เนื่องจากทางตัวแทนได้เข้าพบและยื่นจดหมายรวมถึงรายชื่อให้กับรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นขอปิดการลงชื่อนะครับ
คุณเทพได้ร่างจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ซึ่งกดเข้าไปดูได้ข้างใน การเข้าชื่อในจดหมายฉบับนี้ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของแต่ละท่านไม่มีบังคับนะครับ ช่วงนี้ผมจะเปิดให้คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก Blognone สามารถคอมเมนต์ได้ด้วย ดังนั้นถ้าอ่านมาถึงตรงนี้และอยากลงชื่อก็ไม่ต้องสมัครสมาชิก เขียนในคอมเมนต์ได้ทันที
วันที่ปิดรับการลงชื่อจะประกาศอีกที หลังจากนั้นตัวแทนจะรวบรวมแล้วทำการยื่นจดหมายไปยังรัฐมนตรี ถ้าเห็นว่าจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้มีประโยชน์ ก็ช่วยกันประชาสัมพันธ์ต่อด้วยครับ - mk
ปรกติบทความใน Blognone สามารถนำไปโพสที่อื่นได้อยู่แล้ว แต่จดหมายฉบับนี้ขอเป็นกรณีพิเศษ ถ้าท่านเล่นเว็บบอร์ดใดที่เกี่ยวกับไอที และคิดว่าจดหมายฉบับนี้มีประโยชน์ให้ช่วยกันเผยแพร่ด้วยการนำไปโพสและลิงก์กลับมาเพื่อให้คนมาลงชื่อกันได้ที่นี่ด้วยครับ - LewCPE
เพื่อความสะดวกในการคัดแยกชื่อ ขอความกรุณาแสดงความคิดเห็นนอกเหนือจากการลงชื่อ ในฟอรั่มครับ
English translation for this open letter by Daengbo
คนสนใจเยอะมาก เชิญชวนมาเจอหน้ากัน แลกเปลี่ยความเห็นในงาน
TLUG
เรียน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
ตามที่ท่านได้แถลงนโยบายการทำงานของกระทรวงฯ ภายใต้การกำกับดูแลของท่าน และหนังสือพิมพ์ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับการให้เหตุผลของท่าน ที่จะไม่สนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สนั้น พวกเรา ซึ่งเป็นผู้ใช้และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในประเทศไทย แม้จะไม่ขัดข้องหากท่านเห็นว่าควรใช้งบประมาณของประเทศไปสนับสนุนสิ่งที่ท่านเห็นว่าสำคัญกว่า แต่ก็เห็นว่า เหตุผลที่ท่านให้นั้น ไม่ตรงกับความเป็นจริงตามประสบการณ์ของเรา และเป็นการสร้างความเข้าใจผิดต่อสาธารณชนเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส อันจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของพวกเรา ที่ยังพยายามเตรียมการสำหรับสิ่งดีๆ สำหรับประเทศด้วยการพึ่งตนเอง แทนการรอคอยงบประมาณจากภาครัฐ จึงขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง โดยอ้างถึงรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งมีข้อความบางส่วนดังนี้:
On the subject of open source software, he said the current government plan was a case of the blind leading the blind, as neither the people who are in charge nor the people in industry seem to know the dangers of open source software.
"With open source, there is no intellectual property. Anyone can use it and all your ideas become public domain. If nobody can make money from it, there will be no development and open source software quickly becomes outdated," he said.
Apart from Linux, he claimed that most open source software is often abandoned and not developed, and leads to a lot of low-quality software with lots of bugs.
"As a programmer, if I can write good code, why should I give it away? Thailand can do good source code without open source," he said.
ขอแยกประเด็นชี้แจงเป็นข้อๆ ดังนี้:
- การทำงานที่ผ่านมา ไม่ใช่การทำงานโดยไม่รู้ทิศทาง เราได้ศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ของการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สเป็นอย่างดีแล้ว ทั้งในข้อกฎหมาย วิธีการในทางปฏิบัติ ผลลัพธ์ในแง่ผลงาน และผลทางเศรษฐกิจ เราได้เล็งเห็นผลดีต่อประเทศ ดังจะชี้แจงต่อไป จึงได้พยายามทำงานอย่างต่อเนื่องในภาคประชาชน เพื่อเสริมแรงกับโครงการของภาครัฐ
- เป็นความเข้าใจผิด ที่ว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สปราศจากทรัพย์สินทางปัญญา และกลายเป็น public domain เพราะโดยข้อกฎหมายแล้ว ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทุกชิ้นมีเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายทุกประการ แต่เป็นความสมัครใจของเจ้าของลิขสิทธิ์เอง ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นกระทำการพิเศษเพิ่มเติม ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต (license) ซึ่งเป็นการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของเจ้าของและผู้ใช้ ที่จะสามารถแก้ไขแจกจ่ายซอฟต์แวร์ หากผู้ใดละเมิดเงื่อนไขของสัญญาอนุญาต ก็จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่โครงการโอเพนซอร์สต่างๆ ให้ความสำคัญมาก และพยายามตรวจตราไม่ให้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ใด
- ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสามารถทำเงินได้ เพราะสัญญาอนุญาตของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคุ้มครองสิทธิ์นั้น ตราบใดที่การขายนั้น ไม่ได้ละเมิดเงื่อนไข ดังจะเห็นการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในฮาร์ดแวร์ต่างๆ เช่น router, อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย, โทรศัพท์มือถือ, PDA เนื่องจากการมีซอร์สโค้ดทำให้สามารถดัดแปลงซอฟต์แวร์ให้เข้ากับฮาร์ดแวร์โดยอิสระ หรือจะเป็นการขาย service เช่น การวางระบบ หรือ integrate เป็น solution ซึ่งการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สช่วยประหยัดต้นทุนและมีความยืดหยุ่นต่อการปรับแต่ง เป็นต้น ซึ่งการขายดังกล่าว ตราบใดที่ผู้ขายยังรักษาสิทธิ์ผู้ใช้ครบเต็มตามที่ตนได้มากับตัวซอฟต์แวร์ ก็ไม่ผิดแต่ประการใด และในต่างประเทศ ผู้ขายเหล่านี้ได้แบ่งส่วนกำไรจากการขาย เพื่อส่งคืนให้กับนักพัฒนาในรูปการ sponsor หรือการบริจาค หรือแม้กระทั่งจ้างนักพัฒนาให้ทำ feature พิเศษเพิ่มเติมให้ หรือจ้างเป็นพนักงานเสียเลย ทั้งหมดนี้ จึงเป็นเหตุผลที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจำนวนมากยังไม่หยุดการพัฒนาจนทุกวันนี้ และในประเทศไทย ก็มีการทำเช่นนั้นบ้างเป็นบางโอกาส แต่ยังไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากแนวคิดโอเพนซอร์สยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่ถ้าแนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุน ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดในประเทศไทยมากขึ้นได้เช่นกัน
- เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ทั้งหลายทั่วไป ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็ต้องผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติที่จะอยู่รอด ดังนั้น หากมีผู้ใช้เพียงพอ ซอฟต์แวร์ย่อมมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ไม่ถูกทิ้งให้ล้าสมัย เพราะกระบวนการโอเพนซอร์ส เน้นที่การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และผู้พัฒนา โดยอยู่ในระดับที่ลึกกว่าซอฟต์แวร์ proprietary ทั่วไป เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้ ซึ่งในจำนวนนี้ย่อมมีบางส่วนที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติม และส่งการปรับปรุงกลับมาที่แหล่งต้นฉบับได้ เท่ากับว่ามีโอกาสได้ผู้ร่วมพัฒนามากกว่าซอฟต์แวร์ proprietary เสียอีก ซึ่งนอกเหนือจากลินุกซ์เคอร์เนลที่ได้ผ่านประสบการณ์นี้ จนมีอัตราการพัฒนาที่สูงแล้ว ก็ยังมีโครงการอื่นๆ อีก เช่น Firefox (WWW browser), Apache (WWW server), Squid (HTTP proxy), MySQL (Database), PostgreSQL (Database), PHP (WWW programming), Mambo (CMS), Drupal (CMS), GNOME (desktop environment), KDE (desktop environment), X.org (GUI window system) ฯลฯ ซึ่งจากการติดตามความเปลี่ยนแปลง ซอฟต์แวร์เหล่านี้ต่างมีการปรับรุ่นอย่างสม่ำเสมอ ออกจะถี่กว่าระบบ proprietary ชั้นนำเสียด้วยซ้ำไป
- มีเหตุผลมากมาย ที่ทำไมผู้ที่เขียนโค้ดที่ดีจึงอยากให้โค้ดแก่ผู้อื่นเปล่าๆ (ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต) หากไม่นับเหตุผลของความรักสังคมมนุษย์ที่ต้องการเผื่อแผ่ หรือเพื่อความพอใจส่วนตัวแล้ว ก็ยังมีเหตุผลของภาคธุรกิจ เช่น
- กรณี Netscape ที่เคยเสียส่วนแบ่งตลาด WWW browser ให้แก่ Internet Explorer ของ Microsoft ก็ตัดสินใจสู้ด้วยการเปิดซอร์ส WWW browser สู่สาธารณะ โดยตั้งเป็นโครงการ Mozilla และได้รับความช่วยเหลือจากนักพัฒนาในอินเทอร์เน็ตในการปรับปรุงความสามารถมากมาย จนได้เป็น Firefox ซึ่งเป็น WWW browser ที่เริ่มชิงส่วนแบ่งตลาดกลับคืนมาจาก Internet Explorer มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในการร่วมมือระหว่าง Mozilla กับนักพัฒนาภายนอก ต่างก็ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
- ภาคธุรกิจที่นำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาใช้ โดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติม ย่อมมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทุกครั้งที่ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ออกมา โดยต้อง patch ซอร์สโค้ดใหม่ทุกครั้งไป ย่อมคิดถึงวิธีที่สะดวก ทั้งยังได้ประชาสัมพันธ์บริษัทไปในตัว ด้วยการพยายามส่ง patch เข้าที่แหล่งต้นน้ำ และบอกแก่ลูกค้า ว่าทางบริษัทได้ช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นน้ำอย่างไรบ้าง และถือเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ในการปรับรุ่นไปในตัว เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องรอปรับรุ่นจากหลายแหล่ง
- แม้ในภาคการศึกษาและวิจัยพัฒนา การเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปซอร์สโค้ด ก็ย่อมส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดซึ่งกันและกัน แทนที่จะทำได้เพียงอ่านบทความ แล้วเขียนโค้ดตามก่อนจะพัฒนาเพิ่ม ก็สามารถนำซอร์สโค้ดมาพัฒนาต่อยอดได้ทันที ทำให้อัตราการพัฒนาของงานวิจัยแบบร่วมมือกันสูงขึ้น
ทั้งหมดนี้ สาเหตุก็คือ กำแพงทางกฎหมายที่เคยขัดขวางการทำงานต่อยอดกันของมนุษยชาติ ได้ถูกจัดแจงเสียใหม่ ให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยไม่ขัดกับกฎหมาย และด้วยความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ทั้งนี้ วงการโอเพนซอร์สยังคงมีธรรมเนียมการให้เครดิตเจ้าของผลงานตามสมควรในรูปแบบต่างๆ ด้วย
นอกจากนี้ หากคำนึงถึงผลทางเศรษฐกิจที่จะเกิดกับประเทศ สิ่งที่พวกเราเล็งเห็นว่าจะได้จากโอเพนซอร์สคือ:
- การลดปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากซอฟต์แวร์ต่างประเทศมีราคาแพง การจะลดอัตราการละเมิดโดยจ่ายเงินซื้อทั้งหมด แม้เฉพาะซอฟต์แวร์ที่จำเป็น จะทำให้เงินไหลออกนอกประเทศเป็นจำนวนมหาศาล การเตรียมทางเลือกใหม่เพื่อลดปัญหานี้ เช่นการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ย่อมเป็นทางเลือกที่ดี ทั้งนี้ คุณภาพของซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็ไม่ได้ด้อย ด้วยสาเหตุที่ได้กล่าวไปแล้ว
- ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันในประเทศ กลไกโอเพนซอร์ส เอื้อต่อการทำงานร่วมกันดังกล่าวมาแล้ว จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้คนไทยร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีได้เร็วขึ้น เป็นการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ที่การแก้ปัญหาแต่ละครั้งมักมีค่าใช้จ่ายสูงในหลายกรณี
- พัฒนาศักยภาพนักพัฒนาไทย ซอร์สโค้ดส่วนใหญ่ที่เป็นโอเพนซอร์ส จะเป็นซอร์สโค้ดที่มีคุณภาพ ผ่านการออกแบบมาอย่างดี ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุเรื่องชื่อเสียงของผู้สร้างที่ต้องระวังก่อนปล่อยสู่สาธารณะ หรือด้วยความจำเป็นที่ต้องออกแบบโครงสร้างอย่างดีไว้เผื่อการทำงานร่วมกันของคนหมู่มาก รวมไปถึงการบริหารโครงการขนาดใหญ่ การเข้ามีส่วนร่วมของนักพัฒนาไทย (ซึ่งขณะนี้มีบ้างพอสมควรแล้ว) นอกจากจะทำให้ต่างชาติรู้จักนักพัฒนาไทยแล้ว ยังเป็นโอกาสที่นักพัฒนาเองจะได้เรียนรู้เทคนิควิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่เข้มข้นกว่าที่ใช้กันในองค์กรเสียอีก
เรื่องรายได้ของนักพัฒนาที่ท่านเป็นห่วงนั้น เราซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ย่อมเป็นห่วงไม่น้อยกว่าท่าน แต่เราเชื่อว่าเมื่อโอเพนซอร์สมีการเติบโต ย่อมเกิดช่องทางของความอยู่รอดอย่างที่เกิดในต่างประเทศเองเป็นธรรมชาติ ปัญหาจึงคล้ายไก่กับไข่เสียมาก คือเราจะรอดูผลที่เกิดขึ้นก่อน แล้วจึงส่งเสริม หรือเราจะส่งเสริมก่อน แล้วรอดูผล
พวกเราเลือกอย่างหลัง เพราะได้เล็งถึงผลในเบื้องปลายไว้แล้ว จึงยังไม่หยุดทำงาน ไม่ว่าท่าทีของภาครัฐจะเป็นเช่นไร เพียงแต่หวังว่า แม้จะไม่สนับสนุน ก็ไม่ควรเกิดการรบกวนการทำงาน อย่างที่ได้เกิดขึ้นในข่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ,
Comments
อาตมาภาพในนาม ผู้ใช้งาน XOOPS ข้อสนับสนุน กับการ ยืนจดหมายในครั้งนี้
นายธันวา วาทหงษ์
udom phunbudda
นาย กรพรหม ถิระวัฒน์
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ Information Systems Education Center (ISEC) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA
ศักดิ์กษิต ระมิงค์วงศ์ อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นาย ปกานต์ อัศวพงษ์อนันต์
นางเยาวลักษณ์ คนคล่อง Open Source ช่วยให้คนไทยพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง ไม่ใช่เป็นแค่ผู้ใช้เท่านั้น และเป็นตัวอย่างที่ดีของการรู้แบ่งปันให้กัน
Ausdang Thangthai
นายพีรพัฒน์ อโศกธรรมรังสี นักพัฒนาและผู้ใช้งานโอเพ่นซอรส์
สมเดช แสงสุรศักดิ์ (somdej@nectec.or.th)
โครงการพัฒนา และส่งเสริมซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เอกรัฐ ภัทรสิทธิเดชา ผู้ที่คิดว่า โอกาสสำหรับประเทศเล็กๆอย่างเราคือการใช้ opensource
สรรพฤทธิ์ มฤคทัต นักวิจัย, ผู้ใช้งาน OpenSource Software
นายอนวัช กองมงคล วิศวกรคอมพิวเตอร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นางสาวพัณณิตา สงวนปิยะพันธ์
นาย ธนวรรษ รุกซ้อน พนักงานบริษัท ตำแหน่งนักพัฒนาโปรแกรม ติดตามข่าว ศึกษา ทดสอบ ใช้งาน โอเพนซอร์ส และแนะนำความเห็นให้กับนักพัฒนาโอเพนซอร์ส
นายอชิตศักดิ์ บุญธรรมเจริญ Programmer - Solubiz co.,Ltd
It's my life. Open your mind for the future.
ประเทศจะก้าวไกล ถ้าเราเปิดทางให้แก่คนรุ่นหลังได้พัฒนา แบบไร้ขีดจำกัด โดยยืนบน ความพอเพียง นาย สิทธิชัย เซ้งประชา
นาย กริช นาสิงห์ขันธ์
OSS Developer/Co-ordinator
นายสราวุธ เย็นสุข System Engineer และผู้ใช้งาน Software Opensource ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
นางสาวพัชรีย์ พรหมเกตุ
นายชูเกียรติ แซ่แต้ โดยหลักการแล้วเราควรจะมีซอร์ฟแวร์โอเพ่นซอร์สอยู่เพื่อประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในด้านการศึกษา ในด้านของธุรกิจ และในด้านอื่น ๆ ใครที่คิดว่าซอร์ฟแวร์โอเพ่นซอร์สไร้ค่า ก็เหมือนกับว่าเขานั้นมุ่งหวังที่จะเป็นทาสทางธุรกิจของไมโครซอร์ฟไปตลอดกาล
ศจิษฐา ประเสริฐกุล
ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
สนุนให้มีการพํฒนาด้วยโอเพนซอร์สครับ อีกคนครับ
ภาสพันธ์ จิโนทา โปรแกรมเมอร์ ผู้ช่วยงานวิจัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
นาย ศราวุธ อิงนิวัฒน์
ผู้ใช้ และผู้เรียนรู้
ผู้ช่วยนักวิจัย ใช้ OSS ในการทดลองและวิจัย
นายนพัต พงษ์วิเชียร
วันพรรษ อนันตพันธ์
พลวัฒน์ เภตรา บริษัทไมโครเอ็กซ์ จำกัด
นายพีรภัทร์ สว่างเพียร
-เจ้าของ http://www.CWinApp.com -พนักงานบริษัทในเครือเชียงใหม่ดิจิตอลเวิร์คส http://www.cmdworks.com/about.htm
พันธุ์ประสิทธิ์ บุญเนาว์ สถาปนิก
นายวศิน แว่วศรี Support Consultance Reuters Software Thailand
เศรษฐกิจพอเพียงด้วย Open Source ครับ
ถิรเจต พันพาไพร ผู้ช่วยนักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
นายนพพร จันทร์ฉิม นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นายเมธี ปรเเสริฐวงษา นักพัฒนาซอฟต์แวร์บริษัทเอกชน ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายอนวัช กองมงคล วิศวกรคอมพิวเตอร์
Open Source ทางเลือกที่ควรสนับสนุน
ชวลิต ทินกรสูติบุตร RHCE วิศวกรระบบ ,เนคเทค, กระทรวงวิทยาศาสตร์
ประเทศชาติจะก้าวไกล ถ้าเราพึ่งตนเอง และ พัฒนาแบบไร้ขีดจำกัด ด้วยความพอเพียง นาย สิทธิชัย เซ้งประชา
ธเนศ ม่วงทอง ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
เกรียงไกร หนูทองคำ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นายวิรัช เหมพรรณไพเราะ
ผู้ศึกษาและผู้ใช้งาน Open Source Software ที่ต้องการสนับสนุนให้ประเทศไทย ก้าวสู่การะบวนการพัฒนาที่ถูกต้อง และเปิดกว้างแก่ทุกระดับของสังคม
นายสุเมธ สุทธิกุล ผู้ใช้งานโอเพนซอร์ส
นายเมธา ผลภาษี ผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Peerumporn Jiranantanagorn
วรรัตน์ คงสมัย ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส ใช้งานมาไม่ต่ำกว่า 8 ปีแล้วค่ะ
งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112 tel.0867486949
แนวทางโอเพนซอร์ส สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
นายวิภัทร ศรุติพรหม ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เห็นด้วยกับโครงการ opensource ครับ
สุทธิชัย ชมชื่น นักศึกษา ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิค
ผู้ใช้งาน โอเพ่นซอร์ส และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือสอง อดีตนักศึกษา วิศวกรรมไฟฟ้า-สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
นายวทัญญู ขันทอง
ฤทธิชัย จิตภักดีบดินทร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Developer , Webmaster , Web Developer , Graphic Designer ผู้ใช้งาน และพัฒนา โอเพ่นชอรส์
ศีลพล สุกไสว นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส ขอ Source Code จงสถิตอยู่กับท่าน
เห็นด้วยครับ ผู้ที่กำลังศึกษา opensource เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงาน และนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ embedded
นายกฤษดา มานะสิทธิชัย นักศึกษาระดับปริญญาโท MBA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Software Developement Consultant
OpenSource เป็นการสนับสนุนให้มีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม มากกว่าการ Click Next อย่างเดียว ผมได้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็จาก WebSite ที่เป็นแหล่งความรู้ของ OpenSource นี่แหละ
ถ้าเป็น WebSite ของโปรแกรมลิขสิทธิ์ก็มีแต่เพียงโฆษณาผลิตภัณฑ์ และเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมที่ขาย ถามว่าได้ความรู้ไหม ก็ตอบว่าได้ แต่เป็นความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมของเขานั่นแหละ
แล้วเมื่อไหร่คนไทยจะได้ผลิตโปรแกรมใช้เองได้บ้าง CU Writer, ราชวิถีเวริ์ด ก็หายไปหมดแล้ว หน่วยราชการมัวแต่ส่งเสริม ใช้โปรแกรมสำนักงานของโปรแกรมลิขสิทธิ์
ถามว่าเจ็บช้ำไหมที่ต้องจ่ายเงินไป เขาคงไม่ช้ำหรอก เพราะไม่ใช้เงินของเขา แต่มันเป็นเงินภาษีที่เราจ่ายไป ไม่เคยได้คิดกันหรอก
ไม่เคยคาดว่ากับ "รัฐบาลทักษิณ" เพราะเป็น "รัฐบาลทุนนิยม" ยังไง ก็เข้าข้างกลุ่มทุน แต่ถ้ารัฐบาลนี้ยังเป็นแบบเดียวกัน ก็สิ้นหวังครับ
หทัย ตันไถง PhD Candidate, Faculty of Computer Science, Dalhousie University, Canada อาจารย์ วศ.คอมพิวเตอร์ ม.พระจอมเกล้า ธนบุรี
นายนิรันดร์ อังควัฒนวิทย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
โอเพ่นซอร์สอาจเป็นเส้นขนานกับท่าน แต่ท่านก็ไม่ควรดึงมาทุบตีให้ต่ำต้อยครับ เรามาช่วยกันสนับสนุนซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สดีกว่าครับ
นายสุขุม พรสุขศิริ opensource อย่างน้อยก็เป็นทางเลือกครับ การจะบอกว่าอะไรดีไม่ดีนั้นมันต้องดูด้วยครับ
ร่วมด้วย 1 เสียงค่ะ
ขอบคุณค่ะ
นายชาคริต วรกุลสวัสดิ์
วศ.บ. ไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้สนับสนุนและใช้งาน Linux, PHP, Apache, MySQL และอื่นๆ
นายกิตติศักดิ์ ธนศักดิ์สินประภา นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า ธนบุรี
เอกวิทย์ จรจิตร ผู้ช่วยวิจัย โครงการพัฒนางานวิจัยและธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยฐานข้อมูลสิทธิบัตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กฤษณลักษณ์ พิริยะเชิดชูชัย พนักงานทางด้าน IT บริษัทเอกชน (บมจ), นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ขอสนับสนุนการใช้งาน Open Source Software
นายกานต์ อุ่ยวิรัช นักศึกษาปริญญาโท สาขา Computer Science สถาบัน Asian Institute of Technology (AIT)
สนับสนุนซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส
โอเพ่นซอร์สเป็นแหล่งความรู้และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
นายพิชัย กิตติคง ผู้ใช้งานโปรแกรม Open Source
อยากให้ผู้ที่ต้องการใช้ Computer มีทางเลือกอื่น เพราะเดี๋ยวจะเหมือนกับน้ำมัน ที่กลุ่มโอเปคเป็นผู้กำหนดทิศทาง
นายเอกราชย์ ละมูล เจ้าหน้าที่ IT ธุรกิจโรงแรม
ณัฐนันท์ มัทนัง Software Engineering
สนับสนุนการใช้ Opensource
"ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส...การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานแห่งความพอเพียง"
นางสาวสินีนาฏ เทียนขาว ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
Varodom Toochinda RDiPT, Kasetsart University
ปัญญรักษ์ งามศรีตระกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นายธนาธิป ลิ่มนา นักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นาย วิชัย พรพุทธคุณ ผู้ใช้งานโปรแกรม Open Source
นายภาณุเดช ทิพย์อักษร อาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผู้ใช้งาน Opensource
ขอสนับสนุนด้วย 1 เสียงค่ะ
สกาวเดือน คลองมดคัน โปรแกรมเมอร์
นศ.ปริญญาโท ผู้ใช้ Open Source
ขอสนับสนุนด้วยคนครับ นักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทศพร กิจโอสถ โปรแกรมเมอร์ และผู้ใช้งาน Open Source Software.
นาย สัจจะ วิบูลย์เกียรติ์ พ่ิอบ้านที่ให้ลูกได้เล่นเกมส์สำหรับเด็กบน Ubuntu
น.พ.นคร บุญแต่ง ผู้ใช้งานเอง และแนะนำทางร.พ.ในการลดต้นทุนการซื้อ software แพงๆมาใช้ พนักงานธุรการเริ่มคุ้นเคยกับopen office.org แพทย์ พยาบาล เริ่มทำconference ด้วย impress ฝ่าย IT.ใช้ linux server และHosXP software opensourceพวกนี้ใช้งานได้จริง ทันสมัย มีเหตุผลตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง
นันท์ธะยุทธ์ คุโณภาส "ผู้ที่ใช้โอเพ่นซอร์ส มานาน"
อ่านแล้วดูเหมือน เขาจะเน้นความทันสมัยนำ การนำมาใช้งานอย่างพอเหมาะพอดี สำหรับผมความคุ้มค่าในการใช้ อยู่ที่การนำมาใช้งานให้ตรงประเด็น และดูเหมือนว่าเขาไม่เข้าใจว่าคอมฯ 100 เหรียญ ถูกผลิดขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อะไร นั่นไม่เข้าใจการนำมาใช้งานให้ถูกจุด และได้ประโยชน์ ที่ตรงใหน
"ผมเอาด้วยคน"
นายนาวิน สมญาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
Soraphong Danrangab computer Science Student, Ramkhamhaeng University
ผู้ศึกษาโอเพ่นซอร์ส และนำมาใช้ในหน่วยงานราชการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย สมาชิก tahiadmin.org
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายพงษ์เกียรติ เชษฐพิทักษ์สกุล อาจารย์ประจำ ภาควิชาครุศาสตร์วิศวกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้ใช้งาน Open Source Software และเชื่อมั่น ศรัทธาในแนวทางของ Open Source
นายอัครวุฒิ ตำราเรียง Vice President & Core Team Developer - Mambo Foundation Inc. http://www.mambo-foundation.org Quality & Testing Workgroup / Translation Team - Joomla.org
Mambo LaiThai / Joomla LaiThai Directer - MamboHub.com / JoomlaCorner.com
นายฉัตรชัย จันทร์อินทร์ ศูนย์เทคโนลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผู้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส สำหรับพัฒนาและทดสอบการใช้งาน IPv6
ถ้าไม่มี Open Source ให้พัฒนาบ้านเมืองจะเจริญได้อย่างไรครับ
อลงกรณ์ จีระดิษฐ์ เจ้าหน้าที่อาวุโสการจัดการฐานข้อมูลของบริษัทการท่องเที่ยว
นาย ภานุพงษ์ โชติเวชการ ผู้ชอบใช้โปรแกรม Open Source
ผู้ใช้งาน และสนับสนุนโปรแกรมประเภท Open Source. ประชาธิปไตยต้องเปิดกว้าง..อย่าปิดกั้นความคิดการพัฒนา
รศ.ดร. วรวุธ วิสุทธิ์เมธางกูร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ม.สงขลานครินทร์ ผมใช้ Linux และ Open source software มานานกว่า 10 ปีแล้วครับ มีคุณภาพสูง และใช้งานได้ดี นอกจากนี้ยังตรงตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงด้วยครับ
ผู้ใช้งานและศึกษาการเขียนโปรแกรมจากซอฟแวร์โอเพนซอร์ส
นายอภินันท์ วุฑฒะวนิช ภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นายเอกสิทธิ์ เสริมธนวิศาล ผู้ใช้ open source
นายมนัสรินทร์ วิเชียรเลิศ Network Administrator และอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
เปี่ยมศักดิ์ ขันบุญ ผู้ใช้งาน Open Source
โปรแกรมเมอร์ และผู้ใช้งานโปรแกรม Open Source
ประภาศรี รักษ์บางแหลม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ OpenSource ในการพัฒนาเว็บไซค์ส่วนราชการ
นายแพทย์ภาณุทัต เตชะเสน นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ และ กรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) - SIPA
นายวีนนาท มงคลมาลย์ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
onedd.net
นายปิยะชาติ ชินแสง นักศึกษา computer science ม.ขอนแก่น
เคยลองใช้งาน เห็นว่ามีการพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ ขอสนับสนุนให้มีการพัฒนาต่อไปเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
สิ่งหนึ่งที่ได้จากชาว Opensource คือ ความใจกว้างและความมีน้ำใจของชาว Opensouce ด้วยกัน
เห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ทุกประการ
พิสิษฐ์ คุณจักร
นางสาว วาทยา บุญเปี่ยม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ผู้ใช้งาน Open Source Software.
นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายกิจติพร สงวนทรัพย์ (นักศึกษา)
"กำลังศึกษาการใช้โปรแกรม OpenSource เพราะเห็นคุณค่าและประโยชน์ของ software เสรีครับ"
นายศิลา ชุณห์วิจิตรา โครงการพัฒนาและส่งเสริมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นผู้ร่วมพัฒนา OpenOffice.org (http://www.openoffice.org)
ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ หาดใหญ่ สมาชิก PSU LUG
แนวทางของ Opensource เป้นแนวทางพอเพียงตามแนวทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อำนาจ สุคนเขตร์ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สนับสนุนจดหมายเปิดผนึกด้วยครับ
นาย นิรันดร์ ตั้งเกษมุกดา ,นักศึกษา , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
opensource เป็นแนวทางพอเพียงตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
อำนาจ สุคนเขตร์ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการ ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี
เพื่อภูมิ เนียมลาภเนื่อง Opensource based Independent Web Developer in Chiang Mai.
ข้าพเจ้าหนึ่งในผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส เห็นด้วยกับคุณเทพครับ
นายธีรวัฒน์ ศรีหิรัญเดช นักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขตการศึกษาภูเก็ต
นักศึกษา ป เอก ทำงานเกี่ยวกับโอเพ่นซอร์ส
Please add my name to your letter to Dr. Sitthichai. The only reason for opposing open source is that no palm-greasing happens...
นาย สัตตราวุธ สุวรรณหงษ์ ผู้ใช้งาน โอเพ่นซอร์ส และนำ โอเพ่นซอร์ส มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการ integrate เป็น solution ให้กับองค์กร และ services apartment
นายพิชิต ป่ามะไพร เห็นด้วยครับ
สนับสนุนด้วยครับผม
นายยุทธชัย อิ่มสมบูรณ์
กราฟิกดีไซน์ บริษัท ละม่อม จำกัด
นาย ไกษร จันทบุตร ขอลงชื่อด้วนคนครับ ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้ใช้ OpenSource โดยเฉพาะช่วงท้ายของจดหมาย ---เราไม่จำเป็นต้องรอ---
อาทร ลอยสรวงสิน นักศึกษาปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ดูแลเว็บสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ http://www.cusa.sc.chula.ac.th
นายณัฐรัฐ ฟักสุวรรณ
นายอานนท์ ทองเต็ม วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาการสารสนเทศ สจล. IT Senior ที่มองเห็นประโยชน์ของ Opensource
เห็นด้วยทุกประการ นายศอลาฮุดดีน เฉลิมไทย ผู้ใช้และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ว่าที่ร้อยตรี พุฒิพงศ์ ดำรงพานิชชัย Quaily Assurance Officer
นายเทพพิรัก แก่นโสม สนับสนุนจดหมายเปิดผนึกด้วยครับ/ผู้ใช้โอเพ่นซอร์ส
นักศึกษา+พนักงานบริษัท บุคคลหนึ่งที่ใช้ Software Opensource เป็นประจำและก็จะไม่เลิกใช้ด้วย ลงนามด้วยความสมัครใจ
นายดวงดี เป็งสุรินทร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการศึกษา โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ผู้ใช้งาน user http://www.opentle.org
อดีต นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ผู้ดูแลระบบ IT บริษัทเอกชน ใช้ open source ในการทำงานจริง
นายสุรชัย ดียิ่ง อาจารย์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
เทพฤทธิ์ ภาษี Mould Designer Aluminium Die Casting for Auto-Parts
OpenCascasde (Opensource for Computer Aided Design/Manufacturing/Engineering)
จารุวัฒน์ สมบูรณ์ นักพัฒนาและผู้ดูแลระบบ ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นายไพรัช ศรีโยธา นักนิวเคลียร์เคมี ๗วช. ผู้ไม่ใช้ไฟฟ้ามา ๖ ปีแล้ว ผู้ไม่ขอปรับตำแหน่งเพราะคนประเมินมันแย่ และบังคับให้ใช้ microsoft word เขียน แต่ผมเป็นผู้ไม่ใช้ microsoft ทว่าเป็นผู้คลั่งไคล้ไหลหลง FreeBSD เป็นซีงิต
ประเสริฐ วิโนทัย ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส,พนักงานบริษัทเอกชน
นายธีรภัทร ถิระโชติ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สและผู้พัฒนาเว็บไซต์โดยใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายมนูร ชิณการณ์
วิศวกรพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใช้เทคโนโลยีจำนวนมากจาก Open Source ในการต่อยอดพัฒนาสินค้า
กรมการสนเทศทหาร
รัฐควรสนับสนุน โอเพนซอร์ส เช่นควรมี โปรแกรม office แห่งชาติ รวมทั้งควรลงทุนทั้งบุคลากรและงบประมาณเพื่อ สร้าง พัฒนา บำรุงรักษา ให้สามารถใช้งานได้ตลอดไป
จงรู้จักพอเพียง และพึ่งพาตนเอง
อภิสิทธิ์ รัตนะ ผู้ใช้งาน Open Source
นายวรศิลป์ กิจเชวงกุล พนักงานบริษัท ผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์สและนักเขียนอิสระ
ผู้ใช้Linux Desktop และ Server และ โปรแกรม Opensource เป็นชีวิตจิตใจ
นายสุพจน์ พันธ์สกุล ----------------------- อาจารย์สอนพิเศษ NetDesign และ ม.ศิลปากร เป็นผู้ใช้และสนับสนุนซอฟต์แวร์ Open Source มาโดยตลอด
วรณัฐ ซื่อสัจจพงษ์ พนักงานบริษัท และ ผู้ใช้งาน Open source
พัทยา อุประ desi2n production / web design lab
ที่ desi2n (ดีซิทูเอ็น) เราใช้ opensource จำนวนมากในการทำงานและสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่ให้ประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน หรือดีกว่าในแง่ความยืดหยุ่นของการเข้าถึงของ user ทั่วไป
opensource เคยเป็นความลำบากและดิ้นรนเพื่อลดต้นทุนในอดีตนั้นเป็นความจริง แต่ถึงวันนี้ opensource คือโลกแห่งพัฒนาการแบบบูรณาการครับ
นายอรรถสิริ เลาหวนิชย์ ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
นายกีรติ ตันสวัสดิ์เจริญ
ผมเห็นด้วยครับ ขอลงชื่อด้วยคน
จากที่ใช้โปรแกรม open source ที่ผ่านมาผมประทับใจในหลายๆอย่างมาก และกำลังจะเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง ict มาพูดแบบนี้ขอบอกว่าเสียใจมากครับ
นายปรมินทร์ จูมจะนะ ผู้สนใจและใช้งานซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์ส
ศักดิ์สิทธิ์ สมศิริ ผู้ใช้งาน Open source
นายสุรสีห์ ประสพธนกิจ, ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส, พนักงานบริษัทเอกชน ที่มีนโยบายการใช้ Open Source อย่าง OpenOfice มาลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของบริษัท และนำ Linux OS มาใช้ในส่วนที่ไม่จำเป็นในการใช้ MS Windows OS เช่นใช้รับส่ง Mail, WWW, OpenOffice.
นายอิศรา ก้อนสมบัติ เกมส์โปรแกรมเมอร์
กิตติทัศน์ เมธาพิสิทธิกุล นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ฯ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
มือใหม่สนใจค้นคว้า open source ครับ
ผมสนับสนุนแนวความคิดเรื่อง open-source software development เพราะเป็นแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีความรู้ความสามารถได้มีส่วนร่วม ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และลดอำนาจการผูกขาดของบริษัทเจ้าของซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ลดการพึ่งพาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ราคาแพงซึ่งส่วนใหญ่เป็นของบริษัทต่างชาติ
ในฐานะนักเสรีนิยม ผมอยากเห็นตลาดซอฟต์แวร์ที่มีทางเลือกหลากหลายไม่ผูกขาด และสามารถทำให้คนไทยเข้าถึงสารสนเทศดิจิทัลได้มากขึ้นด้วยต้นทุนต่ำ
จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา open-source software ให้มากขึ้น แทนที่จะเลิกส่งเสริมเลิกสนับสนุน
นายประชา นาดี ข้าราชการชั้นผู้น้อย ผู้ใช้ซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์ส เห็นด้วยในข้อความของจดหมายเปิดผนึก และแสดงความจำนงขอเข้าชื่อในจดหมายฉบับนี้
ฟาร์อีส บินสตีระ - Opensource User -
นายธันยวัต สงวนชื่อ , นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ลาดกระบัง , co-webmaster www.littlemee.net
สนับสนุน สิ่งดี ๆ จะได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทย
นายปวีณ เขื่อนแก้ว , ผู้ใช้งานซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์สและนิสิตปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นาย ไตรพร หนูจ้อย นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์ส เป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน และ หาความรู้ในชีวิตประจำวัน
ธนิยะ ศุภศิลป์ opensource จงเจริญ (ไม่จำกัดเฉพาะ software)
สนับสนุน open source ตลอดไปครับ http://www.e-ubon.com
นายนวนิตย์ อัครา ศรีสุข โปรแกรมเมอร์ และ ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
สิทธิพัฒน์ วงษ์วิริยะกุล นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพนซอร์ส
ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น Source code ทั้งหมด ในประเทศไทยถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ เจ้าของผู้เขียน Code ดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องจดแจ้งแต่อย่างใด ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติในตัวของผลงานมันเอง และตกเป็นของผู้เขียนทันที ตราบใดที่ไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันใดๆ กับนายจ้าง
ถ้าไม่มี Open Source แล้วเมืองไทยจะเรียนรู้อย่างก้าวกระโดดได้ยังไง? อย่างกับว่าเมืองไทย โดดเด่นและเป็นชั้นนำทางด้าน Technology หรือการเขียนซอฟต์แวร์งั้นนี่
พูดจาแบบนี่ ถ้าประเทศอื่นเค้าบอกโอเค เมืองไทยไม่รับ Open Source เค้าก็กำหนดให้ Source Code ของเค้า ประเทศใดใดในโลกสามารถนำไปใช้พัฒนาต่อยอดได้ ตามปกติ แต่สำหรับประเทศไทยห้ามนำไปใช้
อย่าลืมว่าเค้าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เค้าจะทำอย่างไรกับผลงานของเค้าก็ได้นะ
ร่วมลงชื่อ นายธนาพล รัตนบูรณ์
ผศ.ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ ผู้พัฒนาระบบการจัดการความรู้สำหรับองค์กรชื่อ KnowledgeVolution (http://knowledgevolution.org/) และผู้ดูแล GotoKnow (http://gotoknow.org/) ซึ่งทำงานด้วย KnowledgeVolution เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศไทยด้วยการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" ของคนไทย ซึ่งซอฟต์แวร์ open source นี้สนับสนุนโดย "สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)"
เรามีศักยภาพเพียงพอที่จะเขียนซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ซื้อขายในท้องตลาด และเรามีจิตใจงดงามเพียงพอที่จะแจกซอฟต์แวร์เหล่านั้นโดยไม่คิดเงิน
สำหรับ open-source programmers หลายสิบล้านคนทั่วโลกนั้น การได้เป็น "ผู้ให้" มีค่ามากกว่าเป็น "ผู้รับ"
นายชัยวัฒน์ ช่างกลึง
พีระ โพธิกุล Senior IT Executive ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพนซอร์ส
นายธนเกียรติ ศรีศรัณยกุล นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพนซอร์ส เห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึกข้างต้น และแสดงความจำนงในจดหมายฉบับนี้
MR.NUTTAPONG SUWANNADNG , Trainee Network Engineer at Suvarnablumi Airport
สุนิดา เชาวน์เกษม วิศวกร ระดับ 7 แผนกวิชาการซอฟท์แวร์มาตรฐานรหัสเปิด กองวางแผนและวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ************************** การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำ OpenOffice.org เข้ามาใช้งานใน กฟผ. สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ ไม่ต่ำกว่า ปีละ 40 ล้านบาท และมีโครงการสนับสนุนให้ใช้ OpenSource Software อื่นๆ เช่น MySQL, Linux เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านซอฟท์แวร์
นายพาสน์ ปราโมกข์ชน, ผู้ใช้งานซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์สและนิสิตปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายพงศกร เอกอักษร นักศึกษาโปรแกรมวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ลงนาม
ธีรยุทธ โกสินทร์ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาชิก ThaiGrid
ผู้สนใจและใช้ Open source Open source เป็นฐานแนวคิดสู่การพัฒนาและการเรียนรู้ และเป็นจุดเริ่มต้นของความคิด Innovative ที่จะพัฒนาต่อยอด...
ผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์สและจะใช้ตลอดไป
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพนซอร์สในการประกอบอาชีพทางด้าน IT (RedHat Certified Engineer)
นายปานนวัต จานทอง การพัฒนาโอเพนซอร์ส เป็นสิ่งที่ดีนะฮะ
นายสามัญ คำภาแก้ว วิศวกรระบบควบคุม, ผู้ใช้ซอฟแวร์เสรี
นายวรวุฒิ สุภชัยพานิชพงศ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ม.สงขลานครินทร์ ผู้ใช้งานopensource
นางสาวยุพเรศ บุญดิเรก ผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์ส ลูกจ้างในหน่วยงานราชการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นายสุกฤษฎิ์ สราญกวิน ผู้ที่ต้องพึ่งพาโอเพ่นซอร์สตลอดเวลา
นายปิติพล เทียนทองคำ นักศึกษา ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นายสิทธิพันธ์ รัตนกัลยาณชัย ผู้ใช้งานOpenSource Software
ร่วมสนับสนุนแนวคิดและแนวทางพัฒนาซอร์ฟแวร์ OpenSource ในประเทศไทย
OpenSource คือ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง OpenSource ช่วยแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ OpenSource ประหยัดค่าใช้จ่ายในภาครัฐและเอกชนได้มหาศาล ท่านควรทบทวนแนวคิดและแนวทางของท่านใหม่ครับ OpenSource Open Mind
นายธัญ ชาลีนุกูล ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายธัชชัย เอ้งฉ้วน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักพัฒนา และผู้ใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นาวาอากาศตรีจารุวัฒน์ จันทร์ทอง นายทหารสื่อสารข้อมูล ศูนย์คอมพิวเตอร์ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ
อ่านแล้วและเห็นด้วยอย่างมากและขอยกย่องชมเชย ทุกท่านที่ช่วยพัฒนากัน ดีกว่าคนที่ไม่ช่วยแล้วยัง คอยหาข้ออ้างที่ฟังดูแล้วเสมีอนคนที่เห็นแก่ผลประ โยชน์ตนเองโดยไม่มองถึงผลประโยนช์ของส่วนรวม บ้างเลย
นายอุดมศักดิ์ ถาวรชัยอันนต์ ขอร่วมลงชึ่อและแสดงความคิดเห็นด้วยครับ อ่านแล้วและเห็นด้วยอย่างมากและขอยกย่องชมเชย ทุกท่านที่ช่วยพัฒนากัน ดีกว่าคนที่ไม่ช่วยแล้วยัง คอยหาข้ออ้างที่ฟังดูแล้วเสมีอนคนที่เห็นแก่ผลประ โยชน์ตนเองโดยไม่มองถึงผลประโยนช์ของส่วนรวม บ้างเลย
นายสาโรจน์ นิ่มแก้ว บริษัทเอกชน
นายวัฒนา ยุกตวิสาร เจ้าของร้าน Internet "Cool Net Club" ที่ใช้ Diskless Linux ในร้านทั้งหมด
นายวันชนะ มั่นพรรษา นักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้งาน ศึกษา และแบ่งเบาภาระผู้ปกครองได้ด้วยความรู้จาก OpenSource
นายสุริชาติ สัมฤทธิ์, โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สมาชิก LTN/TLWG
นายศิระ ประภาษานนท์ ันักศึกษาวิทยาศาสตร์ รามคำแหง,นิเทศศาสตร์ รังสิต
ดูแลระบบและใช้งานซอฟแวร์โอเพ่นซอร์ส เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานในชีวิตประจำวัน เช่น ทำ server ด้วย linux ,mambo ,phpnuke
นาย จีรพงษ์ น้ำเพชร นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ขอสนับสนุนการใช้งาน Open Source ครับ
ร่วมลงชื่อครับ
นายสุเมธ เพิ่มวงศ์อัศวะ อาจารย์ประจำภาควิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
นางสาวสุปราณี ธีระวัฒนสุข, โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สมาชิก LTN/TLWG
นายวิทยา วิจิตร เจ้าหน้าที่ดูแลระบบสารสนเทศ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์
สุรสีห์ ก้องกิติกุล ผู้ใช้งาน ซอฟแวร์โอเพ่นซอร์ส
เห็นด้วยในระดับหนึ่งน่ะ แต่ขอยกมือให้น่ะ แต่ทั้งโอเพ่นซอร์ส และโคลสซอร์ส นั้นก็มีข้อดีข้อเสียน่ะครับ แม้หากรัฐจะสนับสนุน แต่ระบบซอฟแวร์นั้นใช่จะใช้ในส่วนของหน่วยงานรัฐ แต่หากมันยังคงใช้ในหน่วยงานเอกชนด้วย ซึ่งนโยบายของรัฐ หรือ เอกชนส่วนมาก เขาอาจจะไม่มายในงบประมาณที่เหลื่อมล้ำกันนิดหน่อยน่ะ เขามองถึงความสามารถ และ การใช้งานได้สะดวก ก็อยากให้ลองๆคิดกันนิดนึงน่ะครับ เพราะเราอยู่ในโลกของ ความเป็นจริง ไม่ใช่คิดเอามันน่ะครับ อย่าลืม "ข้อมูลต่างๆนั้นสำคัญมากๆ สำหรับองค์กร" ดังนั้นเราควรที่จะสนับสนุนทั้งสองแบบเพื่อดึงเอาข้อดีข้อด้อย ออกมา ดังเช่น เมื่อเราคิดจะทำความดี เราก็ควรรู้ความไม่ดี เพื่อจะหลีกเลี่ยงมัน ....
สุวิทย์ นาเจริญวุฒิกุล ขอยกมือด้วยคนครับ
เห็นด้วยตามจดหมายข้างต้น ปัจจุบันใช้งาน โอเพ่นซอร์สมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ ทั้ง linux ,mambo,phpnuke เป็นต้น สนันสนุนโครงการ opensource ต่อไป
เห็นด้วยกับจดหมายทุกประการและขอสนับสนุนการใช้ Opensource Software ครับ
ม.ร.ว. เฉลิมชาตรี ยุคล
อดีตนักศึกษาวิชาภาพยนตร์, Bond University, Australia และผู้สร้างหนังอิสระ
"หาก Spiderman, The Last Samurai, 2 Fast 2 Furious ฯลฯ สามารถใช้ Opensource Software ในการสร้างภาพยนตร์ได้ Opensource Software ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถสร้างกำไรมหาศาลให้แก่ผู้ประกอบการที่ใช้มันได้ถูกวิธีเช่นกัน"
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
นายกรัณฑ์ ธรรมวงศ์
Freelance Sound designer,Music Producer สนับสนุนการใช้ Open source Users ได้รับผลประโยชน์และเพื่อเป็นการพัฒนาวงการ open source ไทย
นายจักรพันธุ์ รพีพันธุ์เพียรเพ็ญ ผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส, นิสิตวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เจษฎา ขัดทองงาม ผู้ใช้ และ คิดว่าเราจะมี Open Source สำหรับคนไทยที่ดีกว่านี้
นาย ธนวัฒน์ รัตนเวทวงศ์ Flight Crew
พิจารณาด้วยครับ ...
วันณพงค์ วงศ์พานิช : ผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส ม.ราชภัฏเพชรบุรี สนับสนุนด้วยคนครับ
นายสุรสิทธิ์ ท้าวกอก นักศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ลุงโฉลก Technical Analyst จาก chaloke.com
นายสุมิตร ตั้งเด่นจริง
นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
----------------------
การสนับสนุนให้มีการพัฒนา opensource เป็นการแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิที่ดีที่สุดคับ!
นายปรัชญา อโณทัยนาท หนึ่งในผู้ใช้ Opensource Server
นายมนตรี มะสมัน นวก.คอมฯ ม.ของรัฐ ถึงตอนนี้ผมจะเป็นทาสของ M$ แต่ผมก้ไม่คิดจะเป็นไปจนตายหรอก
ประเทศชาติจะเจริญได้ไงเมื่อผู้นำเห็นแกตัว ศาสนาไม่ช่วยเขา น่าสมเพศจัง
Student of Technical Analyst จาก chaloke.com ผู้ที่สนใจ ใช้งาน ด้านลงทุนหุ้น ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ การศึกษา วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ และ สนับสนุนให้มีการพัฒนา opensource (ยังงี้เมื่อไหร่บ้านเมืองไทย เจริญก้าวไปทัดเทียมทัน นานาประเทศดังคำขวัญ ที่เขียนเอาไว้สวยดี)
ภานุพงษ์ เป๋าทอง / Graphic Designer and Columnist. Agree to anyone who like to support opensource softwares in Thailand.
ธาดา พิพัฒน์เจริญกิจ นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สนับสนุนจดหมายฯ ครับ ไม่เห็นด้วยกับประเด็น open source ที่ รมต. กล่าวอย่างมาก เท่ากับท่านไม่รู้และไม่มีที่ปรึกษาจริงๆ เลย
เอกอนันต์ เกตุนุติ - ผู้ใช้งาน OpenSource
ดนัย เทพธนวัฒนา Technical consultant บริษัทเอกชน
นางสาวพิชชา พัฒกลับ
เห็นด้วยครับ อยากให้รัฐสนับสนุนและพัฒนา Open source
เหมือนปิดกั้นความเจริญของประเทศ นะครับ
นายธีรศักดิ์ ธงถาวรสุวรรณ
นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ใช้ open source ในการพัฒนา senior project
ร่วมสนับสนุนและเห็นชอบกับข้อความในจดหมายเปิดผนึกข้างต้นฉบับนี้ทุกประการ
นายเอกสิทธิ์ เถกิงศักดากุล Sales Consultance, ex-Software Engineer ผู้ที่เคยทำงานโดยอาศัย Open Source Software (Struts, Jakarta Commons, SiteMesh, Struts-Tiles)
ศักดา พฤติวรรธน์ ผู้ใช้งาน OSS
พี่ไท้ก็ขอลงชื่อด้วยคนครับ สู้ ๆ ครับ opensource ^o^
----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.
I believed that we should be independent of Farang's Commercial Software such as Microsoft. Open sources provide us with a fantastic oppertunity to achieved self sustain economy and not rely on 'dodgy' import software.
Skon Sirichantaropass BSD/Linux user, PhD student in Physics
นายวุฒิชัย ไข่มุกต์ ผู้ใช้งาน OpenSource
นายวิริยะ กลิ่นเสาวคนธ์ อาจารย์โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ร่วมสนับสนุนแนวคิดและแนวทางพัฒนาซอร์ฟแวร์ โอเพ่นซอส ในประเทศไทย
ต้องขอบคุณจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้มากๆ ที่ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หันมาทำความเข้าใจ หรือพยายามที่จะทำความเข้าใจกับโอเพนซอร์ส และแนวทางของโอเพนซอร์สกันอย่างจริงจัง ในวันนี้ผมในฐานะเลขานุการสมาคมสมาพันธ์โอเพนซอร์สฯ ได้ประสานงานเพื่อขอชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องโอเพนซอร์สต่อท่านรัฐมนตรี ได้ผลสรุปว่าท่านรัฐมนตรีจะให้พวกเราเข้าชี้แจงข้อมูลในวันอังคารที่ 21 พ.ย. 49 เวลาประมาณบ่าย 2 โมง อย่างไรก็ตามท่านรัฐมนตรีได้เปิดโอกาสให้ผมและนายกสมาคมสมาพันธ์ฯ(ดร.วิรัช) ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ญี่ปุ่น สนทนาทางโทรศัพท์เบื้องต้น ท่านได้แจ้งว่าท่านไม่เข้าใจในเรื่องนี้เพียงพอ และท่านยินดีที่จะแถลงแก้ข่าวให้ และขอให้พวกเราช่วยให้ข้อมูลต่อท่านด้วย และท่านขอยืนยันว่าไม่ได้ให้สัมภาษณ์เพื่อประโยชน์ต่อใครทั้งสิ้น ผมคิดว่าเรื่องนี้น่าจะจบลงด้วยดีหากเราได้มีโอกาสทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ผมคิดว่าเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของพวกเราที่จะต้องข่วยกันสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับซอฟตฺแวร์โอเพนซอร์สและแนวทางโอเพนซอร์ส (จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมาก) ในสังคมของเราวันนี้มันกว้างใหญ่เกินไปกว่าจะให้คนทั้งหลายทั้งปวงเข้าใจกันหมด โดยปราศจากกระบวนการทำความเข้าใจ ซึ่งผมหวังว่าหลังจากวันอังคารนี้แล้ว คงจะมีความชัดเจนขึ้น
ธีระชัย แซ่จ้อง ผู้ประสงค์จะเห็นประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันทำงานกับบริษัทซอฟแวร์ในอเมริกาที่เป็น Close sourceและยืนยันว่าการพัฒนาแบบระบบปิดในบริษัทหลายตัวพึ่งพิงระบบOpen sourceในการออกProductเพื่อให้สู่ท้องตลาดได้เร็วที่สุด บางตัวก็ได้ว่าจ้างที่ปรึกษามาจากบริษัทที่ทำโปรแกรมแบบOpen Source
Open Source กับ Close source พึ่งพิงกันและทำงานด้วยกันได้อย่างแน่นอนในลักษณะ Win-Win
นายชวณัฐ นาคะสันต์
ในฐานะของประชาชนผู้ใช้ (และร่วมพัฒนา -- เป็นบางครั้ง) และเข้าใจถึงความสำคัญของ Open Source เห็นว่า คำพูดของท่าน รมว ขาดวิสัยทัศน์อย่างยิ่ง หากนานาประเทศเห็นว่าประเทศไทยของเราไม่สนับสนุน Open Source เราคงตกที่นั่งลำบาก ตัวผมเองคงตอบคำถามไม่ได้หากฝรั่งมาถามว่า "ทำไมเมืองไทยไม่สนับสนุนสิ่งดีๆ เหล่านี้ บังคับให้ใช้ซอฟท์แวร์แห่งชาติหรือไงกัน?"
Open Source นั้น ประโยชน์มากมายมหาศาล และให้โทษเพียงเล็กน้อย ที่คนส่วนน้อยใช้ในทางที่ผิด...
ครูสอนหมวดวิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนลำปางกัลยาณี
นายประสบสุข บุตรงาม ข้าราชการครู/นิสิตเก่าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอสนับสนุนผู้จดทำจดหมายฉบับนี้ และในหัวใจสนับสนุนโอเพนซอสต์เต็มทุกห้อง
นายกีรติ จิตตราวงศ์
นายธีรชาติ ชยาภรณ์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาระบบสารสนเทศธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วรรธนะ แซ่เลื่อง
ในฐานะของประชาชนผู้ใช้
ร่วมลงชื่อด้วยคนครับ
นายรัฐพล พัฒนรังสรรค์ izziSoft.com ผู้ใช้งาน opensource เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทั้งงานและเรื่องอื่นๆโดยทั่วไป
ชววัฒน์ ชาญศิริเจริญกุล , นิสิตคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
plug.in http://www.vr2online.net.tf
อยากให้ท่าน รมต ICT เห็นคุณค่าของ Open Source ที่ช่วยในการลดการขาดดุลการนำเข้า Soft Ware จากต่างประเทศ แล้ว ICT มาพูดแบบนี้ท่านไม่สนใจในเศรษฐกิจของ ชาติบ้างหรือ
อะไรๆก็เอาแต่ Microsoft Product เป็นหลัก ถ้ารักประเทศอีกนิดหันมาสนับสนุน Open Source สักหน่อย ประเทศเราคงไม่เสียดุลการค้ามากขนาดนี้
นายธีระชัย ราชมณี อดีตนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ,ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สและเล็งเห็นความสำคัญ
นายพิระพงษ์ แข็งขัน
ผู้หันมาใช้งาน Open Source
นายวรรนุ กระจาย
นาย เอก คุ้มสิน
นางสาว นวลอนงค์ อินทร์ช้าง ผู้สนใจและชื่นชอบโอเพ่นซอร์ส
Mr. Rawin Youngnoi , Sofeware Engineer , JAVA developer and etc
นายภากร คูกรินทร์รัตน์
ผู้ใช้ open source software ในการพัฒนา project และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วศิน ตรีสินธุรส Master Degree Student Suranaree University of Technology ---------------------------------- Google สร้างจาก OpenSource (Python) NASA ใช้ OpenSource เป็นหลัก (Python) TRUE ใช้ OpenSource ในการจัดการ (Java, PHP) Sanook.Com ใช้ OpenSource ในการพัฒนา (PHP) eBay ใช้ OpenSource ในการพัฒนา (Java) etc........
ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน ไม่ใช้ Program แผ่นละร้อย ท่านคิดว่าท่านจะใช้ commercial program ทั้งเครื่องหรือ และท่านรู้ไหมว่า OS ที่มีความเสถีนยรภาพที่ดีที่สุดตัวนึงของโลกคือ Solaris (Sun Microsystem) ท่านควรจะเปิดตามองสื่งที่มากกว่า linux และ openOffice หน่อยนะครับ
ปล.อย่าให้ผมเสียใจกะการทำงานของ.....มากไปกว่านี้เลย แค่นี้ก็มากพอแล้วครับ
รุ่งโรจน์ แซ่จุ้ง ผู้ทำโปรเจคกับ OpenSource
วรรษิษฐ์ ศิริลักษณ์ นักศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
นายอรรถพล คงหวาน ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ปรัชญ์ จันทสุนทร โปรแกรมเมอร์อิสระ ผู้พัฒนาระบบงานด้วยซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ลงชื่อด้วยครับ
อำนาจ แก้วเทศ
System Engineering / SCSI.Co.LTD
Administrator Rosmarie Academy
Opensorce International School
พนักงานบริษัทผู้ใช้ซอฟต์แวร์ opensource ช่วยในการพัฒนาระบบงานภายในบริษัท เพื่อลดการสั่งซื้อซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ และใช้ในการเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษาตัวอย่าง source code ที่ดีของ opensource
วาทิต ชูสิน Editor HWM ใช้งานโอเพ่นซอร์สมาโดยตลอด
System analyst / web developer สายการบินนกแอร์
นายวัฒนา ชวนชื่น ไทยสาธิตคอนโด คอนโดเก่าๆ แต่เราทำงานด้วยใจ
นายคิรากร ฉิมกูล โปรแกรมเมอร์
ศรัณย์ วรินทรเวช Software Developer Morebility Co. Ltd.
Application Developer
ผู้ใช้ซอฟแวร์โอเพนซอสทำ server ให้โรงเรียนที่ทำงานอยู่
ด้วยคนครับ
จากผู้สนใจและสนับสนุนให้ตนเองและคนรอบข้างใช้ software opensource เท่าที่จะทำได้ครับ
Programmer
สนับสนุน software opensource ด้วย
ลลิตา นฤปิยะกุล Computer Science student, KMUTT.
นายอิทธิโชค จ่างใจมนต์ นักวิจัยคอมพิวเตอร์
สมชาย บุญปัญญา
นักศึกษาคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
นายวิทวัส ไตรรัตนาภิกุล นักศีกษา ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายกวิน สุขเสถียรพาณิชย์
ถ้าไม่มี Open source ผมจะเรียนจบและได้ทำงานในที่ดีๆหรือเปล่าน้อ
ขอลงชื่อด้วยคนครับ
พิเชษฐ์ บุญหนุน
นายยงเกียรติ กาญจนพายัพ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส และสนับสนุนเต็มที่
นายวิริยะ เลียวประเสริฐกุล
มนัส เลิศปีติภัทร ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพนซอร์ส
Implement opensource
คมกริช คำสวัสดิ์ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ
นายชาคริต วิเชียร, นิสิต
นางสาวชมพูนุท สุกิตติวราพันธุ์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์
ปรเมษฐ์ กิติดำรงค์เจริญ นักออกแบบอิสระ ที่ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สช่วยออกแบบ และลดต้นทุนในการผลิต รวมถึงเลี่ยงที่จะละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
นายวรท สุขประเสริฐ ผู้ใช้งาน Open Source และจบมาได้ด้วย Open Source เห็นด้วยกับจดหมายฉบับนี้ทุกประการ
นายวันฉลอง เศรษฐบุตร อาชีพ ข้าราชการครู ร่วมลงชื่อด้วยครับ ถ้าไม่เริ่มพัฒนาวันนี้ จะรอให้ชาติอื่นแซงหน้าแล้วค่อยคิดเหรอครับ
นวพัฒน์ สุวศิน เวบมาสเตอร์และนักเขียนอิสระ
Pinyo Taeprasartsit Ph.D. Candidate in Computer Science The Pennsylvania State University
i agree with this openletter
นายเอกพจน์ พัฒนานารักษ์
นายกฤษกร ชะอุ่มพานิช
ใช้ระบบปฏิบัติการ, เว็บเซิร์ฟเวอร์, ระบบฐานข้อมูล และ ภาษาพัฒนาโปรแกรม ที่เป็น โอเพ่นซอร์ส เป็นรากฐาน ในการพัฒนาระบบ ให้กับหลายๆ องค์กรเอกชน มาโดยตลอดครับ
อนาวิล พงศบริพัตร นักศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์(นานาชาติ) มหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
นาย ธรรมนูญ สัทธานนท์ Group Leader บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และเป็นคนไทยที่เห็นถึงประโยชน์ของ 'โอเพ่นซอร์ส'
นางสาวณัฎฐิกา ศรีปัญญา นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาผู้ใช้งาน open source
นายธาริต ปรัชญาเมธี ผู้ใช้และสนับสนุน Open source
Open source มีช่วยพัฒนาความรู้และศักยภาพให้โปรแกรมเมอร์ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมอื่นๆ มีหลายสมองช่วยกันพัฒนาดีกว่าพัฒนาสมองเดียว ประเทศชาติจะได้เจริญ
ดร. พงศาล มีคุณสมบัติ Open Source software user since 1995
ขอสนับสนุนอย่างยิ่งครับ
ผู้พัฒนาโอเพ่นซอร์ส และ ผู้ใช้งาน โอเพ่นซอร์ส รวมถึงประยุกต์สร้างรายได้จากโอเพ่นซอร์ส
ผู้ใช้งาน Open Source การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
Pages