจโดยทั่วไปไม่คุ้นชิน สิ่งที่คนทำธุรกิจคุ้นชินคือ การมองซอฟต์แวร์เป็นสินค้าตัวหนึ่ง ซื้อมา ขายไป ซึ่งลักษณะการทำธุรกิจของ OSS มีความซับซ้อนกว่านั้น ดังนั้น การทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ OSS ต้องมีการปรับกระบวนการคิดพอสมควร
Comments
สำหรับ บริษัทระดับเล็ก+กลาง ถ้าคุณไม่ได้ใช้ Opensource ในส่วนที่เป็น Core ของธุรกิจของบริษัท ยังไงก็ Fail
อ่านแล้วงงแฮะ หมายถึงหากใช้ OSS กับส่วนที่ไม่ใช่ Core Business แล้วจะมีโอกาส Success สูงกว่าใช่ไหมครับ?
เพราะว่าบริษัทขนาดเล็กและกลางมีการปรับเปลี่ยน Core ของธุรกิจเร็วกว่าบริษัทใหญ่ใช่ไหมครับ ดังนั้นการใช้ Opensource ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าไปปรับโปรแกรมได้ ทำให้การใช้งาน Opensource คล่องตัวกว่า
และบางที business process อาจจะยืดหยุ่นกว่าด้วย การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่เค้าขายกันมันจะไม่รองรับการทำงานที่ยืดหยุ่นอย่างนี้
ไม่น่าใช่นะครับ
บริษัทระดับเล็ก+กลาง ถ้าคุณใช้ WordPress/Joomla/Drupal ทำเว็บ (ซึ่งไม่ใช่ Core ของบริษัท) ยังไงก็ Fail?
บริษัทระดับเล็ก+กลาง ถ้าคุณใช้ OpenOffice ทำเอกสารจิปาถะ (ซึ่งไม่ใช่ Core ของบริษัท) ยังไงก็ Fail?
เค้าน่าจะหมายถึง ถ้าไม่ได้ใช้ core เป็นโอเพนซอร์สจะเฟล(ใช้โปรแกรมเสียตังในส่วนสำคัญจะเปลือง) อะไรประมาณนั้น
May the Force Close be with you. || @nuttyi
มันย่อไปหน่อยจนพางง
หมายถึง สำหรับบริษัทเล็ก+กลาง
ถ้า opensource เอามาใช้กับ core ของบริษัท(ตัวที่ทำเงินให้บริษัทอยู่รอด) เช่นบริษัททำ web ใช้ php, joomla etc...
มันอาจจะไปได้ครับ
แต่ถ้าคุณเป็นโรงงานผลิตรองเท้า แล้วพยายามเปลี่ยน MSoffice ไปใช้ openoffice สุดท้ายยังไงก็ fail หรือถ้าไม่ fail ค่าใช้จ่ายก็เกินค่าลิขสิทธิ์ไปหลายเท่า
แล้วโรงงานผลิตรองเท้า ใช้ MsOffice ทำอะไรบ้างละครับ แล้วทำไมเปลี่ยนไปใช้ openoffice แล้วจะ fail ละครับ
มันจะมีเรื่องของการใช้งาน user เข้ามาเกี่ยวด้วยครับ ถ้าเปลี่ยนไปใช้ OO user ก็ต้องมีปัญหาการใช้งานแน่นอน ก็จะมี cost ของการ training & Support ของแผนก IT เพิ่มเข้ามาแทนค่าไลเซน (มันก็คล้ายๆ model ธุรกิจ OOS แหละ ที่ใช้การขาย support)
ถ้าคุณเคยทำ support มาบ้างคงจะเข้าใจครับ ว่า user นี่เซ่อสมชื่อจริงๆ ครับ มีอะไรแปลกๆ ฮาๆ เยอะจริงๆ
อย่างตอนนี้ บ. ผม เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ Windows 7 ก็มีโทรเข้ามากันทุกวัน ว่าล็อคอินไม่ได้ -*-
อยากเล่าเคสฮาๆ ตัวอย่างนึงให้ฟัง สมมติบริษัทผมชื่อ ABC แล้ว User คนนึงเจอปัญหาโปรแกรม error support ก็บอกให้ออกไปที่หน้า ABC ก่อน (หน้าจอหลักของโปรแกรมจะเขียนว่า ABC ซึ่งเป็นชื่อ บ.) ปรากฎว่า user ออกจริงๆ ครับ ออกไปยืนรอหน้า บ. ทำตามที่บอกจริงๆ ออกไปหน้า ABC -*-
ปัญหาที่น่าจะฮา แต่ฮาไม่ออก
"ตอนนี้ไม่ทราบว่าเครื่องคุณใช้ Windows อะไรครับ"
"อ๋อ Windows 2010 ค่ะลงทั้ง Word, Excel, Power point แล้วนะคะ"
"โอเคครับ เดี๋ยวผมเดินไปที่โต๊ะละกัน"
orz
ที่เจอมาสด ๆ ร้อน ๆ คือ บอกเธอให้ไปที่ ปุ่ม Start ที่อยู่บน Taskbar เธอไม่รู้จักทั้งปุ่ม Start แล้วก็ Taskbar ผมเลยบอกให้มองที่มุมล่างซ้าย เธอก็มองหาแต่ในหน้าเว็บเพจ แล้วบอกว่า มันไม่มี เลยบอกให้มองให้กว้างกว่านั้น เธอก็บอกว่ามองกว้างสุดแล้ว แต่ก็ไม่เห็นมีเลย ผมจะบ้าตาย ขำก็ขำ เครียดก็เครียด
Jusci - Google Plus - Twitter
ก็แล้วทำไม Taskbar ไม่เขียนไว้ล่ะว่า Taskbar ปุ่ม Start ของ Windows 7 ก็ไม่เขียนว่า Start
แล้วใครจะหาเจอครับ lol
ที่ผมเจอคือ อะไรคือ ie
ถามว่าใช้อะไรเข้าเว็บล่ะเข้าเฟสบุ๊กต้องเปิดอะไรก่อนก็อันนั้นแหละ
เธอตอบก็เข้าไปเลยพิมพ์แล้วมันก็เข้า ;___;
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ผิดเพียบ ขอบคุณครับ
ยังเหลือ ซอฟแวร์ กับ อินเทอร์เนต นะครับที่ยังผิดอยู่
ส่วนตัวแล้วมองว่าอนาคตของ OSS หนีไม่พ้น 3 แบบนี้ครับ
OSS Web Application ซึ่งส่วนใหญ่จะกลายเป็น Cloud ส่วนน้อยจะใช้ใน Intranet แบบที่ต้องตั้ง Server ดูแลเอง โมเดล Cloud จะเน้นเก็บเงินในแบบเช่าใช้ตามเวลาเป็นส่วนใหญ่อย่าง Google Apps Market Place เป็นต้น
Mobile Apps หรือ PC Apps ผ่านช่องทางจัดจำหน่าย Online เช่น Mac Apps Store ที่ใช้ Model ขายโฆษณา หรือ Sponser Link
OSS Apps ที่ผูกกับแพลทฟอร์มอย่าง Win32 จะถูกลดความนิยมลงไปเรื่อยๆเพราะความยุ่งยากในการจัดการและการ Support (ในแง่องค์กรนะ) ในด้านการใช้งานส่วนบุคคลจะถูกสองตัวข้างบนแย่งทั้งฐานลูกค้า และฐานนักพัฒนาออกไปเรื่อยๆ จนน้ำเลี้ยงเหือดแห้งไปในที่สุด (เว้นแต่ถ้ามีน้ำเลี้ยง หรืออยู่ในเรื่องเฉพาะทางจริงๆ)
ยังขาดอะไรไปหรือเปล่าช่วยเติมหน่อยสิครับเพื่อนๆ
เคยได้ยินมาว่าส่วนที่เป็น Core business ควรจะเก็บข้อมูลไว้ใกล้ตัวดีกว่า ถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาจะได้แก้ไขได้เร็ว ถ้าเอาไปไว้ที่ Cloud เกรงว่าถ้า Cloud เกิดปัญหาอะไรขึ้นมาจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินงาน เพราะเราก็ต้องรอให้ทางนั้นแก้ให้ได้ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะนานไหม และเรื่องข้อมูลก็สำคัญถ้ามันรั่วไหลไปจะลำบาก
ผมแย้งข้อ 3 อ่ะ พวก linux, OSX หรืออะไรก็ตามที่ based on ux พวกนี้ถ้าขยับ kernel เมื่อไหร่ โปรแกรมที่รันได้อยู่เดิมก็มีบั๊กกระจาย
พูดตามตรง ux คือความห่วยของ backward compatibility อย่างชัดเจน แต่ Win32 ยังอยู่ได้จนทุกวันนี้
ผมว่าคุณเข้าใจข้อสามผิดนิดหน่อย ... คิดว่าเขาสื่อถึง Software ที่ผูกกับ Platform (Native) เช่น WIN32 (หรือจะ Linux, OSX อะไรก็แล้วแต่) น่าจะลดลงเรื่อย ๆ เพราะว่าดูแลรักษายากน่ะครับ
ช่วงนี้เป็นช่วงที่เทคโนโลยี เปลี่ยนอย่างรุนแรงจาก mobile platform อีกสัก 2 ปี ปัญหาเรื่อง oss หรือ ps ในไทย อาจจะหมดไป แล้วเราก็จะสงสัยกันว่า มาคุยเรื่องนี้กันทำไม ก็ได้
อันที่จริง mobile ก็มีอยู่สองแบบนั่นแหละ มันหนีไม่พ้นหรอกครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณครับ เดี๋ยวจะเอาไปปรับปรุงครับ
OSS ทำให้ลดต้นทุนทางธุรกิจได้เยอะมาก เป็นการส่งเสริมให้บริษัทเล็กๆ หรือ indy ไม่กี่คนสามารถสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาได้ไม่ยาก สนับสนุน OSS ครับ
แต่เห็นด้วยสุดๆเรื่อง OSS บางตัวก็มี usability ที่ต่ำจริง ๆ เช่น GIMP บน Mac ส่วน OpenOffice บน Mac ก็ crash บ่อยสุดๆ >_<
+100
ถ้ามองในแง่ Controlling ไอ้เจ้า OSS ช่วยได้เยอะ แต่ถ้ามองในแง่ Financial มันทำได้ไม่มาก
ผมเคยหากินอยู่กับ OSS อยู่พักนึง เงินก็ดีนะ ทำอยู่ 2 ปี มีพนักงานอยู่ 4-5 คน ได้งานมา 2-3 โครงการ ก็ได้มาหลายล้านอยู่ กำไรเพียบ มีแต่ค่าแรง ค่า HW/ ค่า Ideas ว่าจะปรับแต่งไปขายให้ลูกค้าได้อย่างไร แต่ต้องเลิกเพราะนโยบายบริษัทเปลี่ยนให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น Brand แทน
ขนาด Liferay ผมยังเคยเอาไปทำโครงการระดับ 15 ล้านเลย มันอยู่ที่วิธีการนำเสนอมากกว่านะผมว่า
ที่บริษัทปัจจุบัน ตอนนี้ของติด license จะมีแค่:
ที่เหลือ (โปรแกรมจิปาถะทั้งหลาย และ web software) จับลง freeware/oss หมดครับ ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง PC หรือ Mac
อยากให่ช่วยเพิ่มตัวอย่างของหัวข้อเหล่านี้ด้วยครับ
OSS ในฐานะสินค้า
OSS ในฐานะการสร้างคู่แข่งทางธุรกิจเพื่อความเชื่อมั่น
OSS ในฐานะใบเบิกทาง
เพราะ OSS ในฐานะเครื่องมือ มีตัวอย่างให้ แต่หัวข้อชุดหลัง ไม่ได้ลงตัวอย่างไว้ ถ้ามีตัวอย่างให้ด้วย บทความก็จะสมบูรณ์ขึ้นมากเลย
ผมก็ใช้งานอยู่กับ OSS มานานแล้วครับ แต่ยังขาด PS ไม่ได้ นั้น เพราะต้องลง win เพื่อเอาไว้เล่นเกม...
งงหัวข้อ "OSS ในฐานะการสร้างคู่แข่งทางธุรกิจเพื่อความเชื่อมั่น" อ่ะครับ ช่วยอธิบายเพิ่มได้เปล่าครับ สมมติผมจะทำ CMS ผมบอกว่า นี่ไงไม่ใช่อะไรประหลาด คนทำเยอะแยะ อะไรทำนองนี้หรือเปล่าครับ
เรื่องนี้เขียนจากประสบการณ์ตรงครับ พอเขียนโปรแกรมเอง แล้วเอาไปขายคนอื่น ก็จะมีคนถามว่า
"เขียนเองแล้วจะเสถียรเหรอ ?"
แล้วจะตามด้วยคำถาม
"มีคนใครนอกจากคุณที่ใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้ ?"
แล้วตามด้วยคำถาม
"หากมันมีปัญหา ผมจะให้ใครแก้ได้บ้าง นอกจากคุณ ?"
ซึ่งบริษัทหน้าใหม่เกือบทั้งหมด มีปัญหาคล้าย ๆ กันหมด แต่หากผมสามารถตอบได้ว่า
"มีบริษัท A, B, C ใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้เหมือนกัน"
ความมั่นใจของลูกค้าก็จะสูงขึ้นมากครับ
อ่อ หมายถึงคู่แข่งที่พัฒนาบนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สตัวเดียวกัน อะไรประมาณนี้หรือเปล่าครับ
แบบนั้นเลย คือใช้เครื่องมือหากินตัวเดียวกันน่ะครับ (ผมเขียนไม่ชัดเอง)
เป็นแนวทางที่ดีมากครับ แต่บริษัทที่ผมทำงานอยู่ ซื้อซอฟแวร์ไลเซ่นทั้งหมดครับ
ไม่อยาก เม้น คนอื่น แสดง ความเห้นส่วนตัวละกัน
คุณจะเอา โปรแกรมไร มาแข่ง กับ Flash, AutoCAD, 3DMax, Maya, SPSS, VS.NET, CrystalReport, Active Report, Dreamweaver, Illustrator, CorelDraw, Premium, Photoshop(GIMP อีกระยะนึง)... หรอถามหน่อย มันต้องแข่งกับเวลาด้วย ไม่ใช้ประหยัดอย่างเดียว)
2.OS เช่นกัน ตามแบบข้อ 1 (แต่ไม่ค่อย เห้นด้วยกับ Linux บอกตามตรง เห็นลูกค้าหลายรายพยายามแล้ว ไม่ work , user ไม่รับ ไม่คุ้มปัญหาตามมา)
3.ส่วนสำคัญ โปรแกรมบัญชี-->ERP (เลือกเอาตาม Scale) ซื้อเถอะ อย่างกไม่เข้าเรื่อง ได้ไม่คุ้มเสีย เอาเวลาไปทำอย่างอื่น ไม่ต้องมานั่งทำ Report Excel
4.งานเอกสาร (Office Document) และ Utilities ส่วนอื่นๆ freeware เก่งๆมีเยอะ เข้า www.filehippo.com จัดได้หมดแหละ (อยู่ที่นโยบาย เจ้าของ แต่ ตัวยิบย่อย พวกนี้ไม่ค่อย โดนจับ(ยกเว้น Office) เท่า 2 ตัวแรกๆ)
คือผมอ่านแล้วงง
ใครไม่เห็นด้วยที่คุณจะไปใช้ซอฟต์แวร์พวกนี้หรือครับ????
lewcpe.com, @wasonliw
ผมแสดความเห็นครับ จริงๆ ก้อจะ post กับ comment แรก ที่ บอกว่า ต้องใช้ Open Source เป็น Core ซึ่งความจริงมันไม่ใช่ครับ
อ่อ อย่างนั้นทีหลังช่วยใช้ reply นะครับ จะได้ไม่งง
lewcpe.com, @wasonliw
1. ก็เอาตัวที่แข่งได้สิครับ
อันไหนแข่งไม่ได้ก็ซื้อมาใช้
2. จะเอาจำนวนปี (ที่รู้จัก PS) มาตัดสินจำนวนวัน (ที่รู้จัก OSS) ผมว่าไม่แฟร์นะ
Dreamweaver นี่เป็นตัวแรกเลยที่จะเอาออก ช้าก็ช้า ยิ่งหลังเขียนใช้ CSS ดีๆ แล้วเหมือนช่วยอะไรไม่ค่อยได้ ใช้ vim/emacs ก็แทนได้
onedd.net
+1
เห็นด้วยครับ เขียน HTML + CSS เพียวๆ เอาเร็วกว่าเยอะ
ผมเคยใช้ Eclipse for PHP แทน Dream นะ รู้สึกว่ามันโอเคกว่าสำหรับการโปรแกรมมิ่ง แต่ด้านดีไซต์ไม่รู้นะ
ถ้าเป็น PHP ส่วนตัวผมว่า notepad++ ใช้คู่กับ reference ที่โหลดจากเว็บ php เองรู้สึกจะดีสุดครับ
ต้อขอบอกว่าโคตร flexible เพราะต้องทำเองทุกอย่าง ฮา
ออครับ แต่ผมเคยมีปัญหากับภาษาไทยของ notepad++ ครับ ไม่รู้ว่าตอนนี้แก้ไปหรือยัง
ไม่แน่ใจว่ารู้สึกไปเองรึเปล่า dev ที่รู้จักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเขียนเองเพียวๆ ชัวร์กว่า
แล้ว...... กลุ่มลูกค้าที่จะใช้ระบบอัตโนมัติของเค้า นี่กลุ่มไหนกันนะ O_o?
กลุ่มที่ไม่ใช่ hard core dev ไงครับ กับ กลุ่มที่ต้องใช้ table ในการทำ layout ไงครับ
เคยโดนไปงานนึงปีก่อน ใช้ table หมด แทบกระอักเลือดตาย ก่อนตายก็ระลึกขึ้นมาได้ว่า ที่พวก wysiwyg editor มันตายก็อาจจะเพราะ CSS นี่แหละ
onedd.net
สำหรับข้อ 1 บางตัวมันแข่งไม่ได้หรอกครับ แต่อย่าลืมว่ามีใครบ้างที่ใช้ฟังก์ชั่นของโปรแกรมที่คุณว่ามาที่มันมีทั้งหมด??? คุณเคยเห็นเวลาซื้อคอมไปแล้วเค้าลงโปรแกรมมาให้เลย เช่น Photoshop (แน่นอนแบบไม่ถูกลิขสิทธิ์) หรือเปล่าครับ?
คำถามคือ คนที่ซื้อไปจะเอาโปรแกรมนี้ไปทำอะไร?
A.ย่อรูป พิมพ์รูป? ตกแต่งนิด ๆ หน่อย ๆ? ฯลฯ
B.สร้างไฟล์กราฟิคแบบซับซ้อน ที่ต้องใช้ฟังก์ชั่นที่มีเฉพาะใน Photoshop หรือโปรแกรมเสียเงินอื่น ๆ
ถ้าเป็น A ความสามารถเบื้องต้นที่คนนิยมใช้ทั่ว ๆ ไป โปรแกรมที่ฟรี (และพอใช้ได้) ก็มีเยอะครับ บางตัวสะดวก และดีกว่าโปรแกรมเสียเงินหลาย ๆ ตัวด้วยซ้ำ (หรือแม้แต่แค่เทียบเท่า)
ถ้าเป็น B นั่นแหล่ะครับ ซื้อไปเถอะ แต่!.... อย่าลืมอ่านตรง "หรือ" ตรงนี้สำคัญมาก! สำหรับผมไม่ได้บอกว่าการใช้ OSS หรือโปรแกรมฟรี คือทางออกที่ดีที่สุด แต่การเลือก "สิ่งที่พอเหมาะกับเราที่สุด" ต่างหากสำคัญกว่า
ทุกวันนี้หลาย ๆ คนจะลืมไปด้วยซ้ำ เช่น กรณี Photoshop ว่านอกจากโปรแกรมตัวนี้ (สมมติราคาที่ประมาณ 25000)ก็ยังมีโปรแกรมเสียเงินที่ความสามารถคล้าย ๆ กับ Photoshop อีกมากมาย โดยราคาก็แตกต่างกัน แต่จากความนิยม, ชื่อเสียง, ฯลฯ ทำให้คนรู้จักชื่อ Photoshop มากกว่า และในฐานะที่ "เรา" (ใช้คำนี้แล้วกัน) ลงโปรแกรมในราคาเดียวกัน "เรา" ก็เลยใช้กันแต่โปรแกรมที่ดีที่สุด top ที่สุดของแต่ละประเภทไปเลยต่างหาก ไม่ได้หมายความว่า ทุกคน ทุกบริษัท "จำเป็น" จะต้องใช้โปรแกรมเหล่านั้นหรอกครับ
ถ้าโปรแกรมฟรีเท่าที่หาได้ มันไม่ดีพอสำหรับคุณ คุณก็เลือกโปรแกรมเสียเงินที่มันคุ้มค่าที่สุดสำหรับคุณได้เช่นกัน
เหมือนที่ผมเคยยกตัวอย่างในกระทู้ WikiLeak ไม่มีใครมีปัญญาซื้อรถหรู มีคนขับให้นั่งได้ทุกคนหรอกครับ
ผมคนหนึ่งหละ (ใช้โปรแกรม Core จนเต็ม max , ใช้ AutoCAD 9-13 เต็ม limit เลยต้องเขียน Auto Lisp มาเสริมใช้เอง(และขาย) ดีที่ AutoCAD Support AutoLISP , VBA
ตอนนี้ ไม่ได้เขียนแบบ โปรแกรม ก้อเลยไม่ลง (แต่อันนี้ ไม่ทันได้ซื้่อ เปลี่ยนงานซะก่อน)
คือถ้างานของคุณใช้จนเต็ม Max ซอฟต์แวร์ทั่วไปไปที่เราได้ยืนชื่อกันเช่น AutoCAD, 3DStudio, PhotoShop, Office, Windows ฯลฯ ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ใช้ซอฟต์แวร์เหล่านั้นเลยนะครับ
แถมถ้างานขนาดนั้น ผมว่าตัวงานก็น่าจะคืนค่าซอฟต์แวร์ได้ในเวลาไม่นาน
lewcpe.com, @wasonliw
อ๊ะ คุณ lew รู้จัก 3D Studio ด้วย แสดง ว่า ชม บินเยอะทีเดียว
กำลังงงว่าใช้ 3D Studio แล้วเกี่ยวอะไรกับ ชม.บิน เยอะครับ
อันนี้ถามด้วยความไม่รู้จริงๆ ครับไม่ได้จะยียวน
หรือว่า 3D Studio มันตายไปแล้ว?
ก่อนจะเป็น 3D MAX มันเป็น 3D Studio มาก่อนครับ มีมาตั้งแต่ DOS ครับ
ผมก็รู้จักครับ ผมเคยใช้ตั้งแต่ R อะไรสักอย่างจนจำไม่ได้แล้ว
ใช้พักนึง Lightwave มาตี จากนั้นก็เข้ายุควินโดวส์ แล้วก็เริ่ม 3DS Max
แล้วตกลงว่ามัน ชม. บินเยอะยังไงครับ?
ก็จาก DOS มาจนถึง window7 มันก็หลายปีมาก ชั่วโมงบิน(การรู้จักคอม)ก็เลยมากไงครับ
วันนี้ขอกระเซ้าคนอื่นเล่นมั่งนะครับ 8)
สรุปคือ ไม่กล้าพูดตรงๆ ว่า "คุณ lew แก่" ใช่ไหมล่ะ 8D ...อ้อมซะ...
Clear เนอะ
อ่อ ถ้าบอกว่าแก่นี่เข้าใจเลย อย่าให้คุณ lew แก่เลยครับ เดี๋ยวคนอื่นๆ จะยุ่ง
รวมผมด้วย
สิ่งที่ผมพยายามอธิบายคือ นอกจากมันเป็น Core แล้ว คุณต้องดูด้วยว่า คุณจำเป็นต้องใช้แค่ไหน ซึ่งกรณีของคุณ AutoCAD คือ ตัวที่ตอบโจทย์คุณได้ไงครับ แต่ไม่ใช่กับทุกคนแน่นอน ไม่ใช่ฟันธงเลยว่า ต้องเป็น AutoCAD, Premiere ฯลฯ ที่คุณยกชื่อมาว่าของอย่างอื่นสู้ไม่ได้ สู้ไม่ได้ไม่ได้หมายถึง ใช้ทำงานของคุณไม่ได้ไงครับ
ด้วยความเคารพค่ะ
ไม่ได้หมายความว่าใช้คำฟุ่มเฟือยนะคะ
แต่ถ้อยคำอ่านแล้วแปลก ๆ นิดหน่อย
ถ้าเทียบกับ
การดำเนินธุรกิจด้วยโอเพนซอร์ส
การทำธุรกิจด้วยโอเพนซอร์ส
+1000 ครับ