ประเด็นข้อมูลส่วนบุคคลของชาติตะวันตกนั้นเป็นเรื่องอ่อนไหวเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่แปลกเท่าใหร่ที่เมื่อมีการเปิดโปงว่าบริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่หลายบริษัทได้ดักฟังข้อมูลตามคำขอร้องจากรัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะตกกลายเป็นจำเลยในคดีละเมิดต่อรัฐธรรมนูญและกฏหมายการดักฟังข้อมูล ซึ่งระบุชัดว่าการดักฟังต้องได้รับหมายศาลล่วงหน้าเท่านั้น
โจทก์ของคดีนี้คือ EFF หรือ Electronic Frontier Foundation หน่วยงาน NGO ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาเสรีภาพในการสื่อสารระหว่างบุคคล ที่ฟ้องบริษัทสื่อสารเช่น AT&T, Verizon, MCI, และ Sprint ตลอดจนบริษัทอื่นๆ อีกนับสิบบริษัท
EFF ระบุว่ามีเอกสารที่เป็นหลักฐานว่าบริษัทสื่อสารเช่น AT&T นั้นมีห้องลับที่เชื่อมการสื่อสารทั้งหมดของลูกค้าเข้ากับเครือข่ายของหน่วยงานความมั่นคงเช่น NSA เพื่อให้รัฐสามารถตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดที่วิ่งบนเครือข่ายของ AT&T ได้
รัฐบาลกลางสหรัฐพยายามล้มคดีนี้โดยระบุว่าการดำเนินคดีอาจจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลความลับของรัฐออกมาได้ อย่างไรก็ตามคดีนี้อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ของรัฐต่อศาล แต่ระหว่างการอุทธรณ์นี้ บุชก็ออกมาแสดงท่าทีที่จะยื่นขออภัยโทษให้กับบริษัทสื่อสารทั้งหมด เพื่อให้คดีจบลงก่อนการขึ้นศาล
ประเด็นข้อมูลส่วนบุคคลได้รับความคุ้มครองจากรัฐธรรมนุญสหรัฐฯ มาตรา 4
ที่มา - Wired
Comments
เรื่องนี้ท่าจะยาว - -'
มันควรฟ้องรัฐบาลมากกว่าบริษัทรึเปล่านะแบบนี้
ถูกก!!
ผมว่าฟ้องบริษัทนี่แหละดีแล้ว จะได้ลากไส้กันมาเป็นทอดๆ คงมีปลาติดร่างแหได้หลายตัว
ถ้าไปฟ้องแค่รัฐบาล พวกบริษัทก็รอดไปหมดสิ
รัฐบาลไม่สั่งบริษัทเขาจะทำหรือครับ น่าจะโดนทั้งสองเลยน่ะครับ
</mOkin™>มีความสุขที่พอดี กับชีวิตที่พอเพียง</mOkin™>
ก็ถ้าฟ้องบริษัทประเดี๋ยวบรรดาบริษัทเหล่านั้นก็จะไปฟ้องไล่เบี้ยกับรัฐอีกทอดหนึ่งไงครับ
ศาลเค้าดีมากๆเลย ไม่ย่อมอะไรง่ายๆเลยแหะ
ว่าไปตามหลักฐาน แต่ถ้าหลักฐานหายไปก็ทำอะไรไม่ได้ใช่ไหมครับ
บ้านเราใช้เน็ตต้องเก็บ log อันนี้ผิดละเมิดสิทธิ์มั๊ยน๊า
ลูกค้าที่ร้านง๊อนงอน
"โจทก์" นะครับ
Oakyman.com
แก้แล้วนะครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
เดี๋ยวก็อ้างความมั่นคง แล้วก็จบนอกศาลแน่นอน
7blogger.com
ทำไมถึงใช้คำว่าอภัยโทษครับ
ผมจำไม่ได้แล้วแฮะ แต่ใน Lexitron มีทั้งอภัยโทษและนิรโทษกรรมนะครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw