เรื่องของเรื่องคือ ในบล็อค #409008 ของเครือข่ายบิตคอยน์ พบว่ามีการใส่ค่าธรรมเนียมสูงถึง 291 BTC คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันคือประมาณ 136,700 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งคาดกันว่าเกิดจากมีผู้ใช้บางคนใส่จำนวนเงินค่าธรรมเนียมผิด เพราะโดยปกติการใส่ค่าธรรมเนียมการโอนเพียงเล็กน้อย ประมาณ 0.000033-0.00008 BTC หรือราวๆ 0.01-0.04 ดอลล่าร์สหรัฐก็มักจะพอ
ผู้ที่คำนวณแฮชของบล็อคนี้สำเร็จและได้ค่าธรรมเนียมนี้ไปรวมทั้งรางวัลอีก 25 BTC คือพูลชื่อ BitClub ได้ประกาศหาตัวเจ้าของบิตคอยน์จำนวนดังกล่าว โดยจะต้องแสดงตัวและพิสูจน์ว่าเป็นเจ้าของตัวจริง
Nginx ซอฟต์แวร์ให้บริการเว็บประสิทธิภาพสูง ออกรุ่น stable 1.10 แล้ว รวมเอาความสามารถจากรุ่น mainline 1.9.x มาทั้งหมด เช่น
นอกจากนี้โครงการยังเริ่มพัฒนารุ่น mainline 1.11 ซึ่งเป็นรุ่นที่ออกเร็วและถี่เพื่อทดสอบฟีเจอร์ใหม่ๆ แต่อาจจะยังไม่เสถียร เหมาะกับคนที่ชอบลองของใหม่ติดขอบ
หลังจากข่าว CrunchBang Linux ประกาศยุติโครงการ เลิกพัฒนาแล้ว ก็ปรากฏว่ามีคนที่ไม่อยากให้ CrunchBang ตาย ได้ประกาศโครงการใหม่ #!++ หรือ CrunchBang Plus Plus โดยจุดสำคัญคือการย้ายมาพัฒนาบนฐานของ Jessie หรือ Debian 8.0 และได้เปิดให้ดาวน์โหลดรุ่น beta แล้ว
บนหน้าเพจปรากฏชื่อผู้พัฒนาโครงการคนเดียวคือ Ben Young (@computermouth)
ที่มา: #!++ coming soon ผ่านทาง +Linux News Here
หลังจาก OnePlus ประกาศชื่อรอม OxygenOS ของตัวเอง เพียง 2 วัน Cyanogen Inc. ก็ประกาศทางทวิตเตอร์ว่า ขณะนี้ Lollipop สำหรับ OnePlus One อยู่ในขั้นตอน QA/QE แล้ว นับว่าเป็นการย้ำความชัดเจนว่า Cyanogen ยังสนับสนุน OnePlus One ต่อไปแม้จะแยกทางกันแล้ว
แปลว่าอีกไม่นาน OnePlus One จะมีรอม Lollipop ให้เลือก 2 ตัวคือทั้ง OxygenOS และ CyanogenMod 12S ซึ่ง Cyanogen Inc. บอกว่าดีสำหรับผู้ใช้ คือใครจะใช้ CyanogenMod ต่อก็ทำได้ ส่วน OxygenOS ก็เป็นทางเลือก
ทวีตต้นฉบับ:
หลังจากที่ OnePlus ประกาศทำรอมเอง หลัง Cyanogen หักหลังทำรอมให้ Micromax OnePlus ได้ประกาศให้สมาชิกช่วยกันตั้งชื่อรอมตัวใหม่ ตอนนี้ได้ชื่อแล้วครับนั่นคือ OxygenOS
ทีมงานให้เหตุผลประกอบการเลือกชื่อว่า Oxygen เป็นธาตุที่ทั้งธรรมดาและมีความพิเศษ มันอยู่รอบๆ เรา เป็นส่วนหนึ่งของเรา เมื่อมันมีแค่ตัวมันเอง มันเรียบง่ายและบริสุทธิ์ เมื่อมันรวมตัวกับธาตุอื่น มันสามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ได้ เช่นพวกเรานี่ไง
ทั้งนี้รายละเอียดของรอมตัวใหม่จะประกาศอีกทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ครับ
ที่มา: OnePlus Forum
DreamHost ซึ่งเป็นบริการเว็บโฮสติ้งรายหนึ่ง ประกาศอัพเกรดครั้งใหญ่ อันเนื่องมาจาก Debian 7.0 (Wheezy) ออกตัวจริง มีผลทำให้ Debian 6.0 (Squeeze) ซึ่ง DreamHost ใช้ให้บริการแก่ลูกค้าในปัจจุบัน จะหยุดการสนับสนุนด้านความปลอดภัยภายในเวลาประมาณ 1 ปีหลังจากออกรุ่นใหม่ ซึ่งโดยปกติ Debian จะมีอายุขัยของรุ่น stable ประมาณ 3 ปี
ทีมวิศกรของ DreamHost ตัดสินใจไม่ไปต่อกับ Debian และเลือก Ubuntu Server เป็นคำตอบสุดท้าย เนื่องมาจากมีอายุขัยของรุ่น LTS นานถึง 5 ปี ทำให้ทีมงาน มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่สำคัญกว่า ไม่ต้องเหนื่อยกับการวางแผนอัพเกรดบ่อยๆ
ออกแล้วครับ ใน release note บอกว่าไม่มีอะไรใหม่ มีแต่ minor bug fix แต่สำหรับคนไทยแล้วมันไม่ใช่ minor เพราะ บั๊กที่เกิดในรุ่น 2.3 นั้นร้ายแรงสำหรับเอกสารที่มีอักษรภาษาไทย ถึงขั้นทำให้โปรแกรม crash เลยทีเดียว
ดาวน์โหลด:
ที่มา: OpenOffice.org Release Notes
มีข่าวเบต้ากันมาซักพักใหญ่ ๆ แล้ว ในที่สุดก็ออกรุ่นจริงสักที
คุณสมบัติสำคัญของ Adobe Flash Player 9 Update 3 คือการสนับสนุนมาตรฐาน h.264, AAC รวมถึง HE-AAC ดึงความสามารถในการเร่งความเร็วของฮาร์ดแวร์มาใช้ได้เต็มที่ สามารถแสดงผลเต็มจอได้ ใช้ความสามารถของซีพียูหลายคอร์ได้เต็มที่ ทั้งหมดนี้ทำให้การนำเสนอวิดีโอคุณภาพระดับ HD ผ่านหน้าเว็บเป็นไปได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ยังออกรุ่นสำหรับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้แก่ Win32, Linux, Mac OS X และ Solaris ออกมาพร้อม ๆ กันด้วย (สำหรับ Solaris ยังเป็นเบต้าอยู่) ในขณะที่ก่อนนี้ กว่าชาวลินุกซ์จะได้ใช้ Flash Player 9 เช่นเดียวกับผู้ใช้ Windows และ Mac ต้องรอนานมาก
OSI ประกาศรับรอง Microsoft Public License (Ms-PL) และ Microsoft Reciprocal License (Ms-RL) แล้วเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา หลังจากที่เสนอเข้าไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2550
Fedora 7 (ไม่มี core) ออกแล้ว ในชื่อรหัสว่า "Moonshine" มีการเปลี่ยนแปลงเด่นๆ ที่ประกาศใน announce คือ
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 เวลา 11.00-12.00 ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาคาร 9 ชั้น ICT3 บริษัททีโอที จำกัด มหาชน ทีม OLPC-TH เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ OLPC
ทีม OLPC-TH นำโดย ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการ FIBO ได้ขอเข้าพบเพื่อชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมกับทางกระทรวง โดยมีประเด็นที่นำเสนอคือ
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา แลปท็อปเครื่องแรก รุ่น B1 ได้เดินทางมาถึงสำนักงานใหญ่ OLPC ที่แคมบริดจ์ ซึ่งตัวนี้เป็น 1 ใน 10 ตัวแรก ที่ผลิตขึ้นด้วยมือเพื่อตรวจสอบการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบเข้าด้วยกันว่าทำงานได้ถูกต้องทุกส่วน ทดสอบความเข้ากันได้ของทั้งระบบ และให้แน่ใจในขั้นตอนกระบวนการผลิตจริง
หลังจากนี้อีกราว 1 อาทิตย์ Quanta ก็จะเริ่มผลิตอีก 900 เครื่อง เพื่อนำมาทดสอบความทนทาน และส่งมอบให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งจำนวนหนึ่งจะถูกส่งมาที่ประเทศไทยด้วย แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะได้กี่เครื่อง อย่างน้อยก็ 2-3 เครื่องจะมาแน่ๆ
ถือว่าใกล้ความจริงเข้าไปทุกขณะละครับ ผมเองก็อยากให้ถึงวันที่เครื่องทดสอบรุ่นนี้มาถึงไวๆ :-)
จากข่าวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ มีข่าวเกี่ยวกับคอมพ์เอื้ออาทรรุ่นใหม่ (http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=M3221611&issue=2161) มีการกล่าวอ้างถึง OLPC และมีสิ่งที่แหล่งข่าวกล่าวคลาดเคลื่อนค่อนข้างมาก ซึ่งผมมีบล็อกชี้แจงที่นี่แล้ว
ในฐานะผู้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโครงการ OLPC ดังกล่าว บอกได้แต่ว่า ถ้าแลปท็อป OLPC ใช้ชิปจากอินเทล ป่านนี้ประเทศไทยเซ็นสัญญาไปแล้ว หึๆ