ตลอดเวลาที่ผ่านมา MySQL นั้นดำเนินกิจการด้วยเงินจาก Venture Capital มาโดยตลอด จนถึงเวลานี้ Marten Mickos, CEO ของ MySQL ก็ออกมาให้ข่าวว่าทางบริษัทเตรียมตัวที่จะเข้าตลาดหุ้นเพื่อระดมทุนด้วยตัวเองแล้ว โดยเขากล่าวว่าระยะเวลาที่แน่นอนนั้นยังไม่มีการกำหนดแต่อย่างใด แต่เขาหวังว่าการดำเนินการจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ MySQL AB เพิ่งได้รับเงินก้อนสุดท้ายจากกลุ่มนักลงทุนไปถึง 39 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว โดยบริษัทระบุว่าเงินก้อนนี้หลังเหลืออยู่ว่าครึ่ง
ปัจจุบันลูกค้าแบบจ่ายค่าบริการของ MySQL AB มีน้อยกว่าหนึ่งหมื่นรายเทียบกับการติดตั้งทั่วโลกถึงกว่าสิบล้านชุด โดยสินค้าหลักของบริษัทคือการให้บริการซัพพอร์ตตัว MySQL ซึ่งสามารถใช้งานได้ฟรีนั่นเอง ยกตัวอย่างราคาค่าซัพพอร์ต MySQL Enterprise นั้นอยู่ที่ 4,995 ดอลลาร์ต่อเครื่องต่อปี ขณะที่การซัพพอร์ตทั่วบริษัทนั้นอยู่ที่ 40,000 ดอลลาร์ต่อปี
ที่น่าสนใจคือมีบริษัทโอเพนซอร์สไม่มากนักที่สามารถพาตัวเองเข้าตลาดหุ้นได้ เช่น RedHat, VA Linux หรือ Caldera (SCO อันโด่งดัง)
ในข่าวเดียวกัน CEO ของ MySQL ยังระบุว่าเขาคาดการไว้แล้วว่าทางออราเคิลจะดึง MySQL ไปซัพพอร์ตเองนับแต่ที่ออราเคิลซัพพอร์ต RHEL ในปีที่แล้วในชื่อ Unbreaktable Linux
อยากรู้ว่าซื้อหุ้นจากต่างประเทศนี่มันยุ่งยากแค่ไหน เผื่อจะไปซื้อมาแปะฝาบ้านไว้สักหุ้น...
ที่มา - Computer Business Review
Comments
อือ จริงก็น่าจะเข้าตลาดหุ้นมาตั้งนานแล้ว เพราะคนใช้งานก็มากมาย จะได้มีการพัฒนาเพื่อ ใช้งานในรูปแบบ Enterprise ที่มากขึ้นด้วย ถ้าผมมีเงินและรู้ขั้นตอนการซื้อหุ้นต่างประเทศ ผมซื้อไว้แน่นอน เพราะฐานลูกค้าน่าจะขยายได้มากมายมหาศาล เนื่องจากมีผู้ใช้งานมากทุกมุมโลกอยู่แล้ว ตอนนี้บริษัทก็ยังเล็กๆอยู่ ที่ผ่านมาที่มีการนำไปใช้งานทาง Enterprise น้อย นอกจากเรื่อง Feature ของ MySQL เองที่มีน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับรายใหญ่ๆอย่าง SQL SERVER,ORACLE ที่เหลือก็คงจะเป็นการ Support ถ้านำบริษัทเข้าตลาดหุ้น ผมเชื่อ ว่าน่าจะเป็นหุ้นที่หวือหวาด้านราคามากทีเดียว คงจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวแน่ๆ ฟันธงครับ ว่าน่าซื้อจริงๆ