ปัญหาโลกร้อนในทุกวันนี้เกิดขึ้นจากปริมาณก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศมากเกินปรกติ การรณรงค์ลดขยะในทุกวันนี้คือความพยายามลดการปล่อยคาร์บอนให้น้อยลง แต่อีกหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาคือการเก็บกักคาร์บอนที่เกิดขึ้นไม่ให้ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
ทีมนักวิจัยจาก National Centre for Scientific Research (CNRS) แห่งประเทศฝรั่งเศสได้ประกาศถึงความสำเร็จในการพัฒนาสาร MIL-101 ที่ออกแบบมาเพื่อเก็บกักคาร์บอนให้อยู่ในรูปของแข็ง โดยผงแป้งนี้เพียงหนึ่งลูกบาศก์เมตรจะเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 400 ลูกบาศก์เมตร จากการพัฒนาช่องกักคาร์บอนในผงแป้งที่มีขนาด 3.5 นาโนเมตรเทียบกับขนาดของผงแป้งกักคาร์บอนที่มีช่องกักคาร์บอนขนาดเพียง 2.2 นาโนเมตรที่มาวางขายในท้องตลาด
งานวิจัยนี้กำลังได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร American Chemical Society ฉบับหน้า
การกักคาร์บอนเป็นอีกทางออกที่น่าสนใจ และน่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าเนื่องจากภาคการผลิตยังคงสามารถทำการผลิตได้เช่นเดิม เพียงแต่เพิ่มต้นทุนในการหาทางกักคาร์บอนแทนที่จะปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศเช่นเดิม
ที่มา - PhysOrg
Comments
น่าดีใจนะครับที่มีทางเลือกหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหา CO2 เยอะ
แต่แวบหนึ่งก็คิดในใจว่า เหมือนแก้ปัญหาแบบแยกส่วนอย่างไรไม่รู้อ่ะ
ไม่สบายก็กินยา หนักมากก็เอาเนื้อตรงนี้ออก ฉายแสง คีโม โลด
ข้าฯพอใจจะเลือกกิน,ใช้,เที่ยวและก็ทิ้งแบบคิดน้อยเหมือนเดิม
ส่วนคนที่ทำหน้าที่เก็บกวาด รักษา ก็ทำไปดิ
น่าจะตรงไปที่แก้ที่ พฤติกรรมบริโภคนิยม ลดการใช้ฟุ่มเฟือย ลดการใช้แพ็คเก็จเกินขนาด
และคิดเรื่องภาษี CO2 กลับลงไปที่ผลิตภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนการลดการใช้พลังงาน,วัตถุดิบที่สร้าง CO2 เยอะ
คิดกลับไปที่ Ecological footprint
รู้สึกเหมือนพร่ำเพ้อชอบกล
เห้นด้วยครับ
แต่ต้องเสริมนิดนึงว่า ถ้าหากเรามัวแต่รอผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็ไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไหร่จะสำเร็จ การคิดวิธีการบรรเทาปัญหา ก็น่าจะทำควบคู่ไปด้วยนะครับ
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
ผมว่านี่เป็นแนวทางที่น่าสนใจมากๆ อันนึงเลยครับ
โดยส่วนตัวคิดว่า แนวทางการรักษาโลกร้อน โดยคนทั่วไปไม่ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
จะเป็นแนวทางที่ยั่งยืนและeffective กว่าครับ (เพราะมันเกินเยียวยาไปแล้ว แค่รณรงค์คงไม่ทัน)
ถ้าทำการศึกษาในแนวทางนี้ต่อไปอีก อาจจะทำให้มี capacity มากกว่านี้อีกเป็นร้อยเป็นพันเท่า หรืออาจจะกำจัด CO2 ด้วยวิธีอื่นๆ ได้ ซึ่งนั่นผมว่าทุกคนจะพอใจอะครับ
แต่ผมมองว่าถ้ารณรงค์ให้ลดCO2ไปด้วย แล้วก็ใช้การเก็บกักไปด้วยคงจะดีกว่านี้ (ถ้าจิตสำนึกสาธารณะดี และใช้การเก็บกักร่วมด้วย โลกคงน่าอยู่ขึ้นเยอะ^^)
CNRS ? Centre national de la recherche scientifique
ถ้าใช้ซอฟต์แวร์แปล จากฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ อาจจะกลับด้านหรือเปล่า? แต่ชื่อหน่วยงานไม่น่าจะต้องแปลกลับด้านนะครับ
แหน่ง*ประเทศฝรั่งเศส
เก็บแล้วเอาไปไว้ไหนครับ
ฝังในสะดือทะเลเหมือนกากปรมณูหรือเปล่า
Kohsija
ไว้ใต้ทะเล แรงดันสูงๆ แล้วกลายเป็นเพชร เอามาขายคุณหญิง คุณนาย :D
---------- iPAtS
iPAtS
อะไรจะกลายเป็นเพชรล่ะครับนั่น ...
ก็คาร์บอนที่เจ้าผงแป้งนี้เก็บกักไง แถมตัวแป้งเองก็มีคาร์บอน
เห็นบทความนี้ปุ๊บ เรื่องนี้ก็แว๊บมาทันทีเลยครับ กลัวจะเป็นการแก้ปัญหาแบบโดมิโน คือแก้ปัญหาในวันนี้ให้พ้นตัวไป แต่กลับสร้างอีกปัญหาหนึ่งแทน โดยวันนั้นคนทำก็ไม่อยู่ตรงนั้นแล้ว
การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกนั้นเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวที่ยั่งยืนครับ(ถ้าทำได้จริงนะ)ส่วนวิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้เรามีเวลาพอที่จะปลูกจิตสำนึกกันอย่างจริงจังก่อนที่จะไม่ทันเวลานะครับ
แล้วถ้าวิธีการนี้มันยั่งยืนพอ เช่นว่าค่าใช้จ่ายมีราคาถูก สามารถฝังกลบได้โดยไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม
อย่างนั้นเรายังต้องรณรงค์ต่อรึเปล่าครับ?
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ก็ต้องทำครับ เทคโนโลยีทุกอย่างมีข้อจำกัดในตัวมันเอง วิธีการที่ยั่งยืนคือการปลูกฝังจิตสำนึกอย่างมีเหตุผลครับ ร่วมกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ปลายเหตุที่ดีแต่ก็คงต้องทำไปพร้อมกับการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
เปลี่ยนจาก Desktop มาใช้ Mac Mini กันเถอะ!!
งั้นขอให้เปลี่ยนมาใช้ Eee PC กันให้หมดครับ... จอเล็กประหยัดไฟ
Kohsija
ลองจินตนาการดู ผงแป้งนี่ เอาขึ้นไปโรย ๆ แบบฝนเทียม ฝากเคื่องบินพานิช บินไปโรยไป
แต่ข่าววันก่อนเข้าท่ากว่าไหม คือ จีนหรือไงเนี่ย ห้ามผลิตถุงพลาสติกบาง ซึ่งนั่นแปลว่า ในการใช้ทั่วไป จะมีแต่ถุงหนาที่ใช้ซ้ำได้หลายครั้งเท่านั้น
เรื่องอาหารการกิน ผมสั่งตามสั่งกลับมากินบ้านทุกวัน หลัง ๆ มานี่ใช้ปิ่นโตสแตนเลส หนักหน่อย แต่เออเข้าท่าดีเหมือนกัน เดินแรก ๆ อายเลยแหละ แต่ตอนนี้
มี 2 เถา ไว้สลับกัน เพราะบางทีต้องเข้าตู้เย็น
ที่เปลี่ยนมาใช้ ประเด็นหลักไม่ใช่ลดขยะ แต่กลัวอันตรายจากโฟม เพราะอาหารอยู่ในโฟมค่อนข้างนาน บางทีแช่ตู้เย็นข้าม 2 คืน
บางเจ้าจะมีถุงพลาสติกรองให้ บางเจ้าก็ไม่มี
นี่โรงอาหาร รพ.ธรรมศาสตร์ เริ่มเลิกใช้โฟมแล้วตั้งแต่ต้นเดือน
ผมยังกังขามากเรื่องของการพยายามใช้ถุงแบบใช้ซ้ำได้ เพราะถุงพวกนี้ปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตมากกว่าถุงแบบธรรมดาถูกๆ หลายเท่าตัว คำถามคือแล้วที่เราลงทุนไป สุดท้ายแล้วมีการนำกลับมาใช้ใหม่กี่ครั้งกัน
จริงๆ แล้วของหลายๆ อย่างที่เราใช้ครั้งเดียวทิ้ง อย่างแก้วกาแฟสด หรือถุงพลาสติกเองก็ตามที มันใช้งานได้หลายครั้งโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว น่าจะชัดเจนกว่าถ้าเราจะรนรงค์การนำกลับไปใช้ใหม่ โดยไม่ต้องผลิตอะไรที่มันหรูหรากว่าเดิม
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw