เราอาจคุ้นเคยกับ ดิจิตอล ดีไวด์ มากันบ้างแล้วพอควร และหากเป็น จีพีเอส ดีไวด์ (GPS Divide) จะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมอเมริกัน
รายงานของบริษัทวิจัยตลาด ABI Research เปิดเผยว่า คนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุอเมริกัน ใช้งานอุปกรณ์ จีพีเอส (GPS – global positioning system) แตกต่างกัน โดยผลการวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ค่อนข้างมีความชัดเจนสำหรับวัยที่ต่างกันนั้นมิได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังแตกต่างกันในประเด็นของการใช้งานอีกด้วย
ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจบางส่วนที่ได้รับการเปิดเผยและน่าสนใจขอนำมาสรุปให้ทราบดังนี้
อุปกรณ์จีพีเอส หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “พีเอ็นดี” (PND – portable navigation device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์นำทางแบบพกพานั้น อุปกรณ์ที่ใช้งานคล้ายคลึงกันไม่จำกัดวัย แต่หากเป็นอุปกรณ์นำทางประเภทเครื่องโทรศัพท์มือถือหรือพีดีเอที่มีบริการนำทางรวมอยู่ด้วยแล้ว ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 35 ปี
คนอเมริกันที่มีวัยต่ำกว่า 45 ปีมีเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูง ใช้อุปกรณ์ พีเอ็นดี ที่ต่อในแบบทางเดียวและสองทาง
เยาวชนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ใช้ดาวน์โหลดข้อมูลทราฟฟิกและค้นหาตำแหน่งที่อยู่ (location-based search)
ปัจจุบัน การใช้ประโยชน์จากระบบนำทางได้ขยายไปยังกลุ่มชนทุกวัยในสังคม และได้กลายเป็นเรื่องสำคัญและได้รับความสนใจจากบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์นำทางเพื่อผลิตอุปกรณ์และ/หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการหลากหลายของกลุ่มคนในวัยต่างๆ
นอกจากนี้ ยังได้ทำการสำรวจผ่านออนลายน์เมื่อสิงหาคม 2552 กับผู้ใช้ระบบนำทางในรถยนต์จำนวน 750 ราย เพื่อทราบว่าต้องการใช้ระบบนำทางในรูปแบบใดๆอีกบ้าง รูปลักษณะของเครื่องที่ต้องการ และความพึงพอใจต่อแบรนด์ เป็นต้น
ที่มา - cellular-news
Comments
PND คือ Portable Navigation Device
Tag PND กับ GPS Divide ไม่น่าใส่ เปลี่ยนเป็น Research ดีกว่า
ขอบคุณมากครับสำหรับคำเต็มของ PND ตอนเขียนติดพันกับ GPS อยู่มากไปหน่อย
ส่วน Tag ปรับใหม่แล้ว แต่ยังอยากใส่ PND ไว้ก่อนหรือไม่ก็เป็นชื่อเต็ม
ผมว่า device น่าจะแปลคำไทยนะครับ เป็น "อุปกรณ์" ก็น่าจะตรงดี
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ยังได้ทำการสำรวจผ่านออนลายน์เมื่อสิงหาคม น่าจะเป็น "ออนไลน์" นะครับ