สารานุกรม Britannica มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ปี 1768 แต่ในช่วงหลังต้องเจอกับคู่แข่งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีครั้งสำคัญ นั่นคือ Microsoft Encarta ในยุคซีดีรอม และ Wikipedia ในยุคอินเทอร์เน็ต Britannica จึงต้องปรับตัวตาม โดยปัจจุบันยังขายสารานุกรมเป็นหนังสือยกชุดอยู่ และมีเวอร์ชันเว็บที่ต้องเสียเงินก่อนเข้าใช้งาน
ปัจจุบันอัตราส่วนของผู้เข้า Britannica กับ Wikipedia ต่างกัน 184 เท่า ทาง Britannica จึงต้องหาวิธีโปรโมทตัวเองบนเว็บเพิ่มเติม โดยเปิดแคมเปญใหม่ชื่อ Britannica Webshare ซึ่งจะอนุญาตให้ "web publisher" (บล็อกเกอร์ เว็บมาสเตอร์ และนักเขียนออนไลน์) เข้าใช้งานสารานุกรม Britannica ได้ฟรี โดยมีเงื่อนไขว่าต้องสมัครและรออนุมัติจาก Britannica ก่อน
TechCrunch วิเคราะห์ว่าสุดท้ายแล้ว Britannica จะต้องเปิดสารานุกรมให้ทุกคนแก้ไขได้เหมือน Wikipedia เพียงแต่มีจุดขายที่ทีมผู้เขียนเฉพาะทางของ Britannica เอง
ที่มา - TechCrunch
Comments
บริเตนนิกา คงไม่มีการเปิดให้ทุกคนแก้ไขได้หรอกครับ เพราะข้อเสียของวิกิพีเดียหลักที่ทุกคนรู้คือ ทุกคนแก้ไขได้
http://itshee.exteen.com/ -- Can you upgrade Vista to XP Pro?
รักโลกแบบนี้จัง ฟรี ไปหมด...ว่ะฮ่าฮ่า
ถ้าหาข้อมูลจริง ๆ จัง ๆ นี่ Britannica และ Encarta นี่อ้างอิงในระดับความน่าเชื่อถือดีกว่าเยอะ อาจารย์ทั่วไปก็มักเชื่อถือจากการหาข้อมูลจากทั้งสองแหล่งนี้ มากกว่า Wikipedia มาก
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
เรื่องนี้ก็ยังเป็นที่เถียงกันอยู่ครับ
แต่ที่แน่ๆ Britannica คงไม่มีบทความเรื่องนารุโตะ