ข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์ในทุกวันนี้คือราคาต่อวัตต์แพงมากจนกระทั่งหลายๆ ครั้งมีคนตั้งคำถามว่ามันคุ้มค่าจริงหรือ โดยนับแต่มีการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นมาครั้งแรกเมื่อประมาณสามสิบปีมาแล้วนั้น เป็นการผลิตไฟฟ้าจากสารกึ่งตัวนำบนแผ่นเวเฟอร์ ที่ใช้พลังงานในการผลิตสูงมาก จนกระทั่งจุดคุ้มทุนด้านพลังงาน (ที่ใช้ในการผลิต) นั้นอยู่ที่สามปีจึงเริ่มคืนทุน ส่วนเซลล์แสงอาทิตย์ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั้นเป็นเซลล์แบบบางที่ฉาบอยู่บนแผ่นแก้ว โดยมีระยะเวลาการคืนพลังงานอยู่ที่ 1.7 ปีโดยประมาณ และค่าใช้จ่ายในการผลิตค่อนข้างสูงอีกทั้งการผลิตจำนวนมากยังทำได้ยาก
บริษัท Nanosolar เป็นบริษัทสัญชาติเยอรมันที่ตั้งขึ้นในปี 2002 และได้พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่ต้นทุนการผลิตถูกลงเนื่องจากการผลิตแบบการพิมพ์บนแผ่นฟอยล์ตัวนำที่ทำให้การผลิตใช้พลังงานต่ำ และมีต้นทุนที่ถูกลงมา โดยมีระยะเวลาการคืนพลังงานอยู่ที่ 1 เดือน และจะมีอายุการใช้งานของเซลล์ที่ประมาณ 25 ปี
โรงงานที่บริษัท Nanosolar กำลังจะเปิดตัวในปีหน้านี้จะมีกำลังผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่ 430 เมกกะวัตต์ต่อปี มากกว่าเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดที่เคยผลิตในสหรัฐฯ รวมกัน
ตอนนี้กำลังหาเสียง มีพรรคไหนเตรียมเปิดนโยบาย "เมกกะโซลาร์เซลล์" กันมั่งรึยัง?
ที่มา - celsias
Comments
"ีระยะเวลาการคืนพลังงาน" หมายถึงอะไรเหรอครับ พอดีไม่ค่อยมีความรู้ทางด้านนี้
ระยะเวลาที่เซลล์แสงอาทิตย์จะให้พลังงาน ได้เท่ากับที่เสียไปในการผลิตมันขึ้นมาครับ
ตัวอย่าง
สมมติว่าพลังงานที่ใช้ในการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ 1 ชิ้นเท่ากับ 36 หน่วย
แล้วเซลล์แสงอาทิตย์ 1 ชิ้นให้พลังงานเดือนละ 1 หน่วย ต้องใช้เวลา 36 เดือนหรือ 3 ปี เซลล์แสงอาทิตย์จึงจะให้พลังงานได้รวม 36 หน่วย ซึ่งเท่ากับพลังงานที่เสียไปในขั้นตอนสร้างมันขึ้นมาครับ
Little RX
My Twitter
แต่นั่นยังไม่รวมราคาที่ต้องเสียไปให้กับ ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว นิครับ
ไม่รวมก็ช่างมันสิครับ :P
เพราะค่านี้เอาไว้วัดความคุ้มค่าว่า ใช้เวลานานแค่ไหน พลังงานทดแทนนี้จึงจะเกินทุน ในแง่พลังงานที่ใช้ในการสร้างมัน
เหมือนพวกไบโอดีเซลบางชนิด ผลิตขึ้นมาแทนที่จะลดการใช้พลังงาน กลับสิ้นเปลืองมากขึ้น เพราะสูญเสียพลังงานในการผลิตมากกว่าพลังงานที่ได้เสียอีก(อาจเป็นเพราะเทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้าพอ หรือยังไม่ประหยัดจากขนาด)
โดยส่วนมากค่าพวกนี้เอาไว้ดูความคุ้มค่าในแง่ของสิงแวดล้อมโลกน่ะครับ ถ้าเกิดว่าเซลล์แสงอาทิตย์ใช้เวลาคืนทุนสัก 30 ปี ก็แสดงว่าการใช้แสงอาทิตย์เป็นการทำร้ายโลกยิ่งกว่าเดิม เพราะเราใช้พลังงานในการผลิตไปซะเยอะแล้วอะไรอย่างนั้น
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่าก็ควรจะคิดบ้างนะครับ ผู้ผลิตทำได้ถูกจริง แต่กว่าจะถึง end-user ราคากลายเป็นกว่า ใช้ไป 30 ปีก็ยังไม่คุ้ม แถมพังก่อนจะคุ้มอีก แบบนี้บอกไปใครก็ไม่เอา
ต้องมองแน่ครับ แต่นั้นในมุมมองของผู้บริโภค ซึ่งถึงเวลาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จริงๆ คงเลี่ยงที่จะไม่พิจารณาไม่ได้
อุเหม่... Gundam 00
กรุงเทพ , สเปสโคโลนี่ (^_^")
เมืองไทยอยากทำก็ยากอ่ะครับ
ติดขั้นตอนกับ การไฟฟ้า
ยุ่งยากมากเลย
ตอนนี้กำลังหาเสียง มีพรรคไหนเตรียมเปิดนโยบาย “เมกกะโซลาร์เซลล์” กันมั่งรึยัง?
........ ผมว่าเค้าเตรียมเมกกะขนมเค้กก้อนโตอยู่มั้ง ........
มิน่าครับ วันก่อนนั่งรถผ่านเส้น Munich - Augsburg เห็นมีการติดตั้งโซลาเซลล์กันยกใหญ่ กินพื้นที่หลายไร่เลยทีเดียวครับ
BioLawCom.De
อย่างนี้ต้องชะลอการติดแผงโซล่าไปซักพักจะติดตามข่าวคราวเรื่อยๆ อีกครั้ง
โซล่าเซลล์ในเมืองร้อน ใช้ได้ไม่กี่ปีก็ต้องเปลี่ยน คงไม่คุ้ม
ไม่กี่ปีนี่มันกี่ปีหรือครับ
ผมไม่รู้มาก่อนว่าโซลาร์เซลล์เจออากาศร้อนแล้วอายุการใช้งานจะสั้นลงขนาดนั้น
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ตอนนี้มีรุ่นพี่ที่สังกัด MTEC เรียนอยู่ที่ Tokyo Institute of Technology แล้วก็คนอื่นๆ รวม 6 คนได้
เห็นว่าจะไปเพิ่มอีกเป็นราวๆ สิบคน
หวังว่าในอนาคตเมืองไทยจะมีพลังงานสะอาดใช้ได้ในราคาถูก
(ที่บ้านติดเครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์
แต่ไม่ได้ใช้โซลาร์เซล)
Oakyman.com
ผมว่าเมืองไทยคงได้ใช้พลังงานนิวเคลียร์นะครับ ดูจากสถานภาพทางการเมืองแล้วคงไม่นานเกินรอ ให้นักวิจัยไทยมาพัฒนาแหง
my stupid blog at http://itshee.exteen.com/