วันที่ 26 ก.ค. 2562 คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.สธ.) ชี้แจงในรัฐสภาระบุว่า " ... ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ จึงขอเพิ่มภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ Coding ในอนาคตนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาสามารถเรียนโคดดิ้ง เครื่องไม่เครื่องมือไม่มีผล เรามีครูมากกว่า 8 พันคนที่มีพื้นฐาน เพื่อเตรียมเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21 หรือ 5G ที่เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อพูดเรื่องภาษาที่ 3 ..." จากความเห็นดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจคลาดเคลื่อนของ รมช.ศธ. เกี่ยวกับการพัฒนาซอฟท์แวร์อย่างเห็นได้ชัด ในฐานะนักพัฒนาซอฟท์แวร์ ผู้เขียนจึงต้องการชี้แจงทำความเข้าใจ และให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
ชื่อบทความเดิม การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz กำลังจะทำให้ยุคสัญญาสัมปทานปิดฉากแบบไม่สวยงาม
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จากการพูดคุยสนทนาวงปิด Blognone Quest ในตอนจบผู้ดำเนินรายการได้ถามความคิดเห็นผู้ร่วมสนทนา ถึงสิ่งที่อยากให้นักศึกษาให้ความสนใจ ให้ความสำคัญเพื่อตอบโจทย์การทำงานในวงการไอทีหลังจบการศึกษา หลายท่านให้ความคิดเห็นตรงกันว่า อยากให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงในระหว่างการศึกษามากกว่านี้ แต่เนื่องจากระบบการศึกษาไทยมีข้อจำกัด (ทางระเบียบกฎเกณฑ์) มากมายจึงเป็นเรื่องที่ทำจริงได้ยาก
ชื่อบทความเดิม ตอบเรื่องวุ่นวายเกี่ยวกับฐานอำนาจทางกฎหมายในการออกประกาศ กสทช. ห้ามซิมดับ (ตอนที่หนึ่ง)
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความนำ
ได้อ่านบทความที่ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช. ด้านกฎหมาย (กิจการโทรคมนาคม) ได้เขียนลงหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 13-14 สิงหาคม 2556 รวม 2 วัน เรื่อง “เรื่องวุ่นวายของฐานอำนาจกฎหมาย กับ ประกาศ กสทช. ห้ามซิมดับ (ตอน 1-2)” ซึ่งคุณสุทธิพลกล่าวพาดพิงถึงนักวิชาการบางท่านหรือนักกฎหมายที่ออกมาเคลื่อนไหวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างประกาศห้ามซิบดับของ กสทช.
ชื่อบทความเดิม ปัญหาทางกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 1800 MHz ระหว่าง บมจ.กสท. กับบริษัททรูมูฟ และบริษัทดิจิตอลโฟน
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เดิมที Java มักถูกวิจารณ์ในแง่ของแนวทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความซับซ้อน และซอฟต์แวร์ที่ได้ใช้ทรัพยากรระบบมาก แต่ก็ยังเป็นแพลตฟอร์มได้รับความนิยมเนื่องเพราะ จำนวน ความหลากหลาย และขีดความสามารถของไลบรารี จำนวนผู้ใช้งาน ความปลอดภัย ค่าใช้จ่าย (ฟรี) ฯลฯ แต่หลังจากที่ Oracle ได้ซื้อ Java ไปจาก Sun ข่าวไม่ดีต่าง ๆ ได้ออกมาจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย (เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, แอปเปิล, ไมโครซอฟท์) การฟ้องร้อง และ
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์บางฉบับวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาอนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมให้แก่บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปในทางที่ว่า กสทช. อนุมัติใบอนุญาตให้แก่บริษัทไทยคมฯ โดยไม่ได้มีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งมิได้ประมูลวงโคจรให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 แต่ประการใด
เหมือนจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้ว เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างซอฟแวร์ที่ฝั่ง โอเพนซอร์ส (ต่อไปจะเรียก OSS) กับฝั่ง Proprietary Software (ต่อไปจะเรียก PS) ก็จะมีการถกเถียง แลกเปลี่ยนประเด็นและความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนมากก็มักจะเป็นประเด็นเดิม ๆ หัวข้อเดิม ๆ ที่ผมอ่านมาตั้งแต่เริ่มสนใจพัฒนาซอฟแวร์ใหม่ ๆ (ราว ๆ ปี 2002 เห็นจะได้)
จากการลงข่าว WikiLeaks: ไมโครซอฟท์และ BSA กังวลต่อแนวทางโอเพนซอร์สของไทย ใน blognone และก็เหมือนทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา ก็จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งพอจะสรุปเป็นความคิดเห็นมีอยู่ 2 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้
หลังจากที่ผู้ใช้ Motorola MILESTONE ไม่มั่นใจกับการอัพเกรด Android เป็นเวอร์ชัน 2.2 หรือที่รู้จักกันในนาม Froyo มาเป็นเวลาสักพัก จนหลายคนเริ่มหาทางออกด้วยการแก้ไข ROM ด้วยตัวเอง ตอนนี้ผู้ใช้ MILESTONE เริ่มมีความหวังแล้วว่าจะได้อัพเกรดเป็น Froyo อย่างเป็นทางการ โดยเปอร์เรเตอร์รายแรกที่ออกมายืนยันข่าวนี้แล้วคือ O2 Germany โดยจะเริ่มเปิดให้ผู้ใช้งานเริ่มอัพเกรดกันในเดือนกันยายน
อย่างไรก็ตามข่าวไม่ได้พูดถึงฟีเจอร์ Wi-Fi Tethering แต่เพียงแค่การอัพเกรดเป็น Froyo ก็ทำให้ผู้ใช้จำนวนมากสบายใจได้ในระดับนึง
ผมเห็นตรงกับแหล่งข่าวว่าเป็นที่น่าเสียใจที่ไม่ได้ยินข่าวนี้จากทาง Motorola โดยตรง
สำหรับคนที่อ่านข่าวสารไอทีผ่านทาง Blognone ช่วงนี้อาจสังเกตได้ว่า จำนวนข่าวต่อวันของ Blognone ลดลงอย่างเห็นได้ชัด (ส่วนจำนวนเนื้อหาใหม่ ๆ ของ BioLawCom ต่อเดือนนั้นลดฮวบมานานแล้ว) ทีแรกผมก็นึกว่า เป็นเพราะช่วงนี้เป็นช่วงสงกรานต์ ทีมเขียนข่าวลาพักร้อน เลยไม่ค่อยได้เขียนกัน แต่แล้ว mk หนึ่งในผู้ก่อตั้ง และผู้เขียนหลัก ก็เฉลยความจริงออกมาว่า ขอบายเลิกเขียนข่าวไปสักพัก เพราะเบื่อสาวก Apple จึงทำให้จำนวนข่าวใน Blognone ลดลงด้วยประ
บริษัทให้คำปรึกษาการใช้งานซอพท์แวร์สัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ Optaros ได้นำเอกสารความยาว 64 หน้า เกี่ยวกับการใช้โอเพนซอร์สซอพต์แวร์ออกสู่สาธารณชน ในเอกสารดังกล่าว มีข้อมูลโดยสรุปเกี่ยวกับโอเพนซอร์สซอพต์แวร์กว่า 350 ตัว เพื่อใช้สำหรับงานพัฒนาโปรแกรม และงานระดับ enterprise ข้อมูลประกอบด้วย ความพร้อมของซอพท์แวร์ต่องาน enterprise, ความสามารถของซอพท์แวร์, ความเคลื่อนไหวของ community ผู้พัฒนา, ซัพพอร์ท และ สัญญาอนุญาต
ขอยืมคำพูดของ Ford Antitrust มาใช้สักหน่อยครับ "ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ จั่วหัวพูดถึงทีไร เว็บไม่แตกก็ร้อนกันไปเป็นแถบ ๆ" แต่เนื่องจากตอนนี้เยอรมันเข้าหน้าหนาวละ หากเขียนเรื่องนี้แล้วร้อนก็คงดี จะได้ประหยัดค่าทำความร้อนไปได้หลายยูโร ซึ่งตอนนี้ประเด็นนี้กำลังร้อนมาก ๆ ใน blognone ผมไม่ได้เข้าไปอ่านแป้บเดียว กว่าสามร้อยความคิดเห็นไปแล้ว ตามอ่านแทบไม่ทัน วานฝากผู้เกี่ยวข้อง ให้ปักหมุดประเด็นนี้ไว้นาน ๆ หน่อยก็ดีครับ เผื่อจะมีความคิดเห็นที่สี่ร้อย ห้าร้อย ให้ได้อ่านกัน
หลังจากที่ Google ได้ส่ง Google Chrome เวบบราวเซอร์ตัวใหม่เข้าลงแข่ง ประชันความสามารถกับเวบบราวเซอร์ตัวอื่น ๆ เป็นที่ฮือฮาในวงการผู้ใช้อินเตอร์เนตทั่วโลก ความแรงของ Google Chrome ทำให้นักท่องอินเตอร์เนตชาวเยอรมันจำนวนมากสนใจ และดาวน์โหลดมาทดลองใช้งาน
ล่าสุดทาง Bundesamt für Sicherheit in der Informationstechnik (BSI) หรือแปลได้ว่า สำนักงานความปลอดภัยในเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ได้ออกมาเตือนประชาชนไม่ให้ทดลองใช้ Google Chrome เพราะ Google Chrome จะส่งข้อมูลส่วนตัวบางอย่างของผู้ใช้งานกลับไปยังบริษัท
ผมเป็นคนที่ชอบศึกษาเรื่องภาษาเขียนโปรแกรม ดังจะเห็นได้จาก จำนวนบล็อกที่ผมเขียนเกี่ยวกับภาษาเขียนโปรแกรม ที่มีมากกว่าในเรื่องอื่น ๆ จากการศึกษาโดยการเข้าไปหาข้อมูลในอินเตอร์เนตพบว่า เรื่องภาษาเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องศาสนา คือ เป็นเรื่องที่มีพื้นฐานอยู่บนความเชื่อ มากกว่าเหตุผล
ทฤษฎีทางความเชื่อเกี่ยวกับภาษาเขียนโปรแกรมจำนวนมาก ได้ถูกกล่าวอ้างโดยไม่ได้รับข้อพิสูจน์ โดยเฉพาะจากเหล่าสาวกของภาษานั้น ๆ บางครั้งเวลาผมอ่านก็เคลิ้มตามไปเหมือนกัน บางครั้งก็อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า มันจะจริงเหรอ ???
หมายเหตุ : ขอโฆษณาต้นฉบับหน่อยครับ ที่ BioLawCom.De :D