สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สย่อมทราบกันดีว่า ชิป Wi-Fi ที่มีปัญหาเรื่องไดรเวอร์มากอันหนึ่งคือชิปของ Atheros เนื่องจากไม่มีไดรเวอร์โอเพนซอร์สมาให้ ทางออกที่เป็นไปได้คือใช้ ndiswrapper หรือใช้ไดรเวอร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นการ reverse engineer และมีปัญหาเรื่องจำนวนฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนอยู่บ้าง
แต่ล่าสุด Atheros หันมาตามกระแสเปิดไดรเวอร์โอเพนซอร์สที่กำลังมาแรง (ดูข่าวเก่าของ VIA) โดย Luis R. Rodriguez นักพัฒนาไดรเวอร์ ath5k สำหรับลินุกซ์และยูนิกซ์ตระกูล BSD ได้เปิดเผยว่า เขาตัดสินใจเข้าทำงานกับ Atheros แล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะให้อุปกรณ์ทุกชิ้นของ Atheros นั้นมีไดรเวอร์สนับสนุนอยู่ในเคอร์เนลของลินุกซ์ตั้งแต่แรก
คราวหน้าขอให้เป็นคิวของ Nvidia บ้าง สาธุ
Comments
เป็นสัญญาณที่แรงมากขึ้น สำหรับโลกของโอเพนซอร์ส.. สมัยก่อนเคยคิดว่าจะใช้โอเพนซอร์ส มาแทนโอเอสที่ใช้อยู่ แต่ก็ผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงตอนนี้คะแนนในใจจะยังไม่มาก(ลงครั้งก่อนอัพนู่นอัพนี่เพราะอยากเล่น breyl วันเดียวพังเลย) แต่ตอนนี้ก็ผิดหวังกับโอเอสกระแสหลักอยู่พอดู
รออย่างใจจดใจจ่อครับงานนี้ :D
เอ...ชิป atheros มันก็มีไดร์เวอร์โอเพนซอร์สที่ชื่อ madwifi ไม่ใช่เหรอครับ ความสามารถของมันสูงกว่า ipw2200 สำหรับ centrino ด้วยซ้ำ
แต่การที่จะทำให้สามารถ check-in เข้าไปในเคอเนลได้เลย เป็นสิ่งที่ดีมากครับ จะได้สะดวกไม่ต้องหามาคอมไพล์เอง
ไม่ตายไม่เลิก
+1 ขอบคุณที่ชี้ทางสว่างให้กับ Atheros AR5006EG ของผม
madwifi มันไม่ได้ open source ทั้งหมดครับ เหมือนว่า firmware จะเอามาจากตัวที่ close source เวลา load module แล้ว kernel จะฟ้องว่า taint
ใช่ครับ เพราะใน firmware มันมีส่วนที่ควบคุมการปรับความถี่ ซึ่งจากที่ rf frontend มันสามารถปรับความถี่ไปนอกช่วง 2.4 Ghz ได้ ดังนั้นจึงต้องให้ส่วนนี้เป็น proprietary เพื่อควบคุมไม่ให้ผู้ใช้สามารถปรับความถี่ออกไปนอกย่านนี้ ไม่เช่นนั้นอาจไปรบกวนผู้ใช้อื่นได้
สำหรับส่วนอื่นนอกจากนี้ก็เป็น GPL หมดนะครับ
ไม่ตายไม่เลิก
เอ อย่างนี้ถ้าเป็นโอเพนซอร์สหมดแล้วก็เห็นส่วนนี้ในโค้ด?
อย่างนี้ได้มีคนแฮกไปใช้ย่านอื่นกันเยอะแน่ๆ เลยแฮะ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
นั่นสิ ผมก็สงสัยว่าถ้า open source ตัว firmware จริงๆ แล้วจะป้องกันปัญหานี้อย่างไร
ไม่ตายไม่เลิก