UK Research and Innovation (UKRI) หน่วยงานด้านการให้ทุนวิจัยของสหราชอาณาจักร (เทียบกับบ้านเราคงใกล้เคียงกับ สกว./สกสว.) ประกาศนโยบายใหม่ว่า งานวิจัยที่รับทุนจาก UKRI และจะส่งเผยแพร่หลังจากเดือนเมษายน 2022 เป็นต้นไป จะต้องเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยไม่ต้องเสียเงิน (open access) รวมถึงใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons
นโยบาย open access ถูกนำมาใช้แก้ปัญหางานวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสารที่ต้องเป็นสมาชิกแบบเสียเงินถึงจะอ่านได้เท่านั้น ทำให้การต่อยอดงานวิจัยทำได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นงานวิจัยที่ได้รับเงินอุดหนุนจากหน่วยงานของรัฐอยู่แล้ว ทำให้หน่วยงานอย่าง UKRI ออกมากำหนดนโยบายเรื่อง open access สำหรับงานที่ต้องการรับทุน
ก่อนหน้านี้ Flickr ได้ประกาศว่าจะให้ผู้ใช้ฟรีคนละ 1,000 รูปเท่านั้น และจะเริ่มลบรูปในวันที่ 12 มีนาคมนี้ แต่จะไม่กระทบกับรูป Creative Commons ที่อัพโหลดก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายนปีที่แล้ว
ล่าสุด Flickr ประกาศปรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการโฮสต์รูปภาพอีกครั้ง โดยระบุว่ารูปกำหนดเป็น Creative Commons หรือ Public Domain ที่อัพโหลดลง Flickr จะไม่ถูกลบแม้ว่าจะอัพโหลดหลังจาก 1 พฤศจิกายนปีที่แล้ว หรือผู้ใช้คนนั้นจะอัพโหลดเกิน 1,000 รูปแล้วก็ตาม
หลังจาก Flickr ปรับกฎใหม่ เลิกให้พื้นที่ฟรี 1TB ซึ่งในช่วงที่ Flickr ได้ให้พื้นที่ฟรี 1TB นั้นมีรูปภาพที่อัพโหลดด้วยไลเซนส์ Creative Commons จำนวนนับล้านรูป ผู้ใช้จึงกังวลว่ารูปภาพนี้จะถูกลบตามไปด้วย ล่าสุด Flickr ออกมาระบุชัดเจนว่ารูปภาพเหล่านี้จะไม่ถูกลบไปด้วย
Flickr ระบุว่า รูปภาพที่อัพโหลดด้วยไลเซนส์ทั้ง Flickr Commons หรือ Creative Commons ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ จะไม่ถูกลบไปด้วย
สืบเนื่องจากกรณีที่ SpaceX ต้องการเผยแพร่รูปภาพในโครงการที่ทำร่วมกับนาซาให้เป็นสาธารณสมบัติ หรือ public domain ผ่านทางหน้า Flickr แต่มีข้อจำกัดตรงที่ Flickr ไม่มีตัวเลือกสัญญาอนุญาตของรูปภาพแบบ public domain ในรายการ ทาง SpaceX จึงใช้วิธีกำหนดสัญญาอนุญาตเป็น CC By 2.0 ไว้แทน ล่าสุด Flickr ได้เพิ่มตัวเลือกสัญญาอนุญาตแบบ Public Domain Work และ Public Domain Dedication (CC0) เพื่อแก้ปัญหานี้แล้ว
ไมโครซอฟท์เผยว่า Sway เครื่องมือนำเสนอไอเดียแบบอินเตอร์แอคทีฟตัวใหม่ในชุด Microsoft Office ได้ฟีเจอร์ใหม่ลงแถบ Add Content สองรายการ ดังนี้
โครงการ Creative Commons ออกสัญญาอนุญาตเวอร์ชัน 4.0 ที่ปรับปรุงเพิ่มเติมจากเวอร์ชัน 3.0 (Blognone ยังใช้ 3.0 อยู่นะครับ) ในรายละเอียดปลีกย่อยบางจุด (ใจความหลักเหมือนเดิม) ดังนี้
เมื่อวันที่ 1 ที่ผ่านมา Bing ประกาศว่าได้เพิ่มฟีเจอร์กรองผลลัพธ์การค้นหาภาพบน Bing.com/Images ตามสัญญาอนุญาตของ Creative Commons ได้ (กูเกิลเพิ่มตัวกรองนี้ตั้งแต่ปี 2009 แล้ว)
Bing ยังโฆษณาว่า ผู้ใช้ Office 2013 ก็สามารถค้นหาภาพบน Bing ได้โดยตรง และผลลัพธ์การค้นหาจะระบุสัญญาอนุญาตโดยค่าปริยาย
ฟีเจอร์กรองผลลัพธ์การค้นหาภาพตามสัญญาอนุญาตนั้นขึ้นกับแต่ละภูมิภาค เท่าที่ผมลองหากเป็นประเทศไทยจะไม่เห็นฟิลเตอร์ดังกล่าว แต่หากเป็นสหรัฐนั้นจะตัวกรองนี้แล้วครับ (เปลี่ยนแปลงภูมิภาค/ประเทศบน Bing ได้โดยคลิปที่ปุ่มรูปฟันเฟืองที่มุมขวาของหน้าจอ ไปที่แท็บ Worldwide แล้วเลือกภูมิภาค/ประเทศที่ต้องการ อาทิ United States - English)
หลังจาก YouTube รองรับ Creative Commons มาได้ครบ 1 ปีพอดี
ทาง YouTube และ Creative Commons ก็ออกมาประกาศความสำเร็จของโครงการนี้ โดยมีคลิปที่เป็น CC จำนวน 4 ล้านคลิป ความยาวคลิปรวมกันเป็นเวลา 40 ปี คลิปเหล่านี้สามารถนำไปใช้ต่อได้ในระบบ YouTube Video Editor โดยตรง ซึ่งทาง YouTube และ CC ก็กระตุ้นให้ผู้ใช้อัพโหลดคลิปที่เป็น CC กันมากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการผสมผสานเนื้อหาสร้างเป็นเนื้อหาใหม่ๆ มากขึ้นตามไปด้วย
YouTube ประกาศรองรับสัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons แล้ว โดยผู้ใช้สามารถใช้งาน Creative Commons ได้ 2 ส่วนดังนี้
ในกรณีที่ตัดต่อวิดีโอด้วยคลิปที่เป็น CC ในหน้าแสดงวิดีโอจะแสดงลิงก์ไปยังวิดีโอต้นฉบับให้อัตโนมัติ
แอพบนมือถือสำหรับถ่ายภาพแล้วแชร์ทันทีอย่าง PicPlz (ซึ่งคนแถวนี้ใช้กันเยอะอยู่) ประกาศของใหม่ 3 อย่างได้แก่
การเปิด API ของ PicPlz ถือว่าก้าวล้ำคู่แข่งอย่าง Instagram ซึ่งมีข่าวว่ากำลังพัฒนา API อยู่เช่นกัน
สำนักข่าว Al Jazeera จากประเทศกาตาร์ เคยประกาศเปิดคลังวิดีโอของตัวเองให้ผู้อื่นนำไปใช้ ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons มาก่อนแล้ว
ในเหตุการณ์ประท้วงใหญ่ที่ประเทศอียิปต์ Al Jazeera อาศัยข้อได้เปรียบที่เป็นนักข่าวมุสลิมด้วยกัน และส่งทีมเข้าไปในกรุงไคโรถึง 7 ทีม รวมถึงนักข่าวในจังหวัดอื่นๆ ของอียิปต์อีกมาก จึงมีเนื้อหา ภาพถ่าย วิดีโอ บทสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประท้วงมากมาย
The NY Times รายงานว่าทำไมรูปภาพประกอบข้อมูลบน Wikipedia บางครั้งทำไมถึงห่วยแตก หรือบางครั้งก็ไม่มีรูปภาพเลยสำหรับบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปอย่างนักการเมือง หรือดาราต่าง ๆ
สาเหตุหลักนั้นเกิดจากการที่ Wikipedia นั้นเลือกที่จะใช้รูปภาพที่ได้รับการอนุญาต Creative Commons ที่เจ้าของภาพยินยอมให้บุคคลทั่วไปสามารถนำภาพไปใช้ได้ แม้จะนำไปใช้เพื่อการค้าหรือไม่ก็ตาม ตราบใดที่มีการให้เครดิตแก่เจ้าของผลงานจริง ๆ
Jay Walsh โฆษกของ Wikimedia Foundation ได้ออกมาเผยว่าบางครั้งเจ้าตัวบุคคลที่บทความใน Wikipedia กล่าวอ้างถึงนั้นได้พยายามให้ทาง Wiki ทำการเปลี่ยนรูปมาเป็นรูปที่ดีกว่า แต่การเปลี่ยนรูปมันไม่ง่ายอย่างนั้น
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ในการค้นหารูป โดยเราสามารถกรองรูปตามสัญญาอนุญาตในครีเอทีฟคอมมอนส์จากผลลัพท์ได้ เช่นค้นหารูปที่ใช้สัญญาอนุญาตประเภทแสดงที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า (by-nc) แต่ทั้งนี้ทางกูเกิลก็ได้ขึ้นคำเตือนไว้ว่าผลของการค้นหานั้น อาจจะไม่ได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ ผู้ใช้ควรจะตรวจสอบความถูกต้องด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง
วิธีการกรองรูปตามสัญญาอนุญาตในครีเอทีฟคอมมอนส์ ทำได้โดยไปที่ Google Images แล้วเข้าไปที่ "การค้นหารูปภาพขั้นสูง"
ปล. รู้สึกว่าชื่อสัญญาอนุญาตที่กูเกิลใช้จะไม่ตรงกับที่ใช้ในครีเอทีฟคอมมอนส์ไทยซักเท่าไหร่นะครับ
หลังจากที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ขึ้นมาทำงาน ก็มีแนวการบริหารงบประมาณแบบโปร่งใส โดยมีการมอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเป็นผู้ดูแลการจัดทำเว็บไซท์ ช่วยชาติ.com หรือ chuaichart.com หลังจากดำเนินการมาเดือนกว่า เว็บไซท์ก็สามารถที่จะเปิดตัวได้
เนื้อหาทั้งหมดของ Wikipedia รวมถึงโครงการอื่นๆ ของ Wikimedia Foundation นั้นใช้สัญญาอนุญาตแบบ GFDL (GNU Free Documentation License) ซึ่งในเชิงเทคนิคแล้ว มันไม่สามารถใช้ด้วยกันได้กับ Creative Commons ถึงแม้ว่าจะมีแนวคิดคล้ายๆ กันก็ตาม
ปัญหานี้ทำให้ไม่สามารถ "ก็อปแปะ" เนื้อหาที่เป็น Creative Commons ลงใน Wikipedia ได้ ถึงแม้ว่าเจ้าของจะมีเจตนาให้ใช้ประโยชน์ก็ตาม
สถานีโทรทัศน์ BBC ของสหราชอาณาจักร เริ่มโครงการทดลองชื่อ R&DTV โดยรายการนี้เป็นรายการด้านเทคโนโลยีรายเดือน สัมภาษณ์บุคคลากรทั้งของ BBC เองและผู้เชี่ยวชาญภายนอก
แง่มุมที่น่าสนใจไม่อยู่ที่ตัวเนื้อหาของรายการ แต่เป็นวิธีการแพร่ภาพและแจกจ่ายรายการ รายการ R&DTV จะถูกปล่อยออกมา 3 ฟอร์แมต
ต่อจากข่าวเก่า Creative Commons ประเทศไทยเสร็จเรียบร้อยแล้ว วันนี้ทางโครงการ Creative Commons นานาชาติ (Creative Commons International หรือ CCi) ได้อัพโหลดสัญญาอนุญาตฉบับประเทศไทยขึ้นเว็บเรียบร้อย สามารถใช้งานได้ทันทีครับ ก็ขอเชิญทุกท่านที่มีเว็บหรือผลงานต่างๆ ที่ใช้ Creative Commons อยู่แล้ว เปลี่ยนลิงก์มายังสัญญาหน้าประเทศไทยโดยพลัน (แบบง่ายๆ โดยการเพิ่ม /th เข้าไปด้านหลัง URL)
ส่วนข่าวนี้เป็นการแปะภาพว่าทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ถ้าเข้าไปยังหน้าหลักของ CCi ธงชาติไทยได้ขยับจาก Project Jurisdictions มาโผล่ใน Completed Licenses เคียงคู่กับชาติมหาอำนาจอื่นๆ เรียบร้อย
ย่อหน้าแรกๆ ขอแจ้งข่าวสำหรับผู้ที่รู้จัก Creative Commons ดีอยู่แล้วก่อนนะครับ โครงการแปลงสัญญาอนุญาต Creative Commons ให้ใช้งานกับระบบกฎหมายในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์ นั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะประกาศใช้บนเว็บไซต์ของ Creative Commons ต่อไป
งานแถลงข่าวจะมีขึ้นในวันที่ 2 เมษายนนี้ ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (ตรงข้ามมาบุญครอง) เวลา 13.00-16.00 น. (รายละเอียด) ที่ต้องจัดวันธรรมดาเพราะว่ากลุ่มเป้าหมายหลักคือนักข่าว แต่ว่าถ้าใครสนใจและสามารถปลีกตัวจากเวลางานมาได้ก็ยินดีครับ สำหรับบุคคลากรที่จะมาในนามของหน่วยงานและต้องการจดหมายเชิญแบบเป็นทางการ สามารถติดต่อมาที่ผมได้โดยตรง markpeak @ gmail
ผมโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ Creative Commons ประเทศไทย แล้ว แต่เห็นว่าวิดีโออันนี้ทำออกมาได้เข้าใจง่าย เห็นภาพ เลยเอามาโพสต์ซ้ำอีกครั้ง (แถมแปะเป็น sticky ไว้ให้ด้วย เนื่องจากเราสนับสนุน Creative Commons :D)
วิดีโอนี้จัดทำโดยรายการแบไต๋ ไฮเทค ผมเข้าใจว่าได้ฉายผ่านโทรทัศน์ (ช่อง Nation) ในช่วงเวลาปกติของรายการด้วย ถ้าใครทราบข้อมูลว่าได้ออนแอร์วันไหนก็จะขอบคุณมากครับ
กระแสการเปิดเนื้อหาให้ใช้งานต่อได้อย่างเสรีนั้นแม้จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากสื่อสมัยใหม่ แต่สำนักข่าวใหญ่ๆ นั้นกลับไม่ค่อยตอบรับ หรือกระทั่งฟ้องผู้นำเนื้อหาไปใช้งานต่ออย่างต่อเนื่อง แต่ล่าสุด อัล จาซีราก็สร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่สวนกระแส ด้วยการเปิดคลังวีดีโอใน "สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา 3.0"
การเปิดคลังครั้งนี้หมายถึงทุกคนในโลกจะสามารถนำวีดีโอในคลังนี้ไปใช้งาน และดัดแปลงได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องขออนุญาตจากทางอัล จาซีราล่วงหน้า หรือเสียค่าใช้จ่ายในการนำไปใช้งานแต่อย่างใด โดยทั้งหมดที่ผู้นำเนื้อหาไปใช้ต้องทำคือการระบุว่ามีการใช้เนื้อหาจากทางอัล จาซีราเท่านั้น
Amazon MP3 Store ร้านขายเพลงออนไลน์ของ Amazon ซึ่งขายเพลงแบบไร้ DRM ได้เปิดเผยอันดับยอดขายประจำปี 2008 ปรากฎว่าอัลบั้มที่เป็นแชมป์คือ Ghosts I-IV ของวง Nine Inch Nails ครับ
หอจดหมายเหตุของเยอรมนี (German Federal Archives หรือ Bundesarchiv) ได้บริจาครูปภาพจำนวน 100,000 รูปให้กับโครงการ Wikimedia Commons ซึ่งเป็นโครงการพี่น้องของ Wikipedia แต่มีหน้าที่เก็บสื่อต่างๆ ที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบเสรีโดยเฉพาะ
โครงการนี้เป็นความร่วมมือของหอจดหมายเหตุเยอรมนี กับ Wikipedia ฉบับภาษาเยอรมัน รูปภาพส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายของประเทศเยอรมนีในอดีต การมอบภาพถ่ายให้จำนวน 100,000 รูปนี้เป็นการบริจาคเนื้อหาครั้งใหญ่ที่สุดที่ Wikimedia Commons เคยได้รับ
เว็บไซต์ Change.gov ซึ่งเป็นเว็บไซต์นำเสนอนโยบายของรัฐบาลบารัค โอบามา ก่อนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ได้ประกาศว่าเนื้อหาทั้งหมดเว็บไซต์จะใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons Attribution 3.0 ("By") นั่นหมายความว่าคนทั่วไปสามารถเอาเนื้อหาไปทำอะไรก็ได้อย่างเสรี ขอแค่อ้างอิงว่าเอามาจาก Change.gov เท่านั้น (ข่าวใน Blognone ก็ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันครับ)
ใครอยากอ่านรายละเอียดก็เข้าไปดูได้ที่หน้า Copyright Policy ของ Change.gov
โครงการ Ubuntu เริ่มการประกวด Ubuntu Free Culture Showcase ครั้งที่สองแล้ว
Ubuntu Free Culture Showcase เป็นโครงการสนับสนุนวัฒนธรรมแบบเสรี ("Free Culture") โดยส่งเสริมให้มีผลงานสร้างสรรค์ที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons ออกมามากๆ การประกวดครั้งนี้รับไฟล์เสียง, วิดีโอ และภาพถ่าย-กราฟฟิกในหัวข้ออะไรก็ได้ ผลงานผู้ที่ชนะการประกวดจะถูกนำไปใส่ใน Ubuntu 9.04 (ในโฟลเดอร์ Example ซึ่งจะอยู่ใน Home ของผู้ใช้ทุกคน)
หมายเหตุ: งานชิ้นนี้ผมไม่ได้เป็นคนเขียน (เป็นคนยุให้แปล) แต่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับ Creative Commons เลยขอมาเผยแพร่บน Blognone ด้วย คนจะได้อ่านเยอะๆ ผู้แปลคือคุณชิตพงษ์ กิตตินราดร
แบ่งปันอย่างเสรีบนโลกออนไลน์ด้วยครีเอทีฟคอมมอนส์
ไม่นานหลังจากโจอิชิ อิโตะ (Joichi Ito) ได้นำภาพถ่ายของวินตัน เซิร์ฟ (Vinton Cerf) ผู้บุกเบิกวงการอินเทอร์เน็ต ที่เขาเป็นผู้ถ่าย ขึ้นไปไว้ที่สารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย (Wikipedia) เมื่อปีก่อน เขาสังเกตว่ามีอะไรแปลกๆ ในตอนนั้น รูปถ่ายของคนที่มีชื่อเสียงในวงการอินเทอร์เน็ตและผู้นำทางเทคโนโลยี ที่มีประวัติอยู่ในวิกิพีเดีย มักจะมีคุณภาพต่ำหรือไม่มีรูปเลย มันไม่สมควรจะเป็นเช่นนั้น