นักวิจัยจากภาควิชาฟิสิกส์ของ MIT ประสบความสำเร็จในการส่งพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ต้องมีสายไฟ โดยสามารถทำให้หลอดไฟขนาด 60 วัตต์สว่างได้ แม้อยู่ห่างจากแหล่งพลังงาน 2 เมตร
ทีมวิจัยเรียกกรรมวิธีนี้ว่า "WiTricity" (wireless electricity) หลักการของมันคือวัตถุที่มีความถี่ resonant เหมือนกัน จะถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานไม่รั่วไหลออกไปสู่วัตถุอื่น ทีมนี้ใช้ความถี่ resonant ทางแม่เหล็ก ต่างออกไปจากความถี่เสียงแบบที่เราเคยเรียนกันในวิชาฟิสิกส์
อาจารย์ Peter Fisher หนึ่งในทีมวิจัยบอกว่า ถ้าใช้ขดลวดขนาดเท่ากับโน้ตบุ๊ค ก็สามารถส่งพลังงานโน้ตบุ๊คต้องใช้ในการทำงานได้เหลือเฟือ แปลว่าถ้านั่งทำงานอยู่ในห้อง ก็ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่เลย
ที่มา - MIT News
Comments
ถ้าความถี่ resonant มันเท่ากับความถี่ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ...
นี่มันตู้อบไมโครเวฟนี่ครับ :)
งั้นก็ดีสิ จะได้ทำให้คนหมดไฟ มีไฟขึ้นมาได้ (เติมไฟให้) :P
ขอให้ saturate เร็วๆ ละกัน แต่ที่แน่ๆ ช่วยกันประหยัดไฟฟ้านะครับ :) ป้องกันโลกร้อน
นึกถึง Protoss ใน Starcraft ยังไงไม่รู้แฮะ ---------- แนทโวย
สุดยอด
so cool!
สร้างรถยนต์พลังงานไฟฟ้าล้วนๆ มีแหล่งพลังงานอยู่กลางเมือง ไม่ต้องเติมน้ำมัน
loss มหาศาลเลยนะครับ แทนที่จะต้องใช้แก็สไปผลิตไฟปกติ แต่กลับต้องไปเสียให้ loss ทั้งใน oscillator และ path loss อีก ไม่รู้จะเสียมากกว่าได้รึเปล่า
อู้วววว เหมือนในนิยายวิทยาศาสตร์เลย
--------------------- 7blogger.com
อา... เหมือนในภาพยนตร์เรื่อง the prestige *
เหมืนเคยได้ยินว่าไม่ IBM ก็ Dell ที่เคยทำคอมพิวเตอร์ไม่ต้องเสียบปลั๊กไฟตรงๆ (คล้ายแบบนี้เลย)
โดยส่วนตัว ผมขอยกให้เป็นงานวิจัยแห่งทศวรรษครับ
มองจากมุมของวิศวกรไฟฟ้า มันเอาไปทำอะไรได้เยอะมากครับ ต่อไปเราอาจจะมี electricity everywhere แบบที่เรามี internet everywhere หลาย ๆ ปัญหาก็จะลดลง เช่น ปัญหาแบตเตอรี่ ปัญหาเรื่องเดินสายไฟ หากคิดเป็นมูลค่าเศรษฐศาสตร์แล้วมหาศาลมาก แต่คำถามคือ เทคโนโลยีตัวนี้เอาไปใช้งานจริงได้แค่ไหน
BioLawCom.De
ถ้าเอามาใช้กับมือถือจะ Work มาก
OMG! that's hot!
โอ มาแล้ว ----- German Pride--, Werder Bremens
@TonsTweetings
ไม่รู้ว่าเห็นขนาดของขดลวดกันรึยัง มันใหญ่กว่าขนาดอุปกรณ์ที่ใช้มากๆ เลยนะ ถ้าจะเอาไปใช้กับแล็ปท็อปที่เล็กๆ แต่ด้วยขนาดของขดลวดที่จะเอามาจ่ายไฟให้มันนี่คงไม่ค่อยอยากมีใครพกมันไปในกระเป๋าแน่ๆ
สุดยอด!
เด๋วอีกหน่อยมันคงเล็กลงเองแหล่ะผมว่า
ก้าวแรกสำเร็จ เดี๋ยวก้าวต่อๆ ไปก็ตามมา
จะเป็นอันตรายหรือเปล่า ? แค่คลื่นมือถือยังพาคนเป็นมะเร็งได้ ?
หลอดไฟไร้สายอีกที่หนึ่ง
ดูจากกระบวนการแล้วเหมือนกับของ MIT เลยครับ ไม่รู้ใครคิดก่อน แต่อันนี้ฉลาดมาก เพราะใช้แม่เหล็กดูดตัวหลอดไฟให้ลอยอยู่ด้วย ..:: taste the Code side of life ::..
อันนี้มันให้พลังงานได้น้อยมากๆ เลยครับ ให้พลังงานกับหลอดไฟแปลงที่เป็น LED ได้ 4 หลอด เทียบกับของ MIT ที่เป็นหลอดไฟปกติขนาด 60W เลย
เห็นแล้วนึกถึงตอนเอาฟลูออเรสเซนต์เข้าไมโครเวฟเลย :D เป็น wireless power transmission เหมือนกันนะเนี่ย :p
---------- iPAtS
iPAtS
แปรงสีฟันไฟฟ้าที่ใช้อยู่เมื่อ 10 ปีก่อน ตัวแปรงกับ base station (เรียกซะโก้เลย) ก็ไม้ต้อง "plug" ด้วยกันนะ แค่วาง "สวม" ไว้
หลักการคงคล้ายๆกับ transformer