การที่กูเกิลซื้อ Motorola ย่อมทำให้ผู้ผลิต Android รายอื่นๆ ไม่สบายใจ ช่วงหลังเราจึงเห็นข่าวซัมซุงไปจับมือกับอินเทลทำ Tizen หรือข่าวลือว่า HTC จะซื้อ Palm อยู่เป็นระยะ
Eric Schmidt ประธานของกูเกิลออกมาสยบความกังวลนี้ (คนจะเชื่อหรือเปล่าก็อีกเรื่อง) โดยให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่าสิ่งที่กูเกิลให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ecosystem ของ Android ดังนั้นกูเกิลจะไม่ให้ความสำคัญกับ Motorola หรือผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อรักษาพลวัตรของ Android เอาไว้
เขายังยืนยันว่าเป้าหมายหลักของกูเกิลคือสิทธิบัตร 17,000 รายการที่ Motorola มี ซึ่งจะช่วยหยุด "สงครามสิทธิบัตร" ในโลกมือถือได้ นอกจากนี้ยังจะได้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่สามารถสร้างมือถือ-แท็บเล็ตสำหรับอนาคตได้
ที่มา - Bloomberg
Comments
ไม่รู้คนอื่นเขาจะเชื่อหรือเปล่า เห็นแห่กันไปทำ os ใหม่กันหมด
สงสัยบอกช้าไปนิด เจ้าอื่นเตรียมแผนสำรองกันให้วุ่นเลย
สาเหตุไม่ใช่กรณีนี้อย่างเดียวหรอกครับ แต่เป็นเพราะทุกเจ้าเล็งเห็นว่า Android เริ่มมีค่าใช้จ่ายแฝงเพิ่มออกมาเรื่อยๆ อย่างเช่นค่าสิทธิบัตรที่ต้องจ่ายให้ไมโครซอฟท์ เป็นต้น
อีกอย่างคือแต่ละเจ้าก็ต้องการจะครองตลาดให้มากที่สุด ก็เลยต้องกระจายตัวไปในหลายๆ ตลาด
สุดท้ายก็คือ ความเป็นเจ้าของครับ ใช้ของคนอื่นหรือจะสู้ใช้ของตัวเอง (แต่ในยุคปัจจุบันผมว่าแนวคิดนี้ทำยากครับ เจ้าเดียวที่เห็นทำแล้วประสบความสำเร็จสุดๆ ก็คือแอปเปิล)
ผมว่า ผู้ บริหาร เขาใช้หลักกระจายความเสี่ยงนะครับ
การไปผูกติดอะไรเพียงอย่างเดียว ถ้าล้มมันก็ล้มทั้งกระดาน
อีกอย่างอาจจะเป็นกลยุทธ์ เรียกร้องความสนใจ(หรืออื่นๆ) ด้วยก็ได้
ก่อนหน้ากูเกิลซื้อโมโต OEM ก็พยายามลดบทบาท Android โดยการสนับสนุนทุก Platform
HTC Samsung ก็ออกมือถือใหม่กับ Windows phone แค่มันไม่ติดตลาด เลยดูเหมือนสนับสนุน Android มากกว่า
แล้วซัมซุงก็ยังมี bada นานแล้วอีก เลยไม่รู้แห่ไปทำ OS เพราะโมโตจริงหรือเปล่า
Portfolio Risk Management ทั่วๆไปแหละครับ
แต่ต้องยกแอปเปิลไว้ค่ายนึงที่แข็งแกร่งมากจนแทบไม่ต้องกระจายความเสี่ยงเลย
จะไม่ใช่แค่ 3 ก๊ก ไม่แน่แอนดรอยด์อาจจะถูกโดดเดี่ยวจากผู้ผลิตมือถือรายอื่นถ้า Tizen,Palm เกิดฮิตติดตลาดขึ้นมาจริงๆ
ผมไม่คิดแบบนั้นนะครับ แค่ 3 os มันก็มากเกินไปแล้ว ในความเป็นจริง os มันจะลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือแต่เพียงผู้ชนะ (ตัวอย่างคือ windows ถึงแม้จะไม่ดี และผูกขาด แต่ก็กินตลาดได้อยู่ตัวเดียว) ทุกอย่างมันอยู่ที่สิ่งที่เรียกว่า ecosystem และ os ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด จะเป็นผู้ชนะในที่สุด ไม่ว่าผู้ผลิดจะ anti ก็ตาม เพราะคนเลือกจริง ๆ คือผู้ใช้
+1 ต้องแชร์+ทำงานร่วมกับคนทั่งไป
ผู้ผลิตหลายค่ายเริ่มระแวงการเข้ามาถือหุ้นโมโตและให้ความสนใจโอเอสอื่นที่ไม่ได้ลงมาทำตลาดเอง แม้แต่ซัมซุงเองยังหาทางเลือกอื่นเผื่อไว้ ผู้ผลิตเขาไม่น่าพอใจนักที่เจ้าของมาทำตลาดแล้วตัดราคาหรือข่มกันเอง และแน่นอนว่ากูเกิ้ลทำมือถือเอง+ความสามารถที่เป็นเจ้าของโอเอสย่อมเหนือกว่าคู่แข่งที่เป็นโอเอสเดียวกัน ไม่แน่อาจจะมีกั๊กหรือซุกซ่อนของดีเอาไว้ใช้คนเดียว อย่างน้อยที่สุดแอนดรอยด์เองก็ไม่ได้เปิดโค้ด 100% โค้ดที่ยังไม่ได้เปิดนั้นกูเกิ้ลเข้าถึงได้ในฐานะเจ้าของ ถ้ากู้เกิ้ลใช้ตรงนี้ให้เป็นประโยชน์เหนือกว่าคู่แข่งได้ก็จะสร้างความร่ำรวยให้กับโมโตได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ซึ่งปัจจุบันกูเกิ้ลจะเน้นรายได้ที่มาจากซอฟท์แวร์+บริการที่มาจากซอฟท์แวร์มากกว่า ผมว่าหลายค่ายมองเห็นการมาของกูเกิ้ล ณ จุดนี้
จะมีหลายโอเอสผมว่าจะน้อยหรือจะมากมันขึ้นอยู่กับการคานอำนาจกันมากกว่า เทคโนโลยีมาไว ถ้าปรับตัวไม่ทันเพลี่ยงพล้ำแล้วถูกคู่แข่งกลืนไป การแข่งขันยุคใหม่จะมาในแนวประชานิยม ถ้ามีรายอื่นให้มากกว่าประชาชนก็จะแห่กันไปเอง ทางด้านอินเทลเจ้าพ่อยักษ์ใหญ่ก็เห็นความสำคัญจุดนี้ ถึงแม้จะมาช้าแต่ทุนยังหนาอยู่ ถ้าเขาพัฒนาโอเอสที่ซัพพอร์ตชิปแล้วได้ประสิทธิภาพสูงกว่าคู่แข่ง บรรดา geek ก็จะพูดกันปากต่อปาก เดี๋ยวผู้ผลิตก็จะตามมาเอง เผลอๆ จะกลายเป็นโทรศัพท์รุ่นทอปแทน ถึงแม้ครองตลาดได้น้อยกว่า ขอแค่ 20% เหมือนแอปเปิ้ล เท่านี้กำไรมหาศาลแล้ว
สรุปเลยล่ะกัน... ซื้อสิทธิบัตร ไม่ใช่ซื้อ Motorola !!
น่าสนใจ ครับ
Motorola: เชอะ!! พ่อคนหลายใจ
Google : งอนทำแป๊ะอะไร งอนมากเดี๋ยวขายทิ้งซะหรอก ถ้าว่างมากช่วยไปทำ Moto Blur ให้ลื่นดีกว่าไม๊ เดี๋ยวปั๊ด
Destination host unreachable!!!
+100
Google : เอาให้สักเสี้ยวของ Sense UI แล้วค่อยมางอแง
Google : เฮียได้หนูมาไม่ใช่จะเอามาให้แห้งตายหรอกนะเดี๋ยวเฮียมีงานให้
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
google ตอนนี้ใครจะกล้าเชื่อสนิทใจ
ต้องเติมไปด้วยว่า "ในตอนนี้" เพราะต่อไปนโยบายอาจเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน
ฉลาดครับ
เหมือนไมโครซอฟท์ไปซื้อกิจการพีซีของ HP มาแล้วบอกว่าทุกคนไม่ต้องกลัว เราต้องการขายวินโดว์เท่านั้น
ผมว่าสิ่งที่ทำให้ ผู้ผลิต ไม่มั่นใจมากที่สุด มี 3 อย่าง
1.การ Close DEV Android
2.การที่ google ออก Google nexus Serie (เหมือนโดนทรยศ แถมยังมาพร้อม ROM ล่าสุด ที่ตัวเองแอบพัฒนา อยู่คนเดียว แต่โชคดีที่มันดันขายไม่ดี เท่าที่ควร)
3.แล้วเมื่อ ผสาน กับการมี Motorola (หลังๆ ความน่าเชื่อถือในคำพูดของ Google มันน้อย ตั้งแต่ ออก Nexus แล้ว)
บางทีการเจอกับสงความ สิทธิบัตร สำหรับบริษัท ใหญ่ อาจไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เท่า Google มี Motorola
ใครก่อสงครามสิทธิบัตรกันนะ...อืมมม (ฟิ้วววววววววว)
ย้อนไปสมัยก่อน ผมคิดว่าเป็น oracle ครับ
นึกถึงแผนภาพองค์กรชุดนึงที่ของ oracle มีทีมทนายใหญ่กว่าทีม dev
ความเสี่ยงมันสูง ตอนนี้ google อาจจะพูดแบบนี้
ต่อไปอาจจะพูดอีกแบบหนึ่งก็ได้ ใครจะไปรู้
ต่างฝ่ายก็ต่างไม่ไว้ใจกัน เพราะมันคือโลกของธุรกิจ
ถามแบบคนไม่รู้หน่อยสิครับ (หรืออาจจะตกข่าว)
ทำไมเหมือนผมไม่เคยเห็นข่าว MS ฟ้อง Apple (iOS) เรื่องสิทธิบัตรแบบเดียวกับ Android เลยล่ะครับ?
เค้าเป็นพาสเนอร์กันไม่ใช่รึ ก็ nokia(เหมือนโดนไมโคซอพซื้อไปแล้ว) จับมือกับ apple เรื่องสิทธิบัตรแล้ว
เขากำลังร่วมมือกันสกัด Android ครับ อิอิ
ถ้ากะซื้อสิทธิบัตรจริงก็เริ่มทำอะไรได้แล้วมั้ง หรือการซื้อยังไม่เรียบร้อยดี เลยยังทำอะไรไม่ได้?
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!