ขณะนี้มีการคิดค้นทำวิจัยเกี่ยวกับระบบติดต่อกับคอมพิวเตอร์แบบใหม่ นั่นคือใช้ลม (หายใจ) เป่าที่จอ โดย Shwetak Patel และ Gregory Abowd จาก Georgia Institute of Technology ได้ตีพิมพ์บทความลงวารสารซึ่งอธิบายเกี่ยวกับการใช้ไมโครโฟนในคอมพิวเตอร์ในการเพื่อระบุว่าเรากำลังเป่า อยู่ที่ส่วนไหนของจอ คลิกดูบทความ
หลักการของเทคโนโลยีนี้ (ฺBLUI -- Blowable and Localized User Interaction) ก็คือการแยกความแตกต่างของเสียงจากการเป่า โดยขึ้นอยู่กับที่ที่ลมถูกเป่าออกมานั่นเอง โดยมีการประยุกต์ใช้งานได้ต่างๆ กันไป เช่น การเป่าปุ่มเพื่อให้ปุ่มทำงาน หรือ การเป่าเทียนบนเค้กวันเกิดเสมือน เทคนิคการใช้งานแบบนี้ต้องการการฝึกฝนซักระยะนึงเพื่อทำการ calibrate ระบบ โดยทำการเป่าที่แต่ละพื้นที่ของหน้าจอประมาณ 3-5 วินาที
ประโยชน์ที่น่าจะได้รับจากระบบอินเทอร์เฟสแบบนี้ก็เช่น เวลาที่ใช้มือทำอย่างอื่นอยู่ หรือคนที่ไม่สามารถใช้มือเพื่อทำการควบคุมคอมพิวเตอร์ได ้ในสถานการณ์ที่ระบบควบคุมด้วยคำพูด (Speech Recognition) ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ
มีตัวอย่างวีดิโอให้ดู คลิก
ถ้าจะมีข้อเสียล่ะก็ คงจะเป็นเรื่องที่ต้องมาเช็ดน้ำลายบนหน้าจอละมั้ง
ที่มา - C|net News.com
Comments
เอ่อ... เป่ามากๆลมหมดพอดี
หรีอนี่จะเป็นกลวิธีบริหารปอด?
แบบนี้ต้องออกอุปกรณ์เสริม ..."หลอดกรองน้ำลาย"
iFilter
เป่าไมค์เหมือน Nintendo DS เป็นไง
Kohsija
วันหนึ่งทำงาน 8 ชั่วโมง เป่าลมกันจนหลอดคอแห้ง ปริมาณขนาดนั้นทำให้คออักเสบได้
ยังไม่รวมกลิ่นปากอีก เฮ้อ พรีเซนต์ไปปิดจมูกไป
เอาพัดลมจ่อเลยครับ
หน้ามืดตายพอดี แต่ไอเดียเจ๋งมากๆ ครับ ใช้ของที่มีอยู่แล้ว
แต่ ปัญหาคือ ถ้าอยู่ในห้องที่มีเสียงรบกวนมากๆ จะใช้งานได้อยู่ไหม?
มีใครอ่านข่าวนี้แล้วเริ่มเป่าส่วนต่าง ๆ ของจอเหมือนผมบ้าง หรือผมบ้าไปคนเดียว
@TonsTweetings
เป่าไปแล้ว
คิก คิก คิก ถ้าลองเอาไปเล่นกับ SF Online สงสัยหน้ามืดก่อนเป่าชาวบ้านดับ
ถ้ามีกลิ่นปาก เป่าไป คอมจะแฮ๊งค์ไหมนี้ :))