Nat Torkington คอลัมนิสต์ของค่าย O'Reilly เขียนบทวิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่เริ่มตกต่ำในช่วงนี้และจะดำเนินต่อไปอีก 3-5 ปี จะเป็นผลดีต่อวงการโอเพนซอร์ส
เนื่องจากบริษัทโดยทั่วไปมีงบประมาณด้านไอทีลดลง จึงต้องหันมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สกันมากขึ้น รวมถึง cloud computing ที่ช่วยให้บริษัทไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินสร้างสาธารณูปโภคด้านไอทีครั้งละมากๆ
Torkington ให้ตัวอย่างว่าฟองสบู่ด็อตคอมในช่วงปี 2000-2001 เป็นตัวบีบให้บริษัทหลายแห่งต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอด ซึ่งผลของมันก็คือบริการอย่าง Flickr หรือ Delicious ซึ่งหลังจากระยะนั้น วงการเว็บก็ไม่มีอะไรแปลกใหม่ออกตามมามากนัก เขาจึงมองว่าวิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้จะบีบให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาอีกครั้ง
Matt Asay นักเขียนของ CNET เสริมประเด็นนี้โดยยกตัวอย่างว่าสมาคม SME ของสหรัฐ เลือกใช้ Alfresco/MySQL สำหรับเว็บไซต์ Business.gov แทนระบบเดิมที่ใช้ซอฟต์แวร์ของ BEA และลดค่าใช้จ่ายได้ถึงครึ่งหนึ่ง
ที่มา - O'Reilly Radar
Comments
เห็นด้วยครับ...ตามไปอ่านบทความดีกว่า
น่ากลัวนะครับ เพราะถ้าแนวโน้มมันมาแบบนี้สายงาน IT ก็น่าจะมีรายได้ลดลงหรือเปล่า?
ผมว่าโดยรวมก็กระทบต่อทุกสายงานละครับตอนนี้
ผมกลัวว่า พอเรียนจบ (เพื่อนๆหลายคนรวมผม) จะ หาไม่ได้อ่ะ สิเนี่ย
เอ หรือไม่ได้หา หว่า เหอๆ
ใช้ open source ก็ไม่ให้สายงานไอทีสำหรับ developer งานลดไปสักเท่าไหร่หรอกค่ะ เพราะยังงัยๆ ก็ต้อง customize, maintenance อยู่ดี
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ผมมองว่าค่า maintenance และ customize มันก็เท่าเดิมนั่นแหละ แต่ตัดค่า license ไปได้เยอะพอดู โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ๆที่ต้องจ่ายค่า license แบบปีต่อปี คูณกับจำนวนเครื่องเข้าไปอีกน่ะ
ผมมองแบบเดียวกับคุณ obtheair
ก็ดีครับ จะได้พิสูจน์เสียทีว่าทำใช้งานได้จริงๆ
หลายคนกล้าใช้ ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เป็นต้นว่า ใครจะให้การดูแลเมื่อมีปัญหา แต่สาเหตุสุดคลาสสิคที่สุด เห็นจะเป็นเรื่องความรู้สึกที่ว่า ได้เสียตังค์แล้วสบายใจ
ถ้าโอเพนซอร์สถูกพัฒนามากๆ ขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเอง เพราะจะมีซอฟแวร์ฟรีๆ ให้โหลดเอาไปใช้กันได้มากมาย และปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ใข เพราะว่ามีคนสนับสนุนมากขึ้น
วิกฤ๖ิครั้งนี้น่ากลัวแน่นอนครับ ลูกค้าส่วนใหญ่ของงานไอทีเป็นธนาคารและสถาบันการเงินอยู่แล้ว ..
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com