เรื่องหนึ่งที่ถกเถียงกันในประชาคมวิกิพีเดีย คือเรื่องสัญญาอนุญาต กล่าวคือนับตั้งแต่เริ่มโครงการวิกิพีเดียเป็นต้นมา ผู้ก่อตั้งต้องการให้เนื้อหาของวิกิพีเดียสามารถนำไปเผยแพร่ต่อหรือแก้ไขได้อย่างเสรี แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้การนำไปเผยแพร่ต่อหรือแก้ไขนั้นยังคงความเสรีอยู่เช่นเดิม จึงได้เลือกที่จะเผยแพร่เนื้อหาข้อความทั้งหมดด้วยสัญญาอนุญาต GFDL ซึ่งออกโดย Free Software Foundation (FSF)
แต่เนื่องจาก GFDL ถูกออกแบบสำหรับใช้กับคู่มือซอฟต์แวร์ ทำให้ขาดความยืดหยุ่นในการใช้กับเอกสารเพื่อการอ้างอิงออนไลน์ซึ่งมีผู้ร่วมแก้ไขเป็นจำนวนมากเช่นวิกิพีเดีย อีกทั้งในภายหลัง ได้เกิดโครงการครีเอทีฟคอมมอนส์ (CC) ขึ้น และสัญญาอนุญาตสัญญาหนึ่งที่ออกโดย CC คือ CC BY-SA นั้นสอดรับกับรูปแบบและเนื้อหาของวิกิพีเดียมากกว่า จึงได้มีความคิดที่จะโยกย้ายสัญญาอนุญาตที่ใช้กับเนื้อหาของวิกิพีเดียจาก GFDL เป็น CC BY-SA แต่ติดปัญหาที่ว่าสัญญาอนุญาตทั้งสองแบบนั้นเข้ากันไม่ได้ (incompatible) กล่าวคือตัวสัญญา GFDL รุ่นปัจจุบันนั้นไม่เอื้อให้ผู้เผยแพร่สามารถเปลี่ยนสัญญาอนุญาตของเนื้อหาที่เคยเผยแพร่ด้วย GFDL ไปเป็น CC BY-SA ได้
ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิวิกิมีเดีย ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโครงการวิกิพีเดียและโครงการอื่น ๆ ในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียก มูลนิธิฯ) จึงได้หารือกับ FSF, CC และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขเรื่องความเข้ากันได้ระหว่าง GFDL กับ CC BY-SA ผลของการหารือคือ :
จิมมี เวลส์ ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย และปัจจุบันเป็นคณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้ประกาศผลของการหารือนี้ในงานเลี้ยงของ iCommons ที่จัดขึ้นในนครซานฟรานซิสโก และได้มีผู้บันทึกวิดีโอและถอดคำแถลงของเวลส์โดยละเอียดไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในตอนแรกในบล็อกของผู้เผยแพร่ยังคลาดเคลื่อนอยู่ โดยผู้เผยแพร่ได้นำเสนอเสมือนว่าวิกิพีเดียได้เปลี่ยนสัญญาอนุญาตเป็น CC BY-SA แล้ว แต่เมื่อได้รับข้อมูลจากทั้งลอว์เรนซ์ เลสซิก ผู้ก่อตั้ง CC และมูลนิธิฯ แล้ว บล็อกข้างต้นก็ได้แก้ไขเนื้อหาให้ถูกต้องในเวลาต่อมา ข่าวนี้อาจนับได้ว่าเป็นข่าวสำคัญในวาระที่ CC จะมีอายุครบ 5 ปี ในวันที่ 15 ธันวาคมที่จะถึงนี้ด้วยครับ
ที่มา - บล็อกที่เผยแพร่วิดีโอและการถอดคำแถลง, บล็อกของลอว์เรนซ์ เลสซิก, และมูลนิธิวิกิมีเดีย
Comments
ถ้ากลับไปดูข่าวเก่าตอน CC ออกเวอร์ชัน 3.0 จะเห็นว่าได้เปิดช่องเพื่อให้ปรับความเข้ากันได้กับสัญญาอนุญาตอื่น (ไม่ได้เจาะจง GFDL แต่คงมีแบบอื่นอีกไม่มาก) คิดว่าระยะเวลาที่ผ่านมาคงเป็นการเจรจา จนลงตัวแล้วจึงประกาศอย่างที่เห็นครับ
เป็นข่าวที่น่ายินดียิ่งครับ เพราะเดี๋ยวนี้เนื้อหาที่สร้างใหม่บนอินเทอร์เน็ต ก็มีหลาย ๆ อันที่กำหนดเป็น CC (โดยเฉพาะ CC by-SA) ถ้า Wikipedia เปลี่ยนเป็น CC เรียบร้อยแล้ว การแลกเปลี่ยนเนื้อหาก็คงทำได้สะดวกขึ้น
พอดีเคยเจอความอึดอัดในการนำข้อมูลจาก Wikipedia มาใช้ในเว็บที่เป็น CC มาก่อน เลยอินกับข่าวนี้เป็นพิเศษ
--
--
ยังค่อนข้างสับสนครับ.
ถ้าเป็นแบบ 2 ก็ไม่น่ามีปัญหากะบทความเก่าๆ ที่ editor ปล่อยเป็น gfdl แล้ว, เพราะ editor อนุญาตให้ใช้ gfdl version ถัดมา version ไหนก็ได้.
แต่ถ้าเป็นแบบ 1 จะมีปัญหาเพราะ document ที่ปล่อยออกไปแล้วนั้น, editor จะยอมให้ใช้ gfdl version ของ gnu เท่านั้น, ไม่ได้บอกว่าจะยอมให้ใช้ gfdl vesion ของ wikimedia.
ถ้าจะให้ editor ยอม ก็ต้องขออนุญาต editor เป็นรายๆ ไป.
เพิ่มเติม: http://blognone.com/node/6441#comment-37007
อานนท์