สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้เปิดเผยข้อมูลจากแหล่งข่าวว่า ขณะนี้ Internal Revenue Service (IRS) หรือกรมสรรพากรของสหรัฐฯ กำลังตรวจสอบกูเกิลอย่างไม่เป็นทางการว่าเข้าข่ายหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีเงินได้โดยการโยกย้ายผลกำไรไปยังบริษัทในเครือในต่างประเทศหรือไม่ แหล่งข่าวระบุว่า IRS ได้แจ้งให้กูเกิลนำส่งข้อมูลดีลที่เกิดขึ้นในต่างประเทศหลังจากการเข้าซื้อกิจการจำนวนสามครั้งที่ผ่านมา ซึ่งก็รวมถึงดีลซื้อ YouTube ที่มีมูลค่าสูงถึง 1.65 พันล้านดอลลาร์ด้วย
นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่งกล่าวว่า ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องภาษีจาก transfer-pricing (การแบ่งส่วนรายได้ระหว่างหน่วยงานที่อยู่คนละประเทศ) คือการโยกย้ายสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (intangible) ไปยังบริษัทในเครือในต่างประเทศเพื่อให้บริษัทจ่ายภาษีน้อยลง สำนักข่าวบลูมเบิร์กยังเสริมว่าหลายบริษัท อาทิ ซิสโก้ เฟซบุ๊ก ไมโครซอฟท์ ก็ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว คือการโยกย้ายผลกำไรไปยังหน่วยงานที่อาจไม่มีกระทั่งสำนักงานหรือพนักงานอยู่จริงในต่างประเทศ
กูเกิลสามารถลดทอนการจ่ายภาษีกับนานาประเทศได้สูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์โดยใช้กลยุทธ์ "Double Irish" และ "Dutch Sandwich" ร่วมกัน ซึ่งก็คือการโยกย้ายผลกำไรไปยังหน่วยงานในประเทศไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และเบอร์มิวดา (ดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ) ตัวอย่างเช่น ไตรมาสสองที่ผ่านมากูเกิลรายงานอัตราภาษีที่บริษัทจดทะเบียนจ่ายจริง (effective tax rate) อยู่ที่ร้อยละ 18.8 ซึ่งต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ยของภาษีที่ควรจะจ่ายให้กับรัฐบาลกลางและมลรัฐ หรือราวร้อยละ 39.2
ไม่ใช่ว่า IRS จะนิ่งอยู่เฉย เพราะเมื่อปี 2006 ก็ได้ฟ้องร้องบริษัทยาแห่งหนึ่งซึ่งมูลค้าที่ฟ้องร้องครั้งนั้นสูงถึง 3.4 พันล้านดอลลาร์ แต่ IRS ก็กลับมาเสียท่าแพ้คดีที่ฟ้องร้อง Veritas ทำให้การบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ transfer-pricing ลดน้อยลงไป
ข่าวนี้เนื้อหายาวแต่ดีทีเดียว ใครสนใจในรายละเอียดสามารถไปอ่านต่อได้จากที่มาของข่าว
ที่มา: สำนักข่าวบลูมเบิร์ก
Comments
หาตังๆ
IRS = กรมสรรพากร; "เข้าข่ายหลักเลี่ยง" < หลีกเลี่ยง; "นักเสรษฐศาสตร์"< เศรษฐศาสตร์; "เกี่ยวข้องกับ transfer-pricing นั่น" < นั้น?; "ข่าวนี้เนื้อหายาวแต่ดีที่เดียว" < ที่ หรือ ที?; "อ่านต่อได้จากที่มีของข่าว" < ที่มาของข่าว
ผมนึำกคำว่ากรรมสรรพากรไม่ออกจริงๆ ขอบคุณครับ
แต่ก่อนเรือกับเครื่องบินหายไปในสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า แต่เดี๋ยวนี้เงินหายแทนแล้วสินะ
เรื่องของภาษี ไม่เข้าใครออกใคร
เอ้า มีกฏหมายกันเงินออกนอกประเทศด้วย
นโยบายต่างกับญี่ปุ่นลิบลับ
สองสามสัปดาห์ก่อนยังมีข่าวว่าคุณบัฟเฟตเรียกร้องให้ขึ้นภาษีคนอเมริกันรวยๆเพื่อช่วยประเทศอยู่เลย ในขณะที่บริษัทรายใหญ่กลับเลี่ยงภาษีอยู่ซะงั้น
รอชมครับ
ผมมองว่าเป็นทุกบริษัทละครับ เรื่องการบริหารบริษัทให้เสียภาษีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
จับได้หรือไม่อยู่ที่สรรพกรหน่ะ ตามทันแค่ไหน
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนะ -.-
คนอื่นทำผิดเยอะแยะ ไม่ได้แปลว่าเราสมควรทำตามไปด้วย
ปล. ต้องแยกระหว่างช่องโหว่ทางกฎหมาย กับ ผิดกฎหมายออกจากกัน
อย่างแรกหมายถึงผิดศีลธรรมไม่ควรทำ อย่างที่สองหมายถึงห้ามทำ
ปัญหาคือ ผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทหรือคนที่เกี่ยวข้อง จำนวนมาก ไม่ได้มีมุมมองแบบนี้ไงครับ
เรื่องภาษีทำเป็นปกติอยู่แล้วครับ ถ้ามีช่องว่างของกฏหมายให้ใช้ในการหลบเลี่ยงได้ก็ทำกันหมดล่ะครับ ค่าที่ปรึกษากฏหมายทางด้านภาษีก็แพงมากๆ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ศีลธรรมที่ว่ามันศีลธรรมของใครล่ะครับ?
ทำไมเราถึงต้องบังคับให้ทุกคนมีศีลธรรมเท่ากับตัวเราเอง?
ถ้าอยู่ภายใต้(ช่องโหว่ของ)กฎหมายผมก็ไม่มีปัญหาอะไรล่ะครับ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ห้าเดือนก่อนบลูมเบิร์กเพิ่งออกฉบับ "How to pay no tax" อยู่แหมบๆ