การวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จากทั่วทุกมุมโลกทำให้เทคโนโลยีในด้านนี้มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ และหากเราสังเกตดูดีๆแล้ว การพัฒนาหุ่นยนต์ในแต่ละทวีปนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันเล็กน้อย
การพัฒนาหุ่นยนต์ในโซนเอเชียโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นนั้น เน้นหนักในงานวิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์เสมือนคน (Humanoid) ในขณะที่งานวิจัยจากประเทศตะวันตกนั้น กลับเป็นงานวิจัยหุ่นยนต์ในเชิงระบบอัตโนมัติและเครื่องจักรอัจฉริยะ
จนมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ความเชื่อทางศาสนาของนักวิจัยนั้นมีผลต่องานวิจัยเหล่านี้หรือไม่?
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ Robert Geraci อาจารย์ภาควิชาศาสนา (Religious Studies) จากวิทยาลัย Manhattan College ได้มีความสนใจเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์มาเป็นเวลานานแล้ว เขาเคยตีพิมพ์งานวิจัยเรื่อง Spiritual Robots: Religion and Our Scientific View of the Natural World ที่ได้พูดถึงศาสนาที่มีผลต่อมุมมองของเราในทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในด้านหุ่นยนต์ (อ่านได้จากเว็บไซต์)
ขณะนี้ Dr.Geraci กำลังเขียนหนังสือเกี่ยวกับผลกระทบของศาสนาต่อหุ่นยนต์และหุ่นยนต์ต่อศาสนา และเขาต้องการความช่วยเหลือเล็กน้อยจากสังคมผู้พัฒนาหุ่นยนต์ในอินเตอร์เน็ต โดยการตอบแบบสอบถามสั้นๆ
ถึงแม้คำถามบางข้ออาจจะคลุมเครือไม่ชัดเจน แต่นั่นก็อาจจะมาจากการที่คำถามเหล่านั้นมาจากมุมมองทางศาสนศาสตร์ ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
ถึงผมจะยังอ่านงานตีพิมพ์ดังกล่าวไม่จบ ผมก็สรุปได้อย่างนึงว่า ไม่ว่าจะเป็นงานตีพิมพ์ของสาขาไหน มันก็ใช้พลังในการอ่านมากพอๆกัน ..โอย
ที่มา - robots.net, ข้อมูลของ Dr.Robert Geraci ใน robots.net
Comments
อ่านของสาขาตัวเองยังขี้ตาแหก อ่านของสาขาอื่นยิ่งไม่ต้องพูดถึง
อ่านหัวข้อข่าวแล้วนึกถึง Calvinian vs Giskardian
จะมีใครเข้าใจแบบเราปะหว่า -_-''