เนื่องจากทางตัวแทนได้เข้าพบและยื่นจดหมายรวมถึงรายชื่อให้กับรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นขอปิดการลงชื่อนะครับ
คุณเทพได้ร่างจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ซึ่งกดเข้าไปดูได้ข้างใน การเข้าชื่อในจดหมายฉบับนี้ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของแต่ละท่านไม่มีบังคับนะครับ ช่วงนี้ผมจะเปิดให้คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก Blognone สามารถคอมเมนต์ได้ด้วย ดังนั้นถ้าอ่านมาถึงตรงนี้และอยากลงชื่อก็ไม่ต้องสมัครสมาชิก เขียนในคอมเมนต์ได้ทันที
วันที่ปิดรับการลงชื่อจะประกาศอีกที หลังจากนั้นตัวแทนจะรวบรวมแล้วทำการยื่นจดหมายไปยังรัฐมนตรี ถ้าเห็นว่าจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้มีประโยชน์ ก็ช่วยกันประชาสัมพันธ์ต่อด้วยครับ - mk
ปรกติบทความใน Blognone สามารถนำไปโพสที่อื่นได้อยู่แล้ว แต่จดหมายฉบับนี้ขอเป็นกรณีพิเศษ ถ้าท่านเล่นเว็บบอร์ดใดที่เกี่ยวกับไอที และคิดว่าจดหมายฉบับนี้มีประโยชน์ให้ช่วยกันเผยแพร่ด้วยการนำไปโพสและลิงก์กลับมาเพื่อให้คนมาลงชื่อกันได้ที่นี่ด้วยครับ - LewCPE
เพื่อความสะดวกในการคัดแยกชื่อ ขอความกรุณาแสดงความคิดเห็นนอกเหนือจากการลงชื่อ ในฟอรั่มครับ
English translation for this open letter by Daengbo
คนสนใจเยอะมาก เชิญชวนมาเจอหน้ากัน แลกเปลี่ยความเห็นในงาน
TLUG
เรียน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
ตามที่ท่านได้แถลงนโยบายการทำงานของกระทรวงฯ ภายใต้การกำกับดูแลของท่าน และหนังสือพิมพ์ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับการให้เหตุผลของท่าน ที่จะไม่สนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สนั้น พวกเรา ซึ่งเป็นผู้ใช้และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในประเทศไทย แม้จะไม่ขัดข้องหากท่านเห็นว่าควรใช้งบประมาณของประเทศไปสนับสนุนสิ่งที่ท่านเห็นว่าสำคัญกว่า แต่ก็เห็นว่า เหตุผลที่ท่านให้นั้น ไม่ตรงกับความเป็นจริงตามประสบการณ์ของเรา และเป็นการสร้างความเข้าใจผิดต่อสาธารณชนเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส อันจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของพวกเรา ที่ยังพยายามเตรียมการสำหรับสิ่งดีๆ สำหรับประเทศด้วยการพึ่งตนเอง แทนการรอคอยงบประมาณจากภาครัฐ จึงขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง โดยอ้างถึงรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งมีข้อความบางส่วนดังนี้:
On the subject of open source software, he said the current government plan was a case of the blind leading the blind, as neither the people who are in charge nor the people in industry seem to know the dangers of open source software.
"With open source, there is no intellectual property. Anyone can use it and all your ideas become public domain. If nobody can make money from it, there will be no development and open source software quickly becomes outdated," he said.
Apart from Linux, he claimed that most open source software is often abandoned and not developed, and leads to a lot of low-quality software with lots of bugs.
"As a programmer, if I can write good code, why should I give it away? Thailand can do good source code without open source," he said.
ขอแยกประเด็นชี้แจงเป็นข้อๆ ดังนี้:
- การทำงานที่ผ่านมา ไม่ใช่การทำงานโดยไม่รู้ทิศทาง เราได้ศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ของการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สเป็นอย่างดีแล้ว ทั้งในข้อกฎหมาย วิธีการในทางปฏิบัติ ผลลัพธ์ในแง่ผลงาน และผลทางเศรษฐกิจ เราได้เล็งเห็นผลดีต่อประเทศ ดังจะชี้แจงต่อไป จึงได้พยายามทำงานอย่างต่อเนื่องในภาคประชาชน เพื่อเสริมแรงกับโครงการของภาครัฐ
- เป็นความเข้าใจผิด ที่ว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สปราศจากทรัพย์สินทางปัญญา และกลายเป็น public domain เพราะโดยข้อกฎหมายแล้ว ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทุกชิ้นมีเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายทุกประการ แต่เป็นความสมัครใจของเจ้าของลิขสิทธิ์เอง ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นกระทำการพิเศษเพิ่มเติม ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต (license) ซึ่งเป็นการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของเจ้าของและผู้ใช้ ที่จะสามารถแก้ไขแจกจ่ายซอฟต์แวร์ หากผู้ใดละเมิดเงื่อนไขของสัญญาอนุญาต ก็จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่โครงการโอเพนซอร์สต่างๆ ให้ความสำคัญมาก และพยายามตรวจตราไม่ให้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ใด
- ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสามารถทำเงินได้ เพราะสัญญาอนุญาตของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคุ้มครองสิทธิ์นั้น ตราบใดที่การขายนั้น ไม่ได้ละเมิดเงื่อนไข ดังจะเห็นการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในฮาร์ดแวร์ต่างๆ เช่น router, อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย, โทรศัพท์มือถือ, PDA เนื่องจากการมีซอร์สโค้ดทำให้สามารถดัดแปลงซอฟต์แวร์ให้เข้ากับฮาร์ดแวร์โดยอิสระ หรือจะเป็นการขาย service เช่น การวางระบบ หรือ integrate เป็น solution ซึ่งการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สช่วยประหยัดต้นทุนและมีความยืดหยุ่นต่อการปรับแต่ง เป็นต้น ซึ่งการขายดังกล่าว ตราบใดที่ผู้ขายยังรักษาสิทธิ์ผู้ใช้ครบเต็มตามที่ตนได้มากับตัวซอฟต์แวร์ ก็ไม่ผิดแต่ประการใด และในต่างประเทศ ผู้ขายเหล่านี้ได้แบ่งส่วนกำไรจากการขาย เพื่อส่งคืนให้กับนักพัฒนาในรูปการ sponsor หรือการบริจาค หรือแม้กระทั่งจ้างนักพัฒนาให้ทำ feature พิเศษเพิ่มเติมให้ หรือจ้างเป็นพนักงานเสียเลย ทั้งหมดนี้ จึงเป็นเหตุผลที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจำนวนมากยังไม่หยุดการพัฒนาจนทุกวันนี้ และในประเทศไทย ก็มีการทำเช่นนั้นบ้างเป็นบางโอกาส แต่ยังไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากแนวคิดโอเพนซอร์สยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่ถ้าแนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุน ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดในประเทศไทยมากขึ้นได้เช่นกัน
- เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ทั้งหลายทั่วไป ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็ต้องผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติที่จะอยู่รอด ดังนั้น หากมีผู้ใช้เพียงพอ ซอฟต์แวร์ย่อมมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ไม่ถูกทิ้งให้ล้าสมัย เพราะกระบวนการโอเพนซอร์ส เน้นที่การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และผู้พัฒนา โดยอยู่ในระดับที่ลึกกว่าซอฟต์แวร์ proprietary ทั่วไป เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้ ซึ่งในจำนวนนี้ย่อมมีบางส่วนที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติม และส่งการปรับปรุงกลับมาที่แหล่งต้นฉบับได้ เท่ากับว่ามีโอกาสได้ผู้ร่วมพัฒนามากกว่าซอฟต์แวร์ proprietary เสียอีก ซึ่งนอกเหนือจากลินุกซ์เคอร์เนลที่ได้ผ่านประสบการณ์นี้ จนมีอัตราการพัฒนาที่สูงแล้ว ก็ยังมีโครงการอื่นๆ อีก เช่น Firefox (WWW browser), Apache (WWW server), Squid (HTTP proxy), MySQL (Database), PostgreSQL (Database), PHP (WWW programming), Mambo (CMS), Drupal (CMS), GNOME (desktop environment), KDE (desktop environment), X.org (GUI window system) ฯลฯ ซึ่งจากการติดตามความเปลี่ยนแปลง ซอฟต์แวร์เหล่านี้ต่างมีการปรับรุ่นอย่างสม่ำเสมอ ออกจะถี่กว่าระบบ proprietary ชั้นนำเสียด้วยซ้ำไป
- มีเหตุผลมากมาย ที่ทำไมผู้ที่เขียนโค้ดที่ดีจึงอยากให้โค้ดแก่ผู้อื่นเปล่าๆ (ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต) หากไม่นับเหตุผลของความรักสังคมมนุษย์ที่ต้องการเผื่อแผ่ หรือเพื่อความพอใจส่วนตัวแล้ว ก็ยังมีเหตุผลของภาคธุรกิจ เช่น
- กรณี Netscape ที่เคยเสียส่วนแบ่งตลาด WWW browser ให้แก่ Internet Explorer ของ Microsoft ก็ตัดสินใจสู้ด้วยการเปิดซอร์ส WWW browser สู่สาธารณะ โดยตั้งเป็นโครงการ Mozilla และได้รับความช่วยเหลือจากนักพัฒนาในอินเทอร์เน็ตในการปรับปรุงความสามารถมากมาย จนได้เป็น Firefox ซึ่งเป็น WWW browser ที่เริ่มชิงส่วนแบ่งตลาดกลับคืนมาจาก Internet Explorer มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในการร่วมมือระหว่าง Mozilla กับนักพัฒนาภายนอก ต่างก็ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
- ภาคธุรกิจที่นำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาใช้ โดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติม ย่อมมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทุกครั้งที่ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ออกมา โดยต้อง patch ซอร์สโค้ดใหม่ทุกครั้งไป ย่อมคิดถึงวิธีที่สะดวก ทั้งยังได้ประชาสัมพันธ์บริษัทไปในตัว ด้วยการพยายามส่ง patch เข้าที่แหล่งต้นน้ำ และบอกแก่ลูกค้า ว่าทางบริษัทได้ช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นน้ำอย่างไรบ้าง และถือเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ในการปรับรุ่นไปในตัว เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องรอปรับรุ่นจากหลายแหล่ง
- แม้ในภาคการศึกษาและวิจัยพัฒนา การเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปซอร์สโค้ด ก็ย่อมส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดซึ่งกันและกัน แทนที่จะทำได้เพียงอ่านบทความ แล้วเขียนโค้ดตามก่อนจะพัฒนาเพิ่ม ก็สามารถนำซอร์สโค้ดมาพัฒนาต่อยอดได้ทันที ทำให้อัตราการพัฒนาของงานวิจัยแบบร่วมมือกันสูงขึ้น
ทั้งหมดนี้ สาเหตุก็คือ กำแพงทางกฎหมายที่เคยขัดขวางการทำงานต่อยอดกันของมนุษยชาติ ได้ถูกจัดแจงเสียใหม่ ให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยไม่ขัดกับกฎหมาย และด้วยความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ทั้งนี้ วงการโอเพนซอร์สยังคงมีธรรมเนียมการให้เครดิตเจ้าของผลงานตามสมควรในรูปแบบต่างๆ ด้วย
นอกจากนี้ หากคำนึงถึงผลทางเศรษฐกิจที่จะเกิดกับประเทศ สิ่งที่พวกเราเล็งเห็นว่าจะได้จากโอเพนซอร์สคือ:
- การลดปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากซอฟต์แวร์ต่างประเทศมีราคาแพง การจะลดอัตราการละเมิดโดยจ่ายเงินซื้อทั้งหมด แม้เฉพาะซอฟต์แวร์ที่จำเป็น จะทำให้เงินไหลออกนอกประเทศเป็นจำนวนมหาศาล การเตรียมทางเลือกใหม่เพื่อลดปัญหานี้ เช่นการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ย่อมเป็นทางเลือกที่ดี ทั้งนี้ คุณภาพของซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็ไม่ได้ด้อย ด้วยสาเหตุที่ได้กล่าวไปแล้ว
- ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันในประเทศ กลไกโอเพนซอร์ส เอื้อต่อการทำงานร่วมกันดังกล่าวมาแล้ว จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้คนไทยร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีได้เร็วขึ้น เป็นการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ที่การแก้ปัญหาแต่ละครั้งมักมีค่าใช้จ่ายสูงในหลายกรณี
- พัฒนาศักยภาพนักพัฒนาไทย ซอร์สโค้ดส่วนใหญ่ที่เป็นโอเพนซอร์ส จะเป็นซอร์สโค้ดที่มีคุณภาพ ผ่านการออกแบบมาอย่างดี ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุเรื่องชื่อเสียงของผู้สร้างที่ต้องระวังก่อนปล่อยสู่สาธารณะ หรือด้วยความจำเป็นที่ต้องออกแบบโครงสร้างอย่างดีไว้เผื่อการทำงานร่วมกันของคนหมู่มาก รวมไปถึงการบริหารโครงการขนาดใหญ่ การเข้ามีส่วนร่วมของนักพัฒนาไทย (ซึ่งขณะนี้มีบ้างพอสมควรแล้ว) นอกจากจะทำให้ต่างชาติรู้จักนักพัฒนาไทยแล้ว ยังเป็นโอกาสที่นักพัฒนาเองจะได้เรียนรู้เทคนิควิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่เข้มข้นกว่าที่ใช้กันในองค์กรเสียอีก
เรื่องรายได้ของนักพัฒนาที่ท่านเป็นห่วงนั้น เราซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ย่อมเป็นห่วงไม่น้อยกว่าท่าน แต่เราเชื่อว่าเมื่อโอเพนซอร์สมีการเติบโต ย่อมเกิดช่องทางของความอยู่รอดอย่างที่เกิดในต่างประเทศเองเป็นธรรมชาติ ปัญหาจึงคล้ายไก่กับไข่เสียมาก คือเราจะรอดูผลที่เกิดขึ้นก่อน แล้วจึงส่งเสริม หรือเราจะส่งเสริมก่อน แล้วรอดูผล
พวกเราเลือกอย่างหลัง เพราะได้เล็งถึงผลในเบื้องปลายไว้แล้ว จึงยังไม่หยุดทำงาน ไม่ว่าท่าทีของภาครัฐจะเป็นเช่นไร เพียงแต่หวังว่า แม้จะไม่สนับสนุน ก็ไม่ควรเกิดการรบกวนการทำงาน อย่างที่ได้เกิดขึ้นในข่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ,
Comments
นายเทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์, นักพัฒนาซอฟต์แวร์เสรี, สมาชิก LTN/TLWG, ผู้ดูแลเว็บ Debian Club
นายภัทระ เกียรติเสวี, กรุงเทพมหานคร. สมาชิก LTN/TLWG และ MM/Longdo ซึ่งเครื่องให้บริการใช้้ซอฟต์แวร์ Open Source เกือบทั้งหมด (Linux, Apache, MySQL, PHP, Perl, Drupal, cvs และอื่นๆ)
นาย กิตติ์ เธียรธโนปจัย, อาจารย์ 6 มหาวิทยาลัยขอนแก่น, นักพัฒนาซอฟต์แวร์เสรี, สมาชิก LTN/TLWG
นายกำธร ไกรรักษ์, โครงการพัฒนาและส่งเสริมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, สมาชิก LTN/TLWG
--
นายศุภโชค ศันติวิชยะ, โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สมาชิก LTN/TLWG
นายวิทยา ไตรสารวัฒนะ
นายชาญชัย จันฤาชัย , โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สมาชิก LTN/TLWG
นายปรัชญ์ พงษ์พานิช สมาชิก LTN/TLWG
นายเอกรัตน์ ภาสุระ นักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์
นาวสาวอันธิฌา เปรมเกิด
นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล, ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส, อดีตพนักงานบริษัทเอกชน(แสวงหากำไร) ที่มีหน้าที่ในมอบหมายคือการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ตามนโยบายบริษัท (เช่น OpenOffice.org)
Peerasan Buranasanti, Research & Development
นายศุภพสุ ภัทรปกรณ์ นักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ,สมาชิก PSU LUG
Lastest Science News @Jusci.net
นายแพทย์สหชาติ อนุกูลกิจ, ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส, ผู้ประสานงานการแปลโครงการ K Desktop Environment (KDE) เป็นภาษาไทย
We need to learn to forgive but not forget...
ลงนามด้วยคนครับ สมัครใจลงและอยากลงอย่างมากไม่มีใครชักจูง
นายเดชชนะ สุขรินทร์ นักศึกษา, ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายสมเจตน์ นิมิตรพันธ์
มอบชื่อเพื่อร่วมสนับสนุน และเห็นชอบในข้อความตามจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ทุกประการ ...
นายณัฐพล แสงสุริยาโชติ นิสิตภาควิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายนคร อรรถสารโสภณ นักศีกษา ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ธีรศักดิ์ มณีเนียม ผู้ดูแลระบบบริษัทเอกชน เห็นชอบในข้อความตามจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ทุกประการ
นายนิติพงศ์ ปานกลาง ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สและจะยังใช้ต่อไปแม้รัฐฯ จะไม่สนับสนุน
นายภาโณตม์ แซ่จิว โปรแกรมเมอร์ และผู้ใช้งานซอฟแวร์โอ่เพ่นซอร์ส
นายปฏิพัทธ์ สุสำเภา, ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส, ผู้ร่วมพัฒนาและแปลโครงานโอเพ่นซอร์สต่างๆ
นายอธิป วิศิษฎ์ศิลป์, ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
โพสต์จาก อูบูนตู 6.10 (ที่บ้าน) ส่วนที่ทำงานกะว่าจะหนุนให้ใช้งาน เร็ว ๆ นี้
นายอาทิตย์ สธนกุลพานิช โปรแกรมเมอร์และผู้ใช้งาน opensource เห็นชอบถามจดหมายฉบับนี้ทุกประการ
นายภัคพล แซ่จิว นิสิตภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายวิชิต ศิริชนะทรัพย์
นางสาวพรรณภรณ์ พันธ์นรา System Analyst และ Programmer เห็นชอบข้อความในจดหมายค่ะ
นายเรืองยศ ฐานมงคล
นายปฏิญญา เสงี่ยมจิตร์ ผู้ดูแลระบบ exteen.com ซึ่งใช้ opensource software ในการพัฒนา
- human knowledge belongs to the world
iPAtS
นายจักรกฤช วงศ์สระหลวง โปรแกรมเมอร์, ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส, และผู้ร่วมแปลซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
LinkedIn
นายแสนศักดิ์ ไชยรัตนตรัย ผู้พัฒนาเว็บไซต์ http://php.deeserver.net/ ขอสนับสนุนการศึกษาและการใช้งาน Open Source
นาย นันทรัตน์ ภูวราง System Developer, ผู้ใช้ และพัฒนา OpenSource สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ
นายกฤษฎา กระกรกุล ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สและผู้พัฒนาเว็บไซต์โดยใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายวุฒิพงษ์ ชินศรี ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สและผู้พัฒนาเว็บไซต์โดยใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายจตุรวิทย์ ดวงมณี นักศึกษาและผู้นำโอเพ่นซอฟต์มาใช้งานด้านการศึกษาและงานวิจัย
นายชัยวัฒน์ สุทธิพงศ์สกุล Senior Software Engineer/Python Group Leader บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และ ArchLinux Thai Packages Maintainer
นาย เอกชัย เจริญวิชชุภัณฑ์ ผุ้ใช้งานopensource
นายธีรวีร์ ศิรินภสวัสดิ์ ผู้เชียวชาญอิสระด้านเทคนิคเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟท์แวร์และ ที่ปรึกษาอิสระด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขอลงชื่อเพื่อร่วมสนับสนุนและเห็นชอบกับข้อความในจดหมายเปิดผนึกข้างต้นฉบับนี้ทุกประการ
นางสาวณัฏฐณิชา ฤทธิ์ธรรมนาถ Master Student, Asian Institute of Technology School of Engineering and Technology
นาย โชคชัย ภัทรมาลัย
นายศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์
ธัชรินทร์ ธรรมรัตน์ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นาย ศราวุธ คงยัง ผู้ใช้งาน ผู้ร่วมพัฒนา ผู้ร่วมแปล ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
นายสุรกานต์ สามแก้ว นักพัฒนาซอฟต์แวร์บริษัทเอกชน, ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส open source .. open your mind .. open your eyes .. open your vision
นายอุดมศักดิ์ จันทร์แดง IT Staff ผู้สนใจและชื่นชอบโอเพ่นซอร์ส , เขตอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ประเทศไทย
นายพิทยา สร้อยหลง ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพนซอร์ส
pittaya.com
นายอรรถวิท รัชตภูมิ พนักงานบริษัทผู้ใช้งานซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์สและนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายวิเชียร วงค์คำลือ ผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์ส เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานชีวิตประจำวัน และเห็น/ได้รับ ผลประโยชน์จากการใช้งานโอเพ่นซอร์ส
นาย พีรยสถ์ ศุภจรูญวงศ์
สวัสดี ภัทรพนาวัน ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ศิริรัตน์ คุปตวุฒินันท์ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายชิราวุธ สุขสวัสดิ์ นักศึกษาสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช
สุทัศนา วราสิทธิ์
นายปรัชญา สิงห์โต
@iannnnn
นายยุทธ ขวัญเมืองแก้ว ผู้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สด้วยสำนึกรักชาติ
นายณัฐ อินทรกำแหง
ผู้พัฒนา software โดยใช้ software open source และ commercial software ร่วมกัน
ชูชาติ บรรลือ สนง.ป้องกันควบคุมโรคที่7 อุบลราชธานี
นายภาณุมาศ นนทพันธ์
วิศวกรและโปรแกรมเมอร์อิสระ ผู้กำลังพัฒนาโอเพนซอร์สโดยไม่ขอรับทุนสนับสนุนจากผู้ใด
เห็นด้วยกับ พี่เทพครับ :)
นายเกริกฤทธิ์ ภู่สกุล โปรแกรมเมอร์
นายภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ผู้ใช้งานโปรแกรมโอเพนซอร์ส
เห็นด้วยกับพี่เทพ เช่นกันครับ
นายนรภัทร พัชรพรพรรณ, ผู้ใช้งานโพเพนซอร์ส
อยากเห็นการใช้ software แบบเสรี ไม่ขอบขีดจำกัดและทั้งการพัฒนาต่อยอด ขั้นแรกอยากเห็นห้องสมุดประชาชนและ อบต. ทั่วประเทศ หันมาใช้ opensource เพราะจะได้ลดงบประมาณได้มาก และเป็นส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนและเป็นการพัฒนาแบบพอเพียงและยั่งยืนจริงๆ
นายชัยสิทธิ์ ชูสงค์ อาจารย์, มทร.ศรีวิชัย
นักเรียน , ผู้พัฒนา และใช้งาน Opensource
นายนิวตรอน เสามั่น - ขอนแก่น
สมาชิก DebianClub.com และผู้ใช้งานโปรแกรม OpenSource
นายประภากร แซ่ตั้ง พนักงานบริษัทเอกชน ผู้ใช้ software open source
โกวิท ด้วงแพง OpenSource Consultant
นายอานนท์ ศรีเจริญชัย. เห็นด้วยประมาณ 80-90% ของเนื้อหาในจดหมายเปิดผนึก.
Zhakkapong Pon-ngam , Thaiflashdev Mod & OpenSource User
จักรภาณุ โกมาสถิตย์ เจ้าหน้าที่ดูแลระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
นายสุวัฒน์ พงษ์ทวีชัยวัฒนา
ผู้พัฒนา Web Services โดย Open souces software
เห็นด้วยกับ Open letter นี้ทุกประการ สมควรที่ รมต. ICT จะทบทวนนโยบาย
นายธนิก ยินดีพิธ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส, ผู้ออกแบบเว็บไซท์ด้วยซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
เห็นด้วย และขอสนับสนุนเต็มตัวครับ
ixohoxi's
นาย วชิรา พรหมสาขา ณ สกลนคร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายสาธิต อู่พุฒินันท์ นักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ MFEC Public Co.,Ltd.
กิตติพัฒน์ วิโรจน์ศิริ, นิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทีปกร วุฒิพิทยามงคล exteen.com
ธีรินทร์ รัตนพิเชฏฐชัย
ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อรักษาเงินในกระเป๋าและปฏิบัติตามกฏหมายว่าด้วยเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์
ผู้ใช้งานและสนับสนุนโอเพ่นซอร์ส
ร่วมสนับสนุนความคิดเห็นของพี่เทพครับ
Somkiat Issariyawanich
ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจแบบพอเพียง open-source น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดนะครับ ราคาถูกกว่าโปรแกรมทั่วไป สามารถนำมาพัฒนาต่อได้เอง และยังปรับปรุงให้เข้ากับสภาพองค์กรของตนได้ดีกว่าด้วย
นายจิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล, ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ณัฐพล นพคุณวิจัย Web Admin, ผู้ใช้งาน OpenSource
นายจิรัชย์ สุธรรมมนัส นักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นางสาวธารวิมล กันอริ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สและผู้พัฒนาเว็บไซต์โดยใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายปกป้อง พงศาสนองกุล, ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ปกป้อง | เฟสบุ๊ก | ทวิตเตอร์
ด.ช.รัชนัน ศรีรัตนเมธ นักเรียน,ผู้เกลียดไมโครซอฟ
นายนรินทร์ ทะดวงสอน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน คณะศึกษาศาสตร์ มช.
ร่วมด้วยช่วยส่งครับ
สนับสนุนซอฟท์แวร์ฟรี และ ความปลอดภัยของข้อมูลครับ..
ประเชิญ เสือใหญ่
Web Application Developer ผู้ใช้งาน และ อยากทำ OpenSource
นาวสาว ณัฐกาญจน์ เตชะดิษย์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
นาย ยรรยง ชัยเจริญ Freelance Developer ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นหลักในทุกโครงการที่พัฒนา
เกียรติศักดิ์ โพคณารักษ์ ผู้พัฒนา ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายณัฐวุฒิ กุลนิรันดร ผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรีชาพล พาณิชย์โชติ ผู้ใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายอรุช ถิรวัฒน ผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โปรแกรมเมอร์ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายธนกฤษณ์ ประพฤทธิพงษ์ นศ ที่ กำลังศึกษา OpenSource
นาย ธัชกร โฆษิตบันเทิง ผู้ที่เห็นด้วยทุกประการกับการพัฒนา OpenSource Software
อาจจะถึงเวลาที่วงการนี้ต้องเลิกพึ่งพาการสนับสนุนจากภาครัฐ
นายเด่นสิน รอยเกียรติศักดิ์
นายชานนท์ ไรอัน นักเรียนวิชา Computer Science หลักสูตร IB (www.ibo.org) โรงเรียนนานาชาติเปรม ตินสูลานนท์
@TonsTweetings
นาย เนติ นามวงศ์ TGGS , KMITNB
ณรงค์ฤทธิ์ กัณหาน้อย
Flash Actionscript Programmer
ร่วมด้วยช่วยส่งครับ
สนับสนุนซอฟท์แวร์ฟรีเช่นกันครับ
จาก: ThaiFreeBSD Public Community thaifreebsd.org
นายอำนวย ฉิมอินทร์ ผู้ที่สนับสนุนและนำซอฟแวร์โอเพนซอร์ส มาใช้ในเชิงธุรกิจ ให้แก่บริษัท
ขอสนับสนุนให้ข้อเท็จจริงทุกด้านปรากฏแก่สาธารณะ ความคิด ความเห็น คำพูด ย่อมสะท้อนวุฒิภาวะ และความรู้ความสามารถ. อยากเห็นเวที สาธารณะ ที่ท่านผู้ที่ปรากฏในข่าว มาร่วมอภิปรายให้ได้มีมุมมองที่หลากหลายและโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น (แก่ทุก ๆ ฝ่าย). ถ้าจะให้ดีควรเน้นข้อเท็จจริง (ที่จับต้องได้มากกว่า)มากกว่า "ความเห็น".
ขอบคุณพี่เทพ ที่เขียนจดหมายเปิดผนึก ได้อย่างน่าสนใจ. ผมกำลังรอจดหมายตอบจากท่านอยู่ (ถ้าท่านพอมีเวลาทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง).
มาลงชื่อสนับสนุนจดหมายเปิดผนึกนะครับ.
นายสมพล บุญจริง, IT Specialist ผู้ก่อตั้ง บริษัท วิสดอมเวิร์ค จำกัด ศูนย์ฝึกอบรมด้าน Linux, ระบบเครือข่าย, และ IT Security
โปรแกรมเมอร์และเจ้าของกิจการ ผู้รับพัฒนาระบบและโปรแกรม
นายสัตวแพทย์ โกเมน รวีวงศ์ สนับสนุนให้มีการพัฒนาโอเพนซอร์สคับ ทำไมจะต้องจ้างฝรั่งให้เปลือง
เห็นด้วยครับ
นายพิสิต ศรีปราสาททอง
ผู้ใช้งานและพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส, ผู้ร่วมแปลโปรแกรม/เอกสารโอเพนซอร์สเป็นภาษาไทย
วิศิษฎ์ คุณากรพล, พนักงานบริษัทเอกชน, out-source ที่สนใจ open-source
นายเทพ รุ่งผลสถิต giftkae.com
นัฐพล แสงทอง ผู้ใช้งาน OpenSource ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะไม่สนับสนุน , และก็เห็นด้วยที่่จะสนับสนุนต่อ แต่ควรแสดงผลงานให้เห็นมากกว่านี้ เพราะผลงานที่ผ่านมายังไม่มีอันไหนโดนๆ สำหรับไทยครับ ตัวอย่างเช่น firefox เราก็ีมี firefox thai ซึ่งสามารถตัดคำได้ ... เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเขียนเป็น module ให้โหลดไปติดตั้งเพิ่ม เพราะจะได้สะดวกเวลาเปลี่ยน v. ชั่นครับ
นายคเชนท์ หวังธรรมมั่ง ผู้ใช้งาน opensource
นาย อภิรักษ์ ปนาทกูล
Apirak.com panatkool
วสุอนันต์ เมฆวิบูลย์ น.ศ.ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ จุฬาฯ (EBA) เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ โอเพ่นซอร์สยังช่วยถ่วงดุลกับพวกซอฟแวร์ที่ผูกขาดตลาด ซึ่งในที่สุดจะช่วยให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับสังคมทั้งมวล
ปิติ องค์มงคลกุล Ph.D Student California Institute of Technology (Caltech) Freeware/Opensource Developer
นายอภิชัย เลาหวงศ์เพียรพุฒิ นักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร, ผู้ใช้งาน software opensource
นายธีรภาพ ช่างวิชชุการ ผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
I am going to translate your open letter for my journal and the Slashdot story.
กิตติพงษ์ ปิยะวรรณโณ นักศึกษา ป.โท และใช้ OpenSource ในการทำงานวิทยานิพนธ์
นายธนศีล นุ่มอาชา ผู้ใช้งาน, ผู้สนับสนุน Free Open Source Software, ที่ปรึกษาพิเศษบริษัท Revenue Management (Thailand), ที่ปรึกษาพิเศษ บริษัท L.U.V.
นาย ศิริพงษ์ พันธังธุ์ ขอลงชื่อสนับสนุนด้วยคนครับ เอ่อ พี่ที่บอกว่าโดนลบอ่ะ ผมว่าพี่อ่ะหลงประเด็นแล้วมั้งครับ คือผมว่าที่นี่อ่ะเค้าให้ลงชื่อสำหรับคนที่เห็นด้วยไม่ใช่เหรอครับ ไม่ได้เปิดมาให้แสดงความคิดเห็นหรือทำประชาพิจารณ์กันนะครับ รึผมเข้าใจผิดหว่า
เห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึก ฉบับข้างต้น โดยมิได้ถูกชักจูง ฉัตรศิริ รัตนา นิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วข.ศรีราชา ผู้ใช้งาน linux desktop
รัฐภูมิ วรานุสาสน์
Doctoral Student Computer Science and Information Management, School of Engineering and Technology, Asian Institute of Technology
นายกีรพัฒน์ อรุณรังษี (โปรแกรมเมอร์)
ในฐานะผู้ให้บริการ Webhostting ถ้าไม่มี Sofware ในกลุ่ม Open source ผมคิดว่า คนไทยคงต้องใช้บริการ Webhosting ที่มีราคาสูงกว่าในปัจจุบันเป็นแน่ เพราะทุกวันนี้ ผู้ให้บริการในกลุ่มนี้สามารถให้บริการได้ในราคาต้นทุนที่ต่ำ ก็เพราะ Software ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิให้ใครอีก อีกมุมมองของคนตัวเล็กๆครับ
กษิดิศ ชาญเชี่ยว อาจารย์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สนับสนุน OpenSource Software เป็นทางเลือกอีกทางครับ ถ้า รมต. ไม่เห็นด้วยก็โปรดอย่าแสดงความเห็นเชิงต่อต้านเลย
นายรวิชญ์ วงษ์ศรี ภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Web Programmer
นายพงศ์รบ สายสุวรรณ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่อยากให้เมืองไทยหันมาใ้้ช้ open source มากขึ้น -------------------------------------------------------- เวบของเค้า...และเพินที่เค้ารัก www.mooling.com
นส. รุจิดา พิทักษ์ศิริพรรณ นักเรียน ใช้ Opensource ทำงานที่บ้าน (Ubuntu,etc.) สนับสนุน Opensource คะ
เห็นด้วยครับ นอกจากจากรัฐไม่ควรขัดขวางแล้ว รัฐยังควรสนับสนุนซอฟแวร์โอเพนซอร์สอย่างเต็มที่ เพราะนอกจากจะเป็นการลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ของไทย โดยเฉพาะ ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานของราชการแล้ว ยังเป็นการลดการใช้จ่ายด้านซอฟแวร์ของประเทศไทย ทั้งเป็นการส่งเสริม การพัฒนาความรู้ความสามารถของคนไทยที่เป็นนักพัฒนาซอฟแวร์ด้วย
นายวัชระ กางกั้น นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ
นายอินทร์ ตันละมัย ผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายภาณุ ตั้งเฉลิมกุล
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ขอลงชื่อสนับสนุนด้วยคนครับ
# อยากรู้เหลือเกินว่าที่พูดอย่างนี้ ท่านรัฐมนตรีมีความเข้าใจวงการซอฟต์แวร์มากแค่ไหน? # เคยใช้โปรแกรมโอเพ่นซอร์สไหม? เคยเขียนโปรแกรมรึเปล่า? เคยซื้อซอฟต์แวร์ใช้เองไหม?
นส.รัชยา คันธิยงค์ โปรแกรมเมอร์
นายศึกษิต ศรีพิชญพันธ์
ผู้ใช้งาน open source software
suksit.com
นายพิชิต จิตประไพ ,พนักงานบริษัทเอกชนและผู้ใช้ที่สนับสนุนซอฟแวร์โอเพ่นซอร์ส
นายปกรณ์ ชุตินิมิตกุล
นายสาธิต ทองจีน อดีต อาจารย์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เจ้าของกิจการ,ผู้ดูแลระบบ,และนักวิชาการระบบ security ผู้พัฒนาระบบงานด้วย Opensource เป็นหลัก http://www.thaibg.com/
นางสาวสร้อยรวี สร้อยระย้า ผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายเกรียงไกร วรพันธ์ เจ้าหน้าที่ดูแลระบบลินุกซ์ software industry promotion agency
โดม เจริญยศ 101 Global
นายสุพรรณ ฟ้ายง ผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มนวัฒน์ สิทธิญาวณิชย์ www.DevClassroom.com
เชื่อว่าเราอยู่อย่างพอเพียงได้ด้วย opensource ปิยะนัด อินทร
นายธีรภาพ เหล่าเมตตาจิตต์
ผู้ใช้ซอฟแวร์โอเพนซอร์ส และสนับสนุนให้ใช้ซอฟแวร์โอเพนซอร์สในองค์กร
ทศพล เกตุแก้ว
โปรแกรมเมอร์
นายธวัชชัย จงสุวรรณไพศาล
นายพลาดิศัย พรมสมปาน
ร่วมสนับสนุน Open Source เพื่อคนไทย โดยคนไทยและจากทั่วโลก ไม่อยากให้ชาติี่เสียเงินไปเพื่อ Software ที่เกินความจำเป็น
นายอรรถวุฒิ แก้วละมูล นักศึกษา ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพนซอร์ส และพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายรชานนท์ หิรัญวงษ์ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
My Twitter
นายพิชญพงษ์ ตันติกุล
ผู้ใช้งาน software OpenSource
นายปฐมพล แสงอุไรพร, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นาย วิชานันท์ อุ่นจิตร ผู้ประยุกต์ใช้งาน Opensource ในระบบห้องสมุดดิจิทัล
นายแพทย์นนทกานต์ นันทจิต ผู้ใช้ software OpenSource แพทย์ใช้ทุนอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
สนับสนุนให้มีการพัฒนา OpenSource ครับ
www.zyberxp.com
นายกิตติศักดิ์ พึ่งถิ่น นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้พัฒนาซอฟท์แวร์
นฤดม รุ่งศิริวงศ์ ที่ปรึกษาอิสระ ในการให้คำแนะนำองค์กรการใช้ซอฟท์แวร์ Open Source (มีบางองค์กรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์)
องค์กรต้องการการบริการนะครับ ไม่ใช่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แบบไม่สมเหตุผล และ Open Source ตอบความต้องการนี้ได้
เราทำสิ่งสารพัดได้ไม่มีใครห้าม แต่ไม่ใช่ทุกสิ่งที่ทำจะเป็นประโยชน์
RX78
RX78-2
น.ส. อารีรัตน์ โก ผู้ใช้งาน OpenSource Software และพัฒนา website ด้วยโปรแกรม OpenSource
นายธนิศ สงกรานต์
นายศุภฤกษ์ ชัยวัฒนกุล, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นางสาวศศิณี พฤกษ์ประเสริฐ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้ใช้ซอฟแวร์โอเพนซอร์ส และสนับสนุนให้ใช้ซอฟแวร์โอเพนซอร์สในองค์กร
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ นายสมศักดิ์ เกตุแก้ว ผู้ใช้ Software OpenSource ครับ
นายนพดล สุขประชา
ภาณุพงศ์ ปัญญาดี ผู้พัฒนาโปรแกรม AppServ ในรูปแบบ Open Source สำหรับแจกฟรี มีคนใช้ทั่วโลก แม้แต่คนต่างประเทศเค้ายังสนับสนุนและใช้งานตลอด อีกทั้งยังหลายๆ สามารถเอาไปประกอบการสอน, แจกจ่าย, หรือแม้กระทั่งธุรกิจ
เหนื่อยใจแทน ทีแรกผมก็เชียร์ท่าน รมต. คนนี้ในใจ ที่ไหนได้ก็เป็นแค่มวยล้มต้มคนดู ประเทศไทยจะก้าวไปยังไง ในเมื่อท่านไม่ได้มองเห็นถึง "ความพอเพียง"
"ผมรักการก้าวไปข้างหน้า มากกว่าการสกัดกั้น/หยุดยั้ง/ไม่ส่งเสริมความคิดของผู้อื่น ด้วย ด้วยความคิดใน........ของตัวท่านเอง"
อยากให้สนับสนุนต่อไป อย่างน้อยก็ได้มีทางเลือกสำหรับผู้ใช้
อรรณพ ยศโสภณ
เรื่องปกติสำหรับคนที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่กล้าพูดได้เต็มปากแบบนี้แสดงว่ามีความมั่นใจในความฉลาดของตัวเองสูงพอควร เป็นเรื่องปกติ
ศ.ดร. สิทธิชัย โภไคยอุดม อธิการ ม. เทคโนโลยีมหานคร เพิ่งจะรู้ว่าไปเป็น รมว ก็วันนี้แหละ
Pimjai Wesnarat Java Developer and Open Source User
นายไพบูลย์ พนัสบดี, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จิตรกร รามัญกุล
นายกฤษฎา สุขทิศ
นายภัทรินทร์ จิรภัทร์ชาญเดช นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะซิศวะกรรมซอฟต์แวร์และความรู้
ฝ่ายออกแบบระบบ,Topic Studio ผู้สนับสนุน open source
นาย นาวิน คุ้มทรัพย์ นักศึกษา, ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
นายปุณณะ ยศปัญญา อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายชลธิศ วันเพียร เจ้าของกิจการและดูแลHosting
Ton-Or
ขอสนับสนุนการพัฒนา open source ต่อไปครับ
นายสาธิต วณิชชัยกิจ วิศวกรโครงการ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
นายอริยะ ถนัดภาษา
สนับสนุนการพัฒนา software โดยนักพัฒนาไทยครับ
Human knowleage belongs to the world , Antitrust
นาย เอกศักดิ์ ช่างหลก ผู้ดูแลและบำรุงรักษา ระบบปฏิบัติการ, เครือข่าย, และระบบฐานข้อมูล วิศวกรคอมพิวเตอร์ อาวุโส แผนกค้นคว้าและวิจัย บริษัท โสมาภาอินฟอร์เมชันเทคโนโลยี จำกัด
นายวรท อนุศักดิ์ประสิทธิ์ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ Opensource
นาย จักรพรรดิ พูลเผ่าดำรงค์ นิสิต คณะวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นาย อัคร์วัฒน์ ตรีอนุสรณ์
ประธานชุมนุมนิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายชานิน เจริญวงศ์ คนธรรมดาที่ชอบใช้ซอฟต์แวร์ OpenSource
นายมนัส เมฆอุดมทรัพย์ ผู้บริหารเครือข่ายระบบเน็ตเวิรค์ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีน และผู้ใช้งานกลุ่ม open source " เราสามารถ นำพลังอิสระมาสร้างสรรค์ ในองค์กร ได้อย่างมีคุณภาพ " โปรดอย่าปิดโอกาศ อันอิสระทางด้านซอพแวร์ ของประเทศ
นางสาวเพชรรัตน์ บูรพาธนะ
webmaster ผู้ให้บริการ webhosting ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายสิงหพงษ์ สุคันโธ Business Development Manager บริษัท ลานเกียร์เทคโนโลยี จำกัด
นายอรรณพ สุวัฒนพิเศษ Web Technical Consult @ SiamPod.com & MacEverything.com Chief Director, ThaiCyberPoint.com Network. Computer Science's Student, Naresuan University.
ให้ความเป็นอิสระ เหนือการผูกขาด \(^.^)/ นายกัมปนาจ ชินานุปกรณ์
นิสิตป.โท วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายวีร์ สัตยมาศ
สนับสนุนครับ
จากผู้ใช้ Open source
นายทิวสน สีอุ่น นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิชานัน ผาสุข
นักศึกษา, ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
นางสาว ณิชา จุฑาศิริวงศ์ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายสุรศักดิ์ คูหาวิชานันท์ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์ OpenSource
A Step in the Right Direction
มธุรส เล็กแจ่ม
นายปณต จุ่นเขียว ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
นายสุริยะ เสามั่น - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายศรุต อุดมการ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
เปรม สิชฌนุกฤษฏ์
Student of Computer Science (International Program) King Mongkut Institute of Technology Ladkrabang Web Programmer/PHP
CEO 101 Global Co.,Ltd. Opensources Base Company "Everything Possible with Opensources"
ศราวุฒิ นิลสวัสดิ์
นักศึกษา ปริญญาเอก มหาวิทยาลัย Osaka City ผู้ใช้และพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วย OpenSource
OpenSource is not only Free of charge but it is Freedom.
นายอิศรา เธียรลิขิต
นางสาว ศิริทิพย์ จักรเพชร
นักศึกษาที่ใช้open source ในการทำงานและโปรเจค
ลักษณ์ ยิ้มแย้ม LuckySmilel dot Com Co.,Ltd.
พงษ์ศักดิ์ โฆวัชรกุล
เว็บมาสเตอร์ โอเพ่นซอร์ส บรรณาธิการ ควิกลีนุกซ์แมกกาซีน
นางสาวอภิรมา ศุกลพัฒนะ นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาผู้ใช้งาน open source
นายอนิรุทธ์ นิ่มทรงประเสริฐ
Senior Programmer Analyst บริษัทเอกชน ผู้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นการส่วนตัว และผู้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นส่วนประกอบในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
ผู้ใช้ Firefox, GIMP, VLC, FileZilla, MySQL, PHP, Apache, AppServ, FreeBSD, Linux (KDE), OpenOffice.org, Ethereal, Wikipedia ฯลฯ
I'M... , NOT A CLONE.
เชษฐพงษ์ ปรินทอง
ผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ 101Global
เชาว์เลิศ ไชยศรีเฉลิมพล ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบฐานข้อมูล
ปัจจุบันทำงานกับ Software ที่เป็น Proprietary แต่ก็ขอสนับสนุน Opensource เช่นกัน
นักพัฒนา Software ที่เป็น Proprietary ย่อมขาย Software ตัวเอง ไปกับ Software Proprietary ต่างชาติที่มีราคาสูง เป็น Model ที่บริษัทต่างชาติวางไว้อยู่แล้วครับ
และบริษัทต่างชาติที่ว่า ก็สนับสนุนนักพัฒนาไทยที่ พัฒนา Software Proprietary อยู่แล้วครับ
การที่จะไม่พึ่ง Software Proprietary ของต่างชาติ Opensource เป็นคำตอบที่ดีครับ
นายศิระ สัจจินานนท์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ DiaryIS.com และ หัวหน้ากลุ่ม Desi2n Production นักพัฒนาโปรแกรมทั้งภาคสังคม และภาคธรุกิจด้วย Opensource
" human knowledge belongs to the world "
ณัฐนภนต์ อิศรางกรู ณ อยุธยา
นายนัฐพล นิมากุล นิสิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เห็นด้วยคับ ผมคิดว่า Opensource ช้วยในการพัฒนาการศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และประหยัดต้นทุนการใช้ software
นายทศพร พาโคกทม นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
นายวรา สงกรานต์ ผู้พัฒนา(และใช้) OSS
อยากให้รั%มนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งไปดูการพัฒนาซอฟแวร์ของประเทศจีนด๔บ้าง ว่าเขาไปถึงใหนกันแล้ว และอยากถามว่าท่ารัฐมนตรีเคยใช้ วิกิ บ้างหรือไม่ วิสัยทัศน์ถึงอกมาแบบนี้ อย่างนี้เวียตนามยิ้มครับ
Akara Yoshi Chandee , IT Consultant
I'm working in the USA as an IT Consultant. An OpenSource Technology is one of the best technology in the market right now. And I'm telling you that they have much better support than many proprietary technologies. For example, Firefox, GIMP, VLC, FileZilla, MySQL, PHP, Apache, AppServ, FreeBSD, Linux (KDE), OpenOffice.org and JAVA(Becoming an OpenSource soon).
วรากร สิทธิฤทธิ์ ผู้ใช้งาน Opensorce
ผู้ใช้ Opensource CMS
พฤษภ์ บุญมา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พัฒภูมิ เกรียงวัฒนศิริ ผู้ใช้งาน Opensorce
- สัมพันธ์ สิทธิวรรณธนะ
เด็กหญิง วรลักษณ์ เพ็ชรกุล ผู้ใช้งานโปรแกรมโอเพ่นซอร์ส นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดัดดรุณี
นายชัยนรินท์ ธานีไชยวัฒน์ นักศึกษา ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พฤษน จารุทัสนางกูร M.Com. Information system and E-commerce, University of Queensland B.Acct. Audit and Accounting Information System, Kasetsart University
นาย ติณณ์ วรสิงห์ ผู้ประกอบการอิสระ รับจัดหาระบบไอที ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง
นักวิชาการ
นาย ธารา มงคลวรรณเลิศ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวฯคอมพิวเตอร์
อดิเรก พิมพ์เรือง นักพัฒนาระบบและประยุกต์ใช้งาน OpenSource Software สำหรับองค์กรขนาดใหญ่
Senior Programmer, CitecAsia.com OpenSource คือกระแสหลักของโลกในอนาคตอันไกล้นี้ครับ - FCKEditor - HTMLArea - Joomla - Virtuemart - RichTextEditor by webwizguide.com - SF.net - Oscommerce - Mambo - PhpNuke - Xoops - Suga CRM - Ubuntu ถ้าท่าน รมต. ลากตั้ง รู้จักและได้ศึกษาสักครึ่งนึงของที่ลิสต์มาเนี่ย คงไม่เป็นแบบนี้แน่ๆ ผมว่าทำไม่ได้ กับไม่ได้ทำ สำหรับท่านมันคงไม่ต่างกันใช่ไหมครับ เฮ้อ กรรมของบ้านเมือง
System Engineer, ผู้ใช้งาน Open Source
นายวันรัฐ ศุภธรรมกุล วิศวกรโครงการ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ
นายพิสิฏฐ์ ชื่นชุมศรี ภาควิชา IT สาขา BIT ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
นายพีระ ทองเงิน ผู้พัฒนาเว็บไซด์ให้กับบริษัทเอกชนและรัฐบาล
นายวรการ ประพัฒน์สิริ อาจารย์สอนวิชาคอมพิวเตอร์ และผู้ใช้งาน Opensource
นาย วรกร คุรุวงศ์วัฒนา วิศวกรเครือข่าย สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ ผู้ใช้งาน Opensource เพื่อการพัฒนาระบบเครือข่าย
นาย วิทวัส ตุลยายน http://www.real-type.com RTkill Programmer, ผมอยากเห็นคนไทยพัฒนามากกว่าในสมัยก่อนๆ ที่ไม่มีข้อมูลอะไรเลย ต้องคลำหาเอาเองทุกอย่างจนหมดกำลังใจ
ปวีณ อิทธิปาลกุล นักศึกษา Computer Science, University of San Francisco
นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส ผู้พัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส และผู้ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความคิดคับแคบเกี่ยวกับโอเพ่นซอร์สของรัฐบาลปัจจุบัน
นายนนท์ บัณฑิตวงษ์ พนักงานบริษัทเอกชน
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ผู้ใช้งานและพัฒนาซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายวรวัฒน์ วิจารณ์ โปรแกรมเมอร์ และผู้ใช้งาน Open source
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักศึกษาปริญญาโท IT
นายภาคย์ กิตติภัทรกุล นิสิตปริญญาตรี Programmer/Developer
Park : )
นาย พีรณัฐ ทองโยธี IT Consultant ที่ปรึกษาระบบเน็ทเวิร์คและไอที องคกรเอกชนไม่แสวงหาผลกำไร
ปราโมทย์ สุวรรณเพชร ๋Java Developer
นายสุทิน ลำแก้ว ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายเมธี อเนกบุญลาภ
ขอไม่ลงชื่อ-สกุลจริงนะครับ ขอระบุแค่ว่าผมทำงานอยู่ในหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง อยู่ข้างๆ nectec นี่เอง ผมเชื่อว่าท่าน รมต. ไม่ได้รู้เองเห็นเองหรอกครับ เรื่องพรรค์นี้ ต้องมีคนให้ข้อมูลท่านแน่นอน ผมอยากให้ใครช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับท่านหน่อยครับ เอาแบบง่ายๆ เท่าที่ผมอ่าน OpenLetter ที่คุณเทพเขียนข้างบนนี้ก็เป็นข้อมูลที่ดีครับ แต่อาจจะเข้าใจยากสำหรับท่าน รมต. สักหน่อย ผมอาจจะประมาทคนระดับ รมต. มากเกินไปหน่อยก็ได้ แต่จริงๆ อยากให้สามารถไปคุยกับท่านได้เป็นคำพูดจะดีมากครับ น่าจะทำให้ท่านเข้าใจได้ง่ายกว่า
นายถนอมทรัพย์ นพบูรณ์ KDE Thai Translator Team, สมาชิก LTN/TLWG
Decho Surangsrirat Doctoral Student Department of Computer Engineering, University of Miami, Florida
นายชยันต์ นันทวงศ์ ผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
นายโสทร รอดคงที่ ทีมงาน Hospital OS โปแกรม Open Source สำหรับ บริหารงานโรงพยาบาลขนาดเล็ก และ Webmaster Linuxsiam.com
นาย วิชิต งามสมหาญ หนึ่งในผู้ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ภายในแวดวง Open Source
Translation for Slashdot is here: http://slashdot.org/~Daengbo/journal/152236
Daeng
นายพชร รัตนอุทัย
ผู้สนับสนุน และให้คำปรึกษาในการใช้งานโปรแกรม Open Source
นายอุเทน พุฒเนียม ผู้จัดการฝ่ายไอทีบริษัทเอกชน
สมศักดิ์ ศรีประยูรสกุล นักวิจัย
เมื่อก่อนผมไม่ค่อยชอบ Open source เท่าไรเพราะมีปัญหาเยอะมากแต่ไม่นานมานี้การพัฒนา Open source เข้ามามีบทบาทมากและมีการแก้ไข Update มากกว่าสมัยก่อนและที่สำคัญหาแหล่งเรียนรู้ได้ง่ายดี ดีไม่ดีหาง่ายกว่า proprietary บางตัวเสียอีกครับและใจก็เริ่มชอบ Open source มากขึ้นผมขอสนับสนุน Open source ครับ
นายอวยชัย ไชยถา ประธานกลุ่มคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ผู้ก่อตั้งท้อ้งถิ่นโอเพ่นซอร์สในชุมชนตำบลสง่าบ้าน และตำบลป่าลานในเขตอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ http://oss.nn.nstda.or.th
นาย ศิระ นกยูงทอง พนักงานฝ่ายโอเพนซอร์ส SIPA
ทวีชัย เสลไสย Programmer/Developer
นายประกิต พันธ์สุนันนนท์ ข้าราชการ ผู้สนับสนุนการใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส ในหน่วยงานภาครัฐ ตามนโยบาย"เศรษฐกิจพอเพียง"
ชัยวัฒน์ ชื้อตระกูลไพบูลย์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์บริษัทเอกชน
นายอุทัย เลือดนักรบ โรงพยาบาลทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
สายัณห์ ทับทิมใหญ่ Java Developer
นายเริงฤทธิ์ รักคณิตกร ผู้จัดการฝ่ายไอทีบริษัทเอกชน ผู้สนับสนุน, พัฒนาและใช้งาน Software Opensource
จรุงกิตติ์ ศรีเกตุ นักพัฒนา software ทั้งบน Opensource และ proprietary
ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกการสนับสนุนครับ แต่เชื่อว่าวิสัยทัศน์อย่างท่านคงมีเหตุผลที่ดีรองรับแน่นอน ยังไงเชื่อว่า Openosource มีวิถีทางไปอย่างแน่นอนไม่ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหรือไม่ ยังไงก็ตามก้อขอเป็นหนึ่งเสียงเรียกร้องให้ท่านทบทวนการพิจารณาครับ
นายกฤษฎา ปินะโต Network Administrator พนักงานบริษัทเอกชน สมาชิก www.thaiadmin.org
วีรศักดิ์ พันสิทธิ์ ผู้ใช้งาน Open Source
เปิดทางให้ Open Source เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับสังคม
การปกครองถอยหลังไม่พอ วิสัยทัศน์ยังตกเหว...
ผู้ใช้งานโปรแกรม Open Source
นายโสพล ทองเพชร โรงพยาบาลกระบุรี จังหวัดระนอง
นายเชาวพัฒน์ อินทองแ้ก้ว
โปรแกรมเมอร์ และผู้ใช้งานโปรแกรม Open Source
เสกสรร ดวงสงค์ ผู้ใช้งาน Open Source
สนับสนุนการพึ่งตนเองโดยใช้ Open Source
[hope] ---- No War ---- [/hope]
Phaisarn Sutheebanjard
นรุตม์ สูทกวาทิน
สราวุฒิ ปราบวิชิต วิศวกร บ.ล็อกซเล่ย์ นศ.ป.โท บริหารเทคโนโลยี มธ.
Isara Angkawanit, student
นาย ญาณรักข์ วรรณสาย โปรแกรมเมอร์ และผู้ใช้งาน Open Source Software.
นาย เริงวิทย์ แหยงกระโทก ผู้ทำมาหากินด้วย OpenSource
นาย ชวพล วรินทรเวช นักศึกษาที่สนับสนุนการพัฒนาOpen Source
รติ พรสินศิริริรักษ์ นักศึกษา computer science
สนับสนุนการพึ่งตนเองโดยใช้ Open Source
เศรษฐกิจพอเพียงด้วยโอเพนซอร์สครับท่าน
chaiwarat chaiyapotpanit
นางสาวพนิดา สายประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นาย วีรศักดิ์ ช่องงูเหลือม ประธานชมรม linux sut นักศึกษา สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Pages