ซีพียูที่ร้อนแรงที่สุดในปีนี้คงต้องยกให้ Intel Atom ที่เปิดตลาด netbook อย่างรุนแรง แต่ถ้าคนอยู่ในวงการวิจัยหรือกระทั่งคนที่ต้องดูแลเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากๆ แล้วคงแอบหวังที่จะเอา Atom ไปใช้ในเซิร์ฟเวอร์กันอยู่ เพราะการปล่อยความร้อนที่ตำเอาเสียเหลือเกิน และเจ้าแรกที่เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นต่อไปด้วยแนวคิดนี้จริงๆ ก็คือ SGI ที่เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ขนาด 3U ที่อัดซีพียู Atom ไว้ถึง 180 ตัว
ชื่อรหัสของโครงการนี้คือ Project Molecule (เอาอะตอมมาเรียงกันต้องเป็นโมเลกุลสิ) โดยทำเมนบอร์ดแบบพิเศษที่มีขนาดเล็กมาก แล้วใส่กล่องเป็นบล็อกเรียงกันไป
ชิปที่ใช้คือ Atom N330 ที่มีสองคอร์ในตัว ทาง SGI ระบุว่าแต่ละบอร์ดจะรองรับหน่วยความจำได้ 2 กิกะไบต์ ทำให้หนึ่งเครื่องจะมีคอร์ x86 อยู่ถึง 360 ชุดและหน่วยความจำสูงสุด 360 กิกะไบต์ โดยที่กินไฟน้อยกว่า 2 กิโลวัตต์ทั้งตู้
ก้าวต่อไปสำหรับโครงการนี้คือ การขายตู้ทั้งตู้ที่มี Atom อัดแน่นมากกว่า 10,000 คอร์ในตู้เดียว โดยจะมีระบบหล่อเย็นแบบของเหลวเข้ามาช่วยด้วย
ปรกติแล้วระบบกริดขนาดเล็กๆ เช่นนี้ก็มักจะใช้ชิปขนาดเล็กๆ เพื่อความคุ้มค่าในแง่ของพลังงานกันอยู่แล้ว แต่ Atom นั้นจะเป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นชุดคำสั่ง x86 บนเครื่องแบบนี้
ที่มา - Tech-On
Comments
ซื้อแล้วเอาไปใส่ตู้ กสท. ก็ยิ่งคุ้มเลย :P
tower นึงได้ซัก 10unit
แค่ค่าไฟก็แพงกว่าค่าเช่าตู้แล้ว
เอาเจ้า Project Molecule หลายๆตัวมาประมวลผลร่วมกัน จะเรียกอะไรหว่า?
Project Pure Substance?
อืมมม เพิ่งไปอ่านรีวิวใน Tomshardware.com เปรียบเทียบระหว่าง Atom กับ Core2Duo
Efficiency: Core 2 Nukes Atom On The Desktop : Atom Just Isn’t For Desktops
ผลออกมาว่าเทียบกันต่อวัตต์แล้วระบบที่ใช้ Core2Duo มี efficiency (แปลว่าประสิทธิผลหรือเปล่าหว่า) ดีกว่าระบบที่ใช้ Atom นะ
หากเป็นดังนี้ ถึงระบบ Atom จะใช้พลังงานสูงสุดน้อยกว่า เย็นกว่า แต่เมื่อประสิทธิภาพต่อวัตต์ต่ำแล้ว ผลในระยะยาวจะเป็นยังไงนะ -___-"
ผมว่าถ้าวัดกันที่ีพีคเลย 100% CPU load พลังงานไฟฟ้าเท่ากัน Atom ได้งานน้อยกว่า
แต่ถ้างานที่ไม่ได้ใช้ CPU 100% ตลอด (อย่าง Netbook)พลังงานไฟฟ้าเท่ากัน(แบตก้อนเดียวกัน)
Atom ทำงานได้นานกว่า
ผมว่าประเด็นที่สำคัญมากอันหนึ่งคือความร้อนของซีพียูแต่ละตัวนั้นต่ำ ทำให้ความร้อนถูกกระจายออกไปทั่วๆ ด้วยนะครับ แทนที่เราจะมีซีพียูร้อนๆ ในเครื่องตัวสองตัว แล้วต้องมาออกแบบระบบกระจายความร้อนให้วุ่นวาย ก็สู้ใช้ซีพียูความร้อนต่ำๆ หลายตัวเสียเลย
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
พลังงานที่ใช้ในการระบายความร้อนอีกเท่าไหร่?
คิดว่า Molecule น่าจะได้เปรียบเรื่องพลังงานเวลาโหลดต่ำๆด้วยครับ (ปิด ไปสัก 150 core เปิดแค่ 30 พอ, etc.)
เวลาเทียบความคุ้มค่าในเรื่องพลังการประมวลผลกับพลังงานไฟฟ้า เขาจะมีหน่วยที่เรียกว่า Flops/Watt วิธีการคำนวณไปดูได้ที่ข่าวเก่าของผม และหน่วยนี้เองก็คือ Efficiency ตามที่คุณ DoraeMew พูดถึง
อย่างไรก็ดี ผมไม่มี survey ในเรื่อง Atom ว่า Flops/Watt จริงแล้วเท่าไหร่ แต่เคยเห็นข้อมูลเก่าๆจากพี่ sugree ที่เคยได้ทดสอบ Acer Aspire One แล้วได้ผล 156 MFlops (แต่แรม 512 MB) ถ้ากินไฟ 4 watts มันก็ควรให้สมรรถนะประมาณ 39 MFlops / Watts ส่วน 8 watts (สำหรับรุ่นใหม่ๆ) จะได้ 19.5 MFlops / Watts เท่านั้น ส่วนรุ่น 2 watts ก็ได้ 78 MFlops / watts
ลองเอา Atom รุ่น 2 watts มาเทียบ Core 2 Duo ดูนะ ก็ Core 2 Duo ถ้าคำนวณหยาบๆ มันก็ประมาณ 8 GFlops ถ้ากินไฟ 130 watts (เช่นรุ่น Extreme) มันจะให้ผล 62 MFlops / Watts ซึ่ง Atom รุ่น 2 watts ชนะ แต่แพ้ในรุ่นอื่น และถ้ามองในแง่เรื่อง Heating per Area แล้ว Core 2 แพ้ Atom อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดีหากอยากจะให้ Atom ให้ได้สมรรถนะของ FLOPS เทียบเคียง Core 2 Duo หนึ่งตัว (2 คอร์) อาจจะต้องใช้ Atom ประมาณ 10 ตัว แต่การกินไฟของมันก็ยังต่ำกว่า Core 2 Duo 1 ตัว (ประมาณ 20 watts) ดังนั้นถ้าจะให้กินไฟสูสีกับ Core 2 Duo 130 watts แล้ว เราก็ได้ Atom ประมาณ 70 ตัว ซึ่งจะได้สมรรถะสูงกว่า Core 2 Duo เกือบ 7 เท่า แต่ ... ราคามันจะเท่าไหร่ อันนี้ผมไม่ทราบครับ ...
มากไปกว่า การเขียนโปรแกรมจะต้องให้เป็นแบบขนานด้วย และต้องเป็นขนานแบบฉลาดด้วยนะ เพราะถ้าแบ่งงานย่อยๆมากๆไปแล้ว การติดต่อสื่อสารก็มากไปด้วย อย่างนี้แล้ว งานอาจจะต้องเป็นอิสระจากกันให้มาก หรืออาจจะเหมาะกับการเขียนโปรแกรมประมาณ Map/Reduce หรือ Hadoop
หมายเหตุ ตัวเลขพวกนี้เป็นการคำนวณแบบหยาบๆนะครับ ใครมีข้อมูลจริงพวก Flops ของ Atom กับ Core 2 Duo พร้อมกับอัตราการกินไฟจริงๆแล้ว ก็ลองคำนวณใหม่ได้ครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog