เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 เวลา 11.00-12.00 ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาคาร 9 ชั้น ICT3 บริษัททีโอที จำกัด มหาชน ทีม OLPC-TH เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ OLPC
ทีม OLPC-TH นำโดย ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการ FIBO ได้ขอเข้าพบเพื่อชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมกับทางกระทรวง โดยมีประเด็นที่นำเสนอคือ
- ที่ไปที่มาวัตถุประสงค์ของโครงการ คือเป็นโครงการที่คิดริเริ่มโดย Media Lab ที่ MIT ตั้งเป็นสมาคมไม่แสวงผลกำไร OLPC มีการออกแบบและพัฒนาใหม่หมด เน้นเพื่อให้เด็กใช้ และสถานะของโครงการในประเทศไทย มีทีมงานเฉพาะกิจจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ FIBO, โรงเรียนดรุณสิกขาลัย, NECTEC ซึ่งได้ส่งตัวแทนไปร่วมทำงานกับโครงการ OLPC ที่ MIT มาแล้ว ดร.สิทธิชัยเสริมว่า ในระดับรัฐในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา ยังไม่มีความชัดเจน และไม่มีการตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้อง และไม่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องบันทึกไว้เลย ทำให้ท่านไม่ทราบข้อมูล ได้ข้อมูลเท่าที่มีในสื่อเท่านั้น จึงได้ให้สัมภาษณ์โดยใช้ข้อมูลที่ท่านมี
- คุณลักษณะเฉพาะของฮาร์ดแวร์ มีการออกแบบใหม่ทั้งหมด เน้นให้ใช้พลังงานต่ำมากๆ ราคาประหยัด มีเครือข่ายไร้สายแบบ mesh network จอภาพแบบ dual mode มีกล้องถ่ายภาพนิ่ง/วิดีโอในตัว มี SD slot สามารถเพิ่ม sd-card ได้ แต่มีขีดจำกัดคือ ความเร็วของโปรเซสเซอร์ 366 MHz, หน่วยความจำ 128 MB, flash memory 500MB โดยได้สาธิตบอร์ดทดสอบ (A-test) ที่ได้รับจากโครงการ OLPC
- คุณลักษณะเฉพาะของซอฟต์แวร์ ใช้ OS เป็นลินุกซ์ พัฒนาระบบติดต่อกับผู้ใช้ใหม่ชื่อ sugar เพื่อให้เหมาะกับเด็ก พัฒนา activities สำหรับใช้งานบนแลปท็อป เช่น เว็บบราวเซอร์, วาดภาพ, etoy (squeak ฉบับย่อ), penguinTV อ่าน/ฟัง/ชม ข่าวผ่านเน็ตเวิร์ค, abiword (ฉบับย่อ), tam tam โปรแกรมสังเคราะห์เสียงดนตรี, memory game เกมจำภาพ/เสียง ซึ่งได้สาธิตโปรแกรมต่างๆ บนบอร์ดทดสอบจริง
- สรุปงานที่ทำเมื่อเดินทางไป MIT ของทีมงาน ได้แก่ การทดสอบฮาร์ดแวร์ต่างๆ การ localize ให้ป้อน และแสดงผลภาษาไทยได้ เลย์เอ้าท์แป้นพิมพ์ภาษาไทย การเรียนรู้การพัฒนาโปรแกรมบนแลปท็อป การให้ข้อมูลต่างๆ กับทีมงาน และสร้างสายสัมพันธ์ไว้
- หลังจากฟังรายงาน ดร.สิทธิชัยได้กล่าวขอบคุณทีมงาน ที่มาให้ข้อมูล และท่านเข้าใจภาพรวมของโครงการ ซึ่งเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ ท่านจะสนับสนุนโครงการนี้ แต่ท่านไม่ใช่คนที่จะตัดสินใจอนุมัติโครงการโดยตรง และถ้าประธานโครงการ Professor Nicholas Negroponte เดินทางมาประเทศไทย ช่วงประมาณ 6-10 ธ.ค. 2549 ท่านก็ยินดีจะให้เข้าพบ
ข่าวนี้สงสัยจะมีรายงานเฉพาะบน blognone (exclusive จริงๆ)
Comments
ยินดีด้วยนะครับ ถึงแม้ว่าท่านรมว. จะไม่ได้เป็นคนตัดสินใจ แต่ถ้าท่านสนับสนุน ก็น่าจะช่วยได้ในระดับนึงนะครับ :)
..ขอนอกเรื่องนิดนึงนะครับ คือผมลองโหลด olpc linux image มารันบน qemu อ่ะครับ แล้วหาวิธีพิมพ์ภาษาไทยไม่เจอ ไม่ทราบว่ามันทำยังไงอ่ะครับ
iPAtS
ผมเป็นห่วงเรื่องสื่อด้วย อยากให้หนังสือพิมพ์ หรือรายการโทรทัศน์สักอันมาทำสกู๊ปข่าวเรื่องนี้สักที เพราะเวลาสื่อออกข่าวจะชอบบอกสเปกเครื่องแบบพันทิพย์ว่า Processor 336 แรม 128 MB ผู้สื่อข่าวบางคนใจดี วิเคราะห์ให้เสร็จเลยว่าสเปกนี้มันต่ำไปไม่เวิรค แถมไปไกลกว่านั้นวิพากษ์ว่าถ้าเอาไปให้หมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงจะทำยังไง
ผมเองยังข้องใจกับแผนพัฒนาแบบรูปธรรมที่จะใช้หากได้เครื่องนี้มา ทำอย่างไรถึงจะใช้ประโยชน์จาก mesh network ที่มันเป็น ต้องแจกกันลักษณะไหน หมู่บ้านละกี่เครื่อง ควรจะทำเป็นหมู่บ้านตัวอย่างก่อนหรือเปล่า?
เรื่องการพัฒนา content และ app ผมว่าโครงงานของเด็กป.ตรีคณะ ครุฯ กับคณะทางสายคอมสามารถช่วยเหลือเรื่องนี้ได้ ถ้ามีการประชาสัมพันธ์ไปทางศูนย์การศึกษาต่างๆ
เดี๋ยวข่าวช่วยกระจายให้ครับ คนไม่ค่อยรู้เรื่อง OLPC อีกเยอะครับ
deans4j: คงต้องบอกว่าเป็นสื่อไหนหนะครับ เอามา list ไว้เลยก็ได้จะได้ช่วยๆกัน ทางออกคงพยายามคุยกันผ่าน e-mail หักล้าง ถกกันผ่านสื่ออื่นๆ
ชิบรุ่นนี้ไม่ได้ช้ามากนะครับ clock มันต่ำเพราะมันแยกส่วนควบคุมอื่น ๆ ไปอีกชิปนึง http://en.wikipedia.org/wiki/Geode_(processor)
ถ้าเป็นเครื่องอื่นทั่วไปที่ใช้ชิปรุ่นนี้แค่ 500 MHz แรม 512 จะบูต XP ได้เสร็จใน 1 นาที ข้อเสียคือรัน 3d และ Google Earth ไม่ได้ http://www.carrypad.com/content/view/35/9/ ข้อดีสุด ๆ ของมันคือ ความร้อนต่ำมาก ไม่ต้องใช้พัดลม และชาร์จทีใช้งานได้นาน คือถ้าเทียบกับพวก Transmeta แล้วก็ต้องถือว่าดีกว่าเยอะ ที่สำคัญราคาถูกกว่า Pentium M แบบเทียบกันไม่ได้
ถ้าเป็นนักธุรกิจที่ไม่มานั่งเล่นเกมและใช้อะไรแปลก ๆ แล้ว ชิปนี้ก็ถือว่าคุ้ม เพราะแลกมากับราคาเครื่องที่ถูกลงเยอะ
ipats, เอานี่ไปลองประยุกต์ดูก่อนครับ http://kamthorn.org/2006/10/17/thai_localization_for_olpc/ อ่อ อัพเกรด libthai เป็นตัวนี้ด้วยครับ http://ftp.opentle.org/pub/olpc-thai/RPMS/libthai-0.1.7-1olpc1.1.i386.rpm ไว้จะอัพเดทขั้นตอนการปรับแต่งเป็น build ปัจจุบันครับ
pt, เพิ่มเติมครับ ไม่ใช่แค่ไม่ใช้พัดลม มันไม่ใช้กระทั่ง heatsink ด้วย แต่รันระบบทิ้งไว้เป็นอาทิตย์ยังได้ ผมละทึ่งมันเลย คือเคยลองกับ via แล้วเน่าตั้งแต่คืนแรกน่ะครับ
-- กำธร ไกรรักษ์
--
kamthorn - น่าเอาบอร์ดมาทำเว็บเซิร์ฟเวอร์ ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ดีแล้วครับเด็กๆ จะได้ใช้ ดูท่าทางรัฐมนตรีคนนี้ก็ฟังคนอื่นแล้วเอาไปทำดีนะ ไม่ใช่เอาแต่บลอคเวบอย่างเดียว ฮิๆ -------------------------------------------------------- เวบของเค้า...และเพินที่เค้ารัก www.mooling.com
มีบอร์ด ARM 200MHz + 128MB RAM ก็ลง Apache + MySQL อยู่ครับ เพราะฉะนั้นบอร์ด Geode ที่ว่าแรงคงจะดีกว่าอีก
คิดว่าโครงการ OLPC น่าจะทำเป็นขั้นเป็นตอนครับ คือว่าเรามีพวก hacker น้อยอยู่ เมื่อเทียบกับจำนวนเป้าหมายของโรงเรียน เมื่อเครื่องส่งไปให้มันน่าจะมีคนแถวนั้น ที่ support ตัวเองได้ หรือไม่ก็ วิทยาลัยท้องถิ่นก็ควรจะ support ได้บางส่วน
เห็นด้วยกับคุณ deans4j ที่ว่าเราน่าจะซื้อมาจำนวนน้อยๆก่อน แล้วให้โรงเรียน ทดลองเพราะดูเหมือน ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ตัวฮาร์ดแวร์
นอกจากตัวเครื่องรวมทั้งโปรแกรมซึ่งจะพร้อมในเวลาไม่นาน มันก็คงต้องคิดถึง ปัญหาอื่นๆตอนที่เราจะแจกจ่าย และนำไปใช้ ล่วงหน้าก่อน โครงการนี้ไม่ได้มี แค่ตัว OLPC เป็นหลัก มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
- น่าจะมี pilot project ซึ่งใช้เวลาตามผลสักอย่างน้อยปีหรือสองปี โดยมีสัก สิบกว่าโรงเรียนที่มีสภาพต่างๆกัน ทั้งทางด้านพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน ส่วนใหญ่เราจะ ไปเห็นปัญหาจริงๆตอนที่ทดลองใช้ อาจจะเป็น ด้านเนื้อหา หรือ infrastructure ทาง IT ของโรงเรียนที่จะนำบอร์ดนี้ไปใช้
- เราจะได้สรุปกันได้ว่า ถ้าจะเอาไปใช้จริงๆเนี่ย มันต้องมีอะไร รอไว้ก่อนอยู่บ้าง น่าจะดีกว่า เอาบอร์ดไปรอไว้ครึ่งปีก่อน แล้วค่อยหาทางใช้ทีหลัง
- material ทางด้านเนื้อหา หรือโปรแกรมต่างๆ น่าจะมี cross platform ไปยัง Linux distribution อื่น หรือแม้กระทั่ง Window$. ไม่อย่างนั้นแล้ว วันหนึ่ง ที่มี OLAP รุ่นใหม่มา หรือ อาจจะมีโครงการคล้ายๆกันแต่ไม่ใช่ OLAP ซึ่งอาจ จะถูกกว่าที่มาจากจีนแดง หรือ นักเรียนบางคนอาจจะขยับขยาย ไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เนื้อหาต่างๆเหล่านั้น ก็น่าจะใช้ได้อยู่
- เคยปวดหัวกับการ upgrade Linux packages หรือเปล่า? แค่ 3-4 เครื่อง มันก็ใช้เวลาเหมือนกันนะครับ ตอนแจกจ่ายคงไม่มีปัญหาหรอก สมมติว่าเป็น version 1.0.0 พอผ่านไป 3 เดือนเราเริ่ม fix bug บางตัว หรือ add features ใหม่ๆเข้าไป ต้องนั่งไล่ upgrade ให้ทั้งประเทศนี่สิ แค่อำเภอเดียวที่มีโรงเรียน กระจายอยู่ตามขุนเขาก็แย่แล้ว คงจะต้องคิดถึงแผนตรงนี้เหมือนกัน
- การ train บุคลากร เพื่อจะ support ทั้งในระดับ user, + developer
- จุดคุ้มทุนในแง่ที่เราเป็นผู้ซื้อบอร์ด อีกไม่นาน รุ่นใหม่ก็จะออกมา เราควรจะซื้อ ล๊อตใหญ่ หรือ ค่อยๆซื้อตามราคาที่คุ้มที่สุดในเวลานั้น ทีละไม่มาก
มันน่าจะมีบอร์ดนี้ขายให้พวกมือซนเล่นบ้างนะ บอร์ดเปล่าๆก็ได้
เอาจะว่ามาเยอะ สุดท้าย ก็ขอให้กำลังใจนักพัฒนา แล้วกันครับ
-- LaTeX เป็นโปรแกรม type setting ที่ดี แต่ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกงาน
ข่าวแบบนี้น่าจะได้ไปลงที่ผู้จัดการออนไลน์บ้างนะ เพราะถ้าเอาไปลงไทยรัฐออนไลน์ ไม่ค่อยมีคนเข้าไปดูเลยครับ
อย่างคราวที่แล้วที่คุณ mk กับคณะเข้าพบรัฐมนตรีแล้วลงข่าวในไทยรัฐออนไลน์อ่ะ ถ้าไม่ทำลิงค์มาให้ ล่ะก็ หาเองจากไทยรัฐออนไลน์ยังหาไม่เจอเลย
----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.
> - material ทางด้านเนื้อหา หรือโปรแกรมต่างๆ น่าจะมี cross platform ไปยัง >Linux distribution อื่น หรือแม้กระทั่ง Window$. ไม่อย่างนั้นแล้ว วันหนึ่ง >ที่มี OLAP รุ่นใหม่มา หรือ อาจจะมีโครงการคล้ายๆกันแต่ไม่ใช่ OLAP ซึ่งอาจ >จะถูกกว่าที่มาจากจีนแดง หรือ นักเรียนบางคนอาจจะขยับขยาย >ไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เนื้อหาต่างๆเหล่านั้น ก็น่าจะใช้ได้อยู่
นี่เป็นเหตุผลที่ Blognone สนับสนุน Open Standard ครับ
พี่ไท้: ผมมองว่านั่นเป็นหน้าที่ของนักข่าว (ในที่นี้คือนักข่าวผู้จัดการ) ที่จะต้องขวนขวายหาข่าวครับ ไทยรัฐออนไลน์ส่งคนเข้าไปนั่งฟัง รมต. เต็มเวลา ก็สมควรจะได้ข่าวไป ส่วนผู้จัดการนี่ผมไม่ทราบ
ในฐานะหน้าใหม่ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ...
เรื่อง OLPC นี่ผมตามดูมาได้หลายเดือนแล้วครับ เพราะตรงกับใจมากๆ ในเรื่องการดีไซน์ แม้ว่าจะมีบางจุดที่อยากจะให้ปรับบ้าง แต่ผมคิดว่าในเวอร์ชันถัดไปคงมีเสียงตอบรับมาอีกมาก
รอคอยว่าเมื่อไหร่จะได้เข้ามาในไทยครับ และจริงๆ แล้ว อยากจะให้ช่วยกระจายออกไปตามสถาบันการศึกษา (ระดับปวส. และป.ตรี) เพื่อช่วยกันพัฒนาซอฟต์แวร์ต่อยอดออกมาให้มากๆ
ปล. ผมมีบอร์ด VIA Eden ความเร็ว 600MHz (เครื่องที่กำลังพิมพ์อยู่นี้ล่ะครับ) ซึ่งไม่มีพัดลม มีแต่ฮีตซิงค์ตัวเล็กๆ ซึ่งซีพียูมีค่า power dissipation อยู่ที่ราว 6 วัตต์ ซีพียู VIA C3 จะมีพัดลมและมีค่า PD ที่ 12 วัตต์ (ถ้าจำตัวเลขสองตัวนี้ไม่ผิดนะครับ) ซีพียูรุ่นที่ถูกเลือกใช้ใน OLPC เป็น Geode รุ่น 333 ซึ่งเทียบเท่ากับ VIA C3/Eden 500MHz (ดูจากกราฟเปรียบเทียบแล้วด้อยกว่า C3/Eden เล็กน้อยแต่ไม่หนีกันนัก) ข้อดีคือกินไฟเพียง 0.9w พร้อมมีวงจร แสดงผลในตัวอีกต่างหาก ดังนั้นในฐานะของคนที่ใช้บอร์ดในตระกูล ที่ AMD เขาใช้เปรียบเทียบ ผมอยากยืนยันว่าสามารถรองรับงานได้สบายเลยครับ (ถ้าจะให้ดี ในอนาคตถ้าเขาขยับไปใช้ตัวที่กินไฟ 1.1W จะมีสเปคในระดับเดียวกับเครื่องที่ผมกำลังพิมพ์ข้อความนี้ทีเดียวครับ)